ไม่ได้รับสั่งให้ภิกษุไปสู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างที่ไหนเลย

 
สารธรรม
วันที่  16 ก.ย. 2565
หมายเลข  43924
อ่าน  231

. ในกายานุปัสสนาบรรพนี้กล่าวถึงว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนร้างก็ดี”

สุ. ที่จริงพระพุทธองค์ท่านไม่ได้รับสั่งให้ภิกษุนั้นไปสู่ป่า ไปสู่โคนไม้ หรือไปสู่เรือนว่างที่ไหนเลย เป็นอัธยาศัยของบุคคลที่จะเป็นภิกษุก็ดี ฆราวาสก็ดี เมื่ออยู่ในห้องที่คับแคบและอุดอู้ เกิดความอบอ้าวขึ้น ก็ย่อมจะออกจากห้องนั้นไปสู่สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่คำว่า “ป่า” ฟังดูก็คิดว่า คงเป็นป่าที่ใหญ่โตและมีสัตว์ร้ายมาก แต่ความจริงผมพิจารณาดูแล้ว คำว่า “ป่า” นี้ไม่ใช่ป่าอย่างนั้น

อีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับคำว่า “โคนไม้” ในวัดส่วนใหญ่ก็มีต้นไม้ใหญ่มาก โคนไม้ใหญ่ๆ ก็มี บางคนก็ทำแคร่ใต้โคนต้นไม้นั้น

คำว่า “เรือนว่าง” ผมไม่เข้าใจว่า เรือนว่างที่ท่านแปลออกมานั้นจะเป็นเรือนชนิดใด แต่ภาษาบาลีท่านใช้คำว่า สูญญาคาร อาคารว่าง ผมคิดว่า อาคารว่าง ก็คือ ศาลาวัดนั่นเอง คือ ท่านออกจากกุฏิของท่านท่านไปสู่ป่า ก็คือใกล้ๆ วัดนั่นเอง ใกล้ๆ กันอย่างนี้ ท่านไม่ได้ไล่ให้ไปไหนเลย แต่ความเข้าใจของคนส่วนใหญ่เมื่อได้ฟังอย่างนี้ก็มีความหมายไปอีกทางหนึ่ง อีกประการหนึ่ง คือ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ก็มีความหมายอีกเหมือนกันว่า พระพุทธองค์ท่านไม่ได้สั่ง ผมเองได้พบแขกอินเดีย เวลาเขาไปหาพระ เขาจะนั่งขัดสมาธิ แล้วก็ไหว้ นี่เป็นอัธยาศัยตามปกติของเขา

อีกตอนหนึ่งท่านว่า “ดำรงสติเฉพาะหน้า” คำว่า ดำรงสติเฉพาะหน้านี้ ก็เป็นคำที่ไม่ใช่ “สั่ง” เป็นแต่เพียงท่านอบรมภิกษุว่า เมื่อเธอไปอยู่ในที่อย่างนั้นๆ แล้ว ก็ไม่ควรจะไปอยู่เปล่าๆ ควรมีสติเพื่อพิจารณาอย่างนั้นๆ ต่อไป ที่เข้าใจอย่างนี้ ผมเข้าใจถูกต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่


ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 82


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ