มั่นคงหรือยังว่า ไม่มีเรา มีแต่ธรรม_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  18 ก.พ. 2566
หมายเลข  45587
อ่าน  414

- (คุณสุคิน: อาช่ายุ่งๆ อยู่เลยไม่ได้ทบทวนจำได้เคร่าๆ เองว่าเราพูดถึงโวฏฐัพพนะ แล้วก็ชวนกิจ) เราไม่ใช่ว่า จะจำชื่ออะไรนะ แต่หมายความว่า คุณอาช่าเข้าใจ เดี๋ยวนี้ ว่าอะไร? (มีเสียง) นี่หรือเข้าใจ เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้มีเสียง เข้าใจว่าไม่มีเราหรือเปล่า? (เข้าใจ) ไม่มีเรา แต่มีอะไร? (ไม่ใช่อาช่า ก็มีจิต เจตสิก รูป) เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมเป็นโอกาสที่จะทบทวนให้ไม่ลืม ไม่ใช่ไปถึงแล้ว ตอนไหน ชื่ออะไร เรื่องอะไร นั่นเป็นเรื่องอยากจะรู้เรื่อง แต่ความเป็นจริงคือ ไม่ว่าขณะไหนเวลาที่มีการสนทนา ความรู้ความเข้าใจต้องไม่ลืมว่า เข้าใจว่า ไม่มีเรา แต่มีจิต มีเจตสิก มีรูป เดี๋ยวนี้เป็นจิตอะไร? เดี๋ยวนี้มีอะไร? (มีเสียง) ถูกต้อง มีเสียง กำลังหลับมีเสียงไหม? (ไม่มี) กำลังหลับมีจิตไหม? (มี) เป็นจิตประเภทไหน? (เป็นภวังคจิต) ภวังคจิตคืออะไร? (เป็นความจริงชนิดหนึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่ดำรงชีวิต) เป็นเรื่องจังเลยใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น กำลังหลับสามารถที่จะรู้ความจริงได้ไหม? (ไม่ได้) จิตต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใช่ไหม? (ต้องรู้อารมณ์) แต่ขณะที่หลับมีจิต แต่อารมณ์ไม่ปรากฏใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น แสดงว่า มีจิตที่เกิดดับรู้อารมณ์ แต่ อารมณ์ไม่ปรากฏใช่ไหม? (ใช่) ขณะไหนบ้างที่มีจิต แต่จิตนั้นมีอารมณ์ที่ไม่ปรากฏ? (ภวังค์ ๑ และปฏิสนธิ ๑ และมโนทวาราวัชชนจิต อารมณ์ไม่ปรากฏ) ได้หรือ? ในเมื่อเป็นมโนทวาราวัชชนะ ไม่ใช่มโนทวาร แต่เป็นอาวัชชนจิต (ตอนนี้เริ่มเข้าใจว่ามโนทวาราวัชชนจิตเริ่มรู้อารมณ์) นี่แสดงว่า ธรรมลึกซึ้งมากแม้เราจะเข้าใจแต่ต้องเข้าใจตามความเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงว่า ถ้าเป็นภวังคจิต ดำรงภพชาติ ไปเรื่อยๆ จะไม่มีการรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดเลย.

- การศึกษาพระธรรม ไม่ใช่ให้ศึกษาชื่อ จำชื่อ แต่ชีวิตจริงเริ่มเข้าใจชีวิตจริงๆ ตามที่ได้ฟังพระธรรมหรือยัง? แม้แต่คำว่า จิต ได้ยินชื่อ ได้ยินว่าเป็นสภาพรู้ แต่ยังไม่รู้ถึงความละเอียดของธาตุรู้หรือสภาพรู้ที่เป็นจิตซึ่งมีขณะนี้ ทุกวัน ทุกขณะ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ศึกษาอย่างนี้จะรู้จักสิ่งที่กำลังปรากฏได้ไหม.

- พูดถึงมโนทวาราวัชชนจิต จำชื่อได้ แต่ว่าไม่รู้ว่าขณะนี้มีหรือเปล่า ขณะนี้มีจิตไหม (มี) มีจิตกี่ประเภท (๑ ประเภท) อะไรค่ะ ๑ ประเภท? (เห็น) ขณะที่เห็นเป็น ๑ ขณะจิตใช่ไหม? (ใช่) ก่อนเห็นมีจิตไหม? (มี) กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้ว่า ก่อนเห็นก็มีจิต แต่ไม่ใช่จิตที่เห็น เพราะฉะนั้น ก่อนจิตเห็นเป็นจิตอะไร? (จักขุวัชชนจิต) หมายความถึงอะไร? (ก่อนเห็นต้องมีจิตหนึ่งที่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น) ไม่ใช่ (มีอารมณ์อะไรกระทบอยู่) ไม่ได้หมายความว่า รู้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น (ใช่) เพราะฉะนั้น อาวัชชนจิตถ้าเป็นจักขุทวารวิถีจิตก็หมายความว่าเป็นจักขุทวาราวัชชนจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบทางตาเพราะกระทบกับจักขุปสาท จักขุทวาราวัชชนจิตรู้อย่างนี้หรือเปล่า (จักขุทวาราวัชชนจิตรู้ว่า อารมณ์อะไรกระทบกับปสาทรูป) เพราะฉะนั้น จักขุทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ไหม? (รู้) รู้อารมณ์อะไร์ (สี) เห็นหรือเปล่า? (ไม่เห็น) เป็นภวังค์หรือเปล่า? (ไม่) ต่างกันอย่างไร? (ภวังค์ไม่รู้อารมณ์ในชีวิตประจำวัน แต่อาวัชชนจิตเริ่มรู้) เป็นขณะแรกที่เริ่มรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีภวังค์ไหม? (มี) แล้วมีจักขุทวาราวัชชนจิตไหม? (มี) จักขุทวาราวัชชนจิตเห็นไหม? (ไม่เห็น) ถูกต้อง นี่เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจ เดี๋ยวนี้ ที่กำลังมี ไม่ใช่ไปจำชื่อ.

- เพราะฉะนั้น ภวังค์ไม่รู้สิ่งที่กระทบที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีอารมณ์ของภวังค์ซึ่งไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น เมื่อมีอารมณ์กระทบแล้วมีจิตที่เริ่มรู้ว่าอารมณ์กระทบ เริ่มเป็นวิถีจิต เพราะฉะนั้น วิถีจิตคือ จิตที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์.

- โลภะ เป็นวิถีจิตหรือเปล่า? (เป็น) ปัญญา ความเข้าใจ เป็นวิถีจิตหรือเปล่า? (เป็น) เป็นวิถีจิตเมื่อไหร่? (ตอนที่คิด) เราไม่อยากให้เขาไปที่อื่น แต่ให้เข้าใจทีละขณะ ทีละธรรม ทีละหนึ่ง เพราะฉะนั้น ปัญญาเจตสิกไม่ใช่จิต แต่ปัญญาที่เกิดกับจิตขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน? (ขณะคิด) ปัญญาไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิก แต่ปัญญาเกิดกับจิตประเภทไหน? ปัญญาเกิดกับจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตได้ไหม เห็นไหม เราต้องเริ่มทีละคำ ตอนนี้เราอยู่ตรงนี้ เราไม่ไปเรื่องอื่นเลย ให้เขาเข้าใจจริงๆ ถึงสิ่งที่มีจริงและกำลังมีด้วย (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ถามใหม่ครับ) ปัญญาไม่ใช่จิต ปัญญาเป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตประเภทไหน? (วิถีจิต) ปัญญาเกิดกับจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตได้ไหม? (ไม่ได้) ปฏิสนธิจิตหลากหลายมาก เป็นงูก็มี เป็นช้างก็มี เป็นคนก็มี เป็นเทวดาก็มี เพราะฉะนั้น ปัญญาเกิดกับภวังคจิตได้ไหม? (ปฏิสนธิเป็นผลของกรรมที่ต่างกัน จะเกิดเป็นอะไรก็ขึ้นอยู่กับกรรมนั้น พิจารณาแล้วแน่นอนว่าต้องมี ปฏิสนธิ ภวังค์ที่มีปัญญาประกอบได้) เห็นไหม ถ้าเราไม่ถามเขาจะคิดไหม ถ้าเขาลืมเขาก็คิดเองเขาก็ตอบว่าไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่การเข้าใจธรรม เป็นการจำชื่อแต่เขาต้องรู้ตามความเป็นจริงเข้าใจตามความเป็นจริง เรากำลังพูดถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี่ให้เข้าใจขึ้นว่า ไม่ใช่เราเลยสักขณะเดียว แต่เป็นจิตประเภทต่างๆ .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 18 ก.พ. 2566

- ภวังคจิตของงูมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า? (ไม่มี) ภวังคจิตของท่านพระสารีบุตรมีปัญญาเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า? (ไม่แน่ใจ) งูมีปัญญาเจตสิกเกิดกับภวังคจิตหรือเปล่า? (ภวังคจิตของงูไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดด้วย สำหรับภวังคจิตของท่านพระสารีบุตรไม่แน่ใจว่ามีหรือเปล่า) ถ้าท่านพระสารีบุตรไม่มีปัญญาขณะที่เกิด เวลาที่เห็น ได้ยิน ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเอาปัญญานั้นมาแต่ไหน (ถ้าพิจารณาก็ต้องแน่นอนว่าตอนปฏิสนธิ ภวังค์ของท่านพระสารีบุตรต้องมีปัญญา) นี่เป็นเหตุที่เราไม่ตามคำ และคิดว่าเข้าใจ แต่ทุกคำกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงละเอียดอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาจริงๆ ที่จะเข้าใจความจริงทีละเล็กทีละน้อย.

- ถ้าเข้าใจแต่ชื่อ เข้าใจแต่เรื่อง แต่ไม่ได้เข้าใจความจริงแม้ในขั้นฟังที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้จะมีประโยชน์ไหม? (ไม่มี) ศึกษาธรรม ขณะนี้เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ศึกษาธรรมให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี เดี๋ยวนี้ ให้ถูกต้อง เข้าใจแล้วจะลืมไหม? (ไม่ลืม) ไม่ลืมแล้วอยู่ไหน? (อยู่ในจิต) อยู่ในจิตทุกขณะที่เกิดดับสืบต่อ.

- กุศล และอกุศลทุกประเภท ทุกขณะ ที่ดับแล้วสะสมอยู่ในจิตที่เป็นกุศล และอกุศลแล้วนั่นเอง เพราะฉะนั้นกุศลจิต และอกุศลจิตที่เกิดดับแล้วสะสมอยู่ในจิตทุกขณะ ทำให้แต่ละคนต่างกันไปทุกขณะจิต ไม่มีคุณอาช่า ไม่มีคุณอาคิ่ล ไม่มีมานิช ไม่มีคุณราจิฝหรืออะไรเลย แต่ธรรมทั้งหมดต้องเป็นไปตามเป็นจริงที่เป็นธรรม ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 18 ก.พ. 2566

- เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ไม่มีใครเลย แต่เราเรียกว่า คุณอาคิ่ล คุณอาช่า และต่างกันมากเพราะว่า สะสมมาต่างกัน เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจทุกคนเป็นธรรมทั้งหมด คนไม่ดีสะสมมาที่จะทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่ใช่เขาเลย แต่ว่าเป็นธรรมที่เกิดจากการสะสมมามีกำลังจนทำให้ประพฤติทางกาย วาจา ใจที่ไม่ดี.

- เดี๋ยวนี้ท่านพระเทวทัตอยู่ที่ไหน? (อยู่ในนรก) อยู่ในนรกเพราะกรรมหนึ่งที่ได้ทำทำให้เกิดอยู่ในนรกใช่ไหม? (ใช่) นอกจากพระเทวทัตมีคนอื่นอีกที่อยู่ในนรกอเวจีหรือเปล่า? (มี) มาจากไหน? ไปได้อย่างไร? (เพราะผลของอกุศลกรรม) เพราะฉะนั้น ทุกคนจะไปนรกอเวจีได้ไหม? (ได้) ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงว่า สิ่งที่มีประโยชน์ที่สุดคือ ความเข้าใจถูก เพราะเหตุว่าในนรกเป็นผลของกรรมหนึ่งที่ทำให้ไปสู่อเวจี.

- แล้วในอเวจีมีอะไรบ้าง อเวจีมีจิตไหม? (มีจิต) จิตอะไร? (วิบาก) แล้วมีเห็น มีได้ยินไหม? (มี) เหมือนอย่างนี้ไหม? (เหมือนอย่างนี้) ต่างกับโลกมนุษย์อย่างไร? (ถ้าเกิดในอเวจีไม่มีโอกาสเข้าใจธรรม แต่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็ยังมีโอกาสอยู่) แล้วคนที่อยู่ในโลกมนุษย์ที่ไม่มีโอกาสเข้าใจธรรมต่างกับอเวจีไหม ต่างกับอยู่ในอเวจีไหม? (ผมถามแล้วแต่เขาก็กลับมาที่เดิม) เพราะฉะนั้น เราถามสั้นๆ ให้เขาคิด เขาจะได้มีโอกาสคิดอย่างนั้นอย่างนี้ ไตร่ตรอง จนเขาสามารถที่จะเข้าใจได้ด้วยตัวเอง ถามเขาอีกทีว่า ถ้าคนนั้นอยู่ในอเวจีไม่มีโอกาสได้ฟังธรรม แต่คนที่อยู่ในโลกนี้แล้วไม่มีโอกาสฟังธรรม ต่างกันอย่างไรระหว่างสองคนนี้ (เขาคิดว่าก็มีเห็น มีได้ยิน นัยนี้ไม่มีความต่าง) ต่างซิคะ เพราะเหตุว่าทำไมจึงเป็นนรกอเวจี ทำไมเป็นมนุษยโลก (ยังให้คำตอบไม่ได้ แต่ต่างกันตรงกุศลจิต และอกุศลจิต) ใครอยากเกิดในอเวจีบ้าง? มนุษย์ สวรรค์ นรก ต่างกันอย่างไร? (อาช่าเริ่มเข้าใจว่าวิบากต่างกัน แต่ก็ไม่มั่นใจ) เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องเข้าใจ ธรรมละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่จำว่าสนทนากันถึงไหนแล้ว เรื่องอะไร ประกอบด้วยเจตสิกอะไร รูปอะไร ไม่ใช่อย่างนั้น เดี๋ยวนี้เป็นธรรม ลึกซึ้งหรือเปล่า ไม่ต้องไปหาที่ไหน เพราะฉะนั้น สามารถที่จะรู้ได้ว่า ทำไมเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เป็นเทพ หรือเกิดในนรก ต่างกันเพราะอะไร มิเช่นนั้นแล้วก็ไม่มีมนุษย์ ไม่มีเทพ ไม่มีนรก (ถ้าพิจารณาตามที่ท่านอาจารย์พูดก็เริ่มเข้าใจว่าเหตุที่ให้เกิดในอเวจี หรือเหตุให้เกิดในสวรรค์ ไม่เป็นอย่างที่เราเป็นอยู่ขณะนี้) ต่างกันตรงไหน? (ต่างกันตรงที่ในนรกอเวจีเป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสต่างๆ จะเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีเป็นอนิฏฐารมณ์ ส่วนเกิดบนสวรรค์ก็ตรงกันข้ามเป็นผลของกุศลกรรม เพราะฉะนั้น เห็น ได้ยินเป็นอารมณ์ที่ดีเป็นอิฏฐารมณ์ เมื่อเทียบกับมนุษย์ก็ดีกว่ามนุษย์ มนุษย์เทียบกับนรกก็ดีกว่า) อะไรเป็นเหตุให้ต่างกัน? (ผลของกรรม) เพราะฉะนั้น อะไรเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในมนุษย์ ในสวรรค์ (ถ้าเกิดในนรกก็เป็นผลของอกุศลกรรม ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ หรือบนสวรรค์เป็นผลของกุศลกรรม) แล้วมนุษย์กับสวรรค์ต่างกันอย่างไร? (กุศลคนละระดับ) ระดับไหน? (เกิดบนสวรรค์เป็นผลของกุศลที่มีกำลังมากกว่าที่เกิดเป็นมนุษย์) .

- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้คุณอาคิ่ล คุณอาช่า คุณมานิช คุณมาธุ คุณราจิฝ ทุกคนเลยเดี๋ยวนี้เลยนะ ไปนรกได้ไหม ไปสวรรค์ ไปมนุษย์อีกได้ไหม? (ได้) เป็นคุณอาช่า เป็นคุณอาคิ่ล เป็นคุณมานิช ต่อไปได้ไหม? (ไม่ได้) เงินทอง ทรัพย์สมบัติที่มีเดี๋ยวนี้จะทำให้ไม่ไปนรกได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น อะไรที่ทำให้ไปสวรรค์ ไปนรก และเกิดอีกเป็นมนุษย์? (คุณสุคิน: ต้องให้ท่านอาจารย์ช่วยครับ) ถามว่าอะไรที่ตอบไม่ได้ (ถามว่าบุคคล ๒ คนเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผลของกุศลกรรมทั้งสองคน คนหนึ่งปฏิสนธิประกอบด้วยปัญญา อีกคนไม่ประกอบด้วยปัญญา สองคนนี้ผลของกุศลนำเกิดต่างกันอย่างไร?) คนหนึ่งไม่เข้าใจธรรมเลย ปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมอะไร? (เป็นผลของกุศลกรรม) แล้วมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม? (ไม่มี) แล้วคนที่เข้าใจธรรม แล้วปฏิสนธิจิตจะมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม? (บุคคลที่เข้าใจธรรมแสดงว่า ปฏิสนธิมประกอบด้วยปัญญา) เมื่อเป็นผลของกรรมที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยเท่านั้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 18 ก.พ. 2566

- เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องละเอียดมาก ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า แต่ละหนึ่งขณะเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยต่างๆ .

- คุณอาคิ่ลเข้าใจธรรม คุณอาช่าเข้าใจธรรม คุณสุคินเข้าใจธรรม จะเกิดในอบายภูมิได้ไหม? (เกิดได้) ประมาทได้ไหมว่าจะไม่เกิด? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นพระโสดาบันดับกิเลสที่ไม่เข้าใจความจริงของธรรมจึงติดข้องว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่านั้น จึงจะไม่เกิดในอบายภูมิอีกต่อไป, เพราะอะไร? (เพราะระดับความเข้าใจ และกิเลสน้อยลง) เพราะถ้าเป็นอกุศลวิบากผลของอกุศลกรรม ก็ทำให้เป็นผู้ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาระดับพระโสดาบันไม่ละเมิดศีล ๕ ไม่ทำผิดในศีล ๕ ไม่เป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ.

- เกิดในอเวจีมีปัญจทวารวัชชนจิตไหม? (มี) แล้วพอปัญจทวาราวัชชนจิตดับ จิตอะไรเกิดต่อ? (ถ้าเป็นจักขุทวาราวัชชนจิตดับไป ต้องเป็นจิตเห็นเกิดต่อ) เพราะฉะนั้น จิตไหนเป็นวิถีจิต? (ทั้ง ๒) จิตไหนเป็นวิถีจิตแรก? (อาวัชชนจิต) เพราะฉะนั้น วิถีจิตแรกมีกี่ดวง? (อาวัชชนจิตมี ปัญจทวราวัชชนจิต และมโนทวาราวัชชนจิต) ก็เป็นสิ่งที่ดีมากนะที่ไม่ลืมว่า วิถีจิตแรกทางปัญจทวารมี ๑ วิถีจิตแรกทางมโนทวารมี ๑ จึงเป็นจิตที่ทำอาวัชชนกิจ ๒ ถ้าทางเป็น ๑ คือปัญจทวาราวัชชนะทำกิจได้ทุกทาง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ปัญจทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารได้ไหม? (ไม่ได้) มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางปัญจทวารได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้นอกจากเรียนเรื่องจิตแล้ว ยังต้องเรียนเรื่องกิจของจิต และรู้ว่า จิตมีมาก แต่มี ๑๔ กิจ เพราะฉะนั้น จิตอะไรทำกิจอะไร กิจนี้มีจิตที่ทำได้กี่ประเภท และกี่ดวง.

- เพราะฉะนั้น มีเรา มีสัตว์ มีบุคคลไหม? (ไม่มี) มีแต่สภาพที่เป็นจิต เจตสิก รูป เกิดขึ้นทำกิจการงานต่างๆ เดี๋ยวนี้ด้วยใช่ไหม? (ใช่) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 18 ก.พ. 2566

- เดี๋ยวนี้มีภวังคจิตไหม? (มี) มีอาวัชชนกิจไหม? (มี) มีปฏิสนธิจิตไหม? (ไม่มี) ปฏิสนธิมี ๑ ขณะเท่านั้น แต่จากนั้นผลของกรรมเป็นภวังค์ดำรงภพชาติเพื่อที่จะรับผลของกรรมต่อไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย.

- วิถีจิตคืออะไร? (จิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) เพราะฉะนั้น อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นอารมณ์ของภวังคจิตหรือเปล่า? (ภวังค์ไม่สามารถรู้อารมณ์พวกนี้ได้) แล้ววิถีจิตสามารถรู้อารมณ์ของภวังค์ได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะอะไร? (เพราะกิจต่างกัน) เพราะว่า อารมณ์ของภวังค์ไม่ได้ปรากฏ แล้วจะเป็นอารมณ์ของวิถีจิตได้อย่างไร.

- สำหรับวันนี้ก็คงไม่มีข้อสงสัยในเรื่องปฏิสนธิจิต ภวังคจิต ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และอาวัชชนกิจทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร เพราะฉะนั้น ทางตา เวลาที่ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้ว จิตเห็นเกิดขึ้น, ทางหู ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้ว ได้ยินเกิดขึ้น ก็เป็นที่ที่เรากำลังเรียนเรื่องกิจถึงกี่กิจ คราวหน้าเราจะต่อ คงไม่ลืม.

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้เองเป็นการศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้จริงๆ ทุกคำที่ได้ยินเป็นธรรมเดี๋ยวนี้ จนกว่าจะค่อยๆ เห็นว่า ไม่มีเรา มีแต่ธรรมแต่ละหนึ่ง.

- มั่นคงหรือยังว่า ไม่มีเรา แต่มีธรรม ไม่มีโลก ไม่มีสุนัข ไม่มีคน ไม่มีอะไรเลย แต่มีธรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันทั้งหมดตามความเป็นจริง เพื่อให้เริ่มเข้าใจไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิต เป็นธรรมแต่ละหนึ่งซึ่งเกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย ยินดีด้วยในกุศลของทุกคนที่เริ่มเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ก.พ. 2566

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ