วิหาร ๔

 
wittawat
วันที่  12 ก.ค. 2565
หมายเลข  43335
อ่าน  576

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

วิหาร ซึ่งหมายถึง ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่

ซึ่งมาจากศัพท์ คำว่า หรติ หมายถึง นำเข้าไป น้อมเข้าไป ให้เกิด ให้เกิดขึ้น

ในบางคัมภีร์ แสดงวิหาร โดยแบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

อิริยาบถวิหาร ๑

ทิพพวิหาร ๑

พรหมวิหาร ๑

อริยวิหาร ๑

กราบเรียนให้อาจารย์วิทยากรได้อธิบายในความหมาย และสภาพธรรม ในวิหารทั้ง ๔ นี้ ซึ่งทราบมาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คบ ผู้เสพ ผู้ทำให้มาก (ภตฺตวา) ใน วิหาร ๓ ประการหลังข้างต้น กราบอนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรม เป็นเรื่องที่เข้าใจยากเป็นอย่างยิ่ง ก็อาศัยข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นหลัก

-อิริยาบถวิหาร หมายถึง การอยู่ด้วยอริยบบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ธรรมดาของผู้ที่ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว จะไม่เป็นไปกับกิเลสใดๆ เลย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด หรือ ผลัดเปลี่ยนเป็นอิริยาบถใดก็ตาม

พิจารณาข้อความใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๓ ดังนี้

บทว่า วิหรติ เป็นคำแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วยวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอิริยาบถวิหาร ทิพยวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร โดยไม่แปลกกัน แต่ในที่นี้ คำว่า วิหรติ นี้เป็นคำแสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถทั้งหลาย ชนิดต่างๆ มีการยืน การเดิน การนั่งและการนอน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนินไป ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี บัณฑิต พึงทราบว่า ย่อมประทับอยู่ นั่นแหละ. จริงอยู่ พระองค์ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่ง ด้วยอิริยาบถอย่างหนึ่ง ทรงนำอัตภาพไป คือ ให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ย่อมประทับอยู่ ดังนี้.



-สำหรับ ทิพพวิหาร พรหมวิหาร และ อริยวิหาร มีคำอธิบายใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๒๔ ดังนี้

สมาบัติ ๘ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) ชื่อว่า ทิพยวิหารธรรม
อัปปมัญญา ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา) ชื่อว่า พรหมวิหารธรรม
ผลสมาบัติ ชื่อว่า อริยวิหารธรรม.


...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 13 ก.ค. 2565

ขอบพระคุณ และยินดีในความดี อ.คำปั่น และคุณวิทวัต ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wittawat
วันที่ 14 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ อริยวิหารธรรม ๔ ก็เป็นไปตามลำดับขั้นของพระอริยบุคคล ๔ จำพวก ที่เข้าผลสมาบัติตามลำดับขั้นอันเป็นผลของตนๆ

อาจารย์ครับ คำถามนี้ค่อนข้างไกลตัวไปซักหน่อยนะครับ แต่ว่าพระอริยบุคคลที่ไม่ได้บรรลุฌานเลย ก็สามารถเข้าผลสมาบัติได้ทุกคน แม้ผู้เป็นสุขวิปัสสกใช่ไหมครับ เพราะผลจิตเกิดด้วยอำนาจของวิปัสสนา ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณนิเทศ กล่าวไว้เช่นนั้น แต่ตัวผลสมาบัติเองนี้ก็เป็นฌานประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดต่อจากอนุโลมญาณ หมายความว่าพระอริยบุคคลที่ไม่เคยได้อบรมฌานประเภทอื่นใดมาก่อนเลย เช่น กสิณ อัปปมัญญาก็ดี เป็นต้น ก็สามารถเข้าฌานที่เป็นผลสมาบัติได้ใช่ไหมครับ ความเข้าใจนี้ถูกผิดประการใดขอให้อธิบายด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2565

เรียน ความคิดเห็นที่ ๔ ครับ

เป็นเรื่องที่ไกลตัวมากเลยครับ ในความเป็นจริงแล้ว พระอริยบุคคลผู้ไม่ได้ฌาน จะไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ ครับ

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ได้ที่
หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

ผลสมาบัติ

..ยินดีในกุศลของคุณวิทวัตและทุกๆ ท่านด้วยครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wittawat
วันที่ 15 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

เป็นเรื่องละเอียดครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
talaykwang
วันที่ 1 ธ.ค. 2567

กราบขอบพระคุณและยินดียิ่งในกุศลค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ