พระผู้มีสมันตจักษุ

 
เจตสิก
วันที่  12 ส.ค. 2550
หมายเลข  4524
อ่าน  990

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑

บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มี ในโลกนี้ อนึ่ง บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระ- ตถาคตไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มี พระตถาคตทรงทราบยิ่ง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ ผู้ทรงเห็นทั่ว.


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 12 ส.ค. 2550

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือ ที่ไม่ได้แสดงมีมากกว่า


ขออนุโมทนา


 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย

เรื่อง ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นความเป็นจริงทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตถาคตย่อมทรงรู้ ทรงเห็น

อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมะ ที่มาปรากฏในทวารคือ ตา

หู จมูก ลิ้น กาย และใจของสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในโลกธาตุที่ไม่มี

ประมาณโดยอาการทั้งปวง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นแต่

ความจริงอย่างนั้น. อีกนัยหนึ่ง ทรงแสดงแต่สิ่งที่แท้ในโลก แก่โลก. อย่าง

นั้นเท่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต ในที่นี้

พึงทราบความหมายแห่งบทว่า ตถาคต ในอรรถว่าทรงเห็นแต่ความจริงแท้.

ท่านผู้ใด ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมทั้งหลายโดย

อาการที่แท้จริง ท่านผู้นั้น ชื่อว่าผู้เห็นแต่ความจริง

เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้จริงดังว่า จึงเรียกว่าตถาคต.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 13 ส.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม

เบื้องล่างถึงอเวจีเป็นที่สุด เบื้องขวาในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้

ด้วยศีลบ้าง ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยปัญญาบ้าง ด้วยวิมุตติบ้าง ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง

การจะชั่งหรือประมาณพระองค์หามีไม่ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้

อันใครๆ ประมาณไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยม เป็นพระราชาที่พระราชาทรงบูชา

คือ เป็นเทพของเทพ เป็นสักกะยิ่งกว่าสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในโลกพร้อมทั้งเทวดา พร้อมทั้งมาร พร้อมทั้งพรหม

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อันใครๆ ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้

เป็นผู้ทรงอำนาจ เหตุนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต ดังนี้ .

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ