ความเข้าใจจากการฟัง

 
พุทธรักษา
วันที่  7 ส.ค. 2550
หมายเลข  4475
อ่าน  1,272

การศึกษาธรรมะประกอบด้วยปัญญาหลายระดับ เริ่มจากการฟังให้เข้าใจ แล้วน้อมนำมาพิจารณา จนกว่าสติปัญญาพร้อมที่จะเกิด ในการดำเนินชีวิตต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ การศึกษาพระธรรมสอนให้พร้อมที่จะเรียนรู้สภาพธรรมทุกรูปแบบที่ผ่านมากระทบ โดยพิจารณาหลัก"อนัตตา" เมื่อชีวิตจริงเป็นอย่างนี้ ควรอย่างยิ่งที่จะสะสม "กำลัง" คือการเจริญกุศลทุกประการ และ "บารมี ๑๐" เพื่อเป็นเกราะและกำลังในการต่อสู้กับกระแสของกิเลสและอวิชชาที่สะสมมาเนิ่นนาน

ข้อสำคัญ การพิจารณา ขัดเกลากิเลสและเจริญกุศลต้องประกอบด้วย"ปัญญา" (ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรม) ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา ทุกอย่างจะเป็นเพียงความคิด เป็นเรื่องราว ไม่ใช่ทางสายเอก คือ "มรรคมีองค์ ๘" ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อดับกิเลสเป็นสมุทเฉจ ซึ่งแม้จะนานแสนนาน แต่ก็เป็นไปได้ หากเหตุสมควรแก่ผล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ท่านพระอานนท์แสดงเนื้อความนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ละเอียดโดยนัยต่างๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่างๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตนๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใครเล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 ส.ค. 2550

อบรมบารมี ๑๐ และสติปัฏฐาน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2550

ถ้าเราไม่อาศัยการเจริญกุศลทุกประการ โดยเฉพาะกุศลในขั้นปัญญาคือการฟังธรรม หวังอย่างเดียวในการเจริญสติปัฏฐานก็เป็นไปไม่ได้ และการศึกษาธรรมก็ต้องเป็นไปตามลำดับคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้าการศึกษาไม่ตรงกับการปฏิบัติ การศึกษานั้นก็ไร้ประโยชน์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 8 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ส.ค. 2550

ความรู้ที่ได้ในขั้นปฏิบัติและปฏิเวท ก็ต้องมาจากความรู้ในขั้นปริยัติทั้งสิ้น เพื่อเทียบเคียงกับสภาพธรรมะที่เกิดว่าตรงกับสิ่งที่ได้ศึกษามา ไม่ใช่การเดา หรือคิดเอาเอง โดยหลักการความน่าจะเป็น ความสำคัญจึงอยู่ที่การเป็นผู้ตรงต่อตนเองคือ เมื่อใช่ก็ใช่ (มีสติ) เมื่อไม่ใช่ก็ไม่ใช่ (หลงลืมสติ) เมื่อไม่แน่ใจ (สงสัยเพราะไม่รู้) ก็ต้องเพียรศึกษาพระธรรมต่อไปเพื่อให้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นตามลำดับ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 23 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ