ขั้นตอนหรือวิธีลาสิกขา

 
cc_funny
วันที่  16 ส.ค. 2565
หมายเลข  43486
อ่าน  923

จากหนังสือเรื่องภิกษุกับเงินทองและการช่วยสังคม หน้า 23 มีข้อความว่า ..

เมื่อภิกษุใดไม่สามารถดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตได้ ก็สามารถลาสิกขา คือ สึกได้ทันที เมื่อใดก็ได้ที่รู้เนื้อความว่าตนเองจะเป็นคฤหัสถ์

คำถาม

ดูเหมือนกันลาสิกขาเป็นเรื่องง่ายมาก ในขณะที่วัดต่างๆ ในปัจจุบันมีขั้นตอนมากกว่านี้

ขอความกรุณาขยายความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้นด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 ส.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ลาสิกขา (หรือที่คนไทยคุ้นกับคำว่า "สึก") เป็นการที่พระภิกษุบอกถึงความประสงค์ที่จะไม่เป็นพระภิกษุอีกต่อไป ไม่ประสงค์ที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติหรือสิกขาบทต่างๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ในเพศบรรพชิตอีกต่อไป ก็กล่าวคำที่แสดงความเป็นผู้ที่จะไม่เป็นพระภิกษุอีกต่อไป โดยกล่าวกับบุคคลผู้ที่ฟังรู้เรื่อง ไม่ว่าจะกับภิกษุด้วยกันหรือแม้กับคฤหัสถ์ ก็ได้ ว่า ตนเองจะเป็น คฤหัสถ์ ไม่เป็นพระภิกษุอีกต่อไป เช่น ข้าพเจ้า ขอลาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอลาพระธรรม ข้าพเจ้า ขอลาพระสงฆ์ เป็นต้น จึงไม่มีขั้นตอนอะไรมากมายเลย ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
cc_funny
วันที่ 19 ส.ค. 2565

ขอบคุณอ.คำปั่นสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

เพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นขอความกรุณาอ.คำปั่นช่วยอ้างอิงถึงการลาสิกขาในพระไตรปิฎกด้วยจะได้ไหมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 19 ส.ค. 2565

เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ

ตัวอย่างเช่น

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๘๙

อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลายผู้คุ้นเคยกัน กล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใครๆ จงรู้ ถ้าว่า มีคนทำงานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ในที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้ สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้


[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๘๗

๑๔ บท ที่เป็นไปกับด้วยความสัมพันธ์คำบอกลาสิกขาเหล่านี้ คือ :-

พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า

ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม

สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์

สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา

วินยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย

ปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกข์

อุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ

อุปชฺฌายํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ

อาจริยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์

สทฺธิวิหาริกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก

อนฺเตวาสิกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก

สมานูปชฺฌายกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ

สมานาจริยกํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์

สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้ในวาระว่าด้วยการบอกลาสิกขานี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
cc_funny
วันที่ 20 ส.ค. 2565

สาธุ

แค่ตัวอย่างแรกก็กระจ่างชัดเจนแล้วค่ะ ขอบคุณอ.คำปั่นมากๆ นะคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ