เหตุใตเจตสิกจึงจัดว่าเป็น ธรรมมีอารมณ์

 
pdharma
วันที่  16 พ.ย. 2565
หมายเลข  45131
อ่าน  388

จากพระไตรปิฎก

[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.

ขอเรียนถามว่า เหตุใดเจตสิกทั้งสาม จึงจัดว่าเป็น ธรรมมีอารมณ์

ขอขอบพระคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ย. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 449

มหันตรทุกะ

[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?

เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.

ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?

รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 17 พ.ย. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญที่ความเข้าใจถูกตั้งแต่ต้นจริงๆ เพราะเหตุว่า สภาพธรรมที่รู้อารมณ์ หรือ น้อมไปสู่อารมณ์ หรือ มีอารมณ์ (อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้) ก็ได้แก่ สภาพธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขณะเห็น (จักขุวิญญาณ) เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ รู้สี จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ก็มีสีเป็นอารมณ์ นั่นเอง เมื่อจิต เกิดขึ้นรูอารมณ์ใด เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ก็รู้อารมณ์เดียวกันนั้น เพราะเหตุว่า ความเป็นจริงของเจติสก คือ เกิดพร้อมกันกับจิต ดับพร้อมกันกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และ สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (มีทั้งรูป และ นาม) ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต ด้วย

จากหลักฐานในพระอภิธรรมปิฎก ก็แสดงชัดเจนว่า นามขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ และ วิญญาณ เป็นสภาพธรรมที่มีอารมณ์ คือ รู้อารมณ์ แต่สภาพธรรมที่เป็นรูป และ พระนิพพาน เป็นสภาพธรรม ที่ไม่รู้อารมณ์ ไม่มีอารมณ์ ครับ

...กราบขอบพระคุณอาจารย์ฉัตรชัย ที่ยกหลักฐานอ้างอิง ชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง ครับ และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pdharma
วันที่ 17 พ.ย. 2565

ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน

และขอเรียนถามอาจารย์ [ความคิดเห็นที่ ๒] เพิ่มเติมว่า เจตสิก ก็เป็นอารมณ์ของจิตด้วย ใช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 17 พ.ย. 2565

เรียนความคิดเห็นที่ ๓ ครับ

ถูกต้อง ครับ เจตสิกก็เป็นอารมณ์ของจิต ด้วย แต่ต้องไม่ใช่ขณะเดียวกันที่เกิดพร้อมกัน ต้องต่างขณะกัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ