ผู้ที่เจริญสติ มีตาก็ไม่ใส่ใจในนิมิตอนุพยัญชนะ

 
สารธรรม
วันที่  14 ต.ค. 2565
หมายเลข  44684
อ่าน  259

ถ. ผมสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติ ท่านสอนไว้ว่า ไม่บอดก็ทำเสมือน คนบอด ไม่ใบ้ก็ทำเหมือนคนใบ้ ไม่หนวกก็ทำให้เหมือนคนหนวก ซึ่งตามนี้ก็เข้าในลักษณะที่ถือว่า จะต้องเข้าไปอยู่ในที่เฉพาะในที่จำกัด เพราะในที่เช่นนั้นไม่ต้องพูดกับใคร ไม่ต้องเห็นอะไร ไม่ต้องได้ยินอะไร เพราะเป็นที่จำกัดเฉพาะ ที่ท่านพูดไว้เช่นนั้นกับความหมายที่แท้จริงจะค้านกันหรือเปล่า

สุ. ผู้ที่เจริญสติ มีตาก็ไม่ใส่ใจในนิมิตอนุพยัญชนะ หมายความว่า สติระลึกรู้ลักษณะของนามและรูปที่ปรากฏในขณะนั้น มีหูก็เหมือนกัน ไม่ได้เพลิดเพลินไปกับเสียงที่ได้ยินด้วยความยึดถือว่าเป็นตัวตน แต่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามและรูปที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ถึงเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงก็ไม่ใช้ความแข็งแรงของร่างกายนั้นไปกระทำทุจริต แต่สติก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจตามปกติ เหมือนกับคนที่ไม่มีกำลัง เพราะว่าไม่ได้ใช้กำลังไปในการต่อสู้ หรือในทางทุจริต


ที่มา และ อ่านเพิ่มเติม ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 160


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ