การขอโทษ

 
ค่อยๆศึกษา
วันที่  8 มิ.ย. 2565
หมายเลข  43210
อ่าน  547

เคยได้สนธนาธรรมและอ่านบทสนธนาธรรม ในหลายครั้งเกี่ยวกับ เรื่องการขอโทษ ว่าด้วยคำพูดที่ไม่ดีที่ได้เอ่ยออกไป เมื่อผู้กระทำความผิดสำนึกผิด แล้วขอโทษต่อผู้ที่กระทำความผิด ก็เพื่อสำรวมระวังไม่ให้ตนทำผิดในครั้งถัดไป และกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อถึงวาระย่อมให้ผลอันสมควรแก่เหตุ ตรงนี้สามารถทำความเข้าใจได้ครับ .... และ ในกรณีที่ ผู้พูดเอ่ยอกุศลวจีกรรม ที่ประสงค์ให้ผู้ฟังตรอมใจตาย หรือ มีเจตนาฆ่าด้วยคำพูด เมื่อพูดเสร็จ เกิดสำนึกได้ จึงได้ขออภัย ผู้ถูกกระทำก็เปล่งวาจาว่าให้อภัย แต่ภายหลังผู้ถูกกระทำกลับนึกขึ้นได้ เสียใจและตรอมใจตายกับคำพูดนั้น เพราะเหตุใด อกุศลกรรมเนื่องด้วยปาณาติบาตจึงไม่สำเร็จแก่ผู้พูดครับ? เพราะด้วยเหตุผลที่ได้รับอภัยจากวาจาของผู้ถูกกระทำหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 มิ.ย. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กรรมที่ได้กระทำไปแล้ว สำเร็จไปแล้ว นั้น ไม่สามารถไปลบล้างได้ เพราะได้สำเร็จไปแล้ว มีเจตนาที่ไม่ดีต่อผู้อื่นไปแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ใช่อกุศลกรรมบถที่ครบองค์ แต่ก็ยังสามารถเป็นเหตุให้ผลเกิดผลที่ไม่ดีต่อไปในภายหน้าได้ ซึ่งแน่นอน เมื่อเหตุ มีแล้ว ย่อมสามารถเป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดีต่อผู้กระทำ ได้ แต่ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่ากรรมนั้น จะให้ผลเมื่อใด เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ขณะที่ขอโทษ เป็นสภาพจิตที่งาม เป็นคนละส่วนกันกับขณะที่ทำอกุศลกรรม ส่วนผู้ที่ให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธในความผิดของผู้อื่น นั่น ก็เป็น กุศลของผู้ให้อภัย หลังจากนั้น จะเป็นอย่างไร จะคิดอย่างไร ก็เป็นไปตามการสะสมของผู้นั้น ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น และ คนอื่นก็รู้ไม่ได้ด้วย

จากพฤติกรรมที่ไม่ดีของบุคคลอื่น ก็เป็นเครื่องเตือนใจที่ดีว่า ควรอย่างยิ่งที่จะเห็นโทษเห็นภัยของกิเลส เพราะเมื่อถูกกิเลสครอบงำแล้ว มีแต่จะนำมาซึ่งความเสียหายเท่านั้น ทำแต่สิ่งที่ไม่ดี เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งนั่น ก็เป็นการเบียดเบียนตนเอง เป็นการสะสมเหตุที่ไม่ดีที่จะทำให้ผลที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตนเอง โดยไม่มีใครทำให้เลย ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 9 มิ.ย. 2565

เมื่อให้อภัยเป็นกุศลจิต ผู้ถูกกระทำไม่ตรอมใจตาย ก็ไม่ใช่อกุศลกรรมบถที่ครบองค์ของผู้กระทำ อย่างไรเสีย เจตนาไม่ดีได้เกิดขึ้นแล้ว วจีกรรมที่เป็นอกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว และเราก็ไม่ทราบเช่นกันว่า หลังอภัย ใครจะคิดเช่นไร เป็นไปตามการสะสมของบุคคลนั้น ..... และก็เป็นธรรมดาที่จะมีการระลึกถึงอดีตด้วยความช้ำใจเพราะเป็นผู้ที่มีกิเลส เมื่อระลึกถึงก็เสียใจได้ ตรอมใจได้ เป็นธรรมดา จึงขอเรียนถามต่อไปครับว่า หากหลังให้อภัยแล้ว ผู้นั้นเสียใจจนถึงแก่ความตาย จะถือเป็นปาณาติบาตที่ครบองค์ของผู้ว่าร้ายหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 มิ.ย. 2565

เรียน ความคิดเห็นที่ ๒ ครับ

ไม่มีใครรู้ได้ว่าตายเพราะอะไร และ ไม่มีใครทำให้ใครตายได้ด้วย เพราะความตาย (จุติจิต) เป็นผลของกรรม เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แต่ก่อนตาย จะเป็นอย่างไร ก็ตามการสะสมของผู้นั้น ตามที่เข้าใจ เข้าใจว่า เจตนาของผู้ว่าร้าย ได้จบสิ้นไปแล้ว และเมื่อมีการสำนึกผิด มีการขอโทษขอขมาแล้ว และ ผู้ถูกว่าร้าย ก็ให้อภัยไม่ถือโทษโกรธ ก็เป็นการกระทำที่ดีต่อกัน ไม่ได้เป็นอกุศลกรรมแต่อย่างใด การตายที่เกิดขึ้น ต่อมาในภายหลัง ที่กล่าวว่าตรอมใจตาย นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลผู้ว่าร้ายเลย แต่เป็นเพราะการสะสมอกุศล ของผู้ถูกร้าย ที่มีเหตุปัจจัยที่จะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่

ผู้ว่าร้าย ได้ทำอกุศลกรรม ตั้งแต่ขณะที่ว่าร้ายแล้ว แต่เมื่อขอโทษแล้ว ก็เป็นการเริ่มต้นใหม่ที่จะมีความเจริญในทางกุศลต่อไป แต่อกุศลกรรมที่ทำตอนแรก ไม่ได้สูญหายไปไหน ก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 9 มิ.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 10 มิ.ย. 2565

ขอบพระคุณครับ อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Junya
วันที่ 10 มิ.ย. 2565

กราบสาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ