เมื่อไปปฏิบัติ ก็ไม่พยายามเติมให้มันเค็ม เพราะกลัวโลภะ
ถ. ผมติดใจที่อาจารย์กล่าวถึงว่า กลัวโลภะ คำๆ นี้ ผู้ปฏิบัติบางท่านกล่าวว่า ขณะที่ท่านไม่ได้ปฏิบัตินั้น เวลารับประทานอาหารจืดไปก็เติมเปรี้ยว เติมเค็ม เติมหวาน สุดแล้วแต่จะเติม แต่เมื่อไปปฏิบัติ ก็ไม่พยายามเติมให้มันเค็ม เพราะกลัวโลภะ ทำนองนี้ใช่ไหมครับที่อาจารย์ว่า
สุ. ถ้ากลัวโลภะจริงๆ ก็ดี จะได้เพียรรู้ลักษณะของโลภะตามความเป็นจริง ให้ถูกต้องตามขั้น คือ เห็นภัย เห็นโทษของโลภะ แต่นี่เห็นภัยเห็นโทษไม่ตลอด เห็นนิดเดียวเท่านั้นเองแล้วก็มีโลภะอีก ถ้ายังไม่รู้ลักษณะของนามและรูปที่เกิดปรากฏในวันหนึ่งๆ ตามความเป็นจริง จะละความยึดถือนามรูปว่าเป็นตัวตนไม่ได้ จะละโลภะไม่ได้
เพราะฉะนั้น การที่จะให้ปัญญาละราคะเป็นที่สุด โทสะเป็นที่สุด โมหะเป็นที่สุดด้วย ผู้นั้นต้องรู้อย่างถูกต้องจริงๆ ว่า ในขั้นแรกนั้นจะต้องเจริญสติอย่างไร พิจารณารู้ลักษณะของนามอะไร รูปอะไรที่เกิดปรากฏ เพื่อละคลายความยึดถือว่าเป็นตัวตน
ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...