ความนิยมใส่บาตร
มักจะใส่บาตรตอนเช้า ก็ไม่เคยคิดจะเลือกพระ แต่เดี๋ยวนี้จำเป็นต้องเลือกใส่ เพราะว่ามีอยู่คราวหนึ่ง มีพระรูปหนึ่งรูปร่างเล็กๆ ดำๆ เดินมาแถมยังดูเหมือนจะส่งยิ้มมาแต่ไกล คงไม่คิดไปเอง แต่ทำเป็นไม่เห็นก็ใส่ตามปกติ หลายครั้งเข้าพยายามหลีกเลี่ยงเสีย แต่ก็มาเจออีกจนได้คราวนี้มีเด็กตามมาด้วย พอใส่ข้าวและกับ (ข้าวหอมหุงด้วยขมิ้นเหลืองพร้อมกับที่ทำเองเสมอ) เสร็จแล้วพระรูปนั้นแทนที่ลูกศิษย์จะต้องหยิบพระกลับยกบาตรเทลงในถุงพลาสติคใบใหญ่จนเกลี้ยง ตกใจเหมือนกันแต่ก็ข่มใจได้ทัน เพียงแต่อมยิ้มเท่านั้น รู้สึกลูกศิษย์จะรู้สึกเขิน คิดเอาเองมั้ง ตั้งแต่นั้นมาเจออีกก็ไม่ใส่ถึงจะยืนคอยก็เถอะ ถามว่าใครผิดคะ กุศลจะเกิดไหมคะ ทำอาหารอย่างประณีต ใส่บาตรที่ไรก็อดระแวงไม่ได้ว่าต้องเจออีก
ในการทำบุญด้วยการใส่บาตรพระภิกษุตอนเช้า ผู้ใส่บาตรควรคำนึงถึงพระวินัยบางข้อ ที่ทำให้พระท่านต้องอาบัติได้ เช่น เมื่อพระภิกษุรับอาหารเป็นจำนวนมาก (เต็มบาตร ล้นบาตร) เราไม่ควรฝืนใส่ให้ท่านเป็นอาบัติอีก ควรใส่บาตรกับภิกษุรูปอื่นที่ท่านยังไม่ได้รับหรือได้รับเพียงเล็กน้อย ดังนั้น เมื่อพบเห็นพระภิกษุที่มีอาหารบิณฑบาตรมากแล้ว ควรเลือกใส่พระภิกษุหรือสามเณรที่ท่านยังไม่รับ ชื่อว่าการทำบุญที่ไม่ขัดกับพระวินัย
ผมก็เคยเจอเหมือนกันครับ เหตุการณ์ทำนองเดียวกันเลย หรืออาจจะยิ่งกว่าของคุณ ben เสียอีก เพราะตอนนั้นผมไปใส่บาตรวันขึ้นปีใหม่ที่ลำพูน พระทุกรูปจะมีคนแบกถุงตามเก็บวัตถุทานในบาตรของท่านเมื่อเต็ม และก็ไม่มีใครท้วง ต่างก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดาหมด จะเป็นเพราะเป็นยุคแห่งกาลวิบัติของพระศาสนาด้วยหรือเปล่าครับ ที่แม้กระทั่งผู้ที่สละบ้านเรือนบวชเป็นบรรพชิตก็ไม่ศึกษาถึงพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง อย่างกรณี เพื่อนของผมที่เคยบวชก็ต้องอาบัติเพราะคิดว่าฉันนมโคในยามวิกาลได้ โดยไม่รู้ว่าผิด