ความสุขของคฤหัสถ์ เกิดจากอะไร [อันนนาถสูตร]

 
prachern.s
วันที่  7 ส.ค. 2550
หมายเลข  4473
อ่าน  7,827

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 206

๒. อันนนาถสูตร

ว่าด้วยสุข ๔ ประการ

[๖๒] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรได้รับตามกาลสมัย สุข ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์

โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

อนณสุขํ สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

อนวชฺชสุขํ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ก็สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์เป็นไฉน โภคทรัพย์ทั้งหลายของกุลบุตร ในโลกนี้ ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม มีอยู่ กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่าโภคทรัพย์ทั้งหลายของเราที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรมมีอยู่ ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ก็สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนี้บริโภคใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า เราได้บริโภคใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ได้ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกกว่าสุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ก็สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้เป็นไฉน? กุลบุตรในโลกนี้ไม่กู้ยืมทรัพย์อะไรๆ ของใครๆ น้อยหรือมากก็ตาม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่าเราไม่ได้กู้ยืมทรัพย์อะไร ของใครๆ น้อยหรือมากก็ตาม ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ก็สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษเป็นไฉน? อริยสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม (การงานทางกาย) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรม (การงานทางวาจา) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม (การงานทางใจ) ที่ไม่มีโทษ อริยสาวกนั้นคำนึงเห็นว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม...วจีกรรม...มโนกรรมอันหาโทษมิได้ ดังนี้ ย่อมได้สุข โสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรจะ ได้รับตามกาลตามสมัย

นิคมคาถา

บุคคลผู้มีปัญญาดีรู้ว่าความไม่เป็นหนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่าความมีทรัพย์ก็เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภค ก็รู้ว่าการจ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิจารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วยปัญญา เมื่อพิจารณาดู ก็ทราบว่า สุข ๔ นี้เป็น ๒ ภาค สุขทั้ง ๓ ประการข้างต้น นั้นไม่ถึงส่วน ที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดแต่ ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

จบอันนนาถสูตรที่ ๒

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 7 ส.ค. 2550
ข้อสำคัญ อย่าลืมอบรมเจริญปัญญาให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ความสุขของคฤหัสถ์คือการอยู่โดยไม่ห่วงใย คือคนที่ไม่ผูกพันกับญาติ คนรัก เพื่อน ทรัพย์สินเงินทอง ไม่กังวลถึงที่อยู่อาศัย เช่น ต้องเป็นบ้านใหญ่โต ฯลฯ อยู่แบบเรียบง่าย เลี้ยงง่าย ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐที่สุดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรื่อง ความสุขของพระอริยที่ไม่ใช่ของคฤหัสถ์เป็นอย่างไร

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 267

ข้อความบางตอนจาก

กาฬิโคธาภัททิยสูตร

ว่าด้วยอุทานว่าสุขหนอๆ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ก็สมัยนั้น แล ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีพระนามว่า กาฬิโคธา อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังท่านพระภัททิยะพระโอรสของ พระราชเทวีกาฬิโคธา อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้พากัน ปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระภัททิยะพระโอรสของ พระราชเทวีกาฬิโคธา ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย ท่าน อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวนระลึกถึงความสุขใน ราชสมบัติเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ส.ค. 2550

[๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อน

ภิกษุ เธอจงไปเรียกภัททิยะภิกษุมาตามคำของเราว่า ภัททิยะผู้มีอายุ

พระศาสดาตรัสสั่งให้หาท่าน …………………………

พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า อยู่ในป่า

ก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอ

สุขหนอ.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน

เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ ได้มีการรักษาอันพวกราชบุรุษจัดแจงดีแล้ว ทั้ง

ภายในพระราชวัง ทั้งภายนอกพระราชวัง ทั้งภายในพระนคร ทั้งภาย

นอกพระนคร ทั้งภายในชนบท ทั้งภายนอกชนบท ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นแลเป็นผู้อันราชบุรุษรักษาแล้วคุ้มครองแล้วอย่างนี้

ยังเป็นผู้กลัว หวาดเสียว ระแวง สะดุ้งอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้เดียว

อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่ระแวง

ไม่สะดุ้ง มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เป็นไปอยู่ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มี

ใจดุจเนื้ออยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แล

อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงได้เปล่งอุทานเนืองๆ ว่า

สุขหนอ สุขหนอ.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความกำเริบ (ความโกรธ) ย่อมไม่มีจากจุติของ

พระอริยบุคคลผู้ก้าวล่วงความเจริญและความเสื่อมมี

ประการอย่างนั้น เทวดาทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถ

เพื่อจะเห็นพระอริยบุคคลนั้นผู้ปราศจากภัย มีความ

สุข ไม่มีความโศก.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 8 ส.ค. 2550

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ajarnkruo
วันที่ 8 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
olive
วันที่ 8 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
เซจาน้อย
วันที่ 21 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
pamali
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ