อารมณ์ของจุติจิต

 
worrawat
วันที่  15 ส.ค. 2550
หมายเลข  4551
อ่าน  7,826

ขอความกรุณาอธิบายข้อความเกี่ยวกับกับเรื่องอารมณ์ของจุติจิตของชาติก่อน จะเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในชาตินี้ และอารมณ์ของภวังคจิตในชาตินี้ก็คืออารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตไม่ทราบว่าข้อความที่ถูกต้องคืออย่างไรครับ ขอคำอธิบายให้เข้าใจด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ข้อความที่ถูกต้อง คือ อารมณ์ของจุติจิตของชาติก่อน มีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตและภวังคจิตในชาติก่อน ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตในชาตินี้ มีอารมณ์เดียวกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ส.ค. 2550

เมื่อจุติจิตของชาติก่อนด้บไป ปฏิสนธิจิตของชาตินี้ จึงเกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น

ปฏิสนธิจิตของชาตินี้เกิดเพียงขณะเดียว มีอารมณ์เดียวกันกับชวนจิตสุดท้าย ที่ดับไปก่อนจุติจิตในชาติก่อน ปฏิสนธิจิตของชาตินี้ดับไปแล้ว ภวังคจิตขณะแรก (ปฐมภวังค์) เกิดสืบต่อดำรงภพชาติ มีอารมณ์เดียวกันกับปฏิสนธิจิต

ขณะต่อไปที่เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต

ขณะที่เป็นวิถีจิตทางปัญจทวาร ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต

ขณะที่ไม่ใช่วิถีจิตทางปัญจทวาร และวิถีจิตทางมโนทวาร เป็นภวังคจิต

ภวังคจิตไม่ได้มีเฉพาะตอนหลับสนิท แต่ในขณะตื่น ภวังคจิตสามารถเกิดสลับกับวิถีจิตเมื่อวิถีจิตทางใดทางหนึ่งดับไป

จุติจิตในชาตินี้จะเกิดแน่นอนในอนาคต และจะต้องมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตและภวังคจิตในชาตินี้

สรุป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิด ในชาติเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ภวังคจิต หมายถึง จิตที่รักษาดำรงภพชาติของความเป็นบุคคลนั้น เช่น เป็นมนุษย์ก็เป็นไปจนกว่าจะตายแล้วเกิดใหม่ ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น เป็นแมวก็เป็นแมวไปตลอดชีวิตค่ะ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
หมาย
วันที่ 15 ส.ค. 2550

เรียนถาม ajarnkruo ครับ ผมยังไม่เข้าใจข้อความนี้ครับ

"จุติจิตในชาตินี้จะเกิดแน่นอนในอนาคต และจะต้องมีอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตและภวังคจิตในชาตินี้ สรุป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิด ในชาติเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน"

ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า ปฏิสนธิจิตในชาติหน้าก็มีอารมณ์เดียวกับจุติจิตในชาตินี้ ชาติหน้าก็ต้องเป็นคนอย่างนี้ตลอดไปเรื่อยๆ หรือครับ เพราะปฏิสนธิจิต ภวังคจิตและจุติจิต มีอารมณ์เดียวกัน ในชาติเดียวกัน

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขอเพิ่มเติม ขณะที่ไม่มีภวังคจิตเกิดคั่นเลย มีอีกหนึ่งขณะครับ คือ

-- ขณะที่เป็นฌาณจิตเกิดดับติดต่อกัน โดยที่ฌาณยังไม่เสื่อม หรือยังไม่ได้ออกจากฌาณนั้นเพราะยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่ตั้งใจไว้ ซึ่งก็จะไม่เกินไปกว่า ๗ วันสำหรับผู้ที่วสีมาก

แต่ผมก็มีข้อสงสัยจะเรียนถาม ดังนี้ครับ

๑. ผู้ที่เจริญรูปฌาณหรืออรูปฌาณนั้น สงบจากอกุศล แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์จะแตกต่างกันกับพระอรหันต์ที่เข้าฌาณอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นนี้อย่างไร

(ตามที่ได้ฟังท่าน อ.สุจินต์ บรรยาย พอจำได้บ้างแต่ก็เป็นช่วงที่เพิ่งเริ่มฟังจับใจความไม่ค่อยทัน คือ จะเป็นตรงที่ไม่ได้ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท หรือตรงที่อกุศลมีโอกาสจะเกิดทางทวารต่างๆ ทันทีที่ออกจากฌาณอย่างนี้หรือไม่ครับ)

๒. การเข้าฌาณทั้งสองข้างต้น เป็นวิถีจิตด้วยหรือไม่

(เมื่อขณะนั้นมีแต่กุศลจิตที่เกิดดับๆ ติดต่อกันนานๆ ซึ่งกุศลจิตจะเกิดเฉพาะชวนวิถีจิตทางปัญจทวารหรือทางมโนทวารเท่านั้น แต่สำหรับพระอรหันต์ท่านดับแล้วซึ่งกุศลและอกุศลท่านเข้าฌาณโดยกิริยาจิตเกิดที่ชวนวิถีจิต เหรอครับ)

ขอขอบพระคุณอย่างสูงในคำตอบจากทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 15 ส.ค. 2550

๑. ต่างกันตรงที่ว่าพระอรหันต์ไม่มีอนุสัยกิเลส ทั้งในขณะที่เข้าฌานและขณะที่ออกจากฌาน

๒.๑ เป็นวิถีจิตที่เกิดขึ้นทางมโนทวาร โดยอาศัยหทยวัตถุ หรือไม่อาศัยหทยวัตถุ (อรูปภูมิ)

๒.๒ เป็นมหัคคตชวนะ เป็นญาณสัมปยุตต์ สำหรับพระอรหันต์ ชวนจิตเป็นกิริยา เพราะดับเหตุแห่งกุศลและอกุศลแล้ว

๒.๓ สำหรับพระอรหันต์ที่เข้าผลสมาบัติ วิถีจิตเป็นโลกุตรชวนะ มีนิพพานเป็นอารมณ์และเป็นกิริยาจิตค่ะ

๒.๔ สำหรับพระอรหันต์ที่เข้านิโรธสมาบัติ ดับจิตและเจตสิกตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ยังมีรูปที่เกิดจากกรรม อุตุและอาหาร ที่เกิดดับสืบต่อกันไป เพราะยังไม่สิ้นอายุขัยและยังไม่สิ้นกรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
worrawat
วันที่ 15 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา ที่ท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ตอบคำถามครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 16 ส.ค. 2550

จากคำถามของคุณหมายนะครับ

"ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า ปฏิสนธิจิตในชาติหน้าก็มีอารมณ์เดียวกับจุติจิตในชาตินี้ ชาติหน้าก็ต้องเป็นคนอย่างนี้ตลอดไปเรื่อยๆ หรือครับ เพราะปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต มีอารมณ์เดียวกัน ในชาติเดียวกัน"

ปฏิสนธิจิตในชาตินี้ มีอารมณ์เดียวกับ "ชวนจิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน เกิดและดับไป แล้วจุติจิตเกิดต่อ" ก็คือ จิตที่เกิดและดับไปก่อนจุติจิตจะเกิดครับ จุติจิตทำจุติกิจ เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่ง หมดความเป็นบุคคลนั้นในชาติก่อนโดยสิ้นเชิง มาเป็นบุคคลใหม่ในชาตินี้ ไม่ใช่บุคคลเดิมในชาติก่อนอีกต่อไป

สรุป ปฏิสนธิจิตในชาตินี้ ไม่มี อารมณ์เดียวกับจุติจิตในชาติก่อน

ฉะนั้น ปฏิสนธิจิตที่จะเกิดในชาติหน้า ก็จะ ไม่มี อารมณ์เดียวกับกับจุติในชาตินี้

แต่จะมีอารมณ์เดียวกับ "ชวนจิตดวงสุดท้ายที่จะเกิดและดับไป ก่อนการเกิดของจุติจิตในชาตินี้" จิตที่จะเป็นจิตดวงสุดท้ายในชาตินี้ (ดับก่อนการเกิดของจุติจิต) อาจจะเป็นวิถีจิต หรือ ภวังค์

มรณาสันนวิถี มี ๔ ประเภท ดังนี้ครับ

ประเภทที่ ๑ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทาลัมพณะ ๒ ครั้ง แล้วจุติ (จุติจิตเกิดต่อทันที)

ประเภทที่ ๒ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง แล้วจุติ

ประเภทที่ ๓ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีตทาลัมพณะ ๒ ครั้ง มีภวังค์แล้วจุติ

ประเภทที่ ๔ จิตเสพชวนะ ๕ ครั้ง มีภวังค์แล้วจุติ

"เมื่อเหตุมีแล้ว จะไปเกิดในภพภูมิไหน ผลแห่งกรรมย่อมพาไปเกิดในภพภูมินั้นซึ่งอาจจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ได้"

"ถ้าเป็นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็น อกุศลวิบาก ๑ ดวง"

ก็จะเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในอบายภูมิใดภูมิหนึ่งใน ๔ อบายภูมิ แล้วแต่ว่าจะเป็นผลของอกุศลกรรมใด หนักเบาเพียงใด

ถ้าเป็นอเหตุกมโนวิญญาณธาตุที่เป็น กุศลวิบาก ๑ ดวง

ก็จะเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในมนุสภูมิ เกิดเป็นมนุษย์ แต่อาจจะต้องเป็น คนบ้า คนใบ้ คนตาบอด คนหูหนวก หรือเป็นกะเทยแต่กำเนิด หรืออาจจะเป็นคนที่ทั้งบ้าและเป็นใบ้ คนที่ทั้งบอดและหูหนวก คนที่ทั้งบอดและเป็นกะเทย ฯลฯ ตามผลของกรรมครับ

ถ้าเป็นสเหตุกมหาวิบาก ๑ ใน ๘ ดวงนั้น

ก็จะเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในมนุสภูมิ เกิดเป็นมนุษย์ หรือเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในสววรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งใน ๖ ชั้น เกิดเป็นเทวดา ซึ่งทั้งมนุษย์และเทวดาก็ยังอยู่ในกามาวจรภูมิคือ เต็มไปด้วยกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฑัพพะ

ถ้าเป็นรูปาวจรวิบาก ๑ ใน ๕ ดวง

ก็จะเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในรูปพรหมภูมิ เป็นรูปพรหมบุคคลตามขั้นของฌาณ ๑ ใน ๕

ถ้าเป็นอรูปาวจรวิบาก ๑ ใน ๔ ดวง

ก็จะเป็นเหตุให้ปฏิสนธิในอรูปพรหมภูมิเป็นอรูปพรหมบุคคลตามขั้นของฌาณ ๑ ใน ๔

ข้อมูลจาก ...

พระ [เล่มที่ 77] อภิธรรมปิฎก วิภังค์เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๕๙๒ -๔๙๓

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ajarnkruo
วันที่ 16 ส.ค. 2550

ขออภัยครับ ขอแก้เป็น สวรรค์ ๖ ภูมิครับ

สวรรค์มี ๖ ภูมิ ตามลำดับคือ

สวรรค์ภูมิที่ ๑ คือ จาตุมหาราชิกา

สวรรค์ภูมิที่ ๒ คือ ดาวดึงส์

สวรรค์ภูมิที่ ๓ คือ ยามา

สวรรค์ภูมิที่ ๔ คือ ดุสิต

สวรรค์ภูมิที่ ๕ คือ นิมมานรดี

สวรรค์ภูมิที่ ๖ คือ ปรนิมมิตวสวัตตดี

และขอเชิญอ่านได้จากจิตตสังเขปซึ่งแต่งโดยท่าน อ.สุจินต์ ครับ จะเข้าได้ดีกว่าที่ผมอธิบาย

ประมัตถธรรมสังเขป -> จิตสังเขป (หน้าที่ 201)

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
หมาย
วันที่ 17 ส.ค. 2550

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wannee.s
วันที่ 18 ส.ค. 2550

อีกนัยหนึ่ง ท่านเปรียบกาม ดุจลิ้มเลียหยาดน้ำผึ้งที่อยู่บนคมมีดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 18 ส.ค. 2550

หวานแต่อันตราย

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
vikrom
วันที่ 20 ส.ค. 2550

อ่านจากความคิดเห็นที่ 1, 5 และ 9

ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ

มรณาสันนวิถีจิต เป็นจิตวาระสุดท้ายของชาตินี้

จุติจิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต ที่เกิดดับสืบต่อทันที เป็นชาติหน้า เป็นอารมณ์เดียวกัน

ดังนั้น จุติจิต คือ จิตดวงแรกของชาติหน้า ใช่ไหมครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 20 ส.ค. 2550

มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตสุดท้ายในแต่ละชาติ (เว้นเอกโวการภูมิ ที่มีแต่รูปปฏิสนธิ)

มรณาสันนวิถี เกิดได้ทั้งทางมโนทวารและทางปัญจทวาร แต่มีเพียง ๕ ขณะ เพราะเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน

ปฏิสนธิจิต ภวังคจิตและจุติจิตของชาติหนึ่งๆ มีอารมณ์เดียวกัน คือ มีอารมณ์ เดียวกับชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติของชาติก่อน นั่นก็คือ มรณาสันนวิถี

ปฏิสนธิจิต คือ จิตดวงแรก และจุติจิต คือ จิตดวงสุดท้ายในแต่ละชาติ ส่วนภวังคจิต ทำกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้นๆ ไว้ ในระหว่างวิถีจิตตั้งแต่เกิดจนตาย

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
vikrom
วันที่ 20 ส.ค. 2550

ขอบคุณมากครับ คุณไตรสรณคมน์

ผมกำลัง งง เกี่ยวกับการเรียงลำดับคำพูด ๒ ประโยคนี้ครับ

๑. ปฎิสนธิจิต ภวังคจิต (ช่วงที่มีชีวิตอยู่ขณะนี้ในประวัติกาล) มรณาสันนวิถีจิต แล้ว จุติจิต

๒. มรณาสันนวิถีจิต จุติจิต ปฎิสนธิจิต แล้ว ภวังคจิต

คำว่า มีอารมณ์เดียวกันของ จุติกับปฎิสนธิ หมายถึง จุติกับปฎิสนธิ ในขัอ ๒ ใช่ไหม

ไม่ใช่ จุติกับปฎิสนธิ ในข้อ ๑

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 20 ส.ค. 2550

จิตที่มีอารมณ์เดียวกัน

๑. มรณาสันนชวนะในอดีตภพ

๒ ปฏิสนธิจิตในปัจจุบันภพ

๓. ภวังคจิตในปัจจุบันภพ

๔. จุติจิต ในปัจจุบันภพ

ขอยกตัวอย่างดังนี้นะคะ

ชาติที่แล้ว : ปฏิสนธิจิต ... ภวังคจิต ... มรณาสันนวิถี ... จุติจิต

ชาติปัจจุบัน : ปฏิสนธิจิต. ... ภวังคจิต ... มรณาสันนวิถี ... จุติจิต

ชาติหน้า : ปฏิสนธิจิต. ... ภวังคจิต ... มรณาสันนวิถี ... จุติจิต

(จิตที่มีสีเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน)

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
wannee.s
วันที่ 20 ส.ค. 2550

มรณาสันนวิถีจิต เป็นวิถีจิตสุดท้ายก่อนจุติจิตจะเกิด จุติจิตไม่ใช่วิถีจิตค่ะ

จุติจิตเกิดเคลื่อนจากความเป็นบุคลลนี้ เป็นจิตดวงสุดท้ายของชาตินี้ ปฏิสนธิที่เกิดต่อจากจุติจิต เป็นผลของกรรมใหม่ ก็แล้วแต่ว่าเป็นผลกรรมอะไร เช่น ถ้าเกิดเป็นเทวดา ก็เป็นผลของกุศลกรรม ปฏิสนธิเป็นกุศลวิบาก ทำให้เกิดในสุคติภูมิ ถ้าเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็เป็นผลของอกุศลกรรม ปฏิสนธิเป็นอกุศลวิบาก

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
vikrom
วันที่ 20 ส.ค. 2550

เข้าใจแล้วครับ เมื่อกี้นี้ได้รับข้อมูลของความคิดเห็นที่ 21 เพียงครึ่งบนเท่านั้น ตอนนี้ดูจากสีที่ระบายไว้แล้ว ชัดมากครับ

ขอขอบพระคุณมากๆ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
worrawat
วันที่ 21 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาในทุกคำตอบ เข้าใจ ชัดเจน แจ่มแจ้ง ดีแล้ว ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
vikrom
วันที่ 21 ส.ค. 2550

เรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ มีอารมณ์เดียวกันนี้ เนื่องจากผมไม่มีปัญญา อาศัยแต่ความจำเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
olive
วันที่ 22 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
ajarnkruo
วันที่ 22 ส.ค. 2550

จากความเห็นของคุณ vikrom " เรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ มีอารมณ์เดียวกันนี้เนื่องจากผมไม่มีปัญญา อาศัยแต่ความจำเท่านั้น"

ผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมเป็นผู้ที่ได้รับผลของกุศลกรรมในอดีตชาติ รวมทั้งเป็นผู้ที่ได้สั่งสมปัญญามา แม้ว่าจะเข้าใจมากหรือน้อย ช้าหรือเร็วไม่เท่ากัน แต่ต่างก็มีโอกาสที่จะเข้าใจถูก สามารถเจริญปัญญาบนหนทางที่ถูกได้เหมือนกันครับ บางคนอาจจะจำก่อนเพราะมีฉันทะที่จะจำแล้วจึงพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่จำไว้ภายหลัง บางคนอาจจะจำไม่ค่อยเก่งเลย ลืมบ่อย แต่ก็อาศัยความเพียร ฟังเพื่อความเข้าใจ เพราะรู้ว่าการฟังพระธรรมไม่ใช่เพื่อจะให้ได้อะไรเลย นอกจากฟังเพื่อให้เกิดความเห็นถูก จากสิ่งที่ไม่เคยเห็นถูกมาก่อนเท่านั้น พอฟังบ่อยเข้าๆ ภายหลังก็กลับเริ่มจำได้และแม่นยำขึ้น โดยที่เจ้าตัวไม่ได้คาดหวัง หรือตั้งใจที่จะต้องจำ ให้ได้เลย

ไม่ว่าท่านจะเป็นแบบไหน ก็ต้องอาศัยวิธีการเดียวกัน คือ การฟังพระธรรมแล้วพิจารณาโดยแยบคาย เงี่ยโสตลงสดับ ใส่ใจในอารมณ์ขณะที่ศึกษา รวมทั้งสนทนาธรรมกับสัปบุรุษผู้ที่เชี่ยวชาญในอรรถและพยัญชนะในพระไตรปิฎกครับ

เพราะถ้าไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ปุถุชนคิดพระธรรมเอาเองไม่ได้แน่นอน ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชนถึงได้อาศัยความเข้าใจในพระธรรมจากสหายธรรมด้วยกันเพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลกันให้ปัญญาของตนได้เจริญขึ้น

การศึกษาพระธรรมไม่มีคำว่า "พอ" จนกว่าจะหมดกิจ สิ้นสุดภพชาติ คือ การบรรลุเป็นพระอรหันต์ ครับ

มีด ๓ ด้ามนั้นอาจจะปหานกิเลสไม่ไหว อธิบายธรรมได้ชัดอย่างนี้ ขอยกของข้างบนให้คุณ ไตรสรณคมณ์ ไปเลยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
พุทธรักษา
วันที่ 23 ส.ค. 2550

ยิ่งอ่านยิ่งงง ตกลง สมมติว่า ถ้าชาตินี้เป็นคนแล้วชาติหน้าเป็นแมว กระบวนการของจิตจะเป็นอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 23 ส.ค. 2550

ชาตินี้เกิดเป็นคนก็จริงนะคะ แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยให้จิตเศร้าหมองก่อนจุติจิตจะเกิด มรณาสันวิถีย่อมเสพอารมณ์ที่เป็นอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จะปรากฎในมรณาสันกาลแล้วแต่ว่าจะเป็นกรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิต

จิตที่ทำกิจปฏิสนธิมีเพียง ๑๙ ดวง คือ

- อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑

- อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ๑

- มหาวิบาก ๘

- รูปาวจรวิบาก ๕

- อรูปาวจรวิบาก ๔

ถ้าชาติหน้าเกิดเป็นแมว จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ต้องเป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก และมีอารมณ์เดียวกับมรณาสันวิถีของชาติที่เป็นคนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 23 ส.ค. 2550

ท่าน ajarnkruo ค่ะ มีดที่ท่านให้มาท่าจะทั้งคมทั้งหนัก เกรงว่าจะจับกันไม่มีวันสึกนะคะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ ถ้าการเกิดของเรายังมีประโยชน์ ก็ขออยู่ต่อไปนานๆ

ขอบคุณสำหรับของฝากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
suwit02
วันที่ 4 พ.ย. 2551

ที่นี่น่ารื่นรมย์

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
aiatien
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
bom8813
วันที่ 26 ต.ค. 2552

ผม search พบแต่การอธิบาย จุติจิตและปฏิสนธิ ของผู้ที่ยังมีกิเลสเหลืออยู่ แต่การอธิบายจุติจิตของพระอรหันต์ ว่าทำไมถึงไม่เกิดปฏิสนธิต่อไป ซึ่งแสดงว่าต้องต่างกับที่อธิบายไว้ ช่วยอธิบายให้ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
khampan.a
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความเห็นที่ ๓๖

จุติจิต หมายถึง จิตที่ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ ไม่สามารถกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีกเลย ที่แสดงว่า เป็นจุติจิตนั้น เรียกตาม กิจของจิต เพราะถ้าศึกษาแล้ว จะเข้าใจว่า มีจิต ๑๙ ประเภท ที่ทำจุติกิจได้นั่นก็คือ มหาวิบาก ๘ อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก, อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก ๕ และ อรูปาวจรวิบาก ๔ สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังมีตัณหา ยังมีอวิชชา เมื่อจุติจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไป คือปฏิสนธิจิตในภพใหม่ชาติใหม่เกิดสืบต่อ โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น แต่สำหรับพระอรหันต์ ท่านเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวงดับกิเลสได้ทั้งหมด ดับกิเลสที่จะนำไปสู่ภพใหม่ได้ นั่นก็คือ ตัณหา (รวม ถึงอวิชชาและกิเลสประการอื่นๆ) เมื่อจุติจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้มีการเกิดในภพใหม่ได้อีก ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
pamali
วันที่ 7 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
phawinee
วันที่ 26 ก.พ. 2557

"ท่านเปรียบกาม ดุจลิ้มเลียหยาดน้ำผึ้งที่อยู่บนคมมีด.."

อนุโมทนาในความคิดเห็นที่ 15 และในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
peem
วันที่ 15 เม.ย. 2561

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ก.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
สิริพรรณ
วันที่ 12 เม.ย. 2565

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านทุกประการค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 43  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 13 มี.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
Junya
วันที่ 26 เม.ย. 2566

กราบยินดีในกุศลของทุกท่านเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
suporn71
วันที่ 14 ส.ค. 2566

กราบอนุโมทนาอจ.คำปั่น ค่ะ

ชัดเจนค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ