สัมมาอาชีวะ

 
WS202398
วันที่  14 ส.ค. 2550
หมายเลข  4542
อ่าน  3,298

สัมมากัมมันตะ ต่างจากสัมมาอาชีวะอย่างไรครับ ขอแบบตัวอย่างรูปธรรมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
WS202398
วันที่ 14 ส.ค. 2550

ขอถามต่อครับ

อริยสมาธิ ตาม

องค์ประกอบอริยสมาธิ ๗

[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง.

อารมณ์แบบไหนครับถึงจะมีได้ครบทั้ง ๗ องค์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 14 ส.ค. 2550

สัมมากัมมันตะ ต่างจากสัมมาอาชีวะ คือ สัมมากัมมันตะได้แก่การเว้นจากกายทุจริต ๓ มีปาณาติบาต เป็นต้น อันไม่เกี่ยวกับอาชีพ ส่วนสัมมาอาชีวะได้แก่การเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ อันเกี่ยวกับอาชีพ สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ได้แก่ ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น จิตเป็นโลกุตระ ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ สัมมาสมาธิ มีองค์มรรคทั้ง ๗ เกิดร่วมด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 ส.ค. 2550

สัมมากัมมันตะ เว้นจากกายทุจริต ๓ คือ งดเว้นการฆ่าสัตว์ งดเว้นการลักทรัพย์ งดเว้นการประพฤติผิดในกาม ต่างกับสัมมาอาชีวะ คือ การเว้นขาดจากอาชีพที่ทุจริต ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อธิบาย โดยนัยการอบรมปัญญาคือการเจริญสติปัฏฐาน

ต้องไม่ลืมก่อนว่า เมื่อเรากล่าว ถึงเรื่อง มรรคมีองค์ ๘ ต้องเป็นเรื่องของการอบรมปัญญา (สติปัฏฐาน) ไม่ใช่การคิดนึกเรื่องราว ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้คืออะไร แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น ก็สามารถมี สัมมากัมมันตะ หรือสัมมาอาชีวะเกิดขึ้นได้โดยที่ขณะที่สติเกิดนั้น ขณะนั้น ระลึกรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งขณะนั้นก็ไม่ได้คิดเป็นเรื่องเป็นราวว่า สัมมาอาชีวะคืออะไร สัมมากัมมันตะคืออะไร แต่ขณะนั้น ก็อาจจะมีสัมมากัมมันตะหรือสัมมาอาชีวะเกิดแล้ว

สัมมากัมมันตะกับสัมมาอาชีวะและสัมมาวาจา ในขณะที่ สติเกิดระลึกรู้สภาพธัมมะ (สติปัฏฐาน) ที่เป็นการงดเว้น ขณะนั้นจะเกิดเจตสิก อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น แต่ในขณะมรรคจิต ขณะนั้นถึงเกิดพร้อมกันทั้ง ๓ เจตสิก ขณะใดที่งดเว้นที่จะไม่ฆ่ามด แล้วสติเกิดระลึกสภาพธัมมะที่งดเว้นที่จะไม่ฆ่ามด ขณะนั้นก็เป็นสติปัฏฐาน มีสัมมากัมมันตะเกิดร่วมด้วย ขณะที่งดเว้น ที่จะไม่รับสินบน (มีอาชีพเป็นผู้พิพากษา) ขณะนั้นก็งดเว้นที่จะไม่ประพฤติผิดในอาชีพ แล้วสติก็เกิดระลึกสภาพธัมมะที่ขณะงดเว้นในขณะนั้นว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราที่งดเว้น ขณะนั้น ก็มีสัมมาอาชีวะเกิดร่วมด้วยและก็มีสัมมาสมาธิด้วย แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า การอบรมปัญญานั้น (สติปัฏฐาน) ต้องเข้าใจว่าอบรมเพื่อรู้ลักษณะของสภาพธัมมะ ซึ่งขณะที่ระลึก ขณะนั้นไม่มีชื่อ หรือเรื่องราว มีแต่ลักษณะของสภาพธัมมะ ซึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็มีสัมมาสมาธิด้วยและก็อาจมีสัมมากัมมันตะ หรือสัมมาอาชีวะ โดยขณะที่สติเกิดก็ไม่ได้คิดเป็นเรื่องราวว่าคืออะไรครับ ขอให้อบรมปัญญา ด้วยการเข้าใจแม้ขั้นการฟังว่า ขณะนี้เป็นธรรม ส่วนเรื่องของผลนั้น คงเป็นเรื่องไกล ขออนุโมทนาครับ

ขออุทิศกุศลให้สรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
WS202398
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 15 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ