การขัดเกลากิเลส

 
ตุลา
วันที่  1 ส.ค. 2550
หมายเลข  4420
อ่าน  4,392

ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

การที่จะขัดเกลากิเลสของบุคคลธรรมดา ควรเริ่มต้นจากการคิดหรือการทำ เพราะบางครั้งการกระทำบางอย่างเราคิดแต่ไม่ได้ทำ หรือทำแล้วไม่ทันคิดนะค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 ส.ค. 2550

การขัดเกลากิเลสตามหลักคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรเริ่มต้นจากการฟัง การศึกษาพระธรรมคำสอนก่อน เพราะการฟังพระสัทธรรม เป็นการเริ่มต้นขัดเกลาความไม่รู้ ขัดเกลาความเห็นผิดในสภาพธรรม บางคนอาจคิดว่าเริ่มต้นด้วยการลงมือกระทำทันที แต่ถ้าขาดความรู้ ขาดความเข้า ใจ การขัดเกลานั้นย่อมถูกต้องไม่ได้ และเป็นตัวเราเป็นผู้กระทำ บางคนอาจ คิดว่าควรเริ่มต้นที่ความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะเป็นคนดี ในกรณีนี้ถ้าขาดความเข้าใจที่ถูกต้องอาจตั้งต้นผิดทางก็ได้

ฉะนั้น ควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาให้เข้าใจถูกต้องก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 1 ส.ค. 2550

ทั้งชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกคนอยู่ในโลกความคิดของตนเองมากที่สุด

โดยเฉพาะความคิดที่เป็นอกุศล เกิดได้ง่าย เพราะกิเลสนั้นเชี่ยวชาญเหลือเกินไหลซึมไปตามทวารต่างๆ แล้วก็สั่งสมมานานแสนโกฏิกัปป์ ฉะนั้น การจะไปขัดเกลากิเลส ก็ต้องรู้ว่า กิเลส คืออะไรเสียก่อน จึงจะคิดขัดเกลาแล้วก็ต้องรู้ความหมายของคำว่า ขัดเกลา เช่นกัน ว่า "ขัดเกลา" คืออะไร ขัดเกลาไปทำไม เพื่ออะไร และโดยวิธีใด ถ้าให้คนที่ไม่เคยศึกษาพระธรรมแต่ชอบไปปฏิบัติ หรือคนที่ศึกษาผิดๆ ปฏิบัติผิดๆ มาตอบเรื่องการขัดเกลากิเลส ก็คงจะตอบตามความคิดความเข้าใจของตนเอง ซึ่งแม้ว่าจะคิดตอบ พยายามหาเหตุผลมาอ้างเท่าไร ก็ไม่มีทางถูก ไม่มีวันถูกเพราะไม่ได้ศึกษาจนเกิดปัญญา กิเลสก็เลยพาหลงไปทำนั่นทำนี่แล้วก็ติดยิ่งขึ้นกว่าเก่า พอไม่ได้ตามปรารถนา ก็ยิ่งเสริมกำลังให้โทสะเกิดง่ายกว่าเดิม ไม่ได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงขณะนี้เลยสักขณะ ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องของปัญญา ครับ ว่าบางทีคิดแต่ไม่ได้ทำ เป็นกุศลหรืออกุศล หรือบางทีทำไปแล้วโดยไม่ทันคิด เป็นกุศลหรืออกุศล ขณะจิตเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ไม่ควรเพียงตรึก นึกคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยที่สติไม่ได้เกิดระลึกรู้สภาพจิตตอนนั้นเลย เป็นปัจจัตตังจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 1 ส.ค. 2550

ปัญญาเท่านั้นที่ขัดเกลากิเลสได้ และเมื่ออบรมปัญญาเจริญขึ้นก็จะดับกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ตามลำดับขั้นของปัญญาซึ่งมีหลายขั้นมากๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 1 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ทุกอย่างเป็นธรรม ธรรมทำหน้าที่ไม่ใช่เรา ความโกรธทำหน้าที่ ขุ่นเคืองใจ เมื่อเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ขัดเกลากิเลส ไม่ใช่เรา ปัญญาจะเกิดได้ก็ต้อง อาศัยการฟัง ในขณะที่ฟังเข้าใจขณะนั้น ปัญญาก็เจริญขึ้น ขณะนั้นไม่ได้คิด เลยว่าจะขัดเกลากิเลส (ขณะที่ฟังเข้าใจ) แต่ขณะนั้น สังขารขันธ์ได้ปรุงแต่งแล้วให้มีปัญญาเพิ่มขึ้นขั้นการฟัง แต่ปัญญาขั้นการฟังก็เพียงละความไม่รู้จากที่ไม่เคยได้ฟังเท่านั้น ก็เป็นการขัดเกลากิเลสด้วยการละความไม่รู้ขั้นการฟังเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่ต้องเป็นห่วง หรือกังวลว่าจะคิดหรือทำก่อน เพราะเป็นหน้าที่ของธรรมเองฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ฟังเท่านั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยให้คิดในเรื่องธรรม ก็คิด มีเหตุปัจจัยให้คิดแล้วไม่ได้ทำตามที่คิด ก็เป็นอย่างนั้นเพราะเกิดแล้ว บังคับไม่ได้ แต่ให้มั่นคงว่าเป็นธรรม ไม่ว่าจะคิดหรือจะทำอะไรก็ตาม จึงจะเป็นหนทางที่ดับกิเลสได้ครับ ดังนั้นขอให้ฟังให้เข้าใจด้วยความมั่นคงว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ว่าจะคิดหรือทำ เป็นหน้าที่ของธรรมที่จะขัดเกลาไม่มีรูปแบบ แต่เพียงฟังให้เข้าใจเท่านั้นการศึกษาก็จะเป็นเรื่องเบาครับ โดยไม่มีตัวตนที่จะมาบังคับหรือจัดการในการขัดเกลากิเลส เพราะเป็นหน้าที่ของธรรม

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ตุลา
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ขอขอบคุณและอนุโมทนากับความคิดเห็นของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ถ้าสะสมธรรมะมากขึ้น จิตใจก็จะละเว้นทุจริต จะล่วงทุจริตเพียงสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น การที่จะเป็นคนดีจริงๆ ต้องประกอบด้วยปัญญา และคนที่จะเป็นคนดี จริงๆ ต้องรู้จักตัวเองไม่ดีอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornchai.s
วันที่ 4 ต.ค. 2550

ความโลภ คือสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) เช่น โลภะอย่างหยาบๆ (ความพอใจ ในรูป - เสียง- กลิ่น- รส - สัมผัสทางกาย (กามคุณ ๕) ที่เกิดกับอุเบกขาเวทนา รวมถึง โมหมูลจิต (ซึ่งบางครั้งท่านกล่าวว่าเป็นสมุทัยด้วย) ผู้มีปัญญาขั้นสมถภาวนา ในครั้งที่ไม่มีคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็สามารถระลึกรู้ พร้อมปัญญา และสามารถข่มไว้ด้วยฌานจิตได้ แต่วิปัสสนาที่ดับทิฏฐิเจตสิกเด็ดขาด (ของพระอริยบุคคลขั้นต้น คือพระโสดาบัน) ไม่สามารถเกิดได้ถ้าไม่เข้าใจพระธรรมขั้นประจักษ์ แจ้ง

ดังนั้นผู้ที่ไม่เข้าใจพระธรรม ก็ไม่เข้าใจหนทางเจริญปัญญาขั้นสติปัฏฐาน จึงพยายามที่จะดับความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ โดยผิดทาง เพราะแยก โลภะที่ประ กอบกับทิฏฐิเจตสิก ไม่ได้ เพราะความใจร้อน เพราะความอยากได้ผลเร็ว จึงปฏิบัติธรรมแบบผิดๆ มากมาย ในปัจจุบัน มิต้องกล่าวถึงอกุศลสมาธิ (มิจฉาสมาธิ) ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก เพราะนั่นเป็นโลภะ และโมหะ ล้วนๆ เหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย) ขั้นต้น ที่ต้องดับก่อน คือ ความพอใจในความเห็น ผิดจากการปฏิบัติธรรม ซึ่งได้แก่ โลภะทิฏฐิคตสัมปยุตต์ นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 31 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 31 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 31 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ