การสงเคราะห์กัน ... เป็นเหมือนดาบสองคมหรือไม่

 
oom
วันที่  27 ก.ค. 2550
หมายเลข  4375
อ่าน  1,431

การที่เราช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่น ในสิ่งที่เขาปรารถนา อยากได้ ควรอยู่ในขอบเขตใช่ไหม เพราะบางครั้งการให้ก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่ผู้รับไม่รู้จักพอ เรียกร้องตลอดเวลา ต้องการให้คนอื่น สนองตามความต้องการของตนเองตลอด โดยไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง คอยแต่หวังจะให้คนอื่นๆ ช่วยอย่างเดียว มีผลทำให้คนอื่นเดือดร้อน เพราะแต่ละคนมีความอดทนได้ไม่เท่ากัน เรายังควรเป็นผู้ให้อยู่หรือไม่ ถ้าให้แล้วเหมือนส่งเสริมให้คนไม่รู้จักช่วยตัวเอง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 ก.ค. 2550

การสงเคราะห์ผู้อื่นไม่ใช่มีเพียงการให้เงินหรือสิ่งของเท่านั้น ควรสงเคราะห์กันด้วยการแนะนำความรู้ที่เป็นประโยชน์บ้าง การพูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวานบ้าง การบำเพ็ญประโยชน์บ้าง การวางตนเสมอบ้างตามสมควร ดังข้อความใน พลสูตรว่า พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔

ข้อความบางตอนจากพลสูตร เชิญคลิกอ่านที่นี่

การสงเคราะห์ผู้อื่น [พลสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 27 ก.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 436

เชิญคลิกอ่านที่นี่

สังคหวัตถุ ๔ [ทุติยหัตถกสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 27 ก.ค. 2550

ให้อะไรก็ไม่เท่ากับ การให้เขาเกิดความเข้าใจถูกในพระธรรม และเห็นประโยชน์ของการศึกษาพระธรรมครับ เพราะผู้ที่เข้าใจพระธรรมย่อมเจริญศรัทธา เกิดสติเกิดหิริ โอตตัปปะ รักษากาย วาจา รักษาศีล ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดจะขออะไรจากผู้อื่น ที่จะทำให้ผู้นั้นต้องอึดอัดใจ เป็นผู้ที่ใครอยู่ด้วย ก็สบายใจเพราะผ่องใสด้วยกุศล มีความเป็นมิตรด้วยเกิด อโลภะ อโทสะ และเป็นผู้ที่เจริญปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนี้ เรายังควรเป็นผู้ให้อยู่หรือไม่ ถ้าให้แล้ว เหมือนส่งเสริมให้คนไม่รู้จักช่วยตัวเอง ทุกคนมีความรักตัวเอง มีความอยากจะมีชีวิต ด้วยความที่ยังมีกิเลส ต่างกันที่ปัญญาว่าจะรู้จักกิเลสของตนว่าเหนียวแน่นเต็มเปี่ยมแค่ไหน ทุกคนไม่ได้มีอุปนิสัยที่จะสละทุกอย่าง และก็ไม่มีทางเป็นได้ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยขันติอย่างมากเป็นเวลาเนิ่นนาน ทรงสละแม้ชีวิตเป็นทานบารมี จนในที่สุดก็ได้ทรงตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมากมาย ได้อนุเคราะห์เกื้อกูลให้บุคคลละคลายความเป็นตัวตน และสิ่งที่ยึดว่าเป็นของๆ ตน โดยการเจริญกุศลทุกประการ แม้แต่การให้ทาน พระองค์ก็ทรงแสดงธรรมในเรื่อง การให้ในผู้ที่ควรให้กาละเทศะที่ควรให้ และอานิสงฆ์ที่ผู้ให้จะพึงได้รับ ฉะนั้น การจะส่งเสริมให้บุคคลอื่นเกิดอกุศลมากขึ้น หรือตัวเราเองเกิดอกุศลมากขึ้น จึงขึ้นอยู่กับปัญญาของแต่ละท่านจริงๆ ที่จะเป็นผู้ที่รู้สภาพจิตของท่านเองว่า ท่านกำลังกระทำอย่างไหนมากกว่ากันครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จะให้หรือไม่ให้ก็เห็นแก่ตัวอยู่แล้วครับ ดังนั้น ถ้าคิดว่าอย่าให้เลย เคยตัวขณะที่คิดอย่างนั้น จิตเป็นอะไร แต่ถ้าคิดว่าควรสละ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองและก็เพื่อประโยชน์คนอื่น เหมือนมีคำกล่าวว่า การไม่ทานเนื้อสัตว์จะทำให้การฆ่าน้อยลง คำนี้จริงหรือเปล่า เผินๆ อาจจะจริงแต่ถ้าพิจารณาดูโดยละเอียดกิเลสคนอื่นลดลงไหมที่เราไม่ทานเนื้อสัตว์ เมื่อไม่ทานเนื้อสัตว์จะทำให้เขาไม่ฆ่าหรือเปล่า ในเมื่อเขามีกิเลส ฉันใด การที่เราไม่ให้หรือให้น้อยลง จะทำให้คนอื่น กิเลสน้อยลงที่อยากจะได้ไหมก็ไม่ครับ ดังนั้น เราต้องพิจารณาคำว่าเดือดร้อนให้ละเอียด เช่น กล่าวว่า คนอื่นเดือดร้อน เพราะอะไรถึงเดือดร้อน ก็เพราะตัวเองมีความตระหนี่จึงเดือดร้อน เมื่อคนอื่นมาขอ ดังนั้น เป็นเพราะกิเลสของเราเอง และเมื่อรู้อย่างนี้จึงขัดเกลากิเลสของตนเองคือ การให้เพื่อขัดเกลาความตระหนี่ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรื่อง การชนะคนตระหนี่ (ตัวเอง) ด้วยวิธีอย่างไร

เชิญคลิกอ่านที่นี่

ว่าด้วยวิธีชนะ [ราโชวาทชาดก]

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 598

อนึ่ง ผิว่า ผู้ขอเป็นคนที่รัก พึงให้เกิดโสมนัสว่า ผู้เป็นที่รักขอเรา. แม้ผู้ขอเป็นคนเฉยๆ พึงให้เกิดความโสมนัสว่า ยาจกนี้ขอเราย่อมเป็นมิได้ด้วยการบริจาคนี้แน่แท้. แม้ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของยาจกทั้งหลายแม้บุคคลผู้มีเวรขอ ก็พึงให้เกิดโสมนัสเป็นพิเศษว่า ศัตรูขอเรา. ศัตรูนี้เมื่อขอเราเป็นผู้มีเวร ย่อมเป็นมิตรที่รักด้วยการบริจาคนี้แน่แท้ พึงยังกรุณามีเมตตาเป็นเบื้องหน้าให้ปรากฏ แล้วพึงให้แม้ในบุคคลเป็นกลางและบุคคลมีเวร.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 618

ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษ เมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเองว่า จะให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. แม้เขาไม่ขอก็ให้. ไม่ต้องพูดถึงขอละ.มีของให้ จึงให้. ไม่มีของให้ ย่อมไม่ให้. ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรมย่อมไม่ให้สิ่งที่ไม่ปรารถนา. อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. เมื่อไม่มีไทยธรรมย่อมแบ่งสิ่งที่ปรารถนาให้สมควรแก่การแจกจ่าย.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
udomjit
วันที่ 28 ก.ค. 2550

อนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 28 ก.ค. 2550

การช่วยเหลือ การสงเคราะห์ การให้ เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ ถ้าเป็นกุศลจิตจะไม่เศร้าหมองไม่เดือดร้อนค่ะ การให้ ทำให้จิตของผู้รับอ่อนโยน ผู้ให้ก็มีความสุขจากความดีที่ได้ช่วยเหลือเขา และการให้เป็นการผูกมิตรที่ดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 28 ก.ค. 2550

การช่วยเหลือที่ชาญฉลาด คือการช่วยให้ผู้นั้นรู้จักช่วยเหลือตัวเอง

แม้พระตถาคตก็เป็นเพียงผู้บอกทาง

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ค. 2550

การช่วยเหลือที่ดีที่สุดก็คือการช่วยคนที่ไม่เข้าใจธรรมะ ช่วยอธิบายให้เขาเข้าใจ เพราะความเข้าใจธรรมเป็นเหตุให้ปัญญาและกุศลอื่นๆ เจริญขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
oom
วันที่ 31 ก.ค. 2550

ได้อ่านข้อแนะนำของทุกท่านแล้ว เป็นประโยชน์ต่อดิฉันและผู้อ่านมากเลย ดิฉันจะนำไปปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสของตัวเราเอง ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะเรายังมีกิเลสอีกมากมาย ไหนจะกิเลสของคนอื่นๆ อีก จะพยายามฝึกตัวเองให้มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
olive
วันที่ 1 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
อิสระ
วันที่ 4 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 20 ก.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ