การสวมรองเท้า

 
worrawat
วันที่  15 ส.ค. 2550
หมายเลข  4550
อ่าน  11,704

พระภิกษุ สามารถสวมใส่รองเท้าได้หรือไม่ และมีบัญญัตอนุญาตให้สวมรองเท้าตามสมควรหรือไม่ครับ และเหตุใดจึงไม่ได้ (ให้) สวมใส่รองเท้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 ส.ค. 2550

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุสาวกสวมใส่รองเท้าได้ตามสมควร คือบางสถานที่ใส่ไม่ได้ บางสถานที่ใส่ได้ รองเท้าบางชนิดใส่ได้ รองเท้าบางชนิดใส่ไม่ได้ สำหรับสถานที่บางแห่งใส่รองเท้าไม่ได้ เช่น ละแวกบ้าน ลานพระเจดีย์ เป็นต้น แต่ถ้าเดินตามป่า ใส่รองเท้าได้ เหตุที่มีพระวินัยบัญญัติไม่ให้ใส่รองเท้าในบางสถานที่นั้นก็คือ เพื่อให้เห็นความต่างกันของเพศบรรพชิตและคฤหัสถ์ว่ามีเครื่องหมายที่แตกต่างกันอย่างหนึ่ง เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของคนที่เลื่อมใสแล้ว เป็นต้น

เชิญคลิกอ่าน ...

พระบัญญัติเรื่องการสวมรองเท้า [มหาวรรค]

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขออนุญาตสรุปคำตอบเป็นข้อๆ ครับ

๑. พระภิกษุ สามารถสวมใส่รองเท้าได้หรือไม่

พระภิกษุท่านสามารถสวมรองเท้าได้ครับ

๒. และมีบัญญัตอนุญาตให้สวมรองเท้าตามสมควรหรือไม่ครับ

พระพุทธเจ้าทรงกำหนดพระวินัยตามสมควร ตามเหตุจำเป็น ตามเหตุที่งามเหตุที่ไม่งามในการสวมรองเท้าตามลักษณะต่างๆ สีต่างๆ ตามกาละเทศะ และตามสถานที่ต่างๆ ครับ

๓. และเหตุใดจึงไม่ได้ (ให้) สวมใส่รองเท้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

พระภิกษุในสมัยพุทธกาลท่านสวมรองเท้า ในสมัยนี้ พระภิกษุท่านก็สวมรองเท้าได้ แต่หากท่านศึกษาพระวินัยและประพฤติปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ย่อมส่งผลให้ผู้ที่เป็นฆราวาสและผู้ที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนายังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นและทำให้การติเตียนในความไม่งามของท่านน้อยลง เพราะเป็นการยากที่จะว่ากล่าวพระภิกษุที่ท่านปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ย่อมห่างไกลจากการเป็น "โมฆบุรุษ" และจะไม่มีใครรู้เลยว่า ท่านเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ผู้ให้ยานพาหนะ เช่น รองเท้า ร่ม ฯลฯ ชื่อว่าให้ความสุขค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรื่อง ยานที่เหมาะสมกับพระไม่ใช่รถ แต่เป็นรองเท้า

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถากินททสูตร

บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลายมีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้าย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควรแก่สมณะก็คือรองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์ เพราะฉะนั้น บุคคลให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อมทำบันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยานเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

เรื่อง การสะสมรองเท้า

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถาพรหมชาลสูตร

การสะสมยาน มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอ รถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ควรใช้รองเท้าได้ ๒ คู่เป็นอย่างมาก คือ คู่หนึ่งสำหรับเดินป่า คู่หนึ่งสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว ได้คู่ที่ ๓ ควรให้แก่รูปอื่น แต่จะเก็บไว้ด้วยคิดว่า เมื่อคู่นี้เก่า เราจักได้คู่อื่นจากไหน ดังนี้ ไม่ควร ย่อมชื่อว่า เป็นการสะสมและทำให้เสียการปฏิบัติเคร่งครัด

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ตัวอย่างเรื่อง พระรับรองเท้าและสละให้ภิกษุสงฆ์ และเปรตได้รับส่วนบุญ

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ข้อความบางตอนจาก

สานุวาสีเถรเปตวัตถุ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็นทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาคอันมีก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ยานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จตุรทิศ ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตนให้ปรากฏด้วยรถแล้ว

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
worrawat
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา ในความอนุเคราะห์ตอบคำถามครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Komsan
วันที่ 9 ก.พ. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 3 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
WS202398
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ :)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Win nakab
วันที่ 22 มิ.ย. 2564

แเล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่ารองเท้านี้กี่ชั้น อย่างในพระวินัยว่า ๑ ชั้นใส่ได้ ๒-๓ ชั้นใส่ไม่ได้ ๔-๕ ชั้นใส่ได้ จะนับชั้นอย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
khampan.a
วันที่ 22 มิ.ย. 2564

เรียนความคิดเห็นที่ ๑๒ ครับ

พิจารณาตามพระวินัยแล้ว จะเป็นรองเท้าที่มีชั้นเดียวเท่านั้น ที่พระภิกษุสามารถใช้ได้ คือ ไม่สูง เหมาะควรแก่ความเป็นสมณะ และจะต้องเว้นสีที่ไม่เหมาะด้วย กล่าวคือ สีเขียวล้วน สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีบานเย็นล้วน สีดำล้วน สีแสดล้วน สีชมพูล้วน ครับ

... ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 22 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ