ใครเจ็บปวด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 พ.ค. 2565
หมายเลข  43094
อ่าน  860

阿姜舒淨佛法討論

30-03-2022

ใครเจ็บปวด


問: 即使我們知道 “痛苦的感受” 並不是我的,那,為什麼仍然還是以為是我的感受?

ผู้ถาม: แม้เราจะทราบดีว่า "ความรู้สึกเจ็บปวด" ไม่ใช่ของเรา เพราะเหตุใดยังคงสำคัญว่าเป็นความรู้สึกของเรา?

Ajhan Sujin: 我們學佛法的目的是什麼? “痛苦的感受” 在那個時刻是不是因為有因緣條件所以在那裡了。 有誰可以阻止因緣俱足的法生起嗎? 即使是 “痛這個感受” 滅了,它還是會再有因緣條件生起不是嗎? 那麼,要怎麼樣那些不愉快的感受,那些 “痛的感受” 才不會再有因緣條件再生起呢? 只要因緣俱足,有誰能夠阻止任何法的生起嗎?

อ.สุจินต์: จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคืออะไร? "ความรู้สึกเจ็บปวด" เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะมีเหตุปัจจัย มีใครสามารถยับยั้งเหตุที่พร้อมจะเกิดไม่ให้เกิดได้ไหม? แม้ว่า "ความรู้สึกเจ็บปวด" ดับไปแล้ว แต่เมื่อไหร่มีเหตุปัจจัย ก็ยังจะเกิดขึ้นอีกได้ไม่ใช่หรือ? แล้วจะต้องทำอย่างไรที่จะไม่ให้ความรู้สึกที่ไม่สบาย "ความรู้สึกเจ็บปวด" เหล่านั้น ไม่มีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้นอีก? เมื่อปัจจัยถึงพร้อมที่จะให้สภาพธรรมนั้นเกิด มีใครสามารถยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้นได้ไหม?

實際上那個不愉快的感受生起的因緣條件是什麼? 當它有條件俱足生起時,又有誰能阻止法的生起呢?那麼三藐三佛陀是怎麼樣解釋這件事情呢? 一切法,包括 “痛” 生起的因緣條件是要逐漸的去瞭解,倘若真的徹底瞭解那個真相了,這樣子以後痛就不會再生起了,這就是為什麼我們要聽聞佛陀的教導,目的就是瞭解正在出現的真相是什麼? 我們學了很多關於究竟法的事件,但是那個 “痛” 的真相到底是什麼? 即使現在不是那個 “痛的感受”,倘若條件俱足時機成熟,“痛” 會不會在其它的時候生起?

จริงๆ แล้ว อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้ความรู้สึกที่ไม่สบายเกิดขึ้น? เมื่อมีเหตุปัจจัยถึงพร้อม ใครจะสามารถห้ามการเกิดขึ้นของสภาพธรรมได้? แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร? สภาพธรรมทั้งหมด รวมถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ "เจ็บปวด" เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องค่อยๆ เข้าใจในสภาพนั้น ถ้าค่อยๆ เข้าใจความจริงของสภาพธรรมนั้น และถ้าถึงที่สุดจริงๆ ก็คือจนกว่าจะไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้ความเจ็บปวดนั้นเกิดอีกเลย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยมีจุดประสงค์ที่ถูกต้องว่าเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏว่าคืออะไร? เราศึกษามาแล้วมากมายเกี่ยวกับเรื่องของปรมัตถธรรม แต่ความจริงของ "ความเจ็บปวด" ตกลงคืออะไร? แม้เดี๋ยวนี้ไม่มีความรู้สึกเจ็บที่กำลังพูดถึง แต่ถ้าถึงเวลาที่มีเหตุปัจจัยพร้อม "ความเจ็บปวด" สามารถที่จะเกิดขึ้นในขณะอื่นได้ไหม?

當不愉悅的感受生起的時候它是非常的痛,這就是痛的本質 “痛的感受” 。 倘若現在這一刻沒有 “痛的感受” 出現被經驗,那麼,現在有什麼出現? 比如看見,看了又看一直在看,“看見” 有嗎? 即使是現在那些法生起就滅去了,不管是什麼法有人會想到那些法嗎? 我們總是想著有一個我存在,誤認為是我的愉快,我 的不愉快,所以真相到底是什麼? 我們正在學習瞭解在那裡的法的真相是什麼? 不可能去阻止愉快或不愉快生起的時刻,因此,我們學習佛法的目的是什麼? 是讓不喜歡的法不要再生起還是瞭解法的真相是什麼? 不管出現的是什麼法, 我們正在學習瞭解不管在那裡生起的是什麼法。 這個危險是我們會執取它誤認為是有什麼東西在那裡,或者是想要別的我們喜歡的。 但事實上它們都滅了,根本沒有任何什麼東西在那裡了,是 “空” (sunyata) , 真相是不是這樣?去瞭解它的真實本質是不是這樣? 這就是我們要去瞭解,現在這一刻在那裡的是什麼? 現在有沒有 “痛的感受” 呢? 倘若沒有,那是什麼在那裡,在那裡的那個法是不是應該被知道?

ในขณะที่ความรู้สึกที่ไม่สบายเกิดขึ้นนั้นปวดมาก นี่คือลักษณะของความรู้สึกที่เราเรียกว่า "เจ็บปวด" ถ้าเดี๋ยวนี้ขณะนี้ความรู้สึกเจ็บปวดไม่ได้ปรากฎให้รู้ แล้วเดี๋ยวนี้มีอะไรที่กำลังปรากฎ? เช่น เห็น เห็นแล้วเห็นอีก เห็นอยู่ตลอด เห็นมีไหม? แม้เดี๋ยวนี้ สภาพธรรมเหล่านั้นเกิดดับไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมอะไรก็ตาม มีใครเคยคิดถึงสภาพธรรมเหล่านั้นบ้างหรือเปล่า? เรามักจะคิดว่ามีเราเป็นเราอยู่เสมอ สำคัญผิดว่าเป็นความสบายของเรา ความไม่สบายของเรา เพราะฉะนั้น ตกลงความจริงคืออะไร? เรากำลังศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอยู่นั้นว่าคืออะไร? เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไปยับยั้งขณะที่ความสบายหรือ ความไม่สบายเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้ จึงต้องไม่ลืมว่าจุดประสงค์ของการศึกษาธรรมะของเราคืออะไร? เพื่อให้สภาพธรรมที่เราไม่ชอบไม่ต้องเกิดขึ้น? หรือเข้าใจความจริงในสภาพธรรมที่เกิดขึ้นว่าคืออะไร? ไม่ว่าสภาพธรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นสภาพธรรมใดก็ตาม เรากำลังศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจสภาพธรรมนั้น นี่คือ อันตรายที่เราสำคัญผิดที่ยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด รวมไปถึงการมีความต้องการหรือไม่ต้องการสิ่งต่างๆ แต่ความเป็นจริงสภาพธรรมนั้นได้ดับไปหมดแล้ว ไม่มีอะไรสักอย่างอยู่ที่นั่น คือความว่างเปล่า สุญญตา ความจริงเป็นอย่างนี้หรือเปล่า? เข้าใจความจริงในลักษณะของสภาพธรรมนั้นว่าเป็นอย่างนี้หรือเปล่า? นี่คือสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏตรงนั้นคืออะไร? เดี๋ยวนี้มี "ความรู้สึกที่เจ็บปวด" หรือเปล่า? ถ้าไม่มี แล้วมีอะไร? ควรรู้ไหม?

在痛的那一刻,那一刻的痛是不是應該也被知道的? 要能夠真的瞭解這個 “痛” 它是什麼? 只有透過思考佛陀的教導怎麼解釋它,也可以去瞭解什麼叫作 “開悟” 或者 “瞭解真相” 是什麼意思? 事實上就是現在,否則就不能夠真正瞭解什麼叫作真相。 “真相” 是什麼? “真相” 在那裡? 有人是不是到處尋找 “真相” 在那裡? 究竟實相其實就在現在這裡,稱為 “究竟法” (paramattha dhamma) ,可是還沒有足夠的智慧去瞭解法的生滅,因為法生起立即就滅去了。

ขณะที่กำลังเจ็บปวด ควรรู้ความเจ็บปวดในขณะนั้นไหม? สามารถที่จะเข้าใจจริงๆ ว่า "ความเจ็บปวด" คืออะไรหรือเปล่า? ก็มีแต่เพียงการคิดพิจารณาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าตรัสสอนไว้ว่าอย่างไร และสามารถที่จะเข้าใจว่าที่เรียกว่า "บรรลุ" หรือ "เข้าใจความจริง" มีความหมายว่าอย่างไร? แท้ที่จริงก็คือเดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้จริงๆ ว่า อะไรที่ชื่อว่าความจริง "ความจริง" คืออะไร? "ความจริง" อยู่ที่ไหน? มีคนเที่ยวตามหาว่า "ความจริง" อยู่ที่ไหน ไปตามสถานที่ต่างๆ แต่ "ความจริง" ที่เป็นความจริงแท้ๆ ที่ท่านใช้คำว่า "ปรมัตถธรรม" อยู่ที่ ตรงนี้ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ แต่ปัญญายังไม่มากพอที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดดับ เพราะ สภาพธรรมนั้นได้เกิดขึ้น แล้วก็ดับไปแล้วอย่างรวดเร็ว

去瞭解生命就是一刻接著一刻,那麼,那一刻絕對的真相是什麼? 所以現在在那裡是什麼? 倘若我們從來都不去瞭解討論 “真相” ,又怎麼可能對那些生滅的法能夠真正的如理作意呢? 所以是不是時候真的去思維在那裡的法是什麼? 逐漸的去瞭解,慢慢的,一點一點的,才能夠開始培養去瞭解。 要直接經驗在那裡的是什麼之前,就只有繼續的培養這個聞慧跟思慧的因緣條件。

การจะเข้าใจชีวิต ก็คือเข้าใจขณะนี้ในแต่ละขณะ ว่าความจริงของสิ่งที่จริงที่สุดในขณะนั้นคืออะไร? เพราะฉะนั้น ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ มีอะไร? ถ้าไม่เคยเลยที่จะสนทนาให้เข้าใจ "ความจริง" การที่จะให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้นที่เป็นการพิจารณาโดยแยบคายจริงๆ เข้าใจจริงๆ ในสภาพธรรมที่เกิดดับ จะ เป็นไปได้อย่างไร? ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะพิจารณาไตร่ตรองลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ? ค่อยๆ เข้าใจ ช้าๆ ทีละนิดทีละนิด จึงจะสามารถอบรมเจริญความเข้าใจได้ อะไรคือสิ่งที่สามารถทำให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีที่กำลังปรากฏได้จริงๆ ? ก่อนที่จะสามารถรู้ตรงลักษณะนั้นได้ มีเพียงการอบรมเจริญเหตุปัจจัยอย่างต่อเนื่อง คือ การฟังธรรมะ การพิจารณาธรรมะ

我們總是在離開這一刻,去想著跟這一刻無關,這一刻在那裡出現的是什麼呢?並不是人 不是東西。 很容易的說那就是法,但是這是不夠的,必須要很清楚很精準,因為每一刻只有一個所緣會被經驗。 所以出現的那個是什麼? 它還在那裡嗎? 還是已經不在了。 因此逐漸的瞭解在那裡的是什麼? 會慢慢放掉對我存在的執取。 所以再一次,這一刻的 “真相” 是什麼?它能夠被知道嗎?

เรามักจะพรากไปจากขณะนี้ ไปคิดแต่เรื่องที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขณะนี้เลย ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร? สิ่งนั้นย่อมไม่ใช่คน ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด พูดกันง่ายมากๆ ว่าสิ่งนั้นคือธรรมะ แต่นั่นยังไม่พอ จำเป็นที่จะต้องชัดเจน เพราะว่าทุกๆ ขณะมีเพียงหนึ่งสภาพธรรมเท่านั้นที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กำลังปรากฎคืออะไร? สิ่งนั้นยังมีอยู่หรือเปล่า? หรือสิ่งนั้นไม่ได้อยู่แล้ว หมดไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ การที่ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่อยู่ที่นั่นคืออะไร? ก็จะค่อยๆ ละคลายความยึดถือด้วยความเป็นเรา ดังนั้นขอถามอีกครั้งหนึ่งว่า "ความจริง" ในขณะนี้คืออะไร? สิ่งนั้นสามารถที่จะรู้ได้ไหม?

現在有沒有興趣去瞭解正在出現的那個,不管出現的是什麼? 即使是有什麼出現了,都已經生起了,滅去了,但是我們還沒有足夠的因緣條件去瞭解它。 正在出現的是什麼? 因為無明掩蓋住了法的真相,只有智慧才能夠看清楚在那裡的是什麼? 什麼能出現呢? 當它成為被經驗的對象的時候,它就會出現。 因此,我們在累積對真相堅定的信心,不管在那裡正在出現的是什麼?就只是法,並不是我或東西。

เดี๋ยวนี้มีความสนใจที่จะเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฎบ้างหรือเปล่า? ไม่ว่าสิ่งที่ปรากฎนั้นจะเป็นสิ่งใดก็ตาม แม้สิ่งนั้นกำลังปรากฏ เกิดแล้วมีแล้ว แต่ว่าเรายังไม่มี เหตุปัจจัยมากพอที่จะเข้าใจความจริง สิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร? ความจริงของสภาพธรรมถูกปิดบังด้วยอวิชชา มีเพียงปัญญาเท่านั้นที่สามารถเห็นชัดเจน ว่านั่นคืออะไร? อะไรที่สามารถปรากฎให้รู้ได้ว่ามี? ในขณะที่สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งนั้นต้องเกิดจึงปรากฎ ด้วยเหตุนี้ เรากำลังสะสมศรัทธาที่มั่นคงในความจริง ไม่ว่าสิ่งนั้นที่กำลังปรากฏคืออะไร ก็เป็นเพียงธรรมะ ไม่ใช่เราหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด

如果沒有法的生滅,會有所謂的人坐在這裡聽聞討論佛法嗎? 所以在那裡的所有一切就只是因緣條件生起就立刻滅去的法,這個就是培養正道,很細微,很深奧,最難之處。 倘若不能夠真正的瞭解體會到在那裡的 “真相” 這個的深奧,只是想著是佛陀很偉大很有智慧,這是沒有 幫助的,有沒有任何方式可以去瞭解現在在那裡的是什麼? 倘若不是因為好好的思維佛陀的教導,又怎麼能開始真的知道在那裡的是什麼? 倘若智慧沒有條件生起,又怎麼可能瞭解佛陀的教導呢? 這也是開始去瞭解日常生活中培養波羅蜜的重要,也開始去知道什麼叫作 “波羅蜜” 。

ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เกิดดับ จะมีคนที่กำลังนั่งฟังการสนทนาขณะนี้หรือเปล่า? เพราะฉะนั้นทั้งหมดนั้น คือสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยแล้วดับไปทันทีเมื่อเหตุปัจจัยดับ นี่คือการอบรมเจริญหนทางที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง และยากที่สุด ถ้าไม่สามารถที่จะเข้าใจความลึกซึ้งใน "ความจริง" ของสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ เพียงแต่คิดว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือผู้มีปัญญามหาศาล การคิดเช่นนี้ไม่มีประโยชน์เลย พอจะมีหนทางไหนบ้างไหม ที่จะ เกื้อกูลให้เข้าใจสิ่งที่อยู่ที่นั่นคืออะไร? หากไม่ได้เป็นเพราะพิจารณาไตร่ตรองคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยดี แล้วจะสามารถที่จะเริ่มรู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ได้อย่างไร? ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้น แล้วจะสามารถเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร? นี่คือการเริ่มต้นที่จะเข้าใจความสำคัญในการเจริญบารมีในชีวิตประจำวัน และเริ่มที่จะรู้ว่าอะไรชื่อว่า "บารมี"

什麼時刻智慧才會生起呢?是現在還是之後。 無明跟貪愛是沒有條件讓智慧生起去瞭解 “真相” 的,所以我們也是很誠實的,在不同的時刻裡是有智慧生起還是沒有,這就是 “誠實波羅蜜” (sacca parami) 。 如果不誠實是不可能具備條件去瞭解在那裡正在出現的“真相”是什麼的。不管是什麼在那裡,“誠實波羅蜜” 它都是誠實。

ปัญญาสามารถที่จะเกิดขึ้นในขณะใดบ้าง? เป็นขณะนี้ หรือว่าหลังจากนี้? โมหะและโลภะไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้นเข้าใจ "ความจริง" ได้ เพราะฉะนั้น ในแต่ละขณะจะมีปัญญาเกิดขึ้นหรือไม่มี ต้องเป็นผู้ตรง ผู้จริงใจ นี่คือ"สัจจบารมี" ถ้าไม่ตรงไม่จริงใจ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเป็นปัจจัยให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏได้ สิ่งที่กำลังปรากฏจะเป็นอะไรก็ตาม "สัจจบารมี" ย่อมตรงต่อสิ่งนั้น

倘若沒有 “精進波羅蜜” (viriya parami) 和 “忍辱波羅蜜” (khanti parami) 也不具備去思維在那裡正在出現的那個 “真相” 對 “真相” 堅決不變,這就是“決意波羅蜜” (adhitthana parami) ,對佛陀教導的決意會顯現在聽聞佛法瞭解的時刻,聞慧思慧的時刻, 對 “真相” 瞭解真相是什麼?這是 “智慧波羅蜜” (panna parami) ,智慧會捨離,否則,當 “痛的感 受” 出現時,就不會真的瞭解真相是什麼?

ถ้าไม่มี "วิริยบารมี" และ "ขันติบารมี" ก็ยังไม่ได้พร้อมสำหรับการพิจารณา "ความจริง" ของสิ่งที่กำลังปรากฏ มั่นคงต่อ "ความจริง" ไม่เปลี่ยน นี่คือ "อธิษฐานบารมี" มั่นคงในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มั่นคงด้วยความเข้าใจธรรมะจากการฟังธรรมะ แล้วพิจารณา สิ่งที่มีจริงที่สามารถเข้าใจ "ความจริง" คืออะไร? นี่คือ "ปัญญาบารมี" ปัญญาละความเห็นผิดความเข้าใจผิดได้ มิฉะนั้นแล้วในขณะที่ "ความรู้สึกเจ็บปวด" ปรากฎ ก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ว่าขณะนั้น ความจริงคืออะไร?

Sarah: 身體的疾病,比如說,胃痛,只是因為 “四大元素色” (mahabhuta rupa) 失衡,我們卻立刻的把四大元素色當成是我的疾病,我的痛。 吹到冷氣太強的時候,那時候立刻就會覺得是我在冷。 每個人都知道這些身體上的不舒服或心裡上的難受, 但是我們都是把它們當成是我的不舒服,是我的難受,根本不瞭解,那是來自於貪愛的執取。 同樣的,當我們感到舒服的時候那是因為沒有疼痛生起,那一刻也是我,那一刻貪愛執取已經在那裡了,可是我們並沒有知道。

ซาร่า: ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปวดท้อง นั่นเป็นเพราะมหาภูตรูป ๔ ขาดความสมดุล แต่เรากลับยึดถือมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นความเจ็บป่วยของเรา เป็นเราที่เจ็บปวด เวลาที่โดนลมจากเครื่องปรับอากาศที่เย็นเกินไป ก็จะรู้สึกว่าเป็นเราที่เย็น ทุกคนก็รู้ในความรู้สึกไม่สบายกายหรือความรู้สึกทุกข์ใจ แต่เรากลับคิดว่านั่นเป็นเราที่ไม่สบายกาย เป็นเราที่รู้สึกทุกข์ใจ โดยที่ไม่เข้าใจว่า นั่นมาจากความยึดถือด้วยโลภะ เช่นเดียวกับเวลาที่รู้สึกสบาย เพราะไม่เจ็บปวด ขณะนั้นก็เป็นเรา เป็นความยึดถือด้วยโลภะที่เกิดขึ้นแล้วโดยไม่รู้

有些身體的疾病也是沒有伴隨著疼痛,但是還是會有心裡上的擔憂,擔心疾病它會不會惡化,長期上會不會有什麼不好的影響。 身體上疼痛的經驗,這個感受是果報,但是果報是非常的短暫生起一刻就過去了,業報是沒有誰能改變的。 “痛苦的感受” 生起經驗那個色法就過去了,是不善的業報之後很快的可能就會討厭這個 “痛的感受” ,然後貪愛想要執取愉快的感受。 不論是討厭,不討厭,喜歡或不喜歡,這些不是 “業報” (vipaka) ,而是不善的法

โรคทางกายบางอย่างไม่ได้ทำให้เจ็บปวด แต่ก็ยังคงมีความกังวลใจ กังวลว่าโรคจะแย่ลงหรือไม่ และจะเป็นอย่างไรในระยะยาวหรือเปล่า ความรู้สึกเจ็บป่วยทางกายเป็นวิบาก แต่วิบากนี้เล็กน้อยและสั้นมากเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวแล้วก็ผ่านไป ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงผลของกรรมได้ "ความรู้สึกเจ็บปวด" เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป แต่หลังจากได้รับผลของอกุศลกรรม ก็ไม่ชอบความรู้สึกเจ็บปวด จากนั้นโลภะความต้องการก็อยากได้ความรู้สึกที่ดี ไม่ว่าจะเกลียด หรือไม่เกลียด ชอบ หรือไม่ชอบ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่วิบาก แต่เป็นอกุศล

唯一的治癒病痛之方,就是瞭解出現的法是什麼? 不管是,貪愛,瞋恨,擔心,這些都不屬於誰,只是法而已。 智慧生起瞭解的那一刻,智慧它並不會排斥,不管在那裡的法是什麼? 智慧就只是去瞭解那個法而已,當智慧生起慢慢的去瞭解的那一刻时,堅定的信心也會跟著逐漸增加,正確的瞭解不會擔心未來會是怎麼樣,正確的瞭解不會是要去改變而是去瞭解那個真相,瞭解現在出現的法的特徵是什麼? 生命的問題是什麼? 生命真正的問題不在於痛苦不愉快的感受,而是在於錯誤的見解深深的執取那個法,誤認為法是我,是我的,是某個東西,這才是真正的問題。

ทางเดียวเท่านั้นที่จะรักษาโรคนี้ได้ คือเข้าใจในสภาพธรรมที่ปรากฎว่าจริงๆ คืออะไร? ไม่ว่าจะเป็น โลภะ โทสะ เป็นห่วง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงธรรมะเท่านั้นเอง ในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาจะไม่เลือกที่จะเข้าใจ ไม่ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นเป็นอะไร? ปัญญาก็เพียงแต่เข้าใจในสภาพธรรมนั้นเท่านั้นเอง ในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น ค่อยๆ เข้าใจในขณะนั้น ศรัทธาก็จะค่อยๆ มั่นคงขึ้น ความเข้าใจถูกจะทำให้ไม่เป็นห่วงอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร ความเข้าใจที่ถูกต้องไม่ใช่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เข้าใจความจริงของสิ่งนั้น เข้าใจเดี๋ยวนี้ ว่าลักษณะที่ปรากฎคืออะไร? ปัญหาของชีวิตคืออะไร? ปัญหาจริงๆ ของชีวิตไม่ได้อยู่ที่ความรู้สึกไม่สบาย หรือความเจ็บปวด แต่อยู่ที่ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นตัวเรา เป็นของเรา อย่างเหนียวแน่น นี่คือปัญหาที่แท้จริง

Jon: 請問問者,你對這個疾病的討論有什麼看法?

จอน: ขอทราบว่าคุณมีความรู้สึกอย่างไรกับการสนทนาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บในครั้งนี้?

問: 我這次在長期病痛的過程中,當疼痛復發時心情很不好,雖然我們從書中已經學過了很多,但,當那個痛生起時,心裡就會一直去想著那些痛。 突然間有些時刻也會想到,這樣的想是想,不是我,不能去控制,原來這個就是無我(anatta) ,因為痛的感受它是不能夠控制的, 都已經過去了,明天的痛也還沒有來,那,現在正在出現的那個法是什麼? 其實當我們在想的時候,感覺到的那個法就是感受 (vedana) 。 明明知道它們都是生起又過去了,幾乎也還是一直想著那個疼痛,因此,倘若真的知道那個疼痛是業報的話,就會真的好好的去接受它。

ผู้ถาม: การเจ็บไข้ได้ป่วยของดิฉันครั้งนี้ยาวนานมาก ขณะที่อาการกำเริบ สภาพจิตก็แย่มาก แม้ว่าจะศึกษาตำรามามากพอสมควร แต่ในขณะที่เจ็บปวดเกิดขึ้น ใจก็คิดถึงแต่ความเจ็บปวดนั้นตลอดเวลา มีบางขณะที่คิดขึ้นมาว่าการคิดอย่างนี้ นี่คือคิด ไม่ใช่เรา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ อนัตตาเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะความรู้สึกเจ็บปวดไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ทั้งหมดก็ได้ผ่านไปหมดแล้ว ความเจ็บปวดของวันพรุ่งนี้ก็ยังไม่มาถึง แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร? ที่เรากำลังคิดนั้น รู้สึกถึงว่าสิ่งนั้นคือเวทนา แม้จะทราบดีว่าเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ก็ยังคงคิดถึงความเจ็บปวดแทบจะตลอดเวลา ซึ่งถ้าเข้าใจความเจ็บปวดนั้นจริงๆ ว่าเป็นเพียงวิบากเป็นผลของกรรม ก็จะยอมรับสภาพนั้นได้โดยดี

Jon: 首先,佛法並不是關於生命可以有比較少的痛,或者是能讓我們能夠忍受痛,這並不是學佛法的目的,當疼痛生起的時候,我們想著疼痛是 “無我” (anatta) ,這樣的想並不等於讓疼痛減低或者會增加智慧。 在學佛法的過程中,很多人都會有這樣的想法,透過學習瞭解佛陀的教導,就會去忍受生命中的苦難,老師會時常的提醒我們,期望很容易就生起了,期望會有更多智慧的增加,期望學了佛法之後生命中的起伏就會變少了,任何期望都是一種阻礙。 我們知道身識經驗不愉快時 “痛的感受” 是果報,雖然我們知道是果報,可是那只是在想而已,這並不等於會降低 “痛苦的感受”,那並不是真的直接經驗正在出現的那個法或者是瞭解疼痛的本質。

จอน: ก่อนอื่น พระธรรมไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการสามารถทำให้ชีวิตมีความเจ็บป่วยน้อยลง หรือทำให้เราสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้ นี่ไม่ใช่จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม ในขณะที่ความเจ็บปวดเกิดขึ้น เรามักจะคิดว่าความเจ็บปวดไม่ใช่เรา อนัตตา การคิดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าความเจ็บปวดจะลดลงหรือปัญญาจะเพิ่มพูนขึ้น ในระหว่างที่ศึกษาพระธรรม คนส่วนใหญ่มักจะมีความคิดเช่นนี้ ว่าการเรียนรู้การเข้าใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถที่จะมีความอดทนต่อความทุกข์ต่างๆ ในชีวิตได้ ซึ่งท่านอาจารย์ก็ย้ำเตือนพวกเราเสมอ ว่าความหวังเกิดง่ายมาก หวังว่าจะมีปัญญาเพิ่มขึ้น หวังว่าหลังจากที่ศึกษาพระธรรมจะทำให้อุปสรรคต่างๆ ในชีวิตน้อยลง ซึ่งไม่ว่าจะหวังอะไร นั่นก็คือเครื่องกั้นอย่างหนึ่ง เราทราบว่า สภาพรู้ทางกาย ที่รู้อารมณ์ไม่น่าพอใจทางกายคือวิบาก การทราบว่าเป็นวิบาก นั่นคือกำลังคิดเท่านั้น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะสามารถลดทอน "ความรู้สึกเจ็บปวด" ได้ นั่นไม่ใช่การรู้ตรงลักษณะที่กำลังปรากฏ หรือเข้าใจลักษณะที่รู้สึกเจ็บปวด

我們回到一開始老師問我們的問題,學佛的目的是什麼? 就是逐漸的建立瞭解正在出現的法的真相是什麼? 在一開始的時候可能不太理解這個跟疾病有什麼關 係,倘若能夠徹底的瞭解正在出現的法,就可以根除再出生的因緣條件,只要還有再出生就一定不能避免這些疼痛的苦。 在經典裡面我們讀到三藐三佛陀他也有產生劇烈的疼痛。 倘若只是希望學了佛法,就會獲得更好的心態,更容易的去忍受疼痛,這只是一種希望而已,對疼痛不會起瞋恨,只有在第三果聖人跟阿羅漢,不會生起瞋恨心。

เรากลับไปที่คำถามแรกที่ท่านอาจารย์ถามว่า จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรมเพื่ออะไร? คือเพื่อค่อยๆ อบรมเจริญความเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ในตอนที่เริ่มต้นใหม่ๆ อาจจะไม่ค่อยเข้าใจว่าเกี่ยวข้องอะไรกับความเจ็บปวด ถ้าสามารถเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฎจนถึงที่สุด ก็จะสามารถดับปัจจัยที่ทำให้ต้องกลับมาเกิดอีก แต่ตราบใดที่ยังมีการเกิด ก็ยังจะต้องพบกับความเจ็บปวดแน่นอน ในพระไตรปิฎกเราก็จะพบข้อความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ทรงอาพาธมีความเจ็บปวดอย่างแรงกล้า ถ้าเราเพียงแค่หวังว่า เมื่อศึกษาพระธรรมแล้ว จะทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น สามารถที่จะอดทนต่อความเจ็บปวดได้โดยง่าย นี่ก็เป็นความหวังอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง ผู้ที่จะไม่มีโทสะเกิดขึ้นขณะที่เจ็บปวดมีเพียงพระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้น

問: 我們只是停留在聽聞的階段而已。

ผู้ถาม: เราหยุดอยู่ตรงที่ขั้นฟังเท่านั้น

Jon: 我們要面對現實,現實是什麼? 現實就是未來一定還是會有疼痛出現,還會有對疼痛生起瞋恨的心,這是因為長期以來所累積的錯誤的見解,把瞋恨當成是我的,把疼痛當成的我的,是我的不舒服。 老師剛剛也是提醒,倘若現在沒有疼痛生起,難道就 沒有其它的法了嗎? 所以,並不是說特別針對疼痛,瞭解疼痛,任何時刻不管在出現的是什麼,智慧都可以去瞭解的。

จอน: เราต้องเผชิญกับความจริง ความจริงคืออะไร? ความจริงก็คืออนาคตก็ยังคงต้องมีความเจ็บปวดเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และยังคงมีโทสะเกิดขึ้นไม่พอใจในความเจ็บปวด นี่เป็นเพราะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมาได้สะสมความเห็นผิด และยึดถือโทสะว่าเป็นเรา ยึดถือความรู้สึกเจ็บปวดว่าของเรา เป็นเราที่ไม่สบาย ท่านอาจารย์เพิ่งเตือนเมื่อสักครู่ ว่าเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้น ไม่มีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นแล้วหรือ? ดังนั้น ไม่ใช่หมายถึงว่าจะให้เข้าใจเฉพาะความเจ็บปวด แต่ไม่ว่าจะเป็นขณะไหนก็ตาม สิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร ปัญญาสามารถเข้าใจในสิ่งนั้นได้

Sarah: 如果不是從現在正在出現的法開始學習,比 如,在看的,在聽的,或者愉快或不愉快的感受是什麼?我們就不可能真的瞭解法的真相是無我的,就會一直把那個法當成是我的。 在看的並不是我,在痛的也不是我,去瞭解的智慧也不是我。 如果對這些不能夠真正的開始去瞭解就是現在這一刻,是不可能真正的解決問題的。 逐漸的,一點一點的去瞭解正在出現的是什麼的那一刻,同時的也正在一點一點的放掉對我存在的執取,是自然而然的發生,只是法,不是我,無我。

ซาร่า: ถ้าหากไม่ตั้งต้นที่จะเริ่มศึกษาสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เช่น กำลังเห็น กำลังได้ยิน หรือว่า ความรู้สึกพอใจ ความรู้สึกที่ไม่พอใจ ว่าคืออะไร? เราจะไม่สามารถเข้าใจความจริงสิ่งนั้นที่เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ก็จะยังคงยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นเรา เป็นของเรา อย่างเหนียวแน่น กำลังเห็นไม่ใช่เรา กำลังเจ็บปวดก็ไม่ใช่เรา ปัญญาที่เข้าใจก็ไม่ใช่เรา ถ้ายังไม่สามารถที่จะค่อยๆ เริ่มเข้าใจจริงๆ ว่าคือเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ที่เป็นความจริง ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้จริงๆ การค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อย ก็จะค่อยๆ ละคลายความยึดถือสิ่งนั้นด้วยความเป็นเรา และค่อยๆ เข้าใจว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามปกติธรรมดา เป็นเพียงธรรมะ ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา

有一次老師被邀請去越南,向一個臥在病床將要死的人分享佛法,那時老師也是討論現在這一刻的真相是不是在看?是不是在聽?那,在看,在聽的真相是什麼? 死亡隨時都能發生,那,生命中最珍貴的是什麼? 我們會去想著我或者是跟我有關的情境故事,但事實上生命就只是現在這一刻而已。 沒有什麼會比智慧的生起更珍貴,智慧能夠瞭解在聽的跟被聽到的,在看的跟被看到的,就只是法,並不是我,無我。 這也是佛陀的教導給我們最珍貴的禮物,生命就只是現在這一刻。 現在不管正在出現的是什麼? 就只是法的真實本質,不是任何東西,不是我,因為沒有我。 佛陀的教導是讓大家知道真相是什麼? 不管是在什麼樣的狀況之下,智慧是可以瞭解不管在那裡的是什麼,即使是不愉快不受歡迎的感受。

มีครั้งหนึ่งที่มีการเรียนเชิญท่านอาจารย์ไปเวียดนาม ท่านได้สนทนากับผู้ป่วยที่อาการหนักมาก ครั้งนั้นท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวให้ผู้นั้นได้พิจารณาสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ใช่เห็นหรือเปล่า? ใช่ได้ยินหรือเปล่า? และความจริงของเห็น ของได้ยินคืออะไร? ความตายเกิดได้ทุกขณะ แล้วสิ่งที่มีค่าของการที่ยังมีชีวิต คืออะไร? เรามักคิดถึงตัวเราหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเรา แต่ความจริงแล้วชีวิตเป็นเพียงเดี๋ยวนี้ ขณะนี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดจะมีค่าไปกว่าขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาสามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่ถูกได้ยิน เห็นกับสิ่งที่ถูกเห็น ว่าเป็นเพียงธรรมะ ไม่ใช่เรา ไม่มีเรา นี่คือของขวัญซึ่งเป็นคำสอนที่มีค่าที่สุดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตก็คือเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้สิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร? เป็นธรรมะ ซึ่งก็คือเป็นเพียงสิ่งที่มีจริงที่มีลักษณะอย่างนั้น ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างที่เรายึดถือ ไม่ใช่เรา เพราะไม่มีเรา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้ทุกคนได้รู้ว่าความจริงคืออะไร? ปัญญาสามารถเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม แม้แต่ความรู้สึกที่ไม่พอใจไม่น่ายินดี

問: 是的,謝謝!

ผู้ถาม: ใช่ค่ะ ขอบคุณค่ะ

Ajhan Sujin: 應該要瞭解 “誠實波羅蜜” (sacca parami) ,我們誠實的在疼痛的那一刻,那一刻是不是機會去瞭解疼痛只是一個疼痛的感受,就只是“感受” (vedana) ,並不是我。

อ.สุจินต์: ควรที่จะเข้าใจ "สัจจบารมี" ขณะที่ความเจ็บปวดกำลังปรากฏ ขณะนั้นเป็นโอกาสใช่ไหมที่จะเข้าใจในเจ็บปวดว่าเป็นสภาพที่รู้สึกเจ็บปวดอย่างหนึ่ง เป็นเพียง "ความรู้สึก" เท่านั้น ไม่ใช่เรา

很誠實的對生起的法思考,在沒有疼痛的時候,在愉快的時候,我們真的有在乎在愉快裡面有不知道的那個痴,知道或不知道哪個比較好?

ต้องมีความตรงความจริงใจในการพิจารณาไตร่ตรองความจริงที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะที่ไม่ได้เจ็บปวด กำลังมีความสุข เราสนใจหรือเปล่าว่าขณะนั้นมีโมหะซึ่งเป็นสภาพที่ไม่รู้ด้วย รู้กับไม่รู้อย่างไหนดีกว่า?

所以我們很誠實的對在痛的那一刻,我們是不是很想擺脫那個 “疼痛的感受” ?還是會產生興趣去瞭解那個疼痛的真相?

เพราะฉะนั้น เราต้องตรงต่อความจริงว่า ในขณะที่รู้สึกเจ็บ เราอยากจะพ้นจากสภาพนั้น? หรือสนใจที่จะเข้าใจความจริงของความรู้สึกที่เจ็บปวด?

所以哪一個比較好,在無明貪愛裡很愉快的感受, 還是在 “疼痛” 的時候去瞭解那個 “疼痛” 的本質是什麼?

อะไรดีกว่ากัน ระหว่างมีความสุขอยู่ในความติดข้องและความไม่รู้ หรือ ในขณะที่มีเจ็บปวด แล้วสามารถเข้าใจลักษณะของความเจ็บปวดว่าคืออะไร?

在疼痛或者舒服的那一刻都是一個機會培養 “誠實波羅蜜” 誠實的去瞭解那些出現的真相到底是什麼? 沒有誰可以替誰去瞭解 “誠實波羅蜜” 。 倘若不是因為佛陀的教導我們是不會知道 “無明” 的危險。 “無明” 是一切不善法生起的因緣條件,所以一切不善 法有 “無明” 伴隨生起但是不知道。

ขณะที่เจ็บปวดหรือขณะที่สบาย ทุกขณะเป็นโอกาสของการอบรมเจริญ "สัจจบารมี" ความจริงใจที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่มีใครสามารถที่จะอบรม "สัจจบารมี" แทนใครได้ ถ้าไม่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ไม่มีทางที่จะรู้จักภัยของ "อวิชชา" "อวิชชา" เป็นเหตุเป็นปัจจัยในการเกิดขึ้นของอกุศลธรรมทั้งหลาย มี "อวิชชา" เกิดร่วมด้วย แต่ไม่รู้

倘若不是因為聽聞佛法,逐漸的培養瞭解真相,又怎麼可能慢慢的愈來愈清楚真相是什麼? 每一刻不管生起是什麼法,無明也好,智慧也好,都是要有因緣條件的。 所以任何時候的情況下,“智慧” 也有可能有條件生起去瞭解那個法。 “智慧” 不只是瞭解在痛的那一刻,事實上任何時刻不 管是什麼法出現,“智慧” 都可以如實的去瞭解。 不管我們在討論什麼情境故事其實都是一樣的解答,現在在那裡出現的法的真相是什麼?

ถ้าไม่ฟังพระธรรม ไม่ค่อยๆ อบรมเข้าใจความจริง แล้วจะสามารถค่อยๆ เข้าใจชัดเจนขึ้นว่าความจริงคืออะไรได้อย่างไร? สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกๆ ขณะไม่ว่าจะเป็นอวิชชาก็ดี ปัญญาก็ดี ทั้งหมดเกิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะใด ก็อาจมีเหตุปัจจัยให้ "ปัญญา" เกิดขึ้นเข้าใจในสภาพธรรมนั้นได้ "ปัญญา"ไม่เพียงแต่เข้าใจในขณะที่ปวดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นขณะใดก็ตาม สภาพธรรมใดปรากฏ "ปัญญา"สามารถรู้ตรงตามความเป็นจริงได้ทุกอย่าง ไม่ว่าเราจะสนทนาเรื่องราวอะไรก็ตาม คำตอบมีเพียงอย่างเดียวก็คือ เดี๋ยวนี้ ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏคืออะไร?

“誠實波羅蜜” 的培養是瞭解現在這一刻的真相,所以不誠實是不可能瞭解在那裡出現的法的真相是什麼。 誠實的那一刻是有智慧伴隨瞭解那一刻的真相是什麼? 不誠實是不能夠瞭解什麼是 “誠實波羅蜜” 。 當瞭解不同善法的細微,深奧處,智慧的建立也會隨著瞭解逐漸的增長。 所以我們不管討論什麼,對那個真相要誠實的

การอบรมเจริญ "สัจจบารมี" คือการเข้าใจความจริงในเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ดังนั้น ความไม่จริงไม่สามารถเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏได้ ขณะที่จริง ขณะนั้นมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เกิดขึ้นเข้าใจความจริงในขณะนั้น ความไม่จริงไม่สามารถเข้าใจว่าอะไรคือ "สัจจบารมี" การเข้าใจความแตกต่าง ความละเอียด ความลึกซึ้ง ของกุศลธรรมต่างๆ เมื่อเพิ่มขึ้น ปัญญาก็เจริญเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ไม่ว่าเราจะสนทนากันเรื่องอะไร ต้องตรงต่อความจริงของสิ่งนั้น


敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠

น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享

กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย

By line group Just Dhamma

หมายเหตุ

ที่มา การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน

สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)

แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)


อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... บทความแปลภาษาจีน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 10 พ.ค. 2565

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง กราบยินดีในความดีคุณซาร่า คุณจอน คุณวินเซ็นท์ คุณแพท คุณปาลและทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 10 พ.ค. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sea
วันที่ 13 พ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ