ชนทั้งหลาย ซึ่อว่า ปุถุชน

 
webdh
วันที่  2 ส.ค. 2550
หมายเลข  4427
อ่าน  1,199

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55 ชนทั้งหลาย ซึ่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังกิเลสหนาให้เกิด, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เราเดือดร้อนด้วยความเร่าร้อนต่างๆ เป็นอันมาก ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า กำหนัด ติดใจ สยบ ลุ่มหลง ติดขัด ขัดข้อง พัวพันในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกนิวรณ์ ๕ร้อยรัดไว้ ปกคลุม ปิดบัง ครอบงำไว้เป็นอันมาก, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปุถุชน เพราะอยู่ในหมู่ชนผู้มีธรรมจริยาต่ำ ผู้หันหลังให้กับอริยธรรม จำนวนมาก คือ นับไม่ถ้วน ซึ่งหันหลังให้อริยธรรม ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
udomjit
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ดิฉันเป็นปุถุชนครบทุกความหมายเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ความหมายของปุถุชน

ปุถุชน ชื่อว่า เญยยะ เพราะไม่มีอารม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มี

อธิคม. อธิบายว่า ปุถุชนใด ชื่อว่า ไม่มีอาคมที่ขจัดความไม่รู้ เพราะ

ไม่รู้เหตุที่เว้นจากการเรียน การสอบถาม และการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ

อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีอธิคม

เพราะไม่ได้บรรลุธรรมที่จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ปุถุชนนั้นจึงชื่อว่า

เญยยะ เพราะไม่มีอาคม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มีอธิคม.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 2 ส.ค. 2550

แต่ผมคิดว่าคุณ udomjit ไม่ได้เป็นปุถุชนทั่วๆ ไปครับ เพราะท่านได้รับผลบุญจากกรรมดีที่ทำไว้ในกาลก่อนเป็นปัจจัยหนุนนำให้ท่านเป็นถึง กัลยาณปุถุชน ผู้ประกอบด้วยปัญญา ผู้มีใจน้อมเข้ามาศึกษาพระสัทธรรม มีโอกาสได้พบและคบหาสัตบุรุษ มีโอกาสได้พิจารณาพระธรรมอันวิจิตรลึกซึ้งเกินมนุษย์ใดจะคิดเรียงร้อยถ้อยคำแต่งขึ้น และประการสำคัญ คือสามารถจะน้อมนำพระธรรมไปปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรมได้ตามกำลังของปัญญาครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

ข้อความบางตอนจาก พรหมชาลสูตร

อธิบายคำว่า ปุถุชน

ในคำว่า เยน ปุถุชโน นี้ มีคำอธิบาย ดังต่อไปนี้

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่า

ปุถุชนมี ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑ ดังนี้ .

ในปุถุชน ๒ พวกนั้น บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟัง

การทรงจำ และการพิจารณาในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น นี้ชื่อว่า

อันธปุถุชน บุคคลผู้มีกิจเหล่านั้น ชื่อว่า กัลยาณปุถุชน. ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
udomjit
วันที่ 3 ส.ค. 2550

ขอบพระคุณค่ะ จะพัฒนาตนด้วยการศึกษาธรรมะให้เป็นนิสัยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
อิสระ
วันที่ 3 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ