เกิดมา ไม่เคยคิดเลยว่า จะมีวันนี้ การประดิษฐานพระธรรม ณ แดนพุทธภูมิ

 
kanchana.c
วันที่  25 มิ.ย. 2565
หมายเลข  43272
อ่าน  1,946

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์สนทนาธรรมกับชาวพุทธอินเดีย

ที่เมืองลัคเนาว์ ประเทศอินเดีย

เกิดมา ไม่เคยคิดเลยว่า จะมีวันนี้

การประดิษฐานพระธรรม ณ แดนพุทธภูมิ

23 – 24 พ.ค. 2565

สุ. วันนี้เป็นวันที่ยินดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้พบปะผู้ที่นับถือพุทธ แต่เป็นเรื่องที่การสนทนาธรรมจะช่วยให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น เพราะว่าต้องเป็นคนตรง ทุกคนบอกว่าเป็นชาวพุทธ กราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางคนก็ทั้งเช้า ทั้งค่ำ ก่อนจะนอน บางครั้งก็สวดมนต์ แต่ว่ารู้จักพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือเปล่า นี่เป็นคำถามแรก รู้จักพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือเปล่า

ผู้ฟัง ไม่รู้จักครับ

สุ. ต้องเป็นคนตรงอย่างยิ่ง ตรงต่อความเป็นจริง เพราะว่าความเป็นจริงใครก็เปลี่ยนไม่ได้ แต่ใครจะรู้ความจริงถึงที่สุด ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนที่ในสวรรค์ จักรวาลอื่นก็ไม่มี เมื่อ 2,500 กว่าปี เป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ บำเพ็ญพระบารมี เพื่อถึงเวลาจะตรัสรู้ความจริง เห็นไหมคะ ความจริงลึกซึ้งเท่าไร ต้องมีผู้ที่เห็นประโยชน์อย่างยิ่งว่า ขณะนี้รู้ความจริงหรือเปล่า และอะไรจริง

เพราะฉะนั้น คนที่ฟังธรรมเป็นครั้งแรก จะงง ไม่คิดเลยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ซึ่งทุกคนคิดไม่ถึง แม้อยู่บนเครื่องบิน เมื่อจะจากเขตแดนนี้ ดิฉันก็กราบนมัสการ เป็นความปีติอย่างยิ่ง เพราะว่า ณ ที่นี้ ทั่วประเทศเมื่อ 2,500 กว่าปี ผู้ที่บำเพ็ญพระบารมีทรงตรัสรู้ความจริง เป็นที่ๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายพระองค์ แต่พระองค์ที่ 4 คือ พระองค์นี้ก็ประสูติที่นี่

เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่เพียงที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ทรงแสดงพระธรรมทั่วทุกหนแห่ง เพื่ออะไรคะ เพื่อคนฟัง ฟังแล้วเป็นอย่างไร รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ฟังจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร ก็ได้ยินแต่ชื่อ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมด้วยพระมหากรุณาอย่างยิ่ง ไม่มีใครเปรียบได้เลย เพราะนับตั้งแต่เริ่มบำเพ็ญพระบารมี ไม่ใช่เฉพาะเมื่อเวลาที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว แต่ก่อนนั้นสิ่งที่พระองค์ทรงแสดงจากการที่ทรงตรัสรู้แล้ว ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้เพียงใด พระองค์ทรงพระมหากรุณาแสดงให้คนอื่น แม้พวกเราในสมัยนี้ก็เหมือนคนในสมัยโน้น ไม่เคยฟังมาก่อน ได้เริ่มฟังสิ่งที่ยาก ยากอย่างไร ถ้าไม่ศึกษาทีละคำให้เข้าใจจริงๆ จะไม่รู้ซึ้งถึงความลึกซึ้งของพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ทั่วโลก ทุกโลก ทุกจักรวาลเคารพอย่างยิ่งก็คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ถ้าได้ยินคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่เข้าใจ จะเคารพนับถือพระองค์หรือเปล่า เพราะไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อตรัสรู้แล้ว พระองค์ตรัสว่า ธรรมละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้ ไม่ใช่ใครๆ ฟังแล้วจะเข้าใจทันที คิดถึงพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญเพื่อรู้ความจริง บำเพ็ญพระบารมียิ่งกว่าใครทั้งหมด ทั้งความอดทน ทั้งความเพียร ทั้งตรงต่อความจริง เพื่อละความไม่รู้ จนถึงกาลที่จะได้รู้ความจริงเมื่อตรัสรู้แล้ว แม้ตรงนี้ ที่นี้เอง ใครจะรู้ว่า ในอดีตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จทรงแสดงธรรมด้วย

เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ได้ฟัง แม้เพียงคำเดียว เหมือนกำลังเฝ้าเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค ซึ่ง ณ กาลครั้งหนึ่ง พระองค์ได้ตรัสคำนี้ คนในครั้งนั้นได้ฟัง ไม่ประมาทเลยในความลึกซึ้ง สามารถเข้าใจได้ แม้ในครั้งนี้ใครจะรู้ว่า ใครสะสมเหตุผล ความตรง ความจริง ความสนใจ ความเห็นประโยชน์ ที่จะฟังทุกคำของพระองค์ด้วยความเคารพ เหมือนกำลังเฝ้าเฉพาะพระพักตร์พระองค์ ที่จะไตร่ตรองจนกระทั่งสามารถเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งของแต่ละคำได้ คำของพระองค์ ผู้ที่ได้ฟังเข้าใจ ก็ได้มีความเป็นเพื่อนที่ดีที่จะให้คนอื่นสามารถรู้ความจริงตามที่เขาได้เข้าใจ เท่าที่จะทำได้ เพราะฉะนั้น เราจึงได้มีการได้ยินได้ฟังคำที่พระองค์ตรัสไว้นานมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ มิฉะนั้นเราจะไม่ได้ยินคำนั้นอีกเลย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นใคร? ถ้าไม่ฟังคำของพระองค์ แล้วไตร่ตรองจนเข้าใจความละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม พระพุทธรูปไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เครื่องรางของขลัง การไหว้สิ่งที่เคารพต่างๆ ก็ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ว่าเมื่อได้ฟังคำของพระองค์ เข้าใจในความลึกซึ้ง เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยินคำว่า “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” มีความหมายทุกคำ พระอรหันต์ คือ ผู้ที่หมดจากกิเลส ทุกคนมีกิเลส จะหมดจดได้ไหม ยากไหมที่จะหมดจด ยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า กิเลสคืออะไร เดี๋ยวนี้มีหรือเปล่า

เพราะฉะนั้น เริ่มได้ยินคำเพียงคำเดียวที่พระองค์ตรัส เข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ถ้าไม่เข้าใจคำเดียวคำแรก จะเข้าใจคำต่อๆ ไปได้ไหม คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพียงคำเดียว ไม่ใช่สำหรับให้ต่างคนต่างคิด ไม่ใช่ให้ต่างคนต่างเข้าใจ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงถึงที่สุด ทุกคำที่ได้ตรัส เพราะฉะนั้น เป็นผู้ที่เคารพจริงๆ ไม่คิดเอง ถ้าคิดเอง ก็ไม่ต้องมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แต่เมื่อรู้ว่า เราไม่รู้ แต่ละคนไม่รู้ จึงฟังเพื่อรู้ความจริง เพราะมีผู้ที่รู้จริงๆ และประเสริฐกว่ามากมายมหาศาล ประมาณไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ต้องเคารพด้วยการฟังให้เข้าใจแต่ละคำ

ทุกคนมีรูปร่างหน้าตาพอที่จะรู้ว่า ใครเป็นใคร แต่รูปร่างพระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ทุกคำที่พระองค์ตรัสให้เข้าใจเป็นพระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทำร้ายพระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระธรรมทุกคำที่พระองค์ตรัสแล้วทำให้เห็นความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น พระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ธรรมะทุกคำที่พระองค์ได้ตรัสแล้วนั่นเองเป็นพระกายที่ทำให้คนได้รู้จักพระองค์ ผู้ที่กล่าวว่าเป็นชาวพุทธ เคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทำร้ายพระธรรมที่พระองค์ตรัสแล้วโดยไม่ศึกษาด้วยความเคารพให้เข้าใจในความละเอียดถึงที่สุด ด้วยการศึกษาจริงๆ ด้วยการไตร่ตรองด้วยความเคารพ จึงเห็นพระคุณที่ทำให้ความไม่รู้ที่เคยมีแสนนานในสังสารวัฏฏ์ ค่อยๆ หมดไปทีละน้อย

นี่คือการบำเพ็ญบารมี ซึ่งหมายความว่า เป็นการอบรมความรู้ ความเข้าใจในความจริงที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จนค่อยๆ เข้าใจ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงว่า การที่จะเข้าใจธรรมะต้องเป็นคุณความดี แต่ความดีอื่นๆ ทั้งหมด โดยไม่เข้าใจความจริงของธรรมะ ไม่ใช่บารมี เพราะไม่สามารถทำให้ความไม่รู้ ซึ่งเป็นเหตุของความไม่ดีทั้งหลายให้ค่อยๆ ลดลงจนหมดสิ้นได้ ไม่ว่าสมัยใดทั้งสิ้น มีคนที่ลำบาก ทุกข์ยาก แม้เป็นเศรษฐีก็ไม่มีความสุขได้ เพราะเป็นโรคที่ร้ายแรง

เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า นี่เป็นสิ่งซึ่งประจำโลก ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าที่ไหนในโลก มีคนที่ทุกข์ยาก ลำบาก เจ็บไข้ได้ป่วย และมีคนที่ตรงกันข้าม สุขสบายดีมีทุกอย่าง แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ ไม่รู้ความจริง ใครรู้ว่า ใครจะตายเมื่อไร เดี๋ยวนี้ก็ได้ แต่ก่อนตาย ก็ไม่รู้ความจริงเหมือนเดิม

เพราะฉะนั้น ถ้ายังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่มีค่าที่สุดก็คือการรู้ความจริง ซึ่งรู้เองไม่ได้ แต่ต้องฟังคำของพระองค์ด้วยความเคารพ แล้วไตร่ตรอง ค่อยๆ รู้จักพระองค์ขึ้น ถ้าเป็นผู้ไม่เห็นโทษของความไม่ดี จะละความไม่ดีได้ไหม และความไม่ดีต่างหากที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ต่างๆ

เพราะฉะนั้น จะแก้ไขความทุกข์ยากและปัญหาทั้งหมด ก็ด้วยการเข้าใจความจริง ขณะนี้ทุกคนสบายดี แต่จะรู้ไหมว่า เมื่อไรจะมีความทุกข์แสนสาหัสเกิดขึ้น ใครสามารถจะไม่ให้ความทุกข์เกิดขึ้นได้บ้าง ไม่ให้ความเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดขึ้นได้บ้าง ไม่ให้ภัยพิบัติเกิดขึ้นได้ เป็นไปไม่ได้เลย ต้องเป็นไปตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และประจักษ์แจ้ง และทรงแสดงแล้วว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัยเท่านั้น

ไม่มีอะไรจะประโยชน์และมีค่าในสังสารวัฏฏ์เท่ากับได้เข้าใจความจริงจากการฟังทุกคำ ไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความเข้าใจของตนเอง ใม่ใช่อาศัยคนอื่น และถามคนอื่นว่า จริงไหม ใช่ไหม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมจนมีพุทธบริษัทที่เข้าใจพระธรรม พระองค์จึงปรินิพพาน เพราะเหตุว่าพระองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดอย่างยิ่งที่สามารถจะอนุเคราะห์สัตว์โลกครบถ้วนแล้ว

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมให้คนที่ได้ฟังมีความเข้าใจมั่นคง ที่เป็นพุทธบริษัททั้งหมด พระองค์จึงปรินิพพาน แต่พระธรรมยังมี เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เข้าใจพระธรรมคือการระลึกถึงและบูชาสูงสุดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อให้คนอื่นได้เข้าใจความจริง

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ฟังพระธรรมด้วยความเคารพสูงสุด พิจารณาไตร่ตรองความละเอียดลึกซึ้ง เป็นความเข้าใจของตนเอง จึงสามารถรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคำอื่นๆ ทั้งหมดในพระวินัย ในพระสูตร ในพระอภิธรรมทั้งใน 3 ปิฎก ก็จะทำให้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชัดเจน เพราะว่าทุกคำสอดคล้องกัน เพราะเป็นความจริงถึงที่สุด

นี่คือความหมายจริงๆ ของคำว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ไม่ใช่ให้พระธรรมเป็นที่พึ่งของคนอื่น แต่ต้องเป็นที่พึ่งของตนเองด้วยความเข้าใจ แม้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็แสดงพระธรรมให้คนอื่นเข้าใจ ให้มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่จะมีชีวิตต่อไปจนสามารถพ้นจากกิเลส หมดสิ้นกิเลสได้

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เพื่อความเข้าใจถูก เมื่อมีความเข้าใจถูกก็จะรู้ว่า ใครพูดผิด ใครพูดตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตรงต่อความเป็นจริง ถ้ามีความเข้าใจธรรมะแล้วก็รู้ว่า คำของใครผิด นี่เป็นประโยชน์เมื่อมีการสนทนาธรรม เพื่ออนุเคราะห์ผู้ที่เห็นประโยชน์ของความเป็นผู้ตรงต่อความจริง ได้มีความเห็นที่ถูกต้อง

เพราะฉะนั้น เราจะเริ่มสนทนาด้วยการเข้าใจทีละคำจนหมดความสงสัย มีความมั่นคง มีความแน่ใจว่า เป็นธรรมะ ซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ เพราะธรรมะเป็นความจริง

ขอถามก่อนว่า เดี๋ยวนี้มีธรรมะไหม? อะไรเป็นธรรมะเดี๋ยวนี้?

ผู้ฟัง ตามที่ได้ฟังมา ทุกอย่างรอบตัวเราที่มีจริง นั่นคือธรรมะ

สุ. ยกตัวอย่างได้ไหม?

ผู้ฟัง อย่างเช่นตอนที่คุยอยู่ เห็นอยู่ ถ้าพูดทีละขณะ เห็นเป็นธรรมะ

สุ. ถูกต้องค่ะ ธรรมะคือสิ่งที่มีจริง ทุกอย่างที่มีจริง ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เดี๋ยวนี้มีเห็น เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจากการที่ได้ทรงตรัสรู้ว่า เห็นคืออะไร เห็นไหมคะ เรารู้ว่ามีเห็น เท่านั้นไม่พอ แต่เห็นคืออะไร ความจริงของเห็นคืออะไร เห็นมีจริง เห็นเป็นธรรมะ ถูกต้อง เพราะเป็นความจริง กำลังเห็น แล้วจะบอกว่าไม่เห็นไม่ได้ ใครๆ ก็รู้ เห็นมีจริง กำลังเห็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของเห็น ต้องไม่เหมือนอย่างที่กำลังเห็นแล้วไม่รู้ว่า เห็นคืออะไร

นี่คือการศึกษาธรรมะ ไม่ใช่ตัวหนังสือ ไม่ใช่เพียงคำที่จำ แต่มีสภาพธรรมะจริงๆ เดี๋ยวนี้ปรากฏให้ศึกษา ให้เข้าใจว่า เห็นอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้หรือเปล่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เห็น คนอื่นก็เห็น แต่ความต่างกัน คือ คนอื่นไม่รู้ว่า เห็นคืออะไร แต่ตรัสรู้ หมายความว่ารู้ความจริงของสิ่งที่มีถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง

เพราะฉะนั้น ต้องค่อยๆ เข้าใจความลึกซึ้งด้วยการสนทนา ใครเห็น?

ผู้ฟัง จิต

สุ. เคยได้ยินคำว่า “จิต” ไหมคะ ใครเคยได้ยินคำว่า “จิต” ก่อนที่จะมาฟังที่นี่หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ได้ยินคำว่า “จิต” ก็ไม่รู้ ใช่ไหม จิตคืออะไร ภาษาบาลีหรือภาษามคธีใช้คำว่า “จิตตะ” แต่ภาษาไทยใช้คำว่า “จิต” ไม่ทราบว่าภาษาอื่น ก็ตัดสั้นๆ เป็นจิตคำเดียวหรือเปล่า แต่สากล สำหรับชาวพุทธทั้งหมดให้พูดตรงกันว่า “จิตตะ” เพราะถ้าพูดจิตเฉยๆ คนฟังก็ไม่เข้าใจ แต่ต้องเข้าใจ “จิตตะ” บางคนก็พูดว่า “จิต” กุศละ บางคนพูดว่า กุศล นี่เป็นเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ให้เข้าใจความจริงในภาษาของตนๆ

เคยได้ยินคำว่า “ธรรมะ” ไหม ได้ยินแล้วเข้าใจหรือเปล่าว่า ธรรมะคืออะไร ได้ยินคำว่า “จิต” เข้าใจหรือเปล่าว่า จิตคืออะไร ไม่พอเลยที่จะได้ยินเพียงคำ แต่ต้องรู้ความจริงของคำที่กล่าวถึงว่าหมายความถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าคืออะไร

เพราะฉะนั้น กล่าวถึงคำว่า “ธรรมะ” ก่อน ดีไหมคะ เพราะใครๆ ที่ไม่เคยฟังคำว่า จิต ก็เคยฟังคำว่า ธรรมะ ใช่ไหมคะ ไม่ทราบว่าในภาษาฮินดีก็คงจะเหมือนกัน เราไม่ได้บอกว่า มีจิตเป็นที่พึ่ง แต่เราบอกว่า มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง

เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความจริงถึงที่สุด “ธรรมะ” ก่อน เพราะมีคำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเข้าใจพระพุทธแล้วต้องเข้าใจคำว่า “ธรรมะ” ด้วย จึงจะสามารถเข้าใจคำอื่นๆ ต่อไปได้ แม้แต่คำว่า “จิต”

เพราะฉะนั้น ธรรมะคืออะไร เข้าใจธรรมะหรือยัง

ผู้ฟัง ธรรมะคือคำสอนของพระพุทธองค์

สุ. สอนเรื่องอะไร

ผู้ฟัง ตามที่เข้าใจ เป็นคำสอนที่ทำให้บุคคลใช้ชีวิตที่ถูก

สุ. ชีวิตคืออะไร พระพุทธเจ้าทรงสอนความจริง เพราะฉะนั้น ความจริงของชีวิตคืออะไร

ผู้ฟัง ชีวิตมีหลายแบบ ชีวิตคนทำงาน ชีวิตคนที่แสวงหาความบริสุทธิ์ แสวงหาสิ่งต่างๆ นั่นคือชีวิต

สุคิน เราฟังนิดหน่อยแล้วอ่านพระไตรปิฎก เราจะคิดของเราเอง

สุ. เพราะฉะนั้น เราพูดว่า ชีวิต เราเข้าใจว่า ชีวิตมีหลายแบบ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง หมายความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร ถ้าเราถามทุกคน แต่ละคนก็จะพูดถึงชีวิตแต่ละแบบ แต่ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนั้น นั่นเป็นเพียงความคิดของเรา

ด้วยเหตุนี้การเคารพบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคำและทุกอย่างที่มีจริงในชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วทั้งหมด ที่ทรงแสดงพระธรรมไว้มาก 45 พรรษา กล่าวถึงสิ่งที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง ถ้าเป็นคนธรรมดาก็ไม่ลึกซึ้ง

เพราะฉะนั้น ทุกคำต้องเข้าใจจริงๆ พูดคำว่า “ธรรมะ” ต้องรู้ว่า ธรรมะคืออะไรก่อน มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจธรรมะ จะต้องไม่ลืมว่า ต้องเข้าใจคำแรกก่อน ถ้าไม่เข้าใจคำแรก คำอื่นๆ ก็เข้าใจไม่ได้ ไม่ว่าใครก็ตาม คนไทยหรือทั่วโลก ได้ยินคำแล้วคิดเอง ไม่ตรงกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เราจะไม่ฟังคำของคนอื่นเขาว่าอย่างไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมะ” หรือเปล่า พระองค์ตรัสว่า ธรรมะคืออะไร ไม่ว่าจะใช้คำในภาษาอะไร ต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “ธรรมะ” ถ้าเข้าใจคำว่า “ธรรมะ” คำแรกชัดเจนจะไม่ผิด แต่จะมีความรอบคอบละเอียดขึ้นที่จะเข้าใจ “ธรรมะ” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส

เพราะฉะนั้น ที่สำคัญที่สุดต้องเข้าใจถูก “ธรรมะ” คืออะไร

ผู้ฟัง อยากจะฟังอาจารย์พูดก่อน เพราะยังไม่พร้อมจะให้คำตอบ ที่พอจะตอบได้คือ ใช้คำว่า บูชาธรรม แต่ไม่รู้ว่า ธรรมะคืออะไร

สุ. ถูกต้องค่ะ นี่เป็นผู้ตรง ทุกคนได้ฟังคำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมะ ใช่ไหมคะ แสดงว่า ธรรมะต้องมีจริง เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงทุกอย่างทั้งหมด มีจริงๆ จึงเป็นธรรมะ เพราะฉะนั้น ธรรมะไม่ใช่ชื่อ แต่ธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เข้าใจมั่นคงไหมคะ มั่นคง ไม่เปลี่ยน ธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน เพราะมีสิ่งนั้นปรากฏให้รู้ว่า มีจริงๆ

คำถามต่อไปนี้ จะแสดงว่าคิดเองหรือเข้าใจคำว่า “ธรรมะ เพิ่มขึ้น ถ้าเป็นความเข้าใจของตนเองจริงๆ มั่นคง ไม่เปลี่ยน ธรรมะต้องมีจริงแน่นอน มีลักษณะที่เป็นจริงๆ อย่างนั้น เดี๋ยวนี้มีธรรมะไหม

เพราะฉะนั้น ประโยชน์จริงๆ วันนี้ คือ ทุกคนได้เข้าใจจริงๆ ในคำว่า “ธรรมะ” เพราะฉะนั้น จะถามสั้นๆ ให้ไตร่ตรองแล้วตอบทีละคำ ดีไหมคะ เช่น เดี๋ยวนี้ธรรมะมีจริงไหม ทุกคนรับรองว่า ธรรมะมีจริง แต่ยังไม่เข้าใจธรรมะอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้และทรงแสดง ด้วยเหตุนี้คนนี้ได้ยินธรรมะนิดหนึ่ง คนนั้นได้ยินหน่อยหนึ่ง แต่ไม่รู้จริงๆ ว่า ธรรมะคืออะไร ต่อเมื่อฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงคำเดียว ไตร่ตรองสามารถเข้าใจได้ว่า ธรรมะคืออะไร

ต่อไปนี้จะถามสั้นๆ ทีละคำ จะได้คิด ถ้าตอบด้วยการไตร่ตรองและมั่นคง ไม่เปลี่ยน เมื่อ 2.500 กว่าปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมะ หมายความว่าอะไร?

ผู้ฟัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งที่มีจริง ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน

สุ. เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้หรือเปล่า

ผู้ฟัง มี

สุ. เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ แต่คนที่ยังไม่ได้ตรัสรู้จะรู้ความจริงของสิ่งนั้นไหม

ผู้ฟัง ไม่รู้

สุ. เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจคำเดียวสามารถเข้าใจคำอื่นๆ ต่อไปด้วยแน่นอน สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อ 2,500 กว่าปี เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้หรือเปล่า? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เห็น ที่กำลังเป็นเห็นเดี๋ยวนี้หรือเปล่า แต่เห็นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อ 2,500 กว่าปีเป็นเห็นเดี๋ยวนี้หรือเปล่าที่กำลังเห็น

ผู้ฟัง ไม่ใช่เป็นเห็นอันเดียวกัน

สุ. แต่เห็นต้องเป็นเห็น เป็นอื่นไม่ได้ ใช่ไหม เห็นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงเห็นเป็นเห็นที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้หรือเปล่า

ผู้ฟัง ไม่ใช่

สุ. เพราะอะไร

ผู้ฟัง หมายความว่า ทุกอย่างที่เกิด เกิดเพราะเหตุปัจจัย และถ้าดับแล้วไม่กลับมาเหมือนเดิม เห็นเดี๋ยวนี้เกิดแล้วดับ แล้วเห็นอีกครั้ง คือเห็นอีกอันหนึ่งที่เกิดด้วยปัจจัย

สุ. เห็นที่พระพุทธเจ้าเห็น ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ หมายความว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดแล้วไม่อยู่ยั่งยืน เพราะในขณะที่เห็น ไม่ใช่ในขณะที่กำลังได้ยิน ความจริงต้องเป็นความจริง ไม่ใช่เห็นเมื่อสมัยเมื่อ 2,500 กว่าปี ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ แต่เห็นเมื่อกี้นี้กับเห็นเดี๋ยวนี้ ก็ไม่ใช่เห็นเดียวกันใช่ไหม ได้ยินเมื่อกี้นี้ไม่ใช่ได้ยินเดี๋ยวนี้ ใช่ไหม

เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเหมือนเห็น เหมือนได้ยิน คือ เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ทุกอย่างใช่ไหม พระองค์ทรงตรัสรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ซึ่งเกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย แล้วก็มีปัจจัยให้สิ่งใดก็ตามที่เกิดต่อจากนั้น ก็เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีก แต่ละอย่างไม่เหลือเลย ทุกคนฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างนี้ และสามารถมีปัญญาที่จะรู้ความจริงนี้ แต่ใม่ใช่เพียงกำลังฟังเดี๋ยวนี้เท่านั้น ไม่พอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมตามลำดับ ความจริงต้องเข้าใจทีละน้อยตามลำดับ

เพราะฉะนั้น ทุกคนเริ่มรู้ความจริง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เมื่อกี้นี้ และไม่ใช่ขณะต่อไป มีใครสามารถเปลี่ยนความจริงนี้ได้ไหม นี่คือสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่กำลังปรากฏว่ามีเดี๋ยวนี้ ต้องเกิดใช่ไหม ถ้าไม่เกิดจะมีไหม แต่ไม่มีใครรู้ว่า อะไรเกิด อะไรดับ ใช่ไหม แต่เริ่มมีความเห็นถูกต้อง สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามที่เกิดต้องมีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นเป็นสิ่งนั้นเท่านั้นแล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย

เริ่มเข้าใจตั้งแต่เกิด ขณะที่เกิด ดับ ยังไม่ถึงขณะที่ตาย แต่หลังจากเกิด ดับไปแล้ว ก็มีการเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส 5 ทาง แล้วก็คิดถึงสิ่งที่เห็น ที่ได้ยินทันที ต่อจากที่เห็น ต่อจากที่ได้ยิน หมายความว่า ขณะนี้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกทั้งสิ้น ใครคิดว่า สิ่งที่เกิดแล้วกลับมาบ้างคะ เห็นเมื่อกี้นี้ เห็นเมื่อวานนี้ เมื่อวันก่อน เดือนก่อนดับ ไม่กลับมาอีกเลย

เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีเดี๋ยวนี้ เป็นเพียงสิ่งนั้นเท่านั้นที่มีขณะเดียวในสังสารวัฏฏ์ แล้วไม่กลับมาอีก ไม่ปฏิเสธ มั่นคงไหมคะ

เพราะฉะนั้น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นเราเห็นหรือเปล่า?

ผู้ฟัง ไม่ใช่

สุ. ค่ะ เพราะฉะนั้น ลองคิดดู เห็นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับไป เป็นเราเห็นหรือเปล่า?

สุคิน เมื่อกี้อธิบายว่า ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทั้งเห็นทั้งได้ยินดับแล้วไม่กลับมาเลย ทุกอย่างเกิดตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถบังคับได้

ผู้ฟัง เห็นเกิดแล้วดับ จึงมีได้ยิน ถ้าเห็นไม่ดับ ได้ยินก็ไม่เกิด ได้ยินดับถึงจะมีเห็นอีกขณะหนึ่ง ถ้าด้ยินไม่ดับ เห็นก็ไม่มี นี่เป็นชีวิตเรา

สุคิน เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้ว จะเป็นเราไหมที่เห็นอยู่ในความคิดเขา เขาบอกว่า ใช่

สุ. แล้วความจริงยังเป็นเราที่เห็น ถูกหรือผิด และความจริงคืออะไร

ผู้ฟัง ทุกอย่างที่เกิดแล้วดับก็เป็นเรา

สุ. ถูกต้องนะคะ นี่เป็นสัจจะ เป็นความจริง ยังเป็นเรา แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เหมือนอย่างที่เรายังเป็นเราหรือเปล่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของทุกอย่างถึงที่สุด ไม่ใช่ครึ่งเดียว นิดเดียว ความจริงต้องถูก ผิดไม่ได้ใช่ไหม เห็นเมื่อวานนี้กับเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นเห็นเดียวกันหรือเปล่า เห็นเมื่อวานนี้จะกลับมาเห็นเดี๋ยวนี้ได้ไหม

เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ เฉพาะขณะนั้นเท่านั้นในสังสารวัฏฏ์ ไม่เกิดอีกเลย

นี่แสดงให้เห็นว่า ความต่างกันของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับผู้ที่ไม่ได้เข้าใจธรรมะ ต่างกันมากแค่ไหน ธรรมะเป็นธรรมะ ใครเปลี่ยนไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนให้เห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ดับไป ให้มีตลอดไปได้ไหม เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ความจริง เคารพความจริง คือ เคารพธรรมะซึ่งถูกต้อง

เพราะฉะนั้น ใครจะเข้าใจธรรมะว่าอย่างไรก็ตาม แต่เปลี่ยนความจริงของธรรมะไม่ได้ เมื่อวานนี้เราเห็น ถูกต้องไหมคะ แล้ววันนี้ เมื่อวานนี้เราเห็นอยู่ไหน เริ่มรู้ความต่างกันของความคิดของเรากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มไตร่ตรองให้มั่นคง อธิษฐานบารมี ความจริงต้องเป็นความจริง ซึ่งสามารถรู้ได้ แต่ไม่ใช่เรา ต้องเป็นปัญญาที่มีความเห็นที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกต้องมั่นคงขึ้น จะละความเห็นว่า เป็นเราที่เห็นได้ไหม

เพราะฉะนั้น เริ่มตรงตั้งแต่วันนี้ ที่จะเข้าใจให้ถูกต้อง เป็นสัจจบารมี นี่เป็นเหตุต้องตรงต่อความจริงตั้งแต่ต้นทีละเล็กทีละน้อยจนมั่นคง ไม่มีเรา มีแต่ธรรมะ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เห็นไม่ใช่เรา แล้วเห็นเป็นอะไร เราไม่เคยคิดมาก่อน เหมือนเราเข้าใจธรรมะ แต่ความจริง ถ้าไม่ละเอียด ไม่ลึกซึ้ง ไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่รู้จักธรรมะ

เพราะฉะนั้น ต้องเริ่มเป็นผู้ตรง ถ้าไม่เข้าใจ ไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นชาวพุทธหรือเปล่า กำลังคิด กำลังไตร่ตรอง กำลังเข้าใจ เป็นการเริ่มต้นของบารมี จนสามารถรู้ความจริงที่กำลังเกิดดับเดี๋ยวนี้ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงสอนให้รู้ว่า หนทางที่จะรู้ว่า คำทุกคำที่พระองค์ตรัส เป็นเจริงเดี๋ยวนี้ สามารถรู้ได้

ไม่เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ แล้วจะรู้ความจริง เป็นการตรัสรู้ได้ไหม ไม่มีความเข้าใจอะไรเลย แต่มีสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ถูกหรือผิด มีสำนักปฏิบัติมากที่ประเทศไทย ประเทศอื่นทั่วโลก หมายความว่า เข้าใจธรรมะหรือเปล่า สิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับที่นี่ ประเทศนี้ ทรงแสดงความจริงทั้งหมด แต่ไม่สามารถมีใครเข้าใจ เพราะฉะนั้น คำของพระองค์ถูกบังไว้ด้วยความเห็นผิด แต่ขณะนี้เมื่อมีการเริ่มศึกษาด้วยความเคารพอย่างยิ่ง เริ่มสามารถเข้าใจถูกทำให้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการไม่ทำลายคำสอนของพระองค์

เพราะฉะนั้น กล้าที่จะรู้ความจริงไหม ปัญญา ความเห็นที่ถูกต้อง ไม่กลัวอะไรเลย

ผู้ฟัง ถ้าสำนักวิปัสสนาผิด แล้วอะไรถูก

สุคิน คำว่า วิปัสสนา แปลว่าอะไร

สุ. วิปัสสนา คืออะไร

สุคิน ตอนนี้ผู้ถามรู้ตัวแล้วว่า ไม่รู้จักคำว่า “วิปัสสนา”

สุ. เพราะฉะนั้น ไม่ใช่วิปัสสนาแน่นอน เพราะไม่รู้จักวิปัสสนา ใช่ไหมคะ

การเป็นเพื่อนที่ดี คือให้ประโยชน์สูงสุด คือ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทุกคนมีเพื่อนที่ดี และเพื่อนที่ไม่ดี เพื่อนที่ดีนำประโยชน์มาให้เท่านั้น ไม่ได้นำโทษมาให้เลย ในพระไตรปิฎกมีข้อความว่า เพื่อนที่ดี คือ กัลยาณมิตรที่สูงสุด คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าใครจะมีความคิดเห็นอย่างไร พระองค์ทรงพระมหากรุณาเป็นเพื่อนให้เขาได้ฟังสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อเขาจะได้เข้าใจถูกต้อง มิฉะนั้นแล้วตลอดในสังสารวัฏฏ์เข้าใจผิด ไม่รู้จักธรรมะ แล้วไม่สามารถจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่ฟังคำของพระองค์ด้วยความเคารพว่า เพราะพระองค์ทรงเป็นเพื่อน กัลยาณมิตรที่สูงสุด พระองค์ให้ความจริงทั้งหมดให้เราได้เข้าใจถูกต้อง

เพราะฉะนั้น เราเองจะเป็นเพื่อนที่ดี หวังดีจริงๆ ให้คนอื่นได้เข้าใจถูกต้อง ไม่ว่าเขาจะชอบหรือไม่ชอบ จะชังหรือไม่ชัง จะคิดถึงเราอย่างไรก็ตาม แต่เราไม่เปลี่ยนความมั่นคงที่เป็นเพื่อนที่ดีให้เขาเข้าใจถูก เพื่อนที่ดีเป็นคนดี เพราะหวังดี ไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นโทษกับคนอื่นเลยทั้งสิ้น โทษที่เป็นอันตรายสูงสุด ไม่ใช่แต่เฉพาะชาตินี้ คือชาติต่อไปอีกมากมาย ก็คือให้เขาเข้าใจผิด

เพราะฉะนั้น ทุกคนเป็นมิตรเป็นเพื่อนที่ดีกัน หวังดีต่อกัน คือกล่าวคำให้คนอื่นพิจารณาว่า คำนั้นถูกต้องหรือเปล่า และไม่มีคำของใครที่จริงยิ่งกว่าคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ด้วยเหตุนี้ ทุกคำที่กล่าว กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงตามที่พระองค์ได้ตรัสรู้และทรงแสดง และสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อดิฉันได้ศึกษาธรรมะแล้ว ดิฉันจึงเข้าใจว่า เกิดมาพูดคำที่ไม่รู้จัก และไม่ใช่แต่ดิฉันคนเดียวเท่านั้น ถ้าได้เข้าใจพระธรรมและรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ทุกคนก็เป็นผู้ตรงว่า เขาพูดคำที่เขาไม่รู้จัก พูดคำว่า “เสียใจ” แล้วเสียใจคืออะไร รู้จักไหม พูดคำว่า “เห็น” ทุกคนเห็น รู้จักเห็นไหม ถ้ารู้จักแล้ว ต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ถ้ารู้จักแล้ว แต่ทุกคนฟังผู้ที่ทรงตรัสรู้ เพราะรู้ว่า พระองค์ทรงตรัสรู้สิ่งที่เราไม่รู้ ทุกคนพูดว่า “วิปัสสนา” มีสำนักวิปัสสนา แต่ไม่รู้ว่า วิปัสสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคืออย่างไร

นี่จึงมีวันนี้ วันที่ทุกคนหวังดีที่จะดำรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะถ้าเข้าใจผิดเป็นการทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น ทุกคนจะมีสัจจบารมี การตรงต่อความจริง มิฉะนั้นก็จะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามด้วย

เพราะฉะนั้น เราจะศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความเคารพสูงสุด ทุกคำต้องเริ่มเข้าใจ จนกระทั่งเข้าใจขึ้นมั่นคง แม้แต่คำว่า “วิปัสสนา” เราจะทำตาม คิดตามคนอื่นโดยไม่เข้าใจ นั่นเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า

เพราะฉะนั้น คำใดก็ตามที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริง ถูกต้อง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว แต่ถ้าคำนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่คำชองพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ามีคนบอกว่า นี่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่ตรง ไม่ทำให้เข้าใจความจริงที่มีจริงเดี๋ยวนี้ ถึงเขาจะกล่าวว่า นี่เป็นคำชองพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำนั้นก็ไม่ใช่คำของพระองค์ เพราะเขาไม่เข้าใจและเข้าใจผิด

จะเป็นคนตรง เริ่มตรงและตรงต่อความจริงยิ่งขึ้นเดี๋ยวนี้ไหม มิฉะนั้นไม่มีวันที่จะเข้าใจความจริงในสังสารวัฏฏ์ คำสอนที่มีค่าที่สุดเหนือทรัพย์สมบัติใดๆ เหนือสิ่งใดๆ ในโลกยังมีอยู่ ตามที่มีการจารึกไว้และได้ศึกษาโดยความละเอียดอย่างยิ่ง

เพราะฉะนั้น จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะให้คนอื่นรู้จักด้วย จะดำรงคำสอนที่มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด ก็คือเมื่อเราได้ฟังทุกคำและเข้าใจจริงๆ ถ้าไม่สนทนากันจะรู้ไหมว่า ใครเข้าใจแค่ไหน ตรงหรือเปล่า ถูกหรือผิด

เพราะฉะนั้น การเข้าใจพระธรรม การสนทนาธรรมเป็นมงคลในมงคล 38 และมงคลสูงสุดคืออะไร ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ ไม่ใช่รูปสมบัติ ไม่ใช่ความสุขความสบาย เพราะทุกอย่างต้องหมดไป เพราะฉะนั้น ใครจะรู้ว่า มงคลสูงสุดคืออะไร ได้ยินคำว่า “มงคล” ทุกคนเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่ดี อยากมีมงคล อยากถึงมงคล แต่รู้จักมงคลไหม มงคลสูงสุดคือการรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายทุกชาติ ถ้าไม่รู้จักมงคลอย่างนี้ จะเข้าใจมงคลที่ 1 ไหม ทุกคนได้ยินคำว่า “มงคลสูตร” พระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องสิ่งที่นำมาซึ่งความเจริญ แล้วมงคลที่ 1 คืออะไร ใครเคยได้ฟัง ใครเคยรู้ หรือมีใครบ้างที่ไม่เคยได้ยินเลย มีใครไม่รู้จักมงคลหรือมงคลสูตรบ้างไหมคะ นับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร ในเมื่อไม่รู้ว่า พระองค์ตรัสว่าอย่างไรใน 45 พรรษา

ที่เมืองไทยมีการสวดมงคลสูตร แต่ว่าเข้าใจหรือเปล่า ถ้าไม่เคยฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะรู้จักพระพุทธเจ้าไหม 45 พรรษาที่ทรงแสดงธรรมะ เป็นคำที่ไม่มีใครเคยได้ยินมาก่อน ถ้ามีคนบอกว่า นี่เป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นคำที่ทุกคนรู้แล้ว คำนั้นจะเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ผู้ที่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นชาวพุทธ ถ้าไม่เคยฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เป็นชาวพุทธหรือเปล่า ต้องรู้ว่า “พุทธะ” คืออะไร พุทธะคือผู้รู้ความจริง ประจักษ์แจ้งความจริง ทรงแสดงความจริงซึ่งคนอื่นไม่ได้รู้อย่างนั้น พระองค์ทรงแสดงหนทางให้สามารถอบรมเจริญปัญญา ความเข้าใจถูก จนสามารถรู้แจ้งความจริง ประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่เพียงคิด ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประจักษ์

เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่า ความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คืออะไร เพราะฉะนั้น ตั้งต้นว่า ความจริงคืออะไร ทุกคนเข้าใจว่า เขาเห็น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เห็นเป็นเห็น ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น เห็นเกิดแล้วใช่ไหม ไม่มีใครทำให้เห็นเกิด แต่เห็นเกิดแล้ว นี่คือสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว ณ ที่นี้ ณ กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว แต่เพราะไม่มีใครศึกษาคำสอนของพระองค์โดยละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น คำสอนของพระองค์ น้อยคนที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าตรัสไว้ว่าอย่างไร หมายความว่าอย่างไร นานจนกระทั่งถึง ณ วันนี้ เราเริ่มที่จะได้ยินได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่งโดยตรง พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้แน่นอน เพราะว่าสิ่งที่มีจริงที่พระองค์ตรัสไว้กำลังมีในขณะนี้ที่จะรู้ว่า เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่เพียงไตร่ตรองและคิด แต่ประจักษ์ความจริงว่า เห็นต้องเกิด แล้วเห็นต้องดับ ได้ยิน ก่อนได้ยิน ไม่มีได้ยิน แล้วมีได้ยิน เกิดแล้วดับ

เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ ถูกปกปิดไว้นานมาก ณ บัดนี้ก็เป็นกาลที่จะเปิดเผยคำของพระองค์ที่เคยตรัสไว้แล้ว ณ กาลครั้งหนึ่ง ให้เป็นที่เข้าใจว่า เป็นคำที่สามารถเข้าใจได้

ผู้ฟัง ยินดีต้อนรับสู่เมืองลัคเนาว์ พวกเรามีความสุขได้ต้อนรับท่าน มีคำถามเกี่ยวกับริษยา อยากให้อาจารย์พูดถึงริษยา ความริษยา

สุ. รู้จักชื่อ หรือว่าเดี๋ยวนี้กำลังริษยา

ผู้ฟัง เวลาไม่มีริษยา

สุ. ถ้ารู้ว่า เวลานี้ไม่มีริษยา ก็รู้ว่า ริษยาคืออะไร

ผู้ฟัง ที่ถามก็เพราะว่า นึกย้อนไปคิดในชีวิตประจำวันว่า วันๆ พยายามไม่มีกิเลส แต่ว่าจะทำอย่างไร เมื่อมีความริษยาอยู่ตลอด เลยอยากจะฟังว่า พระพุทธองค์สอนอะไรที่จะลดความริษยา

สุ. ความริษยาเป็นความริษยา หรือความริษยาเป็นเราที่ริษยา ตราบใดที่เป็นเราริษยา ริษยาเกิดเมื่อไรก็เป็นเราทุกที ริษยาเกิดแล้ว จะไม่ให้เกิดได้ไหม เพราะเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น ริษยาจะเกิดน้อยลง เมื่อมีความเข้าใจถูกต้องว่า ริษยาคืออะไร ทุกคนมีกิเลสมาก แต่กิเลสทั้งหมดไม่ใช่แต่เฉพาะริษยาเท่านั้นที่จะต้องเกิด ยังไม่หมด

เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจจริงๆ เข้าใจ ไม่ใช่ไปพยายามที่จะไม่มี เพราะริษยาเกิดแล้ว ไม่มีไม่ได้ และริษยาก็ดับแล้วก่อนที่เราจะพยายามไม่ให้เกิด เพราะฉะนั้น ริษยาเกิดแล้วดับแล้ว ไปพยายามจะไม่ให้มีริษยา ถูกหรือผิด แต่ถ้ารู้ว่า ริษยาเป็นขณะที่ไม่สบายใจ และนำความเดือดร้อนมาให้ตัวเองที่กำลังริษยา เสียเวลา ไม่ชอบริษยา พยายามที่ไม่ชอบริษยา แต่ริษยาไม่เหลือแล้ว ดับแล้ว ไม่ต้องทำอะไร แต่ริษยาก็ต้องเกิดอีกแน่นอน ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงว่า ริษยาคืออะไร ริษยาเกิดแล้ว หมดแล้ว แล้วจะเกิดอีก ที่สำคัญก็คือใครก็บังคับริษยาไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่ถ้ารู้ความจริงว่า ขณะที่กำลังริษยาใครคนหนึ่ง คนนั้นกำล้งมีความสุข แต่คนที่ริษยาเองมีความทุกข์

ความโง่มีจริงไหมคะ เพราะฉะนั้น ยังโง่อยู่ก็ยังต้องมีทุกอย่างที่ไม่ดี จนกว่าจะโง่น้อยลง เพราะฉะนั้น เริ่มรู้ความจริงว่า ใครก็ไม่สามารถจะไม่ให้ริษยาเกิด แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า ริษยาเกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครอยากให้ริษยาเกิด แต่ความโง่ ความไม่รู้ เป็นเหตุให้ริษยา ทุกคนก็จะค่อยๆ เข้าใจธรรมขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ความไม่รู้ที่เป็นเหตุให้เกิดอกุศลทั้งหมดก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง

เริ่มเข้าใจถูกว่า ทั้งหมดตราบใดที่ยังโง่ ไม่รู้ความเป็นจริงก็ต้องมีอกุศลมากมาย ไม่ใช่แต่เฉพาะริษยาเท่านั้น ความโกรธ ความไม่พอใจเกิดขึ้น ดีไหมคะ ต้องรู้ ความโกรธจะน้อยลง แต่ถ้าไม่รู้ก็ยังโกรธต่อไป ส่วนใหญ่คนจะเห็นความไม่ดีของคนอื่น แต่ไม่เห็นความไม่ดีของตัวเอง คิดว่าคนอื่นเป็นอย่างไร เป็นความคิดของเราทั้งนั้น แต่ไม่สามารถจะรู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเขาคิดอะไร เพียงแต่เราคิดว่า เขาคิด

เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องจะไปละความไม่ดีของคนอื่นที่เราบอกว่าเขาไม่ดี แต่เราเอง ขณะที่เห็นว่าเขาไม่ดี ขณะนั้นเราดีหรือเปล่า เห็นคนอื่นไม่ดี เราว่าเขาไม่ดี แต่เวลาเราไม่ดี เราว่าเราหรือเปล่า เวลาเราไม่ดี คนอื่นก็ว่าเราไม่ดี แต่เราไม่รู้ว่า เราไม่ดี

เพราะฉะนั้น ต้องเป็นคนตรงอย่างยิ่งที่จะรู้ว่าเราไม่ดี ชัดเจนกว่าเราไปไปคิดว่า เขาไม่ดี ถ้ารู้ว่า เราเองก็ไม่ดีเหมือนคนอื่น ไม่ต่างกันเลย และเราไม่สามารถแก้ไขคนอื่นด้วย เฉพาะขณะที่กำลังรู้ว่าไม่ดี ขณะนั้นเริ่มมีปัญญาที่จะเห็นว่า สิ่งที่ไม่ดีเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรที่จะให้มีมากๆ ต่อไป

การเข้าใจธรรมะเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เราอยากจะละกิเลสหมด อยากจะถึงนิพพาน แต่ เดี๋ยวนี้มีกิเลสก็ไม่รู้ แล้วจะละได้อย่างไร

เพราะฉะนั้น เริ่มเห็นว่า รู้กิเลสของเราเองดีกว่าคิดถึงกิเลสของคนอื่น เพราะเราเพียงคิด ขณะนั้นเป็นความคิดของเรา ความคิดขณะนั้นดีหรือไม่ดีที่เห็นแต่ความผิดของคนอื่น แต่ไม่เห็นความผิดของตัวเอง

การละความไม่ดี ไม่ง่าย และจะรู้ความจริงว่า กว่าจะเข้าใจความจริงซึ่งความจริงที่รู้นั่นแหละค่อยๆ ละสิ่งที่ไม่ดี เดี๋ยวนี้กำลังดีหรือไม่ดี ตอบได้ไหมคะ ยากมากที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ว่า สิ่งนั้นดีหรือไม่ดี

ความไม่ดีมีหลายระดับ ถ้าเป็นระดับหยาบๆ ก็รู้ได้ แต่ถ้าละเอียด ไม่มีใครรู้ได้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง เวลาโกรธรู้ แต่เวลาไม่พอใจนิดหน่อย นิดเดียว รู้ไหม เพราะทุกคนยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า เมื่อไม่ฟังคำของพระองค์แล้วไตร่ตรองละเอียด จนกระทั่งรู้ว่า ไม่มีใครมีปัญญาเทียบได้เลยในสากลจักรวาล ยกตัวอย่าง ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงจะรู้ไหมว่า เดี๋ยวนี้กำลังไม่ดี

น่าตกใจไหม กำลังไม่ดีเดี๋ยวนี้ สิ่งที่ไม่ดีมากๆ ที่ปรากฏว่าไม่ดี ต้องมาจากเล็กน้อยที่สุด แล้วค่อยๆ มากขึ้นๆ ถ้าไม่มีสิ่งที่แม้เล็กน้อยที่สุด จะมีสิ่งที่ไม่ดีมากๆ ปรากฏได้ไหม เดี๋ยวนี้เป็นขณะหนึ่งในชีวิต ถ้าขณะนี้ไม่ดี ขณะต่อไปก็ไม่ดี ขณะต่อไปก็ไม่ดีเพิ่มขึ้นๆ

เพราะฉะนั้น ไม่ใช่รีบร้อนจะถึงนิพพาน จะหมดกิเลส แต่ต้องเข้าใจความจริงก่อน จึงสามารถค่อยๆ ละสิ่งที่ไม่ดี เพราะสิ่งที่ไม่ดีไม่สามารถละกิเลส หรือรู้แจ้งนิพพานได้

เพราะฉะนั้น เริ่มจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกำลังเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏละเอียดขึ้น สิ่งที่ละเอียดย่อมยากที่จะรู้ได้ ต้องเป็นผู้ที่เคารพและตรงต่อความจริงว่าความจริงลึกซึ้ง เมื่อได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเริ่มเห็นความลึกซึ้งของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ยกตัวอย่างเพื่อจะให้เห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อกี้นี้ได้ยินเสียงของคุณสุคิน ได้ยินเสียง แต่ถ้าไม่รู้ว่า คุณสุคินกำลังพูด มีแต่เสียงปรากฏ ไม่ใช่เสียงอื่น คิดไหมคะที่จะสนใจว่า นั่นเสียงอะไร รู้ไหมว่า ขณะนี้เสียงอะไร (คุณสุคินกระแอม) ได้ยินเสียงไหมคะ ถ้าไม่เห็น คิดไหมว่าเสียงอะไร เสียงนี้ยังคุ้นว่า เป็นเสียงกระแอม แต่เสียงที่ไม่คุ้นเลยเกิดขึ้น เสียงที่ไม่คุ้นหูเกิดขึ้น คิดไหมว่า เสียงอะไร เพียงคำพูดว่า “เสียงอะไร” รู้ไหมว่า ขณะนั้นติดข้องในเสียงนั้น จึงอยากรู้ว่า เสียงอะไร มีเสียงปรากฏ ได้ยินเสียง ขณะนั้นก็ไม่รู้ว่า ได้ยินไม่ใช่เสียง และยังมีความติดข้องว่า เสียงอะไร เพียงเท่านั้นเพราะไม่รู้ว่า เสียงอะไร และเสียงคืออะไร เสียงที่ไม่รู้ก็ติดข้องน้อย แต่ยังอยากรู้ เพราะฉะนั้น เสียงที่เป็นเสียงอื่นที่สนใจก็ยิ่งติดข้องในเสียงนั้นมากขึ้น ได้ยินเสียงดนตรีอย่างหนึ่ง เพราะมาก รู้ไหมว่าดนตรีอะไร เพียงได้ยินเสียง รู้ไหมว่า ติดข้องในเสียงเพราะไม่รู้ความจริงของเสียงนั้น

เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงมีความพอใจในเสียงว่า เป็นเสียงอะไร และเป็นเสียงที่เพราะมาก เพียงแค่ได้ยินแล้วไม่รู้ก็ติดข้องแล้ว เพียงได้ยินเสียงขณะเดียวยังติดข้องอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ทั้งวันติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทางตา ติดข้องในเสียง ติดข้องในกลิ่น ติดข้องในรส ติดข้องในสิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส ต้องพิจารณาละเอียดขึ้นๆ จึงเริ่มเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ให้ทุกคนรู้ความจริงว่า มีความไม่รู้มากมายแค่ไหน วันนี้ตั้งแต่เช้ามาจนถึงเดี๋ยวนี้ ความไม่รู้และความติดข้องก็มากมาย ในทุกอย่างที่ปรากฏ แล้วเมื่อวานนี้ และวันก่อนๆ จนถึงตั้งแต่เกิด กิเลสจะมาก เต็มไปด้วยความไม่รู้ในทุกอย่างที่ปรากฏสักแค่ไหน เดี๋ยวนี้กำลังมีสิ่งที่ปรากฏ เพียงแค่เดี๋ยวนี้ขณะเดียวเท่านั้น ใครรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏบ้าง รู้ความจริงของเห็นไหม กำลังเห็น เห็นคืออะไร

ผู้ฟัง รู้ว่าเห็น แต่ไม่เข้าใจ

สุ. ค่ะ ทุกคนเห็น ทุกคนไม่สงสัยว่า กำลังเห็น แต่เห็นคืออะไร เห็นมีจริงๆ ไม่ใช่คิด ไม่ใช่จำ เพราะฉะนั้น เห็นคืออะไร ต้นไม้เห็นไหม ดอกไม้เห็นไหม เพราะฉะนั้น เห็นไม่ใช่สิ่งที่ถูกเห็น แต่มีเห็นแน่ๆ ถ้าเห็นไม่เกิด จะมีเห็นไหม

บางคนสงสัยว่า ทำไมเราพูดเรื่องธรรมดา คิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ แต่ความจริงชีวิตคืออะไร เกิดแล้วต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องกระทบสัมผัส ต้องคิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทั้งวัน ทุกวัน ตลอดไป ไม่ว่าจะชาตินี้ ชาติก่อน ชาติไหน แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว ก็มีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีกระทบสัมผัส มีคิดนึก แต่ใครรู้ความจริงของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ซึ่งมีทุกขณะในชีวิต ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใม่ทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะ พระองค์จะตรัสรู้อะไร จริงไหมคะ

เริ่มรู้ว่า นี่คือสิ่งที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง พระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีนานเท่าไร เพื่อที่จะรู้ความจริงของเห็นที่ทุกคนกำลังเห็น มีเห็นจริงๆ แต่ไม่เคยรู้ความจริงเลย

ผู้ฟัง เคยได้ยินว่า หนทางของพระพุทธองค์ ธรรมดา ง่ายมาก ง่าย หมายถึง simple มาก และเป็นหนทางสายกลาง

สุ. ง่ายมาก แล้วเข้าใจอะไร เพราะฉะนั้น จริงไหมคะ กำลังเห็นก็ไม่รู้ว่า เห็นคืออะไร เห็นต้องเกิด ถ้าเห็นไม่เกิดไม่มีเห็น แต่เกิดแล้วก็ไม่มีใครรู้จักว่า เห็นคืออะไร ทั้งๆ ที่เดี๋ยวนี้กำลังเห็น สิ่งที่มีจริงทั้งหมด ใครเปลี่ยนได้ หรือว่าเกิดแล้ว คิดจะเปลี่ยนไม่ทัน ดับแล้ว แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เห็น และทุกอย่าง เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ ต้องตรงต่อสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น เห็นเกิดจริงๆ ขณะที่ได้ยินไม่ใช่เห็น แสดงว่าเห็นหมดแล้ว ดับแล้ว นี่เป็นสัจจะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่สามารถประจักษ์แจ้งการเกิดดับของสิ่งที่มีจริง เป็นอริยสัจจธรรม

เดี๋ยวนี้สิ่งที่มีจริงมีจริงๆ สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรมะแต่ละหนึ่ง เข้าใจหรือเปล่า ก่อนจะได้ฟังว่า ธรรมะหมายความอะไร เพราะฉะนั้น ต้องตรง ได้ยินคำว่า “ธรรมะ” ถ้าไม่เข้าใจว่า ธรรมะคืออะไร จะเข้าใจคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม เพราะพระองค์ตรัสรู้สิ่งที่มีจริงทุกอย่าง เพราะฉะนั้น พระองค์ตรัสรู้สิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง สิ่งที่มีจริงกำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ แต่ใครรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงว่า เดี๋ยวนี้สิ่งที่มีจริงเกิดแล้ว รู้ตอนเกิดไหมว่า เกิดแล้ว และทันทีที่เกิดก็เพียงแค่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับ เพียงแค่เกิดได้ยินแล้วดับ เพราะเห็นไม่ใช่ได้ยิน ได้ยินไม่ใช่เห็น ทั้ง 2 อย่างมีจริง เป็นธรรมะ ผู้ที่สามารถรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงว่า เป็นสัจจธรรม เปลี่ยนไม่ได้ และปัญญาที่สามารถประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมะเป็นอริยสัจจธรรม

ต้องไปหาธรรมะที่ไหนไหมคะ ไม่ต้องไปหาธรรมะที่ไหน เมื่อเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้เป็นธรรมะ แต่ถ้าไม่เคยฟังธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่รู้เลยว่า ธรรมะคืออะไร แต่เดี๋ยวนี้รู้ ธรรมะอยู่ตรงนี้ ที่กำลังเห็นนี่แหละ ธรรมะ ที่กำลังได้ยินนี่แหละ ธรรมะ เสียงที่ปรากฏก็เป็นธรรมะ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็เป็นธรรมะ ทุกขณะในชีวิตเป็นธรรมะทั้งหมด

เดี๋ยวนี้ใครไม่ให้เห็นเกิดเห็นได้ แสดงว่า ธรรมะมีจริงๆ ใครก็เปลี่ยนไม่ได้ เป็นปรมัตถธรรม

ต้องทราบว่า ปรมัตถธรรมหมายความว่าอะไร จึงรู้ว่า ใครก็เปลี่ยนแปลงธรรมะไม่ได้

ผู้ฟัง ที่เรียกว่า “อาตมัน” จริงหรือไม่จริง

สุ. ได้ยินคำอะไรก็ตามแต่ เช่นคำว่า “soul” เข้าใจไหมว่า คืออะไร แต่คิดว่า มี soul พูดตาม แต่ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เราจะฟังคำของคนที่ไม่เข้าใจ หรือจะฟังคำที่คนนั้นเข้าใจ แล้วเราก็เข้าใจด้วยเมื่อเขากล่าวคำนั้นให้เข้าใจ

เดี๋ยวนี้กำลังเห็น เห็น เป็น soul หรือเปล่า

ผู้ฟัง ไม่เป็น

สุ. แล้ว soul เป็นอะไร เดี๋ยวนี้มีเห็น เดี๋ยวนี้มี soul หรือเปล่า

ผู้ฟัง ไม่มี

สุ. ไม่มีนะคะ เพราะฉะนั้น มี soul หรือเปล่า บอกได้ว่า เดี๋ยวนี้มีเห็น เพราะเห็นกำลังมี แต่จะบอกได้ไหมว่า เดี๋ยวนี้มี soul หรือเปล่า ต้องตรงต่อความจริง เพราะฉะนั้น ฟังแล้ว เห็นมีจริงๆ กำลังเห็น มีลักษณะรู้สิ่งที่กระทบกระทบตาแล้วปรากฏให้เห็น แต่เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น มี soul ไหม มีเห็น ใช่ไหมคะ เพราะกำลังเห็น เพราะฉะนั้น มี soul ไหม

ผู้ฟัง แสดงว่า ในคำสอนอื่นมีอาตมัน ถูกหรือผิด

สุคิน ที่เรามาที่นี่ ไม่ใช่พูดถึงคำสอนอื่น เราพูดถึงสิ่งที่มีจริงที่ตัวเองรู้ว่า มีจริง ที่เราสามารถรู้ได้ เข้าใจได้

สุ. ฟังแล้ว คนที่บอกว่า มี soul เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า ตรัสรู้ความจริงอะไรหรือเปล่า เพราะฉะนั้น คำว่า “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” ไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นพระคุณนามที่แสดงปัญญาที่ไม่มีใครสามารถเปรียบเทียบได้ เพราะทรงแสดงความจริงที่กำลังมีทั้งหมดโดยประการทั้งปวง

เพราะฉะนั้น ฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องว่า จริงหรือเปล่า ไม่ใช่ให้เชื่อ สิ่งที่มีจริงขณะนี้ต้องเกิด ใครรู้การที่สิ่งนั้นกำลังเกิดบ้าง เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้ความจริง ประจักษ์ความจริง ทรงแสดงความจริงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงความจริงให้คนอื่นได้ฟัง ได้เข้าใจ 45 พรรษา ทำไมมากและนานอย่างนั้น

เดี๋ยวนี้เราได้ฟังคำของพระองค์กี่นาทีแล้ว เทียบกับที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรม 45 พรรษา มากกว่าใครทั้งหมด เช้า สาย บ่าย ค่ำ ดึก ทำไมทรงแสดงมากอย่างนั้น เพราะเป็นสิ่งที่รู้ยากยิ่ง เดี๋ยวนี้สภาพธรรมะที่มีเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เห็นเมื่อกี้นี้เลย เห็นเมื่อกี้นี้อยู่ไหนแล้ว หาอีกได้ไหม ให้กลับมาอีกได้ไหม เพราะอะไร เพราะสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา

เพราะฉะนั้น สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เป็นเพียงหนึ่ง ไม่เกิดซ้ำอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ 2,500 ปีก่อนก็ไม่มีเห็นเดี๋ยวนี้ และต่อไปก็ไม่ใช่เห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงคำพูด แต่เป็นความจริงซึ่งค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนสามารถรู้จริงๆ ของสภาพธรรมะที่เพียงเกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย ทุกอย่าง เพียงขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว จะไม่มีคนนี้อีกเลย เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เป็นคนนี้ เป็นชาตินี้ชาติเดียว สุขทุกข์ทั้งหมดที่มี สิ่งต่างๆ ทั้งหมดที่มี ไม่เหลือเลย เมื่อจากโลกนี้ไปแล้ว ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น แม้เดี๋ยวนี้ก็กำลังเป็นอย่างนี้ ขณะนี้ไม่ใช่ขณะที่เริ่มฟัง ความเข้าใจแต่ละขณะค่อยๆ สะสมสืบต่อเหมือนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อรู้ความจริง เพราะไม่รู้ความจริงจึงมีอกุศลมากมาย เพราะความไม่รู้ แต่เมื่อค่อยๆ มีความรู้ขึ้น ก็ค่อยๆ ละความไม่ดี เพราะเห็นโทษของความไม่ดี และรู้ว่า แม้ความดีหรือความไม่ดีก็เกิดขึ้นแล้วดับไป แม้สิ่งที่เกิดแล้วดับไปก็สะสมทุกๆ ขณะต่อมา ความเข้าใจเมื่อวานนี้ ถึงแม้ว่า ความเข้าใจดับไป แต่ก็สะสมสืบต่อในขณะต่อๆ ไป จนถึงวันนี้ และความเข้าใจวันนี้ที่กำลังเข้าใจก็จะสะสมสืบต่อจนถึงวันพรุ่งนี้ต่อๆ ไป

ต้องเป็นการค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ สะสมเป็นบารมี ตรงต่อความจริงว่า เดี๋ยวนี้ธรรมะเป็นอย่างนี้ แต่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง แต่ผู้ที่ประจักษ์แจ้งแล้ว ทรงแสดงหนทางให้คนอื่นได้เริ่มดำเนินตามที่จะค่อยๆ สะสมปัญญาบารมี สัจจบารมี เนกขัมมบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี อธิษฐานบารมี ถ้ายังมีความไม่รู้มากๆ มีความติดข้องมากๆ มีอกุศลมากๆ บ่อยๆ แล้วจะมีโอกาสที่ปัญญาและกุศลอื่นๆ จะเกิดแทนได้ไหม

เพราะฉะนั้น ในบรรดาทุกสิ่งที่เกิดแล้วดับ ความเข้าใจถูก คือ ปัญญาประเสริฐที่สุด ทรัพย์สมบัติที่เข้าใจว่ามีมาก ร่างกายที่แข็งแรง วันหนึ่งก็ไม่เหลือ เปลี่ยนแปลงได้กลายเป็นคนเจ็บป่วย กลายเป็นคนไร้ทรัพย์สมบัติ แต่ปัญญาเมื่อเกิดแล้ว ไม่เป็นอย่างนั้นเลย มีแต่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

ผู้ฟัง ธรรมะของพระพุทธองค์มีการพูดถึงชาติอื่นๆ นอกจากชาตินี้ไหม

สุคิน ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงพูดถึงชีวิตตนเองในชาติก่อนๆ คิดว่าพระพุทธองค์พูดเท็จหรือ

ผู้ฟัง ถามท่านอาจารย์ว่า จะเข้าใจชาตินี้ชาติหน้าได้อย่างไร

สุ. เห็นเกิด ใช่ไหมคะ เห็นดับไหม แล้วหมดเลย หรือว่ามีได้ยินแล้วก็ดับ แล้วก็มีคิดนึกแล้วก็ดับ ทุกอย่างมีปัจจัยต้องเกิด จึงต้องเกิด ไม่เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น เห็นดับแล้ว แต่มีสิ่งอื่นเกิดต่อ เมื่อมีปัจจัยให้สิ่งนั้นเกิด ใครไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ตายแล้ว 1 ขณะ มีขณะอื่นเกิดต่อไหม

ผู้ฟัง ไม่มี

สุ. เมื่อกี้นี้เห็น ตายหรือยัง เห็นตายแน่ๆ หมายความว่า เห็นดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้น ตายหมายความว่า สิ่งนั้นหมดไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย เห็นเมื่อกี้นี้ตายแน่นอน เพราะไม่กลับมาอีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ความตายมี 3 อย่าง ขณิกมรณะ หมายความว่า สิ่งนั้นเกิดดับขณะหนึ่ง ขณะหนึ่ง ขณะหนึ่งเกิดแล้วตาย แต่ขณะใดที่สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ จะกลับเป็นคนนี้อีกไม่ได้เลย แม้เพียง 1 ขณะ เพราะฉะนั้น คนทั่วไปรู้จักความตายที่สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประจักษ์แจ้งการเกิดตายของธรรมะทุกขณะ สิ่งที่มีขณะนี้เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย เป็นขณิกมรณะทุกขณะ ไม่ตายไม่มี ตามความเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์แจ้ง ทรงประจักษ์แจ้งว่า ขณิกมรณะ คือ ความตายทุกขณะ ทุกคนยังเห็นต่อไป ยังได้ยินต่อไป เหมือนเป็นบุคคลต่อไป จนถึงจิตขณะสุดท้ายเกิดแล้วดับ ไม่มีปัจจัยให้เป็นคนนี้อีกต่อไป ความตายที่เป็นคนนี้และสิ้นสุดความเป็นคนนี้ เป็นสมมติมรณะ

เพราะฉะนั้น ทุกคนรู้ว่า เกิดแล้วตายในฐานะที่หมดความเป็นบุคคลนี้ จึงรู้เพียงแค่สมมติมรณะ แต่ใครก็เปลี่ยนความจริงของสภาพธรรมะไม่ได้ เมื่อสิ่งนั้นดับ มีปัจจัยให้สิ่งอื่นเกิด ใครจะห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อตายแล้ว ก็ต้องมีสภาพธรรมะอื่นเกิดต่อจากขณะที่ตาย เพราะตายเพียง 1 ขณะ สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ เป็นบุคคลนี้ไม่ได้ แต่เหมือนเห็นแล้วดับ ก็มีได้ยินอีก มีคิดนึกอีกฉันใด ขณะที่จากโลกนี้ไปเป็น 1 ขณะ ก็ต้องมีปัจจัยให้สิ่งอื่นเกิดสืบต่อ

เมื่อวานนี้เห็นอะไรบ้าง สนุกอย่างไร ทุกข์อย่างไร จำได้ จำได้ตราบใดที่ยังไม่จากโลกนี้ ก็ยังจำชาตินี้ได้ แต่ใครจะรู้ว่า เมื่อจิตขณะสุดท้ายของชาตินี้เกิดแล้วดับแล้ว จิตที่เกิดต่อเป็นอะไร แต่ต้องเกิดแน่ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมะจนหมดความสงสัย และหมดกิเลส ก็ยังมีปัจจัยให้เกิด เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่เกิดอีกเลย ใช้คำว่า “สมุจเฉทมรณะ” ตายหมดสิ้น ไม่มีอะไรเกิดอีก

เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ทุกคนกำลังมี “ขณิกมรณะ” มี “สมมติมรณะ” วันหนึ่งต้องตายอย่างสมมติมรณะ แต่ยังไม่มีใครที่เป็น “สมุจเฉทมรณะ” นอกจากพระอรหันต์ ไม่มีกิเลสอีกเลย

ทุกคนเกิดมาไม่เหมือนกัน แม้การเห็น การได้ยินก็ไม่เหมือนกัน บางคนเห็นสิ่งที่ดี บางคนเห็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะฉะนั้น บางคนคิดดี ทำดี บางคนคิดไม่ดี ทำไม่ดี สิ่งเหล่านั้นจะเป็นปัจจัยทำให้ขณะต่อไปเกิดขึ้น ขณะจิตที่ทำกิจสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้เพียงขณะเดียว เหมือนเดี๋ยวนี้ เห็นขณะเดียว ได้ยินขณะเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อจิตนั้นเกิดแล้วดับแล้ว มีปัจจัยที่จิตอื่นจะเกิดต่อ แต่ไม่มีใครรู้ว่า จากโลกนี้ไปแล้วจะเกิดเป็นอะไร เกิดแล้วต้องเห็นอีก ต้องได้ยินอีก เหมือนเห็นเดี๋ยวนี้เลย นกเห็นไหม ปูเห็นไหม งูเห็นไหม ปลาเห็นไหม คนเห็นไหม ลิงเห็นไหม

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ได้ทำแล้วในชาตินี้ จะต้องทำให้เกิดแล้วเห็นอีก แต่ไม่รู้ว่า จะเกิดเป็นนก หรือจะเกิดเป็นงู หรือจะเกิดเป็นคน หรือจะเกิดเป็นเทวดา

นี่เป็นเหตุที่ทุกคนเกิดมาต่างกัน สะสมมาที่จะคิดต่างกัน ทำต่างกัน เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดอีกก็จะเป็นอย่างนี้ ไม่มีใครรู้ว่า จะตายเมื่อไร วันไหน แต่ต้องตายแน่นอน เลือกไม่ได้เลยว่า จะตายเมื่อไร จะตายตอนเป็นเด็ก หรือโตขึ้น หรืออายุมากจนถึง 100 ปีก็ได้

เริ่มเข้าใจคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดอย่างยิ่ง นี่เป็นเพียงการเริ่มต้น 2 – 3 คำ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีจริงในชีวิตทั้งหมดเป็นธรรมะ ซึ่งเป็นเหตุที่ค่อยๆ สะสมที่ทำให้เกิดเป็นอะไรต่อไป

กล่าวเฉพาะในโลกนี้มีผู้คนมากมาย แต่มีคนที่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากไหม บางคนได้ยินบางคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วคิดเอง ไม่ศึกษาความละเอียด ความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น เข้าใจผิด ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แต่เพราะไม่ได้ศึกษาธรรมะด้วยความเคารพอย่างยิ่งที่จะรู้ความจริง ก็ทำให้เห็นผิด เข้าใจผิดได้

เพราะฉะนั้น ผู้ที่เคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ เป็นผู้ที่เคารพว่า พระธรรมคำสอนของพระองค์ลึกซึ้ง จึงต้องเป็นผู้ละเอียด รอบคอบที่จะเข้าใจจริงๆ ไม่ทำให้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมดสิ้นไป เพราะคิดเอง หรือเข้าใจผิด ไม่ฟังธรรมะ ไม่เข้าใจธรรมะ ชื่อว่า รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า “พุทธะ” หมายความถึง ปัญญาความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถรู้เอง เข้าใจเองได้ไหม เมื่อเป็นผู้เข้าใจความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรมะเดี๋ยวนี้ และรู้ว่าผู้เดียวเท่านั้นที่รู้แจ้งในความเป็นจริงของสภาพธรรมะทุกอย่าง ทุกประการ ถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง ก็ฟังคำของพระองค์และเริ่มเห็นพระปัญญาที่รู้ความจริง จึงชื่อว่า ได้เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เริ่มเป็นคนตรงที่จะรู้ว่า การเคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคืออย่างไร ไม่ใช่การกราบไหว้ บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน แต่ไม่รู้ธรรมะ ไม่เข้าใจธรรมะของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงแสดงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เพื่อดอกไม้ธูปเทียน หรือการบูชาสิ่งอื่นใดๆ นอกจากให้คนนั้นเกิดความเข้าใจ ซึ่งในสังสารวัฏฏ์ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระองค์ ไม่สามารถรู้ความจริงได้

เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจคำว่า สัจจบารมี ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มี มีประโยชน์อย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

ผู้ฟัง ในความเห็นของท่านอาจารย์ ใครที่สมควรเรียกว่า เป็นพุทธสาวก

สุ. “พุทธะ” คือ ผู้รู้ความจริง ถ้าไม่เข้าใจความจริง เป็นพุทธะ เป็นชาวพุทธหรือเปล่า

เพราะฉะนั้น ไม่ใช่คำ แต่มีคำสำหรับกล่าวให้เข้าใจว่า ความจริงคืออะไร กำลังเห็น ไม่ต้องเรียกว่า เห็น ก็เห็น เพราะฉะนั้น คำสอนเรื่องความจริง จะใช้ภาษาอะไรก็ได้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาษามคธี ซึ่งเราใช้คำว่า “บาลี” เพราะเป็นภาษาที่ทรงไว้เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นคำที่พระองค์ตรัสด้วยพระองค์เอง แต่ชาติอื่นก็ใช้คำอื่น เพราะเขาสามารถเข้าใจความจริงโดยภาษาอื่น

ผู้ฟัง เราใช้คำว่า “สิ่งที่มีจริง” หรือสัจจะ อยากให้พูดถึงสิ่งที่มีจริงว่าคืออะไร

สุ. เห็นมีจริงหรือเปล่า ต้องมีชื่อไหม แล้วแต่ภาษาไหนจะเรียกอะไร หมายความถึงเห็น ไม่ได้หมายถึงอย่างอื่น เราเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนคำได้ แต่เปลี่ยนความจริงและลักษณะของธรรมะไม่ได้ ต่อไปนี้ทุกคนจะเรียกเห็นว่า ได้ยิน เพราะฉะนั้น เราเปลี่ยนเฉพาะกลุ่ม แต่สิ่งที่คนอื่นเข้าใจ โดยไม่รู้ว่าเราหมายความถึงอะไร เขาก็ไม่ได้เปลี่ยนตามเรา

นี่เป็นเหตุที่บางครั้งมีภาษาลับเฉพาะ ตกลงกันว่า ต่อไปนี้เราจะใช้คำอะไรสำหรับสิ่งนี้ ต่อไปก็เปลี่ยนอีกได้ ไม่ใช้คำเก่า สมมติใหม่อีกก็ได้ แต่สิ่งที่มีจริงทั้งหมดใครเปลี่ยนได้ หรือว่าเกิดแล้ว คิดจะเปลี่ยนไม่ทัน ดับแล้ว แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เห็นและทุกอย่าง

ขอเชิญฟังบันทึกการสนทนาดังกล่าว ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง :


Dhamma Talk by Ajahn Sujin

Ajahn Sujin: Today I am very happy to meet all of you who are Buddhist but what is more heartwarming is an opportunity to discuss the Dhamma; because it will help us to get a deeper insight into Buddhism. [In order to do that] first things first we must be honest. Everyone says [he or she] is a Buddhist, always pays respect to the Lord Buddha every morning and every night before going to bed - some even chant prayers. But does one truly “know” the Lord Buddha? This should be the first question to come across your mind: do you really have a grasp of the Lord Buddha?

Audience: No, we don’t.

Ajahn Sujin: We have to be straightforward, to be honest because the Truth couldn’t be altered. But who knows the Truth? [Our Planet Earth] is the only place in the universe, where Prince Siddhartha was born more than 2,500 years ago. Through perseverant training, he had accumulated his wholesome goodness and eventually became enlightened. [His enlightenment] is groundbreaking. Only those who realise the important benefits [of the Lord Buddha’s teachings will make the effort to] find out what the Truth is.

It’s no surprise that some people who listen to a Dhamma discourse for the first time are quite baffled. [They] have never realized that the Lord Buddha discovered the Truth, which is still relative even nowadays. When I am leaving this country, [the fact that it’s the Lord Buddha’s birthplace] makes me want to prostrate to pay respect to him even while on board a plane.

There are many Buddhas but the fourth one - Siddhattha Gotama - was born here. This place is significant not only because it is where the Lord Buddha came into existence and became enlightened, but it’s also [the country] where he started disseminating his teachings. Why did he have to propagate his knowledge? Simply put, it’s for the benefits of sentient beings. What did they learn after having listened to his teachings? They got to know “the Buddha” whom they had heard only in the name before. The Lord Buddha delivered his sermons with his boundless loving kindness; the virtue that he had cultivated even before he became enlightened. He made an immeasurable endeavor to reach out although what he had discovered was deeply profound, so refined and extremely difficult to understand. Today, we are no different than those [at the time of the Lord Buddha] who have never heard of his teachings but then are beginning to listen to something profoundly complicated. We need to study hard and to investigate his words of wisdom. Otherwise, we will not be able to perceive the true understanding of his teachings; the insight from the exalted one whom people from around the globe deeply respect.

But how could it be considered as an act of respect [to the Lord Buddha] if one does not understand the teachings, despite listening to the [Dhamma] discourses?

The Lord Buddha was fully aware that his enlightening knowledge was almost imperceptible and that nobody could easily comprehend. With his perseverance, patience and being true to himself, the Lord Buddha spent the best part of his life steadfastly learning, sacrificing himself in order to search for the Truth and eventually liberated himself from ignorance. And right here, is anyone aware that he also spent his time delivering sermons?

So, every time we listen to the Dhamma discourses, it’s as if we were in front of his presence. [Imagine] when the Lord Buddha was conveying his message, those in the audience would pay attention with great respect and try their best to fathom his teachings. Some people who were able to understand the Truth would emerge as virtuous friends and would – as best as they can - pass on the knowledge to others. [Thanks to the virtuous friends], we have an opportunity to ascertain his supreme attributes: his wisdom, his purity and his great compassion. Without those benevolent, we would never have heard of [the Lord Buddha’s teachings] .

But who is the Lord Buddha? If we don’t delve into his teachings, will we ever know the Lord Buddha? Neither Buddha statute nor sacred charm is the Lord Buddha. Paying respect to spiritual monuments does not translate to knowing the Lord Buddha either. You will get to know the Lord Buddha only when you listen to and then understand his teachings. When you hear “the Lord Buddha, the Arahant” you know that each word has its own meaning; arahant is the exalted one; he could completely renounce all defilements (kilesa) . Everyone is beleaguered by kilesa (s), will he or she be able to relinquish the defilements? [Perhaps] we don’t even know the meaning of kilesa, or we aren’t aware whether or not we are ridden with kilesa.

Once [we] get started with Buddhist terms, do we really know their meanings? And if [we] don’t understand each term from the beginning, would we be able to comprehend the rest?

A single word from the Lord Buddha isn’t up for different interpretations by different groups of people. The Lord Buddha is the unsurpassed Knower of all the truth, hence the veracity of his sayings. For those who genuinely respect the Buddha, they do not attempt to decipher [his teachings] . If they do, then they don’t need to take refuge in the Lord Buddha.

On the contrary, if [we] admit that we are ignorant, then we should take heed in order to find out the Truth. The Lord Buddha is endowed with a great expanse of knowledge; therefore we must venerate him by [trying] to understand his words.

It is possible to differentiate one person from another thanks to physical looks. But when it comes to the Lord Buddha, his external appearance isn’t “him”; his words are. In essence, the Dhamma is a representation of his physical body. People have got to know him owing to his teachings.

Those who claim to be a Buddhist must do no harm to the Dhamma: they must strenuously study the Buddha’s teachings with great respect, making an utmost effort to understand [the Dhamma] in order to gradually or even completely eliminate the ignorance that has inherently been with them in the endless cycle of birth and death (saṃsāra) .

This is the right path to cultivate virtues. It is a means for the mind to be trained by the Truth the Lord Buddha obtained from his enlightenment. Understanding the Dhamma is a virtue in itself. Despite having committed a good deal of other wholesome deeds, it’s still not counted as a way to cultivate virtues without trying to understand the Dhamma. This is because other virtuous acts cannot eradicate ignorance; the major culprit of all immoral deeds. Suffering and pain exist always in this world. Even the wealthy are no exception, they too are miserable Take for an example, when they are suffering from a serious illness.

So, suffering is inescapable. Wherever in this world, all the time people are languishing in misery, suffering and sickness. On the contrary, there are also those in the other side of the spectrum who seemingly live a perfect life. But people from both categories share one thing in common; they don’t know the Truth. No one knows when the last breath will be drawn, but many die without understanding the Truth.

As long as we are still alive, the most invaluable experience is to understand the Truth. Such an undertaking doesn’t happen by accident though; it’s only by heeding the Lord Buddha’s teachings. That’s how we have come to know the Lord Buddha. In comparison, if we don’t see the adverse impact of wrongdoing, will we ever be able to stop doing so? Will we be ever come to realise that, after all, immorality is the source of unceasing misery?

Only true understanding of the Truth will put an end to suffering and all the problems. As of now, everyone is doing fine but who knows when unbearable “dukkha” (suffering) will strike a lightning bolt at any of us? Can anyone prevent it? Can anyone stay clear of sickness, or forbid natural disasters from happening? That’s absolutely impossible. Everything, as the Lord Buddha discovered from his enlightenment, arises accordingly to the law of cause and effect.

In the endless cycle of birth, death and rebirth, nothing is more important than trying to understand the Truth as discovered by the Lord Buddha. And we have to undertake the study by ourselves, not relying on other people’s opinions - whether theirs’ are true or not.

Countless disciples at the time of the Lord Buddha gained an insight into his teachings. The Lord Buddha eventually attained parinibbāna, after he had helped sentient beings by passing on his unsurpassed knowledge to them.

Yet even after his parinibbāna, the legacy of his Dhamma still lives on. Thus, every time [when we] understand the Dhamma, it’s a way to pay homage to the Lord Buddha; for he had performed virtuous acts in order to get the Truth across.

From now on, we should take heed of the Lord Buddha’s teachings with great respect. Try to penetrate with full attention, try to study the vinaya and the sutta in the Tipiṭaka. Then we will get to know the Buddha and realise that all the teachings are coherent and unblemished.

This is the true meaning of Buddhaṃ saraṇaṃ gacchāmi, Dhaṃmaṃ saraṇaṃ gacchāmi, Sangkaṃ saraṇaṃ gacchāmi, we have to take a strenuous effort to learn the Dhamma by ourselves, not by relying on the others. The Lord Buddha taught the sentient beings to take refuge in the Dhamma until they can liberate themselves from all defilements. Starting from now, we must take refuse in the triple gems in order to get the right understanding.

And once we get it right, we will be able to determine who is right, who is wrong. With the right apprehension, [we] will immediately differentiate between those who adhere to the teachings and those who stray from the Truth. This is very helpful, especially during any given Dhamma talk, as the explanation of the right understanding will be beneficial to those who also honor the truth.

We shall commence with a discussion on dhamma in order to understand clearly each word without any doubt lingering in our mind We shall examine it until we are absolutely sure that it’s the Dhamma, and that it’s irreversible. In brief, the Dhamma is the ultimate truth. May I ask: does dhamma exist now? What is dhamma at the present moment?

Audience: We have heard that everything around us is dhamma.

Ajahn Sujin:Could you please cite an example?

Audience: For instance, when are talking, seeing - it’s all Dhamma.

Ajahn Sujin: That’s correct. Dhamma is everything that exists [in this world] – and the truth about it isn’t subject to change. Right now, we all are “seeing”. The Lord Buddha attained an ultimate truth of what “seeing” is. As for us, we are aware of “seeing”. But that’s not sufficient, we have to probe further what is the truth of “seeing? Of course, “seeing” is a real phenomenon, so it’s dhamma. You can’t deny that you aren’t “seeing” when in fact you are.

This is how to study the Dhamma; it’s neither about examining the texts nor memorizing the words. It’s all about natural phenomena, which we need to examine, to understand their nature the same way as the Lord Buddha did. Humans can “see” but the difference is most of them don’t know “who” actually is “seeing”. Only the Lord Buddha could pertain the insight into the ultimate truth. So, through the Dhamma talk, we will be gradually understanding its subtlety. Who is exactly “seeing”?

Audience: Citta (mind consciousness) .

Ajahn Sujin: Have you ever heard of the word “citta”? [Probably some] haven’t heard it before. The word might have been pronounced or written differently in other languages. Although in Thai we know this word as “chit” (จิต), in a universal world of Buddhism it’s known as ‘citta”. It’s better to use the latter to avoid confusion [with Thai word “chit”] . Still for some, citta is also called as kusala. The point is we should truly understand the convention of our own language, as cautioned by the Lord Buddha.

Have you ever heard the word “dhamma”? Or even if you have, do you understand its meaning? Likewise for the word citta, do you understand its true meaning? That’s why it isn’t enough just to “hear” the words, [we also] have to know their actual meaning.

Well, it’s better that we start with [the word] dhamma first [because] even if [some of you] haven’t heard of citta, at least you should be more familiar with “dhamma”. I am not sure if this is the same in Hindi; we do not say “taking refuge in citta”, rather we declare; “taking refuge in the Dhamma”. So, we should understand the meaning of dhamma first, as [often heard in a recitation] “Buddha, Dhamma and Sangha”. When we know the Lord Buddha, we then should understand the Dhamma and the rest, including “citta”

Now, what is dhamma? Have you got it?

Audience: The Dhamma is the teachings of the Lord Buddha.

Ajahn Sujin: What did he teach?

Audience: As [we have understood], the teachings is focused on how to live a virtuous life.

Ajahn Sujin: What is the meaning of “life”? The Lord Buddha teaches the Truth. So, what is the truth of “life”?

Audience: Life is diverse. For instance, a working life or a life that is constantly looking for [something], searching for purity [of mind] .

Sukin: We have learned a little bit [from here and there], including the Tripitaka and then we have come up with our own interpretation.

Ajahn Sujin: We have perceived that life can be so diverse. But first and foremost, what did the Lord Buddha actually say about it? When asked, everyone comes up with a different definition about life - but that’s [his or her] own view, not the one of the Lord Buddha’s.

That’s why we have to respect the Lord Buddha’s sayings. He had spent more than 45 years disseminating his teachings [that are deeply complex for ordinary people to fathom] .

Knowing the meaning of “dhamma” is the first important step to understand the next words. Not only Thais but people in this world [tend to] make their own interpretation once they hear [the Dhamma] . [And their definition] doesn’t precisely correspond to the Lord Buddha’s sayings. Therefore, we shouldn’t listen to other people’s commentaries. We must solely depend on the Lord Buddha’s. No matter what kind of language is being used, there is the only one meaning of “dhamma”. Let’s start it right with this very word. [Let’s repeat it again], the most crucial thing is to get the word “dhamma” right.

Audience: We would like Ajahn to speak first since we aren’t quite ready to give an answer just yet. The only thing we can come up is; [we] venerate the Dhamma, but what it is exactly we don’t really know.

Ajahn Sujin: Right, that’s being quite honest. Everyone [has known] that the Lord Buddha discovered the Dhamma after having attained enlightenment. That means the Dhamma is existent. “Dhamma” isn’t merely a naming convention. “Dhamma” is real. Be firm and confident in the understanding that it is the truth, because it exists for real.

And the next question [that I am going to ask] will justify whether you understand or just make a presumption about the Dhamma, or probably it will make you understand the word better; is there any “dhamma” now?

The fruit of [today’s] talk is for everyone to understand the word “dhamma”. I will ask a brief question so that you can investigate one word at a time. Sounds good? For instance, is there any “dhamma” now.

Everyone [seems] to agree that there is, but not quite sure whether [he or she] understands correctly as taught by the Lord Buddha.

Please try to examine each word, as [its meaning] has never been changed. Over the past 2,500 years ago, the Lord Buddha attained enlightenment and discovered the Dhamma; what does it really mean?

Audience: The Lord Buddha attained something that it had never been discovered by anyone before.

Ajahn Sujin: Is there still here right now what the Lord Buddha has discovered?

Audience: There is.

Ajahn Sujin: [Yes,] there is still but anyone who hasn’t attained enlightenment will be able to know the Truth?

Audience: No.

Ajahn Sujin: That’s the reason why if [you] could understand a single word [dhamma] you will get the rest. What the Lord Buddha discovered more than 2,500 years ago is still in existence. But “seeing” during the time of the Lord Buddha and “seeing” at this moment are the same?

Audience: No, it’s not the same “seeing”

Ajahn Sujin: But “seeing’ remains “seeing”, it can’t be otherwise, right? Anyhow, what the Lord Buddha was seeing [while he was still alive] isn’t the same thing that we are “seeing” at this present moment?

Audience: No, it isn’t.

Ajahn Sujin: Why?

Audience: Because everything arises in accordance with the law of cause and effect. When [a phenomenon] passes away, “it” will not be reborn as (in the same state) before. If “seeing” arises again, it isn’t the same as the last – it depends on the cause and effect.

Ajahn Sujin: Exactly, we do not “see” what the Lord Buddha “saw” 2,500 years ago. Anything which arises is impermanent, it doesn’t last. What we saw or heard a few moments ago isn’t the same [thing] we are seeing and hearing right now.

Just like an act of seeing and hearing, it happens and then vanishes: arising and passing away and will not be arisen the same over again. That’s what the Lord Buddha discovered. After each cessation, another conditioned phenomenon will instantaneously arise again. This is the Truth [as realized by the wisdom of the Lord Buddha] . He has extolled the process of phenomena and deliberated further about the chain of conditions. (* note which is known as “dependent origination”) .

Now that everyone is starting to get [closer] to the Truth. What arose a few moments ago, isn’t the same as what’s happening now or later; it’s the fact that nobody can change it. What exists now is caused by the thing that has arisen. If nothing is “born”, there won’t be anything that co-arises. No one knows exactly what’s arising and passing away, however, now we are beginning to grasp a right view; there is a cause behind whatever arises, followed by a cessation and then it will never reappear as the last.

We are starting to understand “birth” and “cessation” (or death) . “Birth” is triggered by five sense faculties: [eye] seeing, [ear] hearing, [nose] smelling, [tongue] tasting and [body] touching: [consciousness and matter] arise and decease all the time and never reappear [in the same state] again. So, what is happening now is only just a fleeting moment within the continuum of birth, death and rebirth cycle (saṃsāra) . Now you are quite confident in the knowledge, aren’t you?

So, is it “you” who are seeing now?

The Audience: No, it isn’t.

Ajhan Sujin: Right. “Seeing” arose and then vanished. Isn’t it “you” who “saw”?

Sukhin: The earlier explanation already touched on [the knowledge that] everything [including seeing and hearing] arises, passes away and never re-appears. Everything comes into existence in accordance with the law of cause and effect and no one has the power to control it.

Audience: “Seeing” arises and ceases, thus “hearing’ emerges. But if “seeing” doesn’t end, “hearing” will not arise. When “hearing” perishes, thus “seeing” arises. If “hearing” doesn’t stop, “seeing’ will not appear. That’s our life.

Sukhin: So, if you have understood like this, do you think that it’s “you” who saw?

Ajahn Sujin: Is it true or false that it’s “you” who saw? What is the truth then?

Audience: Everything that arises and passes is actually within “us”.

Ajahn Sujin: That’s correct. That’s the truth. It’s within “us”. Do you think the Lord Buddha attained the enlightenment and shared the same experience as us? The perfect one knows everything, not partially. And the truth must be the truth, it couldn’t be otherwise. Isn’t what we saw yesterday the same as what we are seeing now? Definitely, it isn’t the same. What happens in a fleeting moment in the cycle of saṃsāra will not occur again.

That underlines the difference between the Lord Buddha and those who do not understand the Dhamma. Dhamma is dhamma, it can’t be altered. No matter how different interpretations people have on the Dhamma, but the truth about it is changeless. Yesterday we “saw”, right? And how about today, do we still “see”? We are beginning to know the difference between our own perception and that of the Lord Buddha’s. [We must] start to penetrate deep, to be firm and to cultivate adhiṭṭhāna pāramī . The truth is always the truth. It takes clear wisdom to have the right view from the start. If we don’t get the right path to wisdom from the beginning, will we be able to abandon the [wrong view] that it’s “self” who sees?

So, starting from today, we must aim to get the right understanding - it’s a perfection of truthfulness (sacca pāramī) . We have to [practice being] faithful to the truth - just a little at a time until we have an unwavering stance. There is no such thing as “I”, there is only dhamma.

It’s not “I” who “see”. So, what is it that cause and action of “seeing”? We haven’t ever raised such a question, have we? It’s just like when we mention that we understand the Dhamma, but in fact we really don’t. If our knowledge isn’t substantially refined, we can’t claim that we know either the Lord Buddha or the Dhamma. To pay respect to the truth is to venerate the Dhamma.

That’s why we have to be honest. If we don’t understand the Dhamma, it means we don’t actually know the Lord Buddha. In this case, can you call yourself a Buddhist? [Well], cultivate the mind to think deeply, to investigate, to understand; these are primary moves to practice pāramī. You keep practicing until you can know about the truth of [phenomena] that are arising and passing away. It’s a way to prove that what the Lord Buddha has taught is true, and that it’s something we can achieve.

If we don’t understand the nature of phenomena, will we be able to attain enlightenment? There is a serious lack of fundamental understanding [of the Lord Buddha’s essential teachings] !

There are so many vipassanā centres in Thailand and around the world, but is that a barometer of universal understanding of Dhamma? The Lord Buddha was once residing here, preaching the Truth but it was hard for everyone to obtain a clear vision. His teachings are shrouded in a veil of ignorance. But now, we are beginning to cultivate a right understanding so as not to jeopardise the teachings of the Lord Buddha. Be brave to discover the truth, to be armed with pañña. And you don’t have to be afraid.

Audience: If a vipassanā centre is wrong, then who is right?

Sukin: What is the meaning of the word “vipassanā”?

Ajahn Sujin: What does it mean vipassanā?

Sukin: Now the one who has asked the question realised that [she/he] doesn’t know [the meaning of the word vipassana]

Ajahn Sujin: So, if one doesn’t know “vipassanā”, then it isn’t “vipassanā”. Being a good friend is the most beneficial. Everyone has a fair share of both bad and good friends. Good friends will bring us no harm, they will only do everything beneficial for us. In the Tipiṭaka, it describes good friends as kalyāna-mitta. The Lord Buddha is the noblest kalyāna-mitta.

No matter what kind of convictions [sentient beings] hold on to, the Lord Buddha has extended his boundless loving kindness [towards them] so that they could listen to the right things, to grasp the right understanding. Otherwise, they would have been overshadowed by misunderstanding; not having got acquainted with the Dhamma, not having recognized the Lord Buddha. They would never have known the Lord Buddha, who was the noblest kalyāna-mitta who had delivered the whole truth, the ultimate truth in order for us to attain.

Therefore, we ourselves shall be a good friend with sincere desire to get across the right understanding among others – no matter how they dislike it or not. We will not sway from our enduring intention [as a good friend] to make them get the right perception. Good friends are virtuous and will cause no harm to anyone. Making others misunderstand [the Dhamma] is the gravest misdeed that would stay with us in this life and carry on to the next, unimpeded.

[All of us] should be good friends and hope for the best for our companions. When we cite a word [or an excerpt taken from the Dhamma], we should encourage the others to investigate, to determine whether it’s true. In the end, no other people’s statements could be far more truthful than that of the Lord Buddha’s.

That’s the reason why every word from the teachings of the Lord Buddha still reverberates until today.

In retrospect, when I just begun to explore the Dhamma, I realized that I had stumbled into terminologies I had never heard in my life. But I wasn’t alone. When you are just beginning to study the Dhamma and the teachings of the Lord Buddha, you would frankly admit that there are words that you haven’t known before. For example, when we say “regret”, what is it “regret”? And when we say “seeing”, what is it “seeing”? We do “see” but we don’t get the meaning of “seeing” as far Buddhism is concerned.

Everybody talks about “vipassana”, and indeed there are many vipassanā centres. Nonetheless, not everyone knows what the Lord Buddha’ essential teaching on vipassana is actually all about.

So here comes a day when those who genuinely wish to safeguard and maintain the correct teachings of the Lord Buddha are trying to get across the right understanding. Because they realise that if a wrong understanding is being circulated, it will be detrimental to the Lord Buddha’s teachings.

[We] need to have sacca pāramī, be true to the truthfulness otherwise we neither know the Lord Buddha nor follow [his teachings] .

With great respect to the Lord Buddha, [we] will do our utmost to penetrate, to eventually understand. Even on topic like vipassanā, we will not follow other people’s interpretations, instead we will investigate whether it corresponds to what the Lord Buddha teaches.

So even if people assert that certain statements are cited by the Lord Buddha but those [statements] aren’t correct and do not give rise to the right understanding; then those [statements] aren’t delivered by the Lord Buddha. Rather, it’s because the people who make such statements do not get, or misunderstand [the teachings] .

Right now, we are starting to be honest, to be true to the truth, right? Otherwise, we won’t be able to understand the truth about saṃsāra. The most noble teachings - more precious than any other treasures in this world – are still there [as evident in scriptures that have been thoroughly scrutinized]

[And] when you know the Lord Buddha, you must pass on the knowledge to the others. This is the way to keep up the most precious teachings. By talking to one another [on the subject] will let us find out the level of understanding of certain persons: to discover whether [they] get it right or wrong. Understanding, and discussing the Dhamma is part of 38 blessings as described in Maṅgala Sutta.

What is the highest level of blessings? It’s neither wealth nor physical appearance. It’s not comfortable living, either. All of the aforementioned will not last forever. Who knows what the noblest blessing is?

In general, the word “maṅgala” denotes something good. Everyone wants to have and achieve “maṅgala”. But do you really know “maṅgala”?

The noblest blessing is to know the truth of what is actually existent in every moment from birth to death in our life. If you don’t’ understand this point, will you be able to gain the first maṅgala?

What is the first maṅgala by the way? Has anyone ever heard about this? Is there anyone who doesn’t know Maṅgala Sutta? How could [you] take refuge in the Lord Buddha when you don’t really know what he had been preaching for over 45 years?

In Thailand, chanting maṅgala Sutta is widely practiced. But is its meaning truly understood. If people haven’t heard the sayings of the Lord Buddha, would they know him - the exalted one who spent 45 years disseminating the Dhamma.

The ones who know the Lord Buddha are considered as Buddhists. But if one has never listened to [the teachings] of the Lord Buddha, could that individual be regarded as a Buddhist?

We should [at least” know what it means “Buddha” (awakened) . In essence, Buddha is the one who knows the truth: the supreme one who is fully aware of the truth that the rest hasn’t attained. The Lord Buddha explained clearly about the path that will help cultivate wisdom in order to achieve the right understanding. [It must be through] training, not just thinking.

So, now we must know the Truth attained from the Lord Buddha’s enlightenment. [Let’s get back] to the word “seeing”. What is the truth behind “seeing”. Everyone might have thought it’s a “self” who sees but the Lord Buddha points that “seeing” is just “seeing. No one makes it happen.

The Lord Buddha had realized the truth a long long time ago, but only few would understand what he had taught because they didn’t pay attention to studying his teachings deeply.

But now, we are starting to listen to the Lord Buddha’s words again. We can be certain that this is what he was trying to teach, because it’s existent now. We are getting to realise that “seeing” arises, then it ceases to exist; “hearing” arises and then passes away.

What the Lord Buddha discovered has been concealed for so long that now it’s time for the truth to start unfolding again.

Audience: Welcome to Lucknow. We are so happy to be here with you. Well, there is a question concerning jealousy. We would like to hear you elaborating more about this particular feeling.

Ajahn Sujin: Only knowing the word or [are you] feeling jealous right now?

Audience: [Even] when we are not being jealous.

Ajahn Sujin: If you know that you aren’t being jealous right now then you should know what “jealousy” means.

Audience: [The reason] why I asked [this question] because I am trying hard to refrain myself from having all “kilesas”. But how to deal with it when I am grappling with jealousy all the time. What did the Lord Buddha actually teach on how to ease the feeling of jealousy.

Ajahn Sujin: Is jealousy simply “jealousy” or it’s “us” who are jealous? If it’s the latter, then jealousy will keep arising. On the other hand, if we treat it as the first, it will gradually diminish. We can’t prohibit “jealousy” from arising, if it surfaces, it will end by itself because it’s not our “self” that feels jealous] .

So now you have come to see the truth of this particular phenomenon. Not only jealousy, but everyone is also overpowered by an incessant barrage of kilesas [defilements] .

Seriously, we must get the right understanding: it’s not about barring jealousy or any other defilements from arising. Jealousy arises and passes, so is it right to control it? If we are aware that jealousy gives rise to agitation and causes trouble to the “self”. All we have to do is just observe it and let it go. Then jealousy is extinguished without any attempt to quench it.

Of course, “jealousy” will arise again [upon those] who do not know the truth about jealousy. It will continue arising and passing away incessantly as long as you don’t understand clearly about the truth. The fact is: only those who are being jealous suffer, not to whom the feeling of jealousy is directed. They are maybe happy [at that given moment] .

Foolishness exists, right? And as long as [we are] still foolish, unwholesomeness abounds. Our foolishness will gradually subside when we are starting to understand that no one can prevent “jealousy’ from taking place. Jealousy is caused by the law of conditionality; it’s caused by ignorance. If we are getting closer to the Dhamma, ignorance which is the bedrock of all unwholesomeness, will gradually dissipate.

So long as we are blinded by ignorance, there isn’t only jealousy that enslaves us there are still a great deal of unwholesome [feelings] ; anger, dissatisfaction, to name but a few. Being ravaged by these feelings doesn’t do any good to us, right? But if we still remain ignorant, we will keep on getting angry, for instance.

In general, most of us tend to see bad qualities of other people, except ours. We judge the others, but the judgement is based entirely on our perceptions. There is no way for us to fathom what the others are thinking at that given moment – [to be exact], we are just assuming that they are thinking.

It’s no use trying to eradicate the bad qualities of other people. It’s better to take a deep look inwards instead. We become critical when we spot something terrible about the others, but we stop short of censuring us when we are actually [the culprit], and vice versa.

That’s why we have to be very honest to acknowledge our flaws. We are no different than the rest and we can’t remedy the flaws of other people.

In effect, at the very moment you realise that something isn’t right, your wisdom arises. You have started to recognize that what isn’t right isn’t wholesome and you will try to curb it.

Understanding the Dhamma is something so delicate. We want to eliminate all the defilements, we want to attain nibbāna but how we could have achieved it if we didn’t even know about “kilesas”. Consequently, you’d rather start looking at our own defilements instead of others’. When we try to find fault with the others instead of deploring our own, do you think this isn’t an unwholesome thought?

It isn’t easy to relinquish the bad things unless we have understood the truth. It’s only after having realized the truth that we can abandon unvirtuous deeds and thoughts. Even now, it’s hard to identify what’s immoral what’s not.

There are many levels of unwholesomeness; it’s easy to define when the defilement is gross. But when it’s subtle, no one would have detected it if the Lord Buddha didn’t find out.

[For instance], we are aware of our feeling when we are engulfed with anger. On the other hand, when we feel just slightly displeased, it’s not simple for us to identify the feeling. It takes the greatest one, the most exalted one like the Lord Buddha to show us the path. No one in the universe has greater, more profound knowledge than the Lord Buddha. Without him, would we have known that there are gross defilements? Isn’t it frightening that every little misdeed will exponentially multiply and eventually morph into heinous wickedness? If a grain of immorality is sown in this transitory moment, it will keep growing bigger in the next; and it will continue to escalate.

So please don’t be in a hurry to attain nibbāna [or] to break completely free from all the kilesas. But take the first step by getting to understand the Truth. Bit by bit, we will be able to abandon unwholesomeness, which is the stumbling block preventing us from attaining nibbāna.

[The sign] that we have begun to know more about the Lord Buddha is that we take notice of the subtle [phenomena] that are arising. What is subtle is very hard to detect. When listening the Lord Buddha’s teachings, only those who respect the truth would realise the subtlety of what is arising now.

[I would like to] cite an example, I just heard the voice of Khun Sukin. If you only hear the voice but are not aware that it’s Khun Sukhin who is speaking, would you care to know the source of the voice? Would you know what makes that sound. (Khun Sukhin is now clearing her throat) . Did you hear that sound? If you didn’t see [that Khun Sukin’s making the noise] would you be able to identify the sound?

We are probably familiar with the sound [caused by an act of clearing the throat] but if not, then another question is popping up: what is that sound? Then we will be obsessed with the constant search to find out what that sound is.

We know that there is a “sound” but we are not aware that it’s just “hearing” [as a result of a sense contact] . If any given sound is fascinating, we will become even more preoccupied with it. Just like when you listen to a delightful music, you get carried away by its beautiful melody [because] you don’t really understand the truth about the “sound.” All you know is that it’s pleasurable to hear that enchanting sound.

You see, it’s simply the sound, but then you are already dogged so much [by its enigma] . So, all day long, you keep being distracted by the consequence of sense contacts: seeing, hearing, smelling and touching. We have to take an immense effort to carefully investigate [things as they are] and then we will start to know the Lord Buddha, for he is the one who is aware that there is so much ignorance in this world.

From dawn to up until now, we are caught up relentlessly in a whirlpool of ignorance. Not only today but it’s since yesterday, even before, or since our birth that we have accumulated countless kilesas, we are besieged by ignorance. What is happening now only just arises for a fleeting moment. Yet, does anyone knows the truth about what is unfolding now? Do you know the truth of “seeing”? How do you define “seeing”?

Audience: We know that we are seeing, but we don’t understand [the truth of seeing]

Ajahn Sujin: Right, everyone is seeing, no one doubts about it. “Seeing” is happening for real, not just in our thought, not just in our memory. But what is it “seeing”? Do you see trees? Do you see flowers? “Seeing” is suchness; it’s is subjective, it’s not a sensory object. The nature of “seeing” is existent, [because] if it’s not, there won’t be such thing as “seeing”

Some might wonder why we are discussing on such an ordinary topic. They probably argue that the Lord Buddha taught something else. But what is the truth about life? Once we come into existence, we will encounter the experiences of sensations as a consequence of; seeing, hearing, tasting, smelling and touching. Since time immemorial, [such phenomena] are everlasting, they happen every day; from the previous life to the next. But who would know the truth about “suchness” if the Lord Buddha hadn’t attained enlightenment.

[Now we] are beginning to know the intricacies revolving around [the Truth] . The Lord Buddha had spent so many years cultivating pāramī in order to get an insight into the Truth. We all know that “seeing” exists, but we have never known the truth about it.

Audience: We have heard that the path [as taught] by the Lord Buddha is simple; the so-called middle path.

Ajahn Sujin: So easy? But then what level of understanding you have arrived? True or not? You are seeing, still you don’t know what [the truth about] seeing actually is. All the reality, the nature of existence of which nobody could change. Arising and passing keep on manifesting uninterrupted: this is the truth. It’s an ultimate truth [for] those who can see the nature of “arising” and “passing”.

Each individual phenomenon that arises is deemed as a singular, unique reality. Do you get this point? You have to understand this fundamental teaching first before you listen [further] to the Dhamma in order to know its meaning. When you hear the word “dhamma”, you must understand its definition. Otherwise, you will not comprehend the words of the Lord Buddha.

The Lord Buddha perfectly self-enlightened and discovered the Truth, but does anyone know of [phenomena] that arise and pass away. Does anyone realise when they emerge and suddenly disappear.

Here we are focused on the two phenomena “hearing” and “seeing”, they are separate states. “Seeing” is not “hearing” and vice versa. But the two phenomena are real; they are truth, they are dhamma. Those who perceive the truth will understand that the phenomena can’t be altered, and they can see that the nature of “arising and passing” operates universally. This is dhamma, this the ultimate truth.

Hence, would you have to venture, searching for “dhamma” far and wide? No need to do so when you understand that the present momentary state is dhamma. However, if you haven’t heard of the discourses [as taught by] the Lord Buddha, you would have no inkling of what dhamma is.

But now you realise that right here, right now, dhamma is manifesting in front of you: seeing is dhamma, hearing is dhamma, the sound is dhamma, in short whatever happens in every moment of our life is dhamma.

No one can prevent “seeing” from arising, thus “seeing” is dhamma”: it’s reality in the ultimate senses.

You have to understand what paramattha dhamma (abstract or ultimate reality) is and then you will clearly realise that no one can make an amendment to dhamma.

Audience:There exists atman for real or not?

Ajahn Sujin:Whatever word - for instance,“soul” - you have heard, you should truly understand its meaning. You have heard somebody else mentioning the word “soul” and then you repeat that word without any comprehension. If that person knows exactly what [he/she] is talking about, we will simultaneously understand it, too.

Right now, you are seeing: [and] is it the soul that appears in your vision?

Audience: No,it’s not.

Ajahn Sujin: Exactly! We can say that “seeing” exists, because “seeing” is a real nature of things. But such reasoning can’t be applied to the soul. “Seeing” is caused by a sense contact, that’s why we know it’s an abstract reality. On the contrary, is it the soul that you are seeing right now. No, it’s not. [So, what’s your conclusion], is there a soul then?

Audience: [Apparently] there is “atman” in other teachings. Is it right or wrong?

Sukhin: We have come here not to talk about other teachings [than Buddhism] . We are speaking about something that exists for real, something we know that it’s true, something that [we are able] to realise, to understand.

Ajahn Sujin: [This is my take] : is the person who has conceived the idea of “soul” the Lord Buddha? Has that person attained enlightenment? Has that particular person discovered any truth? “The Arahant Buddha” isn’t a name, but it’s a title honoured to the exalted one, the one who has realized the ultimate knowledge, the unsurpassed Knower of the world.

We have to listen attentively to every word of the Lord Buddha, so that we will have the right understanding to identify what is true, what’s not. The Lord Buddha devoted 45 years of his life tirelessly trying to get across his teachings. [Ever wonder] why it took so long?

How long have we been listening to his teachings? A few minutes probably, compared to the 45 years of time the Lord Buddha was firmly committed to teaching. That amount of time is relatively longer than anyone else [ever did] . Day and night, from dawn to dusk the Lord Buddha steadfastly dedicated himself to teaching. Why it took such an exceedingly lengthy period? Because it’s really complex.

The phenomena perpetually arise and fade away in rapid succession. Now we see, the next moment we don’t. Could that phenomenon repeat itself exactly the same as the last? Why not? The answer is: whatever arises passes away. To put it bluntly, the suchness of reality.

So, what is arising now is an individual phenomenon in this individual moment and it’s different from the last. Moreover, it is not going to repeat itself over again in the course of saṃsāra. “Seeing” that occurred 2,500 years ago certainly isn’t neither the same as “seeing” now, nor in the next moment. This isn’t merely a saying, but it’s the truth. It’s something that you gradually get closer to understanding. Everything is arising and passing away.

Take for example when a certain person departs from this world, there will no longer be the same person ever again. Everything about that particular person has experienced [throughout his/her lifetime] ; be it pleasant or unpleasant, will come to an end upon [his or her] passing. Nothing is left to be owned once we are gone.

Not knowing the Truth leads to an accumulation of unwholesomeness. However, as soon as we have started to understand, we will gradually try to eliminate unvirtuous acts. By then we will have come to see the negative consequence resulted from committing unwholesome acts [mentally and bodily] . And, in the end we will get to the point that actually both the good and the evil arise and pass away. Yet, the past experiences will keep on accumulating. The same way as learning, the fruit of understanding that is cropping up today will be stored. In the gradual order, it keeps on accumulating over time.

Slowly does it. We are gradually cultivating pāramī. We have to be truthful to the truth that dhamma is just the way things are. We might not get it completely as of now. For those who are certain of the path, the Lord Buddha would show the way to train yourself to accumulate [different types of] pāramī: pañña pāramī (perfection of insight), sacca pāramī (perfection of truthfulness), nekkhamma pāramī (perfection of renunciation), viriya pāramī (perfection of energetic diligence), khanti pāramī (perfection of patience), adhiṭṭhana pāramī (perfection of resolution) .

If we are overwhelmingly filled with ignorance, largely caught up in unwholesomeness and immoral [deeds and thoughts], will we be able to foster wisdom?

That everything arises and passes away is the right understanding and the noblest wisdom. Enormous wealth and good health [that we are misled to believe so] will be all gone one day. [In the brink of an eye] the next thing we know is we become sick or poverty-stricken.

Not the wisdom though, once it springs up, it will keep on growing, albeit gradually.

Audience: Does the Dhamma describe anything about next life, apart from the present one?

Sukhin: In the Tipiṭaka, the Lord Buddha recollected his past lives. Do you think that he didn’t speak the truth?

Audience: We would like to ask Ajahn, how could we understand [the concept of] the past and next life?

Ajahn Sujin: Do you see “birth” and “death” (arising and passing) of such actions as seeing, hearing and thinking. Everything arises according to the law of conditionality. “Birth” is caused by a condition, then it is followed by “death”. Then a new cycle of re-birth and re-death will occur again.

So, when death occurs, there will be birth after that?

Audience: No.

Ajahn Sujin: Did you realise the cessation of “seeing”. Definitely, it did cease to exist; namely death. But, the Lord Buddha explained that there are three types of death: khaṇika maraṇa, each momentary phenomenon is born and ceases but never arises again as the last. Khaṇika maraṇa happens every moment; arising and passing away all the time while the being who endures the experience is still living.

However, once the being is deceased, the process is called sammati maraṇa. The death [of the being] takes place as factored by the law of causality, which nobody can prevent it. It’s the same process as “seeing”: when it ends, another phenomenon (such as hearing) arises. Likewise, when the being dies, another cycle of birth and death will start all over again according to the cause and effect law.

Whatever [the being] has experienced, happy or unhappy, in this life time will be ingrained in [his/her] memory, as long as [the being] is alive. But no one knows exactly what the next citta will become after it passes away. Certainly, it will be reborn again if [the being] who possesses citta has neither completely extinguished all the defilements, nor attained the Truth.

Meanwhile, if one has liberated oneself from all the defilements and realised the Truth, one will never be born again; this type of death is referred to as samuccheda maraṇa.

So right now, everyone is seemingly imprisoned in the relentless stream of khaṇika maraṇa and sammati maraṇa. When a physical birth comes to an end, those who haven’t liberated themselves from all the defilements like an arahant will merely fall into the category of sammati maraṇa - the perpetual cycle of birth and death.

Not everyone is born equal, not even in terms of seeing and hearing. Some see solely see bright sides, others simply don’t. Some are filled with positive thinking, habitually bent on doing righteous things while others are exactly the opposite. All these factors combined are prerequisites for the next rebirth. The momentary birth and death of [our] citta is transitory just like seeing and hearing at the present moment; suddenly all vanish. But instantaneously [citta] arises again. And we have no idea what kind of conditionality that will cause the next birth of citta. Once our [external] existence parishes from this world, we can’t foresee what our next birth will be.

And when we are reborn, our sense faculties will still see and hear again – just as it’s happening right now. Do you see birds, crabs, snakes, fish, humans or monkeys?

So, whatever you have done in this life will collectively be posited into your next birth. We don’t know what our future lives will be; a bird, a snake, a human or a celestial being?

The reason why everybody is not born equal is: the rebirth is karmic consequences of one’s collective actions in this entire life. So, you are not sure whether you will be born in the same state as your becoming in this life. No one knows when the last breath will be drawn, but the fact is everyone will die and nobody can choose when. Death can take place anytime; probably as early as during childhood, as an adult or as a centenarian.

Now, hopefully you are grasping the subtlety of what the Lord Buddha teaches. Today, it only begins with a few words. Every state of becoming is the truth. Everything is dhamma. All collective actions will lead [you] into a new becoming.

Just only in this realm, there are billions of people. Yet, how many of them get an insight into the teachings of the Lord Buddha. Some have heard a few words of the Dhamma and quickly jumped to a conclusion, without digging into the profundity of the great knowledge. Hence, it either leads to misunderstanding or misrepresents the Lord Buddha’s teachings. Such delusion is caused by an absence of great respect to study the Dhamma.

The ones who genuinely respect the Lord Buddha are those who also hold his teachings in highest regard. They must be meticulous, taking great care to maintain the correct teachings and [train themselves] to steer clear from; misinterpreting, not listening to or not understanding the Dhamma.

“Buddha” means a true insight, true understanding of phenomena that’s arising, becoming and passing away If we don’t listen to the Lord Buddha, will we be capable of discovering and understanding [the Truth] ? We have to take refuge in the Lord Buddha’s teachings in order to appreciate his great wisdom, and that he is the unsurpassed Knower of the world. Then we will be considered as a person who truly knows the Lord Buddha.

Then we will come to a realisation that if we know the Lord Buddha, it’s because we understand the Dhamma: it’s not about paying respect to [statutes] with flowers and incense. After all, the Lord Buddha didn’t teach [sentient beings] in exchange for votive offerings. He did so in a bid to make the sentient beings get an insight. In the perpetual cycle of birth and death, one won’t attain the truth without learning the Lord Buddha’s teachings.

So now you are starting to understand the word “sacca pāramī”. After all, a right understanding of what is existent is the most beneficial.

Audience: In Ajahn’s opinion, who deserves to be called a disciple of the Lord Buddha.

Ajhan Sujin: “Buddha” is the one who knows [an enlightened one] But if you don’t know the truth, will you be able to call yourself a Buddhist?

It’s not about “words”, or languages as they are only a convention. [For example] even though it’s not called “seeing”, we can still “see”. It doesn’t matter what language is used to teach about the Truth. The Lord Buddha employed Pali, as it’s the language that stays true to its original, but others [different nationalities around the globe] use their own language in order to understand the Truth.

Audience: We use the term “things that are existent in reality” or sacca, can you elaborate on this?

Ajahn Sujin: Is “seeing” a reality? Does it need a [conventional] naming. No matter what kind of language used, its meaning is all the same. We can change the naming, but we can’t change the Dhamma [truth of the reality] . Just imagine we can replace the word “seeing” with “hearing” within our own group but others who do not understand our language will still know the meaning of “seeing”.

That’s the reason why sometimes there is an invention of a secret code: that it’s agreed for now to use certain words to represent certain things, then the newfound terms can still be changed or wiped out altogether. And then other expressions will be coined all over again.

But what exists in reality, it isn’t something one can change. Once becoming arises, it continues to the next process - namely cessation -unimpeded.

Summing up, the Lord Buddha attained the enlightenment and he knew everything.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 25 มิ.ย. 2565

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
siraya
วันที่ 25 มิ.ย. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 25 มิ.ย. 2565

กราบอนุโมทนาในกุศลวิริยะของอาจารย์กาญจนาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 25 มิ.ย. 2565

ขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 25 มิ.ย. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 25 มิ.ย. 2565

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Centella
วันที่ 28 มิ.ย. 2565

น้อมระลึกบูชาพระคุณทั้งสามด้วยความเคารพอย่างสูงสุด

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ