ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔ - รูปไม่มี โดยเหตุ ๔ อย่าง

 
chatchai.k
วันที่  9 พ.ค. 2565
หมายเลข  43091
อ่าน  587

คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔. คำว่า เมื่อรูปไม่มี คือ รูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ โดยการรู้ โดยการพิจารณา โดยการละ โดยการก้าวล่วง.

ข้อความบางตอนจาก....

กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔

[๔๙๖] คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔. คำว่า เมื่อรูปไม่มี คือ รูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ โดยการรู้ โดยการพิจารณา โดยการละ โดยการก้าวล่วง.

รูปไม่มีโดยการรู้อย่างไร พระสมณะย่อมรู้รูป คือย่อมรู้ ย่อม เห็นว่า รูปหมดทุกอย่าง ชื่อว่ารูป ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของ มหาภูตรูป ๔ รูปไม่มีโดยการรู้อย่างนี้.

รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างไร พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว จึงพิจารณารูป คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของ หวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

เจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นข้องมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีความโศก ความ รำพัน ความเจ็บกาย ความเจ็บใจและความแค้นใจเป็นธรรมดา เป็นของ มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของชวนให้หลงแช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ รูปไม่มีโดย การพิจารณาอย่างนี้.

รูปไม่มีโดยการละอย่างไร พระสมณะครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว จึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งฉันทราคะ ในรูป.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันทราคะในรูปใด พวกท่านจงละฉันทราคะนั้นเสีย ฉันทราคะนั้นจักเป็นของ อันพวกท่านละแล้ว มีมูลอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยประการ อย่างนี้ รูปไม่มีโดยการละอย่างนี้.

รูปไม่โดยการก้าวล่วงอย่างไร ผู้ที่ได้อรูปสมบัติทั้ง ๔ แล้วเป็น ผู้ไม่มีรูป คือไม่เจริญรูป ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงรูปเสียได้แล้ว รูปไม่มีโดยการก้าวล่วงอย่างนี้ รูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ ประการนี้.

คำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ความว่า เมื่อรูปไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ผัสสะ ๕ ประการ คือจักษุ- สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส ย่อมไม่ถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือ มีความปรารถนาเป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูก ต้อง.

[๔๘๗] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร รูปเป็นต้น ไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้น แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น.

[๔๙๘] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี ความว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร คือปฏิบัติอย่างไร เปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร ประพฤติอย่างไร รักษาอย่างไร บำรุงอย่างไร เยียวยาอย่างไร รูปจึง ไม่มี คือไม่เป็นล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี.

[๔๙๙] คำว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร ความว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่มี คือไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง สุขและทุกข์ไม่มีอย่างไร.

[๕๐๐] คำว่า ประการนั้น ในคำว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการ ใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ความว่า ประการที่

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ข้าพระองค์ถามขอให้ตรัสบอก เชิญให้ทรงแสดง ขอให้ประสาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประการนั้น. คำว่า ขอตรัสบอก ... แก่ข้าพระองค์ คือ ตรัสบอก ทรงเล่า ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแก่ข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอตรัสบอก ... แก่ข้า พระองค์. คำว่า รูปเป็นต้นไม่มี ด้วยประการใด คือรูปไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง ด้วยประการใด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอพระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์.

[๕๐๑] คำว่า จะรู้ประการนั้น ในคำว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น ความว่า จะรู้ จะรู้ทั่วถึง จะรู้แจ่มแจ้ง จะแทงตลอด ประการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จะรู้ประการนั้น. คำว่า ข้าพระองค์ ได้ตั้งใจ คือข้าพระองค์ได้ตั้งจิต ตั้งความดำริ ตั้งวิญญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขและ ทุกข์ไม่มีอย่างไร รูปเป็นต้นไม่มีด้วยประการใด ขอ พระองค์ตรัสบอกประการนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ ได้ตั้งใจว่า จะรู้ประการนั้น.

[๕๐๒] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) บุคคลไม่เป็นผู้มี สัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิด ปกติ ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่ง ธรรมเครื่องให้เนินช้า มีสัญญาเป็นนิทาน.

[๕๐๓] คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็น ผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ความว่า ชนเหล่าใด ตั้งอยู่โดยสัญญาปกติ ชนเหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่โดย สัญญาปกติ ชนเหล่าใดเป็นบ้า และเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ชนเหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ บุคคลนั้นไม่เป็นบ้า ทั้งไม่เป็นผู้มีจิต ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ.

[๕๐๔] คำว่า ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา และไม่เป็นผู้ปราศจาก สัญญา ความว่า ชนเหล่าใดเข้านิโรธ และเป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่านั้น เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา. บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เข้านิโรธทั้งไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่าใดได้อรูปสมาบัติ ๔ ชนเหล่านั้นเรียกว่า ไม่เป็นผู้ปราศจาก สัญญา. บุคคลนั้นไม่เป็นผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา.

[๕๐๕] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เพราะละสุข ภิกษุนั้นเมื่อ จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วย ธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือปฏิบัติ ผลัด เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่อย่างนี้ ด้วยประการ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

ดังนี้ รูปจึงไม่มี ไม่เป็น ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ