การเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ สู่แดนพุทธภูมิ ๒๒-๒๕ พ.ค. ๒๕๖๕ นำโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และ ผู้อุปถัมภ์ (Patron) มูลนิธิพระธรรม [Dhamma Foundation] ประเทศอินเดีย มีกำหนดการเดินทางไปยังเมืองลัคเนา (Lucknow) เมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ในวันที่ ๒๒-๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้ หลังการได้รับรายงานจากคุณอาคิลและคุณอาช่า ชาวอินเดียผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระธรรม ณ ประเทศอินเดีย ว่า ได้ประสบความสำเร็จในการจัดซื้อที่ดิน เพื่อการก่อสร้างอาคารที่ทำการของ มูลนิธิพระธรรม [Dhamma Foundation] แล้ว
ทั้งนี้ ที่ดินดังกล่าวมีขนาดพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่ ๒๘๑ ตารางวา ตั้งอยู่ริมถนน Highway ห่างไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองลัคเนา (Lucknow) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร (นับจาก Ambedkar Memorial Park) และห่างจากสนามบินนานาชาติ Chaudary Charan Singh international Airport ประมาณ ๒๓.๕ กิโลเมตร ซึ่งทางคุณอาคิลและคุณอาช่า แจ้งว่า จะจัดการให้มีการสนทนาธรรมขึ้น เนื่องในวาระวิสาขบูชาและเพื่อเป็นการฉลองการได้มาของที่ดินผืนนี้ ซึ่งกว่าจะได้มานั้น ต้องประสบกับปัญหาอุปสรรคนานาประการ ตามการเสนอข่าวของท่าน พลตรี ดร.วีระ พลวัฒน์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ซึ่งได้นำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบเป็นประจำมาอย่างต่อเนื่อง ในรายการ "สนทนาเรื่อง มศพ. กับ พลตรี วีระ พลวัฒน์" ทุกๆ วันเสาร์ เวลา ๙.๐๐ น. - ๑๐.๐๐ น. ก่อนรายการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี ทาง ยูทูปช่อง dhammahometv และช่องทางอื่นๆ หลากหลายช่องทาง
(บันทึกการสนทนา เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ หลังได้รับทราบรายงานการได้มาของที่ดินผืนนี้ จากคุณอาคิลและคุณอาช่า)
เมื่อ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ซึ่งท่านเป็น ผู้อุปถัมภ์ (Patron) ของมูลนิธิพระธรรม ดังกล่าว ทราบข่าวที่น่ายินดียิ่งนี้ จึงได้มีกำหนดการเดินทางไป พร้อมกับกรรมการ มศพ. เพื่อร่วมสนทนาธรรมในวันสำคัญนี้ ซึ่งจะเป็นการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี เป็นครั้งแรก ณ ดินแดนพุทธภูมิ โดยมีท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นผู้สนทนาธรรมภาษาไทย คุณสุขิน เดอร์ปาลซิงห์ นฤหล้า กรรมการมูลนิธิฯ เป็นผู้แปลเป็นภาษาฮินดี ซึ่งโดยปรกติ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้มีการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี อออนไลน์ (ในแอพลิเคชั่น ZOOM) เป็นประจำทุกวันเสาร์ เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. กับ คณะผู้ศึกษาธรรม ชาวอินเดียผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระธรรม ณ ประเทศอินเดีย มาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องมานานนับปีแล้ว จนปัจจุบัน ดังตัวอย่างบันทึกการสนทนาด้านล่าง
ทั้งนี้ ท่านอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้กับสมาชิกชมรมบ้านธัมมะ ที่ประสงค์จะเดินทางไปร่วมแสดงความยินดีกับชาวอินเดีย และร่วมการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี ครั้งประวัติศาสตร์นี้ ได้เดินทางไปด้วย ในวันที่ ๒๒-๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้ รวมจำนวนผู้เดินทางไปทั้งสิ้น ๗๒ ท่าน โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรรณพ หอมจันทร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการในการเดินทางของคณะฯ ในครั้งนี้
สำหรับการสนทนาธรรมนั้น แต่เดิม ทางคุณอาคิล และคุณอาช่า จะดำเนินการกางเต๊นท์ เพื่อสนทนาธรรม ณ สถานที่ ที่จะทำการก่อสร้างอาคารที่ทำการมูลนิธิพระธรรมดังกล่าว โดยมีการสนทนาในหมู่ชาวอินเดียผู้สนใจร่วมกัน แต่เนื่องจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จะเดินทางไปร่วมการสนทนาในครั้งนี้ด้วย ดังได้กล่าวแล้ว และทราบว่า ขณะนี้ อากาศที่เมืองลัคเนา ประเทศอินเดีย มีอุณหภูมิสูงถึงกว่า ๔๐ องศาเซลเซียส ในเวลากลางวัน ท่านอาจารย์จึงมีเมตตาให้ทางมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดการสนทนาธรรมขึ้น ณ โรงแรม Lineage ซึ่งจะเป็นทั้งที่พักของท่านอาจารย์และคณะที่เดินทางไปในครั้งนี้ และจะเป็นการสนทนาธรรมไทย-ฮินดี ตลอดระยะเวลา ๓ วัน
อนึ่ง เนื่องจากมีสหายธรรมชาวต่างประเทศ ซึ่งเท่าที่ทราบในขณะนี้ คือคุณ Alberto Spera จากประเทศอิตาลี จะเดินทางมาร่วมในการเจริญกุศลครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จึงเมตตาให้มีการสนทนาธรรมต่อ ช่วงค่ำ ในภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นโอกาสของชาวพุทธ ไม่เพียง ณ ประเทศอินเดียในขณะนั้น เท่านั้น แต่การสนทนาครั้งประวัติศาสตร์นี้ จะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ในทุกช่องทางอีกด้วย
เพราะเหตุที่โรงแรมดังกล่าวตั้งอยู่ใจกลางเมืองลัคเนา ซึ่งมีความเจริญมาก แต่ได้ทราบว่าจะทำให้การเดินทางมาร่วมสนทนาธรรมของชาวอินเดียมีความยากลำบาก ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จึงมีเมตตาให้จัดรถทัวร์รับส่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวอินเดียที่จะเดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ ของประเทศอินเดีย ในการเข้าร่วมฟังการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี ครั้งประวัติศาสตร์นี้ ด้วยความสะดวกสบายอย่างยิ่ง พร้อมทั้งได้สั่งให้มีการจัดเตรียมอาหารกลางวันไว้เพื่อจัดเลี้ยงชาวอินเดียทุกท่าน ที่เข้าร่วมฟังการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี ครั้งประวัติศาสตร์นี้ อย่างเต็มที่อีกด้วย
อนึ่ง นอกจากจะมีชาวอินเดียจากทั่วประเทศ ที่ได้แสดงความจำนงที่จะเดินทางมาร่วมฟังการสนทนา ไทย-ฮินดี ครั้งประวัติศาสตร์นี้ เป็นจำนวนมากแล้ว ทางคุณอาคิลและคุณอาช่า แจ้งว่า ในวันที่ท่านอาจารย์และคณะจากประเทศไทย จะเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่จริง (ในช่วงเวลาเย็น ที่อุณภูมิความร้อนจะลดลงแล้ว) ของที่ดินที่จะเป็นที่ตั้งของที่ทำการมูลนิธิพระธรรม (Dhamma Foundation) นั้น จะมีชาวอินเดีย กว่า ๔๐๐ คน มาคอยให้การต้อนรับและเยี่ยมชมสถานที่ ไปพร้อมๆ กับท่านอาจารย์และคณะ ทั้งนี้ ทางคุณอาคิลและคุณอาช่า จะได้จัดเตรียมสถานที่ พร้อมติดตั้งเครื่องปั่นไฟ โดยจะขอกราบเรียนให้ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้สนทนาธรรม กับ ชาวอินเดียที่มาให้การต้อนรับ ในวันนั้น อีกด้วย
ด้วยเหตุดังกล่าว การเดินทางไปของ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะ ในครั้งนี้ จะเป็นการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เป็น ณ กาลครั้งหนึ่ง ในสังสารวัฏฏ์ ที่มีความสำคัญยิ่ง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ที่จะได้เกิดมีการสนทนาธรรม ไทย-ฮินดี ขึ้น ณ ดินแดนพุทธภูมิ โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จะเป็นผู้เดินทางไปร่วมสนทนากับชาวอินเดีย ในครั้งประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งมีความหมายถึงการที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จะเป็นผู้ที่อัญเชิญพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สูญไปแล้วจากดินแดนพุทธภูมิแห่งนี้ กลับคืนไปประดิษฐาน ณ ดินแดนดั้งเดิมอันทรงคุณยิ่งของพระพุทธศาสนา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป เพราะแม้การที่ชาวพุทธจากทั่วโลกที่เดินทางมาสักการะสังเวชนียสถาน ที่ประเทศอินเดียในปัจจุบันนี้ ก็เป็นแต่เพียงได้พบกับสถานที่ วัดวาอาราม เจดีย์ ถาวรวัตถุ ตลอดจนการมีแต่พิธีกรรม มีการสวดมนต์ ต่างๆ หาได้มีพระธรรมที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจในคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นหนทางดียวที่จะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริงไม่ แต่ใครเลยจะรู้ว่า ณ บัดนี้ "พุทธศักราช ๒๕๖๕ ถึงเวลา ที่พระศาสนาจะกลับคืนสู่แดนพุทธภูมิ" แล้ว โดยท่านผู้มีนามในชาตินี้ว่า ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ผู้เสียสละและทุ่มเทเวลาให้กับพระพุทธศาสนาจนหมดใจ
นอกจากการอัญเชิญพระศาสนากลับคืนสู่แดนพุทธภูมิดังกล่าวแล้ว ทางมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ยังจะได้มีการอัญเชิญ พระรัตนบุษยภาชน์จำลอง ซึ่งได้มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ได้ประทานให้แก่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อครั้งก่อสร้างอาคารมูลนิธิฯ แล้วเสร็จและทำการเปิดอาคารครั้งแรก ในวันวิสาขบูชา ปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ จำนวน ๓ องค์ ซึ่งท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ทำการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม ออกเป็นสี่ส่วน เมื่อบ่ายของวันวิสาขบูชา ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา
โดยพระบรมสารีริกธาตุส่วนแรก ท่านอาจารย์ได้อัญเชิญลงผอบแก้วใสที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระรัตนบุษยภาชน์จำลอง องค์สีทอง ซึ่งจะอัญเชิญไปมอบแก่ชาวอินเดีย ในการเดินทางไปครั้งนี้ เพื่อประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพบูชาและเป็นกำลังใจแก่ชาวอินเดีย ที่จะร่วมกันศึกษาและเผยแพร่พระธรรม ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มั่นคงสืบไป ในดินแดนพุทธภูมิ
พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่สอง ท่านอาจารย์ได้อัญเชิญลงผอบแก้วใสที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระรัตนบุษยภาชน์จำลอง องค์ประดับพลอยสีชมพู เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ บ้านธัมมะภาคใต้
พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่สาม ท่านอาจารย์ได้อัญเชิญลงผอบแก้วใสที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระรัตนบุษยภาชน์จำลอง องค์ประดับพลอยสีไพลิน (น้ำเงิน) เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ บ้านธัมมะภาคเหนือต่อไป
ส่วนพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่ ๔ ท่านอาจารย์ได้อัญเชิญลงผอบทองคำ เพื่อนำขึ้นประดิษฐาน สำหรับเป็นที่เคารพสักการะบูชา ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดังเดิม
กราบบูชาคุณพระรัตนตรัย ด้วยเศียรเกล้า
ขอเชิญติดตามกระทู้ที่เกี่ยวข้องได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :
- งานนี้แหละ เป็นงานที่สำคัญที่สุด ตลอดชีวิตต่อไป อยู่เพื่อทำงานนี้
- ชาวอินเดีย จัดพิธีต้อนรับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ยิ่งใหญ่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ เมืองลัคเนา
- คุณ Ashaji Sindhu ประธานมูลนิธิพระธรรม ประเทศอินเดีย เข้าพบและมอบของที่ระลึกแด่ อ.สุจินต์
- การประดิษฐานพระธรรม ณ แดนพุทธภูมิ โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เริ่มขึ้นแล้ว! ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕
- มูลนิธิพระธรรม ประเทศอินเดีย จัดพิธีต้อนรับ อ.สุจินต์ และคณะ อย่างเป็นทางการ สุดยิ่งใหญ่
- อ.สุจินต์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ และพระรัตนบุษยภาชน์ (จำลอง) สูงค่ายิ่ง แก่ มูลนิธิพระธรรม ประเทศอินเดีย
- หนังสือพิมพ์ ๑๒ ฉบับ ทั่วอินเดีย เสนอข่าว อาจารย์สุจินต์ กับภารกิจครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ชาวพุทธ
- ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ ซาบซึ้งในหทัย : ถ้อยคำจากใจ คุณอาช่า สินธุ ประธานมูลนิธิพระธรรม ประเทศอินเดีย
กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของท่านพลตรีวีระ พลวัฒน์และคุณอาคิล คุณอาซ่าพร้อมด้วยทุกท่านๆ ที่ตั้งใจมั่นในการประดิษฐานพระธรรมที่อินเดียในครั้งนี้ เพื่อดำรงพระธรรมสืบไปนานเท่านาน
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และยินดีในความดีของทุกๆ ท่านด้วยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ที่เคารพยิ่ง
กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ขออนุโมทนาการแสดงธรรมเผยแผ่ที่อินเดีย การเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ในทั้ง 4 แห่ง การได้ที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งมูลนิธิพระธรรม ด้วยจิตปิติโสมนัสสูงยิ่งคับ และกราบบูชาคุณอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างสุงสุดครับ
กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านที่มีส่วนทำให้ทริปมหากุศลนี้ได้เกิดขึ้นตามคลองของพระธรรมค่ะ
กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
และกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และอนุโมทนาในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง และกราบยินดีในความดีทุกท่านค่ะ
กราบบูชาคุณพระรัตนตรัย กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง และกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย กราบแทบเท้าท่านอาจารย์ กราบอนุโมทนาค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
- การประดิษฐานพระธรรม ณ แดนพุทธภูมิ โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เริ่มขึ้นแล้ว! ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕
- คุณ Ashaji Sindhu ประธานมูลนิธิพระธรรม ประเทศอินเดีย เข้าพบและมอบของที่ระลึกแด่ อ.สุจินต์
- ชาวอินเดีย จัดพิธีต้อนรับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ยิ่งใหญ่ ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ เมืองลัคเนา
- มูลนิธิศึกษา-เผยแพร่พระพุทธศาสนากับแดนพุทธภูมิ 5...ข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕