จำไม่ได้

 
หมาย
วันที่  14 ส.ค. 2550
หมายเลข  4547
อ่าน  1,475

ผมได้ฟังปรมัตถธรรม ๔ ของท่านอาจารย์ที่บรรยายที่บ้านคุณหญิงนพรัตน์ ผมยังไม่เข้าใจแน่ชัดว่า ตอนที่จิตลืม จำไม่ได้นั้นเพราะอะไรแน่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 14 ส.ค. 2550

จำไม่ได้ หรือ นึกไม่ออกค่ะ ... ลองพิจารณาดูอีกที

เพราะสัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทำหน้าที่จำอารมณ์ที่เกิดกับจิตและมีการสั่งสมความจำนั้นไว้ในจิตดวงต่อๆ ไป เพราะฉะนั้นจึงไม่มีจิตดวงไหนที่ไม่จำแต่เพราะเหตุว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายประเภทแต่ละประเภทก็มีกิจหน้าที่ของตน เช่น เมื่อมีการคิดนึกถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด วิตกก็ทำหน้าที่ตรึกในอารมณ์ที่สัญญาเคยจำเอาไว้ เมื่อมีการตรึกนึกถึงสิ่งใดบ่อยๆ สัญญาก็จะจำอารมณ์ที่ตรึกนั้นด้วยสั่งสมไปจนเป็นสัญญาที่มั่นคง (ไม่ลืม)

เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าจำไม่ได้ (ลืม) เป็นเพราะขาดการตรึกนึกถึงเรื่องนั้นบ่อยๆ ทำให้นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออกค่ะ

ด้วยเหตุนี้ อนัตตสัญญา จึงเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 15 ส.ค. 2550

จำไม่ได้ ไม่เป็นไรค่ะ ให้ฟังอีก ค่อยๆ ฟังไปเรื่อยๆ เพราะถ้าฟังเข้าใจจะไม่ลืมค่ะ ไม่เหมือนฟังแบบจำ ไม่นานก็ลืมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
หมาย
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขอความกรุณาขยายความคำว่า อนัตตสัญญา จึงเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติปัฏฐาน อีกด้วยครับ ขออนุโมทนาล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ชีวิตในวันหนึ่งๆ อะไรเกิดมากกว่ากันค่ะ กุศลหรืออกุศล? ความเห็นผิดหรือความเห็นถูก? ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นเป็นความเห็นถูก ถอนอัตตสัญญาเพียงชั่วขณะที่สติเกิด

สัญญาเจตสิกก็จดจำสภาพธรรมในขณะนั้น เป็นอนัตตสัญญา

เพราะไม่มีเรา คน สัตว์ วัตถุปรากฎ เป็นเพียงแต่สภาพธรรมล้วนๆ แต่สติปัฏฐานก็ไม่ตั้งอยู่นาน และไม่ได้เกิดบ่อยตามความต้องการ สัญญาจึงยังคงจำความเห็นผิดต่อไปเรื่อยๆ ตราบใดที่สติปัฏฐานไม่เกิดจนเป็นอัตตสัญญาที่มั่นคง เห็นทีไรก็เป็นคน สัตว์ วัตถุ เป็นเรา

ในทางตรงกันข้าม ถ้าสติปัฏฐานเกิดบ่อยขึ้น อนัตตสัญญาก็มั่นคงขึ้นด้วย เมื่ออนัตตสัญญามั่นคง การปรากฎของสภาพธรรมในแต่ละครั้ง จึงเป็นเพียงแต่นามรูป ไม่มีการจำผิดๆ หรือเห็นผิด ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนอีกต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จำไม่ได้ สภาพธัมมะที่จำคือ สัญญาเจตสิก ตอนเช้า ทานอะไรครับ นึกได้ไหม ขณะที่นึกได้ ขณะนั้นไม่ใช่กิจหน้าที่ของสัญญา

สัญญา มีหน้าที่จำ ดังนั้น เราจะสับสนในการใช้คำศัพท์ในภาษาไทยกับทางธรรม เช่น ถามว่า ไปดูหนังเรื่องอะไรมา ก็บอกว่า จำไม่ได้ แต่จริงๆ ต้องบอกว่า นึกถึงไม่ได้

ดังนั้น สภาพธัมมะที่ตรึก นึกถึง เรื่องที่ผ่านมาแล้วได้นั้นคือ วิตกเจตสิกและสติเจตสิกด้วย ไม่ใช่วิตกเจตสิกเท่านั้น ขณะที่ระลึก นึกขึ้นได้ในสิ่งที่ผ่านมาในทางกุศล เช่น ระลึกถึงทานกุศล ที่ได้ทำเมื่อวานด้วยจิตที่เป็นกุศล ขณะนั้น เป็นกิจหน้าที่ของสติเจตสิก ไม่ใช่วิตกเจตสิก เพราะเป็นไปในกุศล (สติเกิดกับจิตฝ่ายดีและกุศลจิต) แต่ถ้าไม่ระลึกนึกถึง เรื่องที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา หรือระลึกนึกถึงได้ในทางอกุศล ขณะนั้นที่นึกขึ้นได้ เป็นกิจหน้าที่ของ วิตกเจสิก ไม่ใช่สติเจตสิก เพราะขณะนั้นเป็นอกุศลจิต สติเจตสิกจะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย แต่วิตกเจตสิก เกิดกับกุศลและอกุศลได้ครับ (บางดวง) ดังนั้นการระลึกนึกถึงเรื่องที่ผ่านมาได้หรือไม่ได้นั้น ก็เพราะความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ย่อมทำให้นึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดไม่ได้ด้วยครับ

ส่วนการระลึกที่เป็นไปในทางกุศลได้บ่อยหรือไม่บ่อยนั้น (สติเจตสิก) สติ (การระลึกได้) ก็มีหลายระดับก็ต้องเริ่มจากการคบสัตบุรุษ ฟังธรรม มีศรัทธา และพิจารณาโดยแยบคาย จึงเป็นปัจจัยให้สติเกิดได้ครับ ลองอ่านข้อความโดยตรงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน...

เหตุให้เกิดสติสัมปชัญญะและสติปัฏฐาน [ตัณหาสูตร]

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 16 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
หมาย
วันที่ 17 ส.ค. 2550

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 18 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สิริพรรณ
วันที่ 12 เม.ย. 2565

กราบอนุโมทนายินดีในกุศลด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 12 เม.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ