Thai-Hindi 26 November 2022
Thai-Hindi 26 November 2022
- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ทุกอย่างที่เราพูดเพื่อเริ่มเข้าใจความจริงที่มีเดี๋ยวนี้ เพื่อที่จะได้รู้จริงๆ ว่าสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังเป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยในสังสารวัฏฏ์
- น่าแปลกมั้ย มีสิ่งที่มีจริงนานมาแล้วและเดี๋ยวนี้และต่อไปทุกขณะ แต่ไม่เคยรู้ความจริงของสิ่งต่างๆ เดี๋ยวนี้เลย
- ความไม่รู้มีมานานมาก บนสวรรค์ก็มีความไม่รู้สิ่งที่มีเหมือนเดี๋ยวนี้ ในพรหมโลกทุกหนทุกแห่งก็ไม่รู้ความเป็นจริงที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เลย
- เพราะฉะนั้นไม่ลืม สิ่งที่จะได้ฟังมีจริงๆ แน่นอนแต่ละเอียดลึกซึ้ง ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น
- คุณอาคิ่ลสนใจที่จะเรียนภาษาไทยไหม (สนใจ) แน่ใจนะ สนใจที่จะเรียนภาษาจีนไหม (สนใจเพราะชอบภาษา) ภาษาเวียดนามสนใจไหม (ไม่สนใจ) เห็นมั้ย เริ่มเข้าใจคำว่า “สนใจ” ไหม ฉันทะ
- เริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหม พอเห็นภาษาไทย ได้ยินเสียงภาษาไทย อยากจะเข้าใจมั้ย (สนใจ)
- เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมีความสนใจและมีความต้องการที่จะฟังแล้วเข้าใจด้วย
ดิฉันไม่สนใจที่จะเรียนภาษาฮินดีแต่ดิฉันสนใจที่จะอ่านพระไตรปิฎก
- คนที่สนใจพระพุทธศาสนา อยากเข้าใจพระพุทธศาสนา มีมั้ย มีเยอะมั้ย
- เพราะฉะนั้นคนที่สนใจพระพุทธศาสนาอยากเข้าใจพระพุทธศาสนากับคนที่รู้ประโยชน์ของความเข้าใจที่ยากที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นมีความสนใจที่จะเข้าใจต่างกันไหม
- เพราะฉะนั้นคนที่สนใจที่จะรู้ความลึกซึ้งเพราะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับคนที่อยากจะรู้คำทุกคำมากๆ ลึกซึ้งแต่ไม่สนใจที่จะเข้าใจธรรมมีมั้ย
- เพราะฉะนั้นเริ่มมีความละเอียด พิจารณา ไตร่ตรองโดยแยบคาย นี่คือ การฝึกการที่จะเริ่มรู้ประโยชน์ของการที่จะไตร่ตรองละเอียดเพราะว่าธรรมละเอียดมาก
- เพราะฉะนั้นฉันทะเป็นเจตสิก ๑ โลภะเป็นเจตสิก ๑ ไม่ใช่เจตสิกเดียวกัน
- ฉันทะเกิดกับกุศลจิตก็ได้เวลาที่สนใจรู้ประโยชน์เพื่อละกับฉันทะเกิดกับโลภะอกุศลก็ได้เวลาที่สนใจที่จะทำอาหาร เวลาสนใจที่เย็บผ้า เวลาสนใจที่จะค้าขาย
- ขณะที่สนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความต้องการขณะนั้นก็มีทั้งฉันทะและโลภะ บางคนศึกษาธรรมด้วยฉันทะและโลภะ
- เวลาเล่นดนตรีมีฉันทะและโลภะที่จะเล่น
- เพราะฉะนั้นขณะใดเป็นโลภะเกิดร่วมกับฉันทะแล้วฉันทะที่ไม่ได้เกิดร่วมกับโลภะแต่เกิดกับปัญญาต่างกัน
- ดิฉันอยากจะเล่นดนตรีเก่งแต่ไม่มีฉันทะที่จะเรียนการเล่นดนตรี เพราะฉะนั้นไม่สามารถที่จะเล่นดนตรีเก่งได้แต่คนที่มีฉันทะมีโลภะ มีฉันทะที่จะศึกษาความละเอียด เขาสามารถที่จะเล่นดนตรีเก่งได้
- เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะรู้ใจของเราเองว่า ขณะนั้นมีฉันทะและก็มีโลภะมากน้อยแค่ไหน
- ดิฉันมีโลภะที่จะเล่นกับสุนัข รักสุนัข แต่ไม่มีฉันทะที่จะเลี้ยงดูสุนัข
- เพราะฉะนั้นก็พอที่จะแยกได้ เข้าใจสิ่งที่ต่างกันว่า ฉันทะเป็นความสนใจอะไรก็ได้ เรื่องไหนก็ได้ กุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ แต่โลภะมีความต้องการมีความอยากซึ่งไม่ใช่ทางกุศล
- เพราะฉะนั้นขณะที่สนใจที่จะค้นหนังสือ เปิดสมุด ดูความหมายของแต่ละคำ ถามคนที่รู้ภาษาบาลีเพื่อที่จะเข้าใจขึ้น เพื่อเข้าใจความถูกต้อง ขณะนั้นเป็นฉันทะแต่ไม่ใช่โลภะ
- คนที่ไม่สนใจ ไม่อยากจะฟังคำสอนของพระพุทธศาสนาเลยจะไม่ศึกษา แต่คนที่เห็นประโยชน์รู้ความลึกซึ้งมีฉันทะที่จะเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องเพื่อขัดเกลากิเลสละความไม่มีรู้ ขณะนั้นไม่มีโลภะแต่เป็นฉันทะที่จะเข้าธรรมให้ถูกต้อง
- เพราะฉะนั้นคนที่มีฉันทะที่จะเข้าใจถูกต้องที่ละเอียดอย่างยิ่งของคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทำให้เข้าใจความจริงที่ละเอียดอย่างยิ่งไม่ใช่โลภะแต่เป็นฉันทะ
- ถ้าได้ฟังธรรมเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า ธรรมละเอียดลึกซึ้งยากที่จะรู้ได้ มีฉันทะที่จะฟังและศึกษาต่อไปให้เข้าใจยิ่งขึ้นหรือเปล่า
- ถ้าไม่มีฉันทะที่จะเข้าใจความลึกซึ้งของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งรู้แจ้งความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงของขณะนี้
- เพราะฉะนั้นฉันทะจึงเป็นอิทธิบาทเป็นโพธิปักขิยธรรมที่จะนำไปสู่การรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้
- คนที่ฟังธรรมแต่ไม่สนใจความลึกซึ้งมีฉันทะที่จะเข้าใจธรรมมั้ย
- บางคนรู้ว่าลึกซึ้งแต่ไม่เรียนเลยเพราะลึกซึ้งเกินไปสำหรับเขา เพราะฉะนั้นเขาจะไม่มีฉันทะที่เป็นกุศลที่จะเป็นอิทธิบาทในโพธิปักขิยธรรมแต่มีฉันทะและโลภะที่จะสนุกสนานทำอย่างอื่นที่ง่าย
- ฉันทะไม่เกิดกับจิตเพียง ๒๐ ดวงเท่านั้นคือ ถ้าเข้าใจพอสมควรไม่เกิดกับอเหตุกจิต ๑๘และโมหมูลจิต ๒
- เพราะอเหตุกะหมายถึงจิตที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุ ๖ เจตสิกที่เป็นเหตุปัจจยมี ๖ เป็นกุศลเหตุ ๓โลภะ โทสะ โมหะและ กุศลเหตุ ๓ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเจตสิกต่างกันแต่ละ ๑
- เขาเคยได้ยินไหม อเหตุกจิต ไม่เคยได้ยินเพราะฉะนั้นเริ่มฟังและถามถ้าไม่เข้าใจ
- จิตมีมากมายเพราะฉะนั้นแบ่งจิตอีกประเภทหนึ่งคือ แบ่งเป็นจิตที่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย
- เพราะฉะนั้นจะศึกษาทีละหนึ่งๆ ทุกอย่าง จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก เจตสิกแต่ละหนึ่งก็ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิกอื่นๆ
- ทำไมต้องเรียนละเอียดอย่างนี้ เพื่อรู้ความจริงว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นธรรมแต่ละ ๑ เพราะสิ่งที่มีจริงเกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกเลยเพราะฉะนั้นนับประมาณไม่ได้ แต่จัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้
- เพราะฉะนั้นเราจะพูดถึงจิตที่มีในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะเข้าใจความจริงว่า ไม่ใช่เราแล้วเป็นอะไร
- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีจิตเห็นมั้ย จิตเห็นเกิดขึ้นเพราะกรรมทำให้เกิดเห็น
- ในนรกก็มีเห็นบนสวรรค์ก็มีเห็นแต่เหตุที่จะให้เห็นสิ่งที่อยู่ในนรกกับเหตุที่จะให้เห็นสิ่งที่อยู่ในสวรรค์และเห็นสิ่งที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ต่างกัน
- กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ให้เห็นเดี๋ยวนี้เกิดได้ไหม (ไม่ได้) เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เห็นเกิด มีปัจจัยหนึ่งคือ กรรม ทำให้เห็นสิ่งไม่ดีนั่นเป็นผลของอกุศลกรรม ทำให้เห็นสิ่งที่น่าพอใจเมื่อเป็นผลของกุศลกรรม เลือกไม่ได้เพราะเกิดแล้ว
- คิดดูนะคะ ดูเหมือนเราเห็นมากทั้งวัน เป็นสิ่งต่างๆ เป็นคนนั้นคนนี้ เป็นตึกรามบ้านช่อง แต่จิตเห็น ๑ ขณะเท่านั้นเกิดขึ้นเห็นแล้วดับ
- ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า จิตเห็นเกิดเพราะปัจจัยและมีเจตสิกเกิดร้วมด้วยถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมกับจิตๆ เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นมีเจตสิกเพียง ๗ ดวงเท่านั้นที่เกืดร่วมกับจิตเห็น
- เหตุที่ได้ทำแล้วในสังสารวัฏฏ์มีมาก แต่ก็มีเหตุที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นเห็น ๑ ขณะเท่านั้นแล้วก็ดับ
- ยากที่จะรู้ได้ว่า จิตเห็นขณะนั้นเกิดขึ้นเพราะกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม เพราะจิตเห็นเกิดขึ้นเพียงเห็น ๑ ขณะแล้วดับแต่เมื่อเหตุมีเป็นกุศล จิตที่เกิดขึ้นเห็นก็ต้องเห็นสิ่งที่เป็นผลของกุศลคือสิ่งที่น่าพอใจ
- จิตเห็นพอใจในสิ่งที่จิตเห็นได้ไหม ไม่ได้เพราะฉะนั้นจิตเห็นไม่เกิดพร้อมกับเหตุ ไม่เกิดพร้อมกับโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะเพราะ ๑ ขณะที่เกิดขึ้นเพราะกรรมทำให้เพียงเห็นแล้วดับ
- เพราะฉะนั้นจิตเห็นต่างกันเป็น ๒ ประเภทคือ เป็นกุศลวิบากผลของกุศลกรรมหนึ่งและอกุศลวิบากผลของอกุศลกรรมอีกหนึ่ง
- คุณอาคิ่ลมีจิตเห็นกี่อย่าง มี ๒ เป็นคุณอาช่ารึเปล่า นี่เป็นปริยัติจนกว่าจะเป็นปฏิปัตติและปฏิเวธ
- เพราะฉะนั้นต้องมั่นคง ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธ คือ รู้ถูกต้องตามความเป็นจริง
- เพราะฉะนั้นได้ฟังธรรมแล้วรู้หรือยังว่า เห็นขณะนี้ไม่ใช่เรา (ยัง) ถูกต้องเพราะเป็นความรู้ขั้นไหน (ขั้นต้น) มากพอรึยัง เพราะฉะนั้นยังต้องรู้ด้วยตัวเองว่า มากขึ้นรึยัง
- ถ้าฟังแล้วไม่ไตร่ตรองรู้เท่าเดิมแล้วก็ลืม เพราะฉะนั้นฟังเพื่อรู้ว่า สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้สามารถเข้าใจได้มากขึ้นและประจักษ์แจ้งด้วย
- แต่ต้องเริ่มเข้าใจมั่นคงขึ้น สิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตที่เกิดมาชาตินี้ในสังสารวัฏฏ์ สามารถที่จะได้ยินได้ฟังคำที่กล่าวถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้จริงๆ ให้เข้าใจถูกต้องได้
- เกิดมาทำทุกอย่าง สนุกสนานรื่นเริ่ง เป็นทุกข์เดือดร้อน ทุกสิ่งทุกอย่างแต่ไม่เข้าใจสิ่งที่มีต่างๆ นั้นเลย ไม่มีประโยชน์อะไรเพราะเมื่อจากไปแล้วก็ไม่เหลือเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เริ่มเข้าใจอย่างนี้รึยังเริ่มมั่นคงขึ้นไหม นี่คือบารมีทีละน้อยๆ จนกว่าจะเต็ม
- เพราะฉะนั้นเป็นคนตรงต่อความเป็นจริง เป็นสัจจบารมีจึงสามารถที่จะรู้ประโยชน์จริงๆ ที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง
- ต้องมีความเพียรมากไหม ต้องมีความอดทนด้วยไหม ไม่ว่าจะร้อน จะหนาว จะป่วย จะไข้ จะยากจนจะสุขจะทุกข์
- เพราะฉะนั้นต้องมีสัจจบารมีมั่นคงที่จะเข้าใจเห็น ได้ยิน คิด จำ สุข ทุกข์ในชีวิตประจำวันเพราะเป็นสิ่งที่มีจริงที่ยังไม่รู้ก็ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้นจึงสามารถจะรู้ความจริงซึ่งลึกซึ้งอย่างยิ่ง ไม่ใช่อย่างที่กำลังปรากฏ
- สัจจบารมีมั่นคงจึงเป็นอธิษฐานบารมีมั่นคงขึ้นๆ
- เมื่อมีความมั่นคงทำให้มีความเพียรไม่ท้อถอยและมีความอดทนเป็นวิริยะบารมีและขันติบารมีเพื่ออะไร (เพื่อเข้าใจความจริง) เพื่ออะไร (เพื่อเข้าใจและรู้ว่าไม่มีเรา) เพื่อละ เนกขัมมะ เพื่อสละอกุศลทั้งหลาย ความไม่รู้ ความติดข้องทั้งหมดเพราะมีความเข้าถูกต้องว่า ไม่มีเรา อีกนานไหม นานเท่าไหร่ จนกว่าจะรู้ขึ้นๆ ทีละน้อยๆ จนกว่าจะลดละคลายความยึดถือแสนโกฏิกัปป์ที่ติดแน่นอยู่ในจิต
- นานอย่างนั้นเพราะอะไร (เพราะไม่รู้เยอะและเพราะความลึกซึ้งของธรรม) เพราะเดี๋ยวนี้ยังเป็นเราทั้งหมด
- เริ่มรู้จักพระพุทธศาสนารึยัง
- ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลย เพียงบอกว่า เห็นไม่ใช่เรา พอไหม จนกว่าจะเริ่มค่อยๆ เข้าใจว่า เห็นคืออะไรทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น
- ต้องไม่ลืมว่า ขณะนี้เป็นการปลูกฝังบารมีให้มั่นคงจะไม่เข้าใจผิด
- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีเห็น ยังเป็นเราเห็นจึงต้องพูดเรื่องเห็นจนกว่าจะเข้าใจขึ้น จนกว่าเห็นจะเกิดประจักษ์แจ้ง จนกว่าจะไม่ใช่เรา
- เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืม ฟังทุกอย่างที่กำลังมีเพื่อที่จะได้เริ่มเห็นถูกเข้าใจถูกว่า ความจริงของสิ่งนั้นคืออะไร
- เพราะฉะนั้นเห็นเดี๋ยวนี้มีจริงๆ เห็นเกิดเพราะเจตสิก ๗ เกิดร่วมด้วย
- ตอบทีละคนทีละคำก็ได้ว่า เจตสิกอะไรทีละหนึ่ง จะได้เข้าใจขึ้นๆ ว่า เจตสิกไม่ใช่จิตเพราะเมื่อเข้าใจแล้วก็จะรู้ความจริงแต่ไม่ใช่เพื่อจำก็ตอบแต่เพื่อเข้าใจว่า สิ่งที่มีขณะนี้จริงๆ เป็นอะไร
- กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นจิตหรือเจตสิก ทุกคนตอบว่าเป็นจิตใช่ไหมแต่ว่าตอบได้ ทุกคนตอบได้ตอบถูกแต่ยังไม่รู้ลักษณะของจิตใช่ไหม
- มั่นคงที่จะรู้ว่า จิตลึกซึ้งเพราะจิตเป็นธาตุที่รู้แจ้งสิ่งที่จิตกำลังรู้เท่านั้น เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานทุกขณะที่มีการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ
- ในชีวิตมีขณะไหนที่ไม่มีจิตบ้าง แต่ไม่รู้เลยว่าไม่ใช่เรา เป็นจิตใช่ไหม
- เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่ในโลก โลกเป็นไปตามอำนาจของจิตเพราะว่าจิตเป็นธาตุที่รู้แจ้งอารมณ์อำนาจในที่นี้หมายความว่า เพราะเป็นไปตามการรู้แจ้งอารมณ์
- เพราะฉะนั้นจิตเกิดแล้วดับแต่ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้จิตเกิด ต้องมีสภาพธรรมที่เป็นเจตสิกแต่ไม่ใช่จิตเกิดร่วมกัน
- ทุกคนฟังเรื่องเจตสิกแล้ว เข้าใจเจตสิกแล้ว จำชื่อเจตสิกได้แล้วแต่ไม่ได้รู้จักแต่ละ ๑ ในขณะนี้เลย
- เพียงจำชื่อ ตอบได้ เข้าใจลักษณะนั้น ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แต่ละ ๑ ได้
- มีจิตเห็นบ่อยๆ ฟังเรื่องจิตเห็นบ่อยๆ แต่ก็ยังไม่รู้จักจิตเห็นเพราะฉะนั้นก็ยังต้องพูดแล้วพูดอีกเพื่อให้รู้ความจริงว่า ถ้าไม่พูดบ่อยๆ จะไม่คิดถึงจิตที่กำลังเห็นเลย
- ทุกครั้งที่พูดเรื่องจิตเพื่อให้คิดถึงจิตเพื่อให้เข้าใจจิตทีละเล็กทีละน้อย
- พูดถึงเห็นเพราะมีเห็นตลอด เห็นเกิดเกือบตลอดเวลาทั้งวันแต่ว่าลืม เพราะฉะนั้นพูดถึงเห็นเพื่อเริ่มไม่ลืมเห็น เพื่อเริ่มเข้าใจเห็น เป็นการปลูกฝังความเข้าใจสิ่งที่ปรากฏ
- ความเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เป็นการเริ่มต้นของอริยสัจที่ ๔ เพราะฉะนั้นอริยสัจที่ ๔ ไม่ใช่เป็นชื่อที่เพียงให้จำแต่ขณะใดก็ตามที่เรากำลังเริ่มที่จะกล่าวถึงสิ่งที่กำลังมีให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น นั่นเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
- มีหนทางอื่นไหม เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มพูดถึงจิตเห็นเกิดเมื่อมีเจตสิก ๗ ดวงเกิดเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้นของให้แต่ละคนพูดถึงทีละหนึ่ง เพียงหนึ่งจะได้เข้าใจเจตสิกนั้นเพิ่มขึ้น (ผัสสะ)
- เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพูดเรื่องผัสสเจตสิก ผัสสะเป็นสภาพรู้แต่ไม่ใช่จิต เป็นธาตุรู้ที่รู้สิ่งที่ปรากฏผัสสะรู้สิ่งที่ปรากฏเพียงกระทบเท่านั้น
- เพราะฉะนั้นเห็นความละเอียด มีผัสสเจตสิกเป็นสภาพรู้สิ่งที่ปรากฏโดยกระทบสิ่งนั้นเท่านั้น
- จิตกระทบอารมณ์ได้ไหม ไม่ได้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ที่ธาตุรู้กำลังรู้ (ไม่ได้) แต่ทันทีที่ผัสสะเกิดกระทบ จิตรู้แจ้งพร้อมกัน เพราะฉะนั้นผัสสะเกิดกับจิตทุกประเภททุกขณะ
- ผัสสะรู้เสียงโดยกระทบเสียง ทันทีที่ผัสสะกระทบ จิตรู้เกิดพร้อมกันแต่ต่างคนต่างทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน
- ใครเปลี่ยนความจริงนี้ได้ไหม เพราะฉะนั้นนี่เป็นสัจจธรรม เป็นประมัตถธรรม เป็นอภิธรรม
- ถ้ามีปัญญาที่เพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้น รู้ในลักษณะของจิตที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ขณะนั้นจึงจะเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแม้ว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วย
- แต่อีกไกลมาก เพียงฟังอย่างนี้จะไม่ใช่ปัญญาที่กำลังรู้จริงๆ ในลักษณะของจิตที่จะเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
- จิต เจตสิก ต้องเกิดพร้อมกันทุกครั้ง แยกกันไม่ได้
- เพราะฉะนั้นเวลาที่สภาพธรรมเกิดขึ้น ใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย เป็นไปตามเหตุปัจจัยจึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่เราไม่ใช่ใครที่จะเปลี่ยนหรือทำอะไรเลย
- เพราะฉะนั้นความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้เลยเพราะแต่ละ ๑ เป็นธาตุหรือธา-ตุ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งใครก็เปลี่ยนไม่ได้จึงใช้คำว่า ธาตุ หรือ ธา- ตุ
- เพราะฉะนั้นฟังเข้าใจแล้วขอให้แต่ละคนยกตัวอย่างธาตุหรือธา-ตุ ทีละคน ทีละหนึ่ง (ธาตุลม เห็นดิน ปฐวี)
- เพราะฉะนั้น ดินของมธุหมายความว่าอะไร ยกตัวอย่าง (ดินที่เราเพาะปลูกหรือน้ำที่เราดื่ม) ไม่ใช่นะคะ
- นี่เป็นเหตุที่จะต้องศึกษาธรรมละเอียดอย่างยิ่ง ลึกซึ้งอย่างยิ่ง ไม่ใช่อย่างที่เราคิด
- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ เริ่มเข้าใจคำว่า ธาตุ ธา-ตุ มีจริงมั้ย หมายถึงอะไร (ทุกอย่างที่รู้ได้เป็นธาตุ) แล้วที่รู้ไม่ได้เป็นธาตุรึเปล่า หมายความว่าเขารู้จักธาตุหมดรึยัง
- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจความหมายของคำว่า ธาตุ ธา-ตุ เป็นสิ่งที่มีจริง เรายังไม่พูดถึงธรรมสิ่งที่มีจริงทั้งหมด แต่สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธาตุแต่ละ ๑ เพราะมีจริง เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีจริงมีลักษณะเฉพาะสิ่งนั้นๆ ที่เป็นอย่างอื่นไม่ได้
- เพราะฉะนั้นต้องละเอียด สิ่งที่มีจริงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นธาตุที่ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นธรรมมีจริงและธาตุคือความจริงของธรรมนั้นก็คือเปลี่ยนแปลงไม่ได้
- เพราะฉะนั้นทบทวนอีกครั้งทีละคน เราจะได้พูดถึงธา-ตุทีละอย่าง (เสียง)
- เสียงเป็นธาตุเพราะอะไร เพราะฉะนั้นแน่นอนเสียงเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรม เป็นธา-ตุ เป็นอริยสัจด้วยรึเปล่า เป็นอริยสัจไหน
- เป็นอริยสัจที่ ๑ เมื่อประจักษ์แจ้งการเกิดดับ ไม่ใช่เพียงแต่คิดว่า เดี๋ยวนี้มีเห็นแล้วไม่มีเห็นเท่านั้น
- หมายความว่า คุณอาช่าไม่สงสัยในคำว่า ธา-ตุ แล้ว ต่อไปคนอื่น (คิด)
- คิดเป็นธาตุอะไร (นามธาตุ) คงมีหลายนามธาตุขณะนั้น นามธาตุอะไรที่คุณมธุรู้จักบ้างแล้ว (ตอบไม่ได้) แต่บอกว่าเป็นนามธาตุเพราะฉะนั้นทุกคนคงรู้จักว่า นามธาตุเป็นธาตุรู้ รูปธาตุไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ในขณะที่คิดเป็นนามธาตุแน่นอนแต่มีนามธาตุอะไรบ้างที่คุณมธุรู้จักหรือว่าจะให้ตัวอย่างเพราะไม่ใช่มีแต่นามธาตุเดียวเพราะใช้คำว่า นามธาตุ (ลิ้มรส)
- เขาพูดถึงกำลังคิดไม่ใช่หรือเมื่อกี้นี้ เมื่อใช้คำว่า นามธาตุมีหลายอย่างไม่ใช่อย่างเดียว ธาตุรู้ขณะนั้นเขาไม่ได้บอกว่าอะไร เพราะฉะนั้นเมื่อเขาบอกว่า นามธาตุ เราจึงขอความเห็นของเขาว่า นามธาตุมีอะไรบ้างในขณะที่คิดเพราะใช้คำว่า นามธาตุ (มีจิตแต่นามธาตุอื่นนึกไม่ออก)
- มีจิตเท่านั้นหรือ (มีเจตสิก มีสัญญา) เป็นสัญญาธาตุรึเปล่า มีผัสสะธาตุมั้ย
- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจริงๆ การที่เราสนทนาแบบนี้เพื่อฝึกหัด ฝึกฝนการไตร่ตรองให้ละเอียด ให้รอบคอบ ให้ลึกซึ้ง ถ้าไม่สนทนาแบบนี้จะไม่มีการเข้าใจสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นธรรมตลอดหมดจนกระทั่งเป็นความรอบรู้
- แต่อย่าลืมการที่แต่ละคนจะเริ่มมีความรอบคอบ มีความละเอียดในการพิจารณา ถ้าเราไม่สนทนาแบบนี้ คิดว่าทุกคนเข้าใจแล้ว บอกแล้วนามธาตุ รูปธาตุ เพราะฉะนั้นขาดการไตร่ตรองที่ละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถเข้าใจธรรมได้ เพราะฉะนั้นเริ่มเห็นประโยชน์ของการที่จะไตร่ตรองธรรมละเอียดลึกซึ้ง มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมได้เลย ได้แต่จำ
- รู้มั้ยว่า เดี๋ยวนี้กำลังเป็นการอบรมความละเอียดความรอบคอบที่จะเข้าถึงความละเอียดของธรรม
- เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระะรรมละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นต้องไตร่ตรองจนเข้าใจจริงๆ จึงสามารถจะถึงความรู้จักปัจจยปริคคหญาณได้เมื่อถึงวิปัสสนาญาณ
- อีกไกลมากกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณตามลำดับตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีพื้นฐานอย่างนี้ที่จะเข้าใจให้ถูกต้องแต่ละคำ ไม่สามารถที่จะถึงความเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณได้
- เราเริ่มพูดถึงผัสสะตอนต้นใช่ไหม เดี๋ยวนี้มีผัสสเจตสิกมั้ย กำลังคิดมีผัสสเจตสิกมั้ย กำลังจำมีผัสสเจตสิกมั้ย
- (มีแต่ดูเหมือนไม่มั่นใจ) นั่นสิคะเพราะฉะนั้นต้องพูดแล้วพูดอีกเพราะเราไม่ต้องการให้เขาไปจำเรื่องราวมากมายแต่ให้เข้าใจจริงๆ ในแต่ละ ๑
- พูดถึงผัสสะ ผัสสะมีจริงๆ คืออะไร ทำกิจอะไร ไม่ใช่จิตอย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเกิดทุกครั้งต้องมีผัสสะเพราะจิตรู้สิ่งที่ผัสสะกระทบ
- เราพูดมากมายหลายเรื่องวันนี้แต่แต่ละเรื่องยังไม่ละเอียดพอจนกว่าความเข้าใจในแต่ละคำจะมั่นคง ไม่ใช่ฟังแล้วผ่านไปเหมือนเข้าใจ แม้แต่เรื่องของธาตุดินของคุณมธุ หรือสภาพธรรมที่ต่างกันขณะนี้ว่ามีอะไรบ้าง เจตสิกอะไรบ้างที่ต้องเกิด จิตนี้มีเจตสิกเท่าไหร่ ทั้งหมดเหมือนพูดรวมๆ กันไม่ได้แยกโดยละเอียด แต่แต่ละคำให้เข้าใจเหตุผลของแต่ละคำที่กล่าว เช่น วันนี้พูดเรื่องของผัสสเจตสิก เขามีความเข้าใจแค่ไหน
- เพราะฉะนั้นคราวหน้าให้ไปทบทวนว่ายังมีอะไรสงสัย ฟังแล้วลืมหรือเปล่า สิ่งที่ได้ฟังสำคัญมั้ย มีประโยชน์รึเปล่า ถ้าไม่รู้จะสามารถละความเป็นเราได้ไหม วันนี้ก็สมควรแก่เวลา สวัสดีทุกคนค่ะ