การพูด
การว่ากล่าวตักเตือนบุคคลอื่น บอกในทางที่ดี เป็นสิ่งที่ดี แต่คำพูดควรประกอบด้วยวาจาอ่อนหวานไพเราะน่าฟัง ควรดูกาละเทศะให้ดี ควรพูดด้วยเมตตาจิต ถ้าผู้พูดมีเจตนาดี และพูดอันประกอบด้วยวาจาสุภาษิต ชื่อว่า เป็นการกระทำที่สมควร ไม่มีโทษ ดังข้อความในวาจาสูตรว่า
เชิญคลิกอ่าน ... องค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ [วาจาสูตร]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การจะผิดหรือไม่ผิดนั้น พิจารณาที่จิตเป็นสำคัญ การติเตียนด้วยความหวังดี ด้วยจิตที่เป็นกุศล ผิดหรือเปล่า การติเตียนด้วยการเพ่งโทษ เพราะไม่ชอบบุคคลนั้นหรือโกรธ ผิดหรือเปล่า ดังนั้น กุศลย่อมไม่ผิด อกุศลย่อมไม่ถูกครับ เรื่อง การพูดเตือน ด้วยจิตที่เป็นกุศลและอกุศล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -
หน้าที่ 290
ข้อความบางตอนจาก เรื่อง พระราธเถระ
วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสิน ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑, ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษนั้นๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่งที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้นั้น จำพวก ๑;
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
การพูดแนะนำเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องรู้จักกาล ว่าตอนนี้ควรพูดหรือไม่ควรพูด พูดคำจริง พูดวาจาเพราะด้วยความจริงใจ ด้วยความหวังดี ส่วนมากคนมักไม่ชอบให้เตือน คือชี้โทษของเขา คนส่วนมากชอบคำชม แต่คำชมนิดหน่อย ไม่สามารถทำให้กิเลสลดลง มีแต่เพิ่มกิเลสค่ะ เพราะไปติดคำชมค่ะ
เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เตือนให้นึกถึง"วาจาสุภาษิต"ซึ่งมีคุณค่ามากจริงๆ
ขออนุโมทนา
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย
กัลยาณมิตรท่านหนึ่งเคยพูดว่า ผู้ที่ชี้โทษของบุคคลนั้นตามความเป็นจริง คือบุคคลผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ