ในทางธรรมะแล้ว ความเป็นเรื่องราวไม่มีจริง ขอคำอธิบายโดยละเอียดด้วยครับ

 
lokiya
วันที่  12 ม.ค. 2566
หมายเลข  45476
อ่าน  395

ในทางธรรมะแล้ว ความเป็นเรื่องราวไม่มีจริง ขอคำอธิบายโดยละเอียดด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 13 ม.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้ จึงเป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละลักษณะเท่านั้น

ปรมัตถธรรม มี ๔ ประเภทได้แก่

จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ จิตแม้จะมีหลากหลายประเภท ตามเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย บ้าง หลากหลายตามอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ บ้าง หลากหลายตามภูมิคือระดับขั้นของจิต บ้าง แต่ก็มีลักษณะเดียวคือมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ ตัวอย่างของจิต เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องกระทบสัมผัสทางกายเป็นต้น

เจตสิก เป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต ตัวอย่างเจตสิก เช่น ผัสสะ สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์ที่จิตรู้ เวทนา ความรู้สึก โลภะ ความติดข้องต้องการ โทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ศรัทธา ความเลื่อมใส ความผ่องใส สติ ความระลึกเป็นไปในกุศลธรรมหิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นต้น

รูป เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เกิดจากสมุฏฐานต่างๆ กล่าวคือ บางรูปเกิดขึ้นเพราะกรรม มีกรรมเป็นธรรมที่ก่อตั้งให้รูปนั้นเกิดขึ้น บางรูปเกิดขึ้นเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน บางรูปเกิดขึ้นเพราะอุตุ ความเย็นความร้อนเป็นสมุฏฐาน บางรูปเกิดเพราะอาหารเป็นสมุฏฐานตัวอย่างของรูปปรมัตถ์ เช่น สี เสียง กลิ่น รส ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม จักขุปสาทะ (ตา) โสตปสาทะ (หู) ฆานปสาทะ (จมูก) ชิวหาปสาทะ (ลิ้น) กายปสาทะ (กาย) เป็นต้น

และมีปรมัตถธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือ นิพพาน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม เป็นธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ดับกิเลส เป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างสิ้นเชิง

สิ่งที่มีจริง มี ๔ อย่างนี้เท่านั้น ดังนั้น เรื่องราวต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่มีจริง ไม่มีลักษณะ เป็นแต่เพียงสิ่งที่คิดนึกถึงเท่านั้น ครับ

...ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 14 ม.ค. 2566

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 14 ม.ค. 2566

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ