พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลพึงห้ามใจต่ออารมณ์ที่ทำให้เกิดอกุศล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคล "ไม่พึงห้ามใจ" ต่ออารมณ์ที่นำไปสู่ความสำรวม (เช่น เราจักให้ทาน เราจักรักษาศีล)
และตรัสว่า บุคคล "พึงห้ามใจ" ต่ออารมณ์ที่ทำให้เกิดอกุศล (บาป)
(จาก มโนนิวารณสูตร ใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133)
อยากทราบเรื่อง การห้ามใจ ว่า ห้ามใจต่อ อกุศล อย่างไรจึงเป็นการห้ามใจที่ไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นเราไปทำ
ขอขอบพระคุณ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประโยชน์ คือ ความเข้าใจในความเป็นจริงของธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ แม้แต่คำว่า ไม่พึงห้าม (ในการเจริญกุศล) และ พึงห้าม (จากอกุศล) ก็ต้องเข้าใจเบื้องต้น ทั้งหมด มีแต่นามธรรมกับรูปธรรมเท่านั้น ไม่มีเรา และทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ทั้ง ๒ ข้อความนั้น เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมฝ่ายดีทั้งหมด มีศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะตลอดจนถึง ปัญญา เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ น้อมไปในการเจริญกุศล ไม่พึงห้ามใจ ในการเจริญกุศล เพราะกุศล เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น ควรเจริญขึ้น และ พึงห้าม (จากอกุศล) ก็เป็นธรรมฝ่ายที่ดีงามอีกเช่นกัน เกิดขึ้น ห้ามไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง นี้คือ ความละเอียดลึกซึ้งของธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างละเอียดว่า สิ่งใด ควร สิ่งใด ไม่ควร ตรงตามความเป็นจริง สภาพธรรมที่จะเกื้อกูลอุปการะให้กุศลค่อยๆ เกิดขึ้น ค่อยๆ เจริญขึ้น ขัดเกลาอกุศล ก็คือ ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก เกื้อกูลกันอย่างแท้จริง ปัญญา ไม่พาไปทำสิ่งที่ผิด ปัญญามีแต่จะเกื้อกูลให้คุณความดีเจริญขึ้น ประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทั้งหมด ก็คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
- ให้เขาเริ่มรู้ความลึกซึ้ง อันนี้สำคัญที่สุด_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
- ผิดแล้วไม่ทิ้ง อันตรายไหม? ผู้พิพากษา ต้องเป็นผู้ที่ตรง รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด จึงสามารถจะพิพากษาไดั
- จุติจิตดับ เป็นปัจจัยให้ปฎิสนธิจิตเกิด เจตสิกที่สะสมสืบต่อไปยังปฏิสนธิจิตมีดวงใดบ้าง
- สงสัยเกี่ยวกับ วิจิกิจฉา เรื่องความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยครับ