กรณีเช่นนี้ จัดเป็นมุสาวาทหรือไม่ อย่างไรครับ?

 
Dack
วันที่  30 ก.ค. 2565
หมายเลข  43412
อ่าน  554

ผมขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ครับ ผมมีความไม่แน่ใจในศีลข้อที่ 4 คือ มุสาวาทา ในกรณีที่เป็นการเขียน หรือเซ็นต์เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่เราไปเปิดบัญชีธนาคาร พนักงานมักจะนำเอกสารมาให้เซ็นต์เป็นจำนวนมาก หากจะอ่านอาจใช้เวลาเป็นชั่วโมงได้ แต่ในท้ายเอกสารมักจะมีประโยคประมาณว่าข้าพเจ้าได้อ่าน และยินยอม อะไรทำนองนี้ แล้วให้ลงนามเซ็นต์เอกสาร

ผมขอเรียนถามว่าในกรณีเช่นนี้ ถ้าเราเซ็นต์เอกสาร โดยที่รู้อยู่ว่าเราไม่ได้อ่าน แต่พนักงานคนนั้นก็รู้ว่าเราไม่ได้อ่าน เพียงแต่ทำเป็นธุรกรรมให้เป็นหลักฐานยืนยันเท่านั้น กรณีเช่นนี้จัดเป็นมุสาวาทหรือไม่อย่างไรครับผม / กราบขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นขอให้พิจารณาจากองค์ประกอบที่จะทำให้ล่วงศีลข้อมุสาวาท ดังนี้

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๙๑

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่แท้

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น

--------------

จากประเด็นคำถาม ก็พิจารณาได้ว่า จุดมุ่งหมาย ไม่ได้ไปมุ่งที่กล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงแต่อย่างใด เพราะจุดมุ่งหมาย เพื่อยินยอมในการกระทำธุรกรรม นั้น ไม่ได้ผิดไปจากนี้เลย และ อย่างน้อย ก็ต้องได้อ่านบ้าง ก่อนที่จะเซ็นยินยอม และ ทางธนาคาร ก็ย่อมมีทีมกฎหมายที่ทำเอกสารอย่างรัดกุม ครบถ้วน ถูกต้อง อำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้บริการอยู่แล้ว แม้ผู้ใช้บริการจะไม่ได้อ่านทุกตัวอักษรก็ตาม ครับ

...ยินดีในความดีทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Dack
วันที่ 31 ก.ค. 2565

กราบ ขอบพระคุณครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 3 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ