ความเข้าใจจากการฟัง ... ที่วังพญาไท ๑๓ ส.ค ๒๕๕๐.
การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งคือ"ความเข้าใจ"
เข้าใจว่า
๑. พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ (ในสิ่งที่ไม่มีใครรู้) ด้วยพระองค์เองแล้วทรงนำสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้มาสั่งสอน.
๒. พระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงประทานไว้เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจโดยละเอียด. (เพื่อประโยชน์สุงสุดคือการดับทุกข์)
๓. พระสงฆ์ ซึ่งหมายถึง "พระอริยสงฆ์" ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อันเป็นเนื้อนาบุญ เกื้อกูลต่อการเจริญกุศลของพุทธศาสนิกชน
การปฏิบัติสิ่งใดก็ตามควรคำนึงถึงจุดประสงค์ และ"สภาพจิต"เพื่อไม่เข้าใจผิดในข้อปฏิบัตินั้นๆ ควรเข้าใจว่า ธรรมะไม่ใช่เรื่องที่ผิดไปจากชีวิตประจำวันเช่นการออกกำลังกาย สำหรับพระภิกษุคือ ส่วนหนึ่งในการปฏิบัติกิจเดินบิณฑบาตร มีการเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น การนั่งนานๆ แล้วเมื่อยหรือการนวดร่างกายเพื่อคลายความเมื่อยล้า ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ "ความควรแก่การงาน" ของร่างกาย มิใช่เพื่อเหตุอื่น
ฆราวาส การออกกำลังกาย ก็ควรพิจารณาจุดประสงค์เช่นเดียวกัน ในชีวิตปกติประจำวัน ในบ้าน ในที่ทำงาน ฯลฯ ก็มีการขยับเขื้อนเคลื่อนไหวร่างกายเช่น นั่งทำงานนานจนเมื่อย ก็ลุกขึ้นยืน เดิน หรือการทำงานบ้าน การประกอบกิจการต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน.ส่วนการออกกำลังกายในรูปแบบอื่นๆ ตามสมัยนิยมและตามอัธยาศัย ที่ไม่เป็นไปตาม"ปกติ"ในชีวิตประจำควรพิจารณาจุดประสงค์ และสภาพจิตในขณะนั้นว่าเพื่ออะไร ไม่ควรเป็นการทำตามๆ กันไป หรือเพื่อเหตุอื่นที่ไม่ใช่ "ความควรแก่การงานของร่างกาย"โดย ไม่ผิดปกติไปจากชีวิตประจำวันของแต่ละคน
สำหรับบางคน ที่ไปวัดแล้วถึงจะสบายใจว่า ได้ปฏิบัติชอบเหมือนคนอื่น เป็นประเพณีอันดีงาม ควรพิจารณาสภาพจิตในขณะนั้นว่าต่างจากการไปเดินชมซื้อของในห้างสรรพสินค้าหรือไม่อย่างไร ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากขาดการศึกษาธรรมะที่ถูกต้อง ก็จะปราศจากสติและปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง