น้ำปานะ

 
หาคำตอบ
วันที่  29 ก.ค. 2550
หมายเลข  4393
อ่าน  15,201

น้ำปานะ ควรเป็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 ก.ค. 2550

ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก

ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ

๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง

๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า

๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด

๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด

๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)

๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น

๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล

๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่

นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 ก.ค. 2550

น้ำปานะ

น้ำปานะเป็นน้ำที่คั้นหรือได้มาจากผลไม้ ซึ่งภิกษุสามเณรดื่มได้ในเวลาวิกาล ในพระวินัยอนุญาตให้ใช้ผลไม้ขนาด ผลมะตูมลงมาทำน้ำปานะ และ กำหนดผลไม้สำหรับทำน้ำปานะไว้ดังนี้ มะม่วง ชมพู่หรือลูกหว้า กล้วยมีเม็ด กล้วยไม่มีเม็ด มะซาง ลูกจันทน์หรือองุ่น เหง้าบัว มะปราง ลิ้นจี่ และ ผลไม้อื่นๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่กว่าผลมะตูมน้ำปานะจะช่วยบรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย หลังจากที่ภิกษุสามเณรต้องเหน็ดเหนื่อยออกกำลังปฏิบัติภาระหน้าที่ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

บางโอกาส ภิกษุสามเณรจะได้ฉันสิ่งที่พระวินัยกำหนด ไว้ว่าเป็น "เภสัช" เพื่อเสริมแร่ธาตุบางอย่างแก่ร่างกาย เพราะพระมีชีวิตอยู่ได้เนื่องด้วยผู้อื่น อาหารการขบฉัน ก็แล้วแต่ชาวบ้านจะจัดนำมาให้ ไม่สามารถกำหนดเอา หรือแสวงหาได้ตามปรารถนา จึงอาจจะขาดธาตุอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้น จึงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุฉัน สิ่งที่เรียกว่า"เภสัช" คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยได้

บางฤดูแม่ชีจะเก็บลูกสมอ มะขามป้อม มาถวายแก่ภิกษุ สามเณรในวันโกน ๗ ค่ำ และ๑๔ ค่ำ วันนั้นเป็นวันที่ สดชื่นสำหรับภิกษุสามเณรพอสมควร แต่ก็อาจกลายเป็น วันที่อ่อนเพลียได้เช่นกัน หากไม่รู้ประมาณในการฉัน เพราะสมอและมะขามป้อมจะเปลี่ยนคุณสมบัติจาก สิ่งเอร็ดอร่อย กลายเป็น "ยาถ่าย" ขนาดรุนแรงขึ้นมาทันที ถ้าฉันมากเกินไป

(คัดมาจาก "ตามรอยโพธิญาณ"ชีวิตพระกรรมฐานใน' ป่าพง ')

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ค. 2550

น้ำปานะคือน้ำผลไม้ ที่ทรงอนุญาตไว้ มี ๘ ชนิด และอื่นๆ ตามสมควร เมื่อคั้นเอาเฉพาะน้ำ กรองไม่ให้มีกาก พระภิกษุรับประเคนแล้วฉันได้ตลอดวันและคืนหนึ่ง
เชิญคลิกอ่าน ...

น้ำปานะหรือน้ำอัฏฐบาน [มหาวรรค]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aditap
วันที่ 1 ส.ค. 2550

ผู้ที่รักษาศีล ๘ สามารถดื่มได้ใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 2 ส.ค. 2550
ผู้รักษาศีล ๘ (อุโบสถศีล) ในเวลาวิกาลดื่มน้ำปานะได้
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aditap
วันที่ 2 ส.ค. 2550
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า น้ำอ้อยสด ก็จัดว่าเป็นน้ำปานะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Wad
วันที่ 30 ส.ค. 2554

จากความคิดเห็นที่ 2

คำว่าบางโอกาส ภิกษุสามเณรจะได้ฉันสิ่งที่พระวินัยกำหนด ไว้ว่าเป็น "เภสัช" ...

กับคำว่า บางฤดู แม่ชีจะเก็บลูกสมอ มะขามป้อม มาถวายแก่ภิกษุ สามเณร ...

เภสัชที่กล่าวถึงนั้น ฉันตอนไหนก็ได้ หรือว่า แค่เช้าถึงเที่ยง

ขอความกรุณาอธิบายเพิ่มเติมด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

เภสัช ฉันได้ ถ้าป่วย ไม่สบายหรือต้องการรักษาโรค ได้ทั้งเช้าจนถึงเที่ยงและหลังเที่ยงไป แล้วก็ฉันได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Wad
วันที่ 14 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 9 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 15 ก.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ