การรู้อาการเดินอาการนั่งอาการเคลื่อนไหวเหยียดเข้าคู้ออกเคี้ยวข้าวเป็นการเจริญสติปัฏฐาน กายบรรพหรือไม่

 
lokiya
วันที่  30 พ.ค. 2565
หมายเลข  43180
อ่าน  535

การรู้อาการเดินอาการนั่งอาการเคลื่อนไหวเหยียดเข้าคู้ออกเคี้ยวข้าวเป็นการเจริญสติปัฏฐาน กายบรรพหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 31 พ.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

นิเทสวารกถา

ข้อความบางตอนจาก...

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สัมมาสติมีอารมณ์ ๔

อิริยาบถบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา โดยทางแห่ง ลมอัสสาสะปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางแห่งอิริยาบถ จึงตรัสว่า ปุน จปร อีกอย่างหนึ่งดังนี้เป็นต้น. ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความ ว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่า ตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. เพราะ ความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้. ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือ สติปัฏฐานภาวนาเลย.


สติในภาษาไทย ก็เข้าใจกันว่า ทำอะไร ก็รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ เดินก็รู้ว่าเดินอยู่ ซื้อของก็ให้มีสติ น้ำท่วมก็ให้มีสติ สรุปว่า คนไทยที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม เข้าใจว่า สติคือรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ชื่อว่า มี สติ ความหมายสตินี้ไม่ตรงตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ

สติ ที่ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ สติ เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นเจตสิกเกิดกับจิตที่ดีเท่านั้น ไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย ดังนั้น ขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นไม่มีสติ ขณะใดที่เป็นกุศล ไม่ว่าระดับใด ขณะนั้นมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วยครับ สติทำหน้าที่ระลึก และกั้นกระแสกิเลสที่เกิดขึ้น ไม่ให้เกิดขึ้นในขณะที่สติเกิด ครับ

ดังนั้น ต้องเป็นกุศล จึงจะมีสติ และขณะที่รู้ว่าจะต้องทำอะไรในขณะนั้น รู้ว่าเดินอยู่นั่งอยู่ แต่จิตไม่ได้เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ไม่เป็นกุศล หรือ เพียงรู้ว่าจะต้องทำอะไร ไม่ใช่สติ ครับ

สมดังข้อความในอรรถกถา อธิบายว่า สุนัขบ้าน เดิน มันก็รู้ว่ามันเดินอยู่ แต่ ไม่ใช่การรู้ในการอบรมปัญญาที่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 31 พ.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สติปัฏฐานเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมี กำลังปรากฏตามความเป็นจริงบุคคลของผู้อบรมนั้น ซึ่งจะต้องเป็นผู้ได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ มีความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรม ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ไม่มีการเลือก ไม่มีการเจาะจง หรือไม่มีการเว้นไม่ให้รู้รูปนั้น นามนี้ เป็นต้น และสภาพธรรมที่เป็นที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดนั้น ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงทั้งสิ้น เมื่อประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจาก กาย เวทนา จิต และธรรม

กายานุปัสสนาสติปัฏฏฐาน เป็นการระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย หรือ ที่เคยยึดถือว่าเป็นกายของเรา นั่นก็คือ มหาภูตรูป ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ตึง ไหว ซึ่งจะต้องเห็นว่า ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่กายของเรา เป็นเพียงรูปธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏเท่านั้น ควรที่จะได้พิจารณาว่าทุกคนมีกายแน่นอน แต่ว่าก่อนที่ได้ฟังธรรม เรายึดถือว่า กายเป็นของเรา หรือเป็นตัวเรา แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วรู้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาแม้แต่คำว่า ธรรม คำเดียว ก็จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า เมื่อเป็นธรรมแล้วก็ต้องไม่ใช่เรา

ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงทั้งสิ้น และประการที่สำคัญ สติปัฏฐาน ไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และก่อนที่จะไปถึงสติปัฏฐาน ก็ต้องเริ่มที่การสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ครับ

ขอเชิญฟังบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ ครับ

แนวทางเจริญวิปัสสนา แผ่นที่ ๒ (ครั้งที่ 61-120)

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 31 พ.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
lokiya
วันที่ 1 มิ.ย. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ