จะบรรลุประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร [กิงสีลสูตรที่ ๙]

 
prachern.s
วันที่  31 ก.ค. 2550
หมายเลข  4404
อ่าน  1,124

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 273

กิงสีลสูตรที่ ๙ว่าด้วยบรรลุประโยชน์สูงสุดด้วยปกติอย่างไร ท่านพระสารีบุตรทูลถามด้วยคาถาว่า [๓๒๖] นรชนพึงมีปกติอย่างไร มี ความประพฤติอย่างไร พึงพอกพูนกรรม เป็นไฉน จึงจะเป็นผู้ดำรงอยู่โดยชอบ และพึงบรรลุถึงประโยชน์อันสูงสุดได้ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า นรชนพึงเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อม ต่อบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครู ก็พึงบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครู ที่ครูกล่าวแล้ว พึงฟังสุภาษิตโดยเคารพ. พึงไปหาครูผู้นั่งอยู่ในเสนาสนะของ ตนตามกาล ทำมานะดุจเสาให้พินาศ พึง ประพฤติอ่อนน้อม พึงระลึกถึงเนื้อความ แห่งภาษิต ธรรมคือบาลี ศีล พรหมจรรย์ และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี. นรชนมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี แล้วในธรรม ตั้งอยู่ในธรรม รู้จักวินิจฉัย ธรรม ไม่พึงประพฤติถ้อยคำที่ประทุษร้าย ธรรมเลย พึงให้กาลสิ้นไปด้วยภาษิตที่แท้. นรชนละความรื่นเริง การพูดกระ- ซิบ ความร่ำไร ความประทุษร้าย ความ หลอกลวงที่ทำด้วยมารยา ความยินดี ความ ถือตัว ความแข่งดี ความหยาบคาย และ ความหมกมุ่นด้วยกิเลสดุจน้ำฝาด พึงเป็นผู้ ปราศจากความมัวเมา ดำรงในนั้น เที่ยวไป. นรชนเป็นนี้ รู้แจ่งสุภาษิตที่เป็น สาระ รู้แจ้งสูตรและสมาธิที่เป็นสาระ ปัญญาและสุตะ ย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้เป็น คนผลุนผลัน เป็นคนประมาท. ส่วนนรชนเหล่าใด ยินดีแล้วใน ธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชน เหล่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ ว่าสัตว์ที่เหลือด้วย วาจา ด้วยใจ และการงาน นรชนเหล่านั้น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในสันติ โสรัจจะ และ สมาธิ ได้บรรลุถึงธรรมอันเป็นสาระแห่งสติ และปัญญา. จบกิงสีลสูตรที่ ๙


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 31 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 31 ก.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 31 ก.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
udomjit
วันที่ 31 ก.ค. 2550

อนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
udomjit
วันที่ 31 ก.ค. 2550
อนุโมทนาค่ะ และคำที่ว่า นรชนละความรื่นเริงและพูดกระซิบ

ในที่นี้พูดกระซิบหมายความว่าอะไรค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
study
วันที่ 1 ส.ค. 2550

ในอรรถกถามีแก้ไว้ดังนี้

พระบาลีว่า หาสํ ดังนี้ก็มี. ก็ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงการทำสักว่าความยิ้มแย้มเท่านั้นในเรื่องที่ควรหรรษา ไม่พึงพูดคำกระซิบที่ไร้ประโยชน์ ไม่พึงกระทำการคร่ำครวญในการฉิบหายแห่งญาติเป็นต้น ไม่พึงกระทำความฉุนเฉียวให้เกิดขึ้นแม้ในเมื่อถูกตอและหนามตำเป็นต้น. บุคคลควรละโทษเหล่านี้ คือ มายาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำว่า มายากตํ ๑ ความหลอกลวง ๓ อย่าง ๑ ความพอใจในปัจจัยทั้งหลาย ๑การถือตัวด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ๑ ความแข่งดีกล่าวคือความยินดีที่เป็นข้าศึก ๑ความหยาบคายอันมีการพูดหยาบเป็นลักษณะ ๑ ธรรมที่ประดุจน้ำย้อมฝาด ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ๑ ความหมกมุ่น (ลุ่มหลง) อันมีความอยากเกินประ-มาณเป็นลักษณะ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 8 ส.ค. 2550

พูดกระซิบ หมายถึงการนินทา พูดถึงคนอื่นในทางไม่ดี ทำให้เขาเสียหาย เป็น

อกุศล ถ้าสติเกิดก็งดเว้นที่จะไม่พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ค่ะ ท่่านสอนให้งดเว้นวจี

ทุจริต 4 คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ