สัตตานังไปคว้าจิตดวงใหม่อยู่ตลอด

 
lokiya
วันที่  11 ต.ค. 2565
หมายเลข  44641
อ่าน  5,847

มีพระรูปหนึ่งสอนพุทธวจนว่ามีสัตตานังไปคว้าจิตที่เกิดดับ เป็นอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 12 ต.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ควรอย่างยิ่ง ที่จะได้ศึกษาข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก และอรรถกถา เพราะมีความละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง

ขอกล่าวถึงคำว่า สัตตานัง (สตฺตานํ) ตามภาษาบาลีแล้ว คำนี้ ไม่ใช่คำที่เป็นประธาน (ปฐมาวิภัตติ) เลย แต่เป็นคำในจตุตถีวิภัตติ (แปลว่า แก่... เพื่อ... ต่อ...) หรือ ฉัฏฐีวิภัตติ (แปลว่า แห่ง... ของ... เมื่อ....) ตามหลักภาษาบาลี ซึ่งจะต้องอาศัยคำอื่นๆ ในประโยคนั้นประกอบด้วย จึงจะเข้าใจ อย่างเช่นข้อความใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒- หน้าที่ ๕๐๖ (ติณกัฏฐสูตร) ดังนี้

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด, สังสารวัฏฏ์) นี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ (สตฺตานํ) ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ"

แต่ถ้ากล่าวเพียงคำบาลีตัวเดียวโดดๆ ใครจะเข้าใจ และที่สำคัญ พระธรรม ละเอียด ลึกซึ้งอย่างยิ่ง


ตามความเป็นจริงแล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับความติดข้องได้ ก็ยังมีความติดข้อง ยึดติดในขันธ์ ๕ ซึ่งก็เป็นธรรม นั่นเอง ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ตามข้อความใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๒๘ ดังนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแลท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่าสัตว์?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูกร ราธะ เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่าสัตว์ เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา... ในสัญญา... ในสังขาร... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้องในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่าสัตว์

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Junya
วันที่ 13 ต.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
lokiya
วันที่ 15 ต.ค. 2565

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 16 ต.ค. 2565

ขอบพระคุณ และยินดีในความดีของ อ.คำปั่น และทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นิคม
วันที่ 7 มี.ค. 2566

ขออนุโมทนาครับ ขออนุญาตประมวลความเข้าใจหากไม่ถูกต้องอย่างไรขออาจารย์เมตตาให้ความกระจ่างครับ ๑) สตตนํ หมายถึง สภาวธรรมที่ติดข้องในขันธ์๕ ใช่ไหมครับ ๒) สภาวธรรมนี้เกิดขึ้นในช่วงใดของวิถีจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 11 พ.ค. 2566

เรียน ความคิดเห็นที่ ๖ ครับ

ไม่ว่าจะเป็นใคร ตราบใดที่ยังละความเห็นผิด ละความติดข้องไม่ได้ ก็ยังมีความยึดติดเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะยึดติดโดยความเห็นผิด หรือ โดยความความติดข้อง เพราะเหตุว่า คำว่า สัตว์ ก็เป็นเพียงสมมติจากสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นจิต เจตสิก รูป ครับ ขณะที่ยึดติด ก็คือ อกุศลชวนวิถี ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nui_sudto55
วันที่ 1 เม.ย. 2567

สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เฉลิมพร
วันที่ 31 ก.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ