เพราะมีจิต แต่ไม่รู้ว่ามีจิต ลึกซึ้งไหม?_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  4 เม.ย. 2566
หมายเลข  45764
อ่าน  350

- สันตีรณจิตคืออะไร? (เป็นจิตชนิดหนึ่ง) จิตชนิดไหน ที่เราถามเป็นการรอบรู้เข้าใจจริงในลักษณะสภาพธรรม ไม่ใช่เพียงให้จำชื่อ (คุณสุคิน: ผมขออนุญาติพูดเรื่องที่ว่า บางทีที่เขาตอบไม่ได้เป็นเพราะผมฟังผิดแล้วสื่อผิด ตรงนั้นเป็นเพราะผมเอง คุณอาช่าบอกว่าใช่ บางครั้งเป็นอย่างนั้น แต่ก็ไม่เป็นไรค่อยๆ ไปครับ) ถูกต้องเลยค่ะคุณสุคิน นี่เป็นกุศลอย่างยิ่งที่จะรู้ว่า ความจริงคืออย่างไร ตรงต่อความเป็นจริง เพราะฉะนั้น การที่เราได้ยินคำไหนซึ่งเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส ไม่ใช่เพียงให้จำชื่อ (อาช่าบอกว่า การที่ท่านอาจารย์ถามแล้วถามอีกนี่ มารู้ตัวว่าที่คิดว่าตัวเองเข้าใจก็ไม่ได้เข้าใจ เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่ดีมาก) .

- เพราะเหตุว่า ทุกคนจะไม่รู้ว่า ไม่เข้าใจแค่ไหน ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ลึกซึ้ง เพียงจำชื่อ ไม่ลึกซึ้งเลย.

- ฟังธรรมต้องฟังด้วยความเคารพสูงสุดในความลึกซึ้ง ลึกซึ้งจนเข้าใจพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมีที่จะตรัสรู้ถึงกาลที่จะแสดงความจริงให้คนอื่นได้รู้ด้วย จะไม่มีใครรู้ความจริงที่ลึกซึ้งเลย.

- เพราะฉะนั้น เรากำลังพูดให้รู้ความจริงซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนเลยของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น คำเดียว จะรู้ว่าเข้าใจลึกซึ้งแค่ไหน ก็โดยการที่ไตร่ตรอง ฟังคำถาม ไตร่ตรองเพื่อเป็นความเข้าใจของตัวเอง.

- ได้ยินคำว่า สันตีรณะ จำได้ใช่ไหม ยังไม่รู้จักความหมายและความจริงของสันตีรณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทุกอย่างที่มีจริงๆ มีจริงไม่ใช่เพียงจำว่า มีจริง แต่ต้องรู้ว่า ลักษณะที่เป็นจริงของสันตีรณะคืออะไร จึงกล่าวว่ามีจริง.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และกราบยินดีในความดีของคุณสุคิน ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 4 เม.ย. 2566

- ฟังคำถามดีๆ สันตีรณะคืออะไร? (คือจิต) จิตคืออะไร? (เป็นธรรมที่รู้อารมณ์) ทำไมมีชื่อหลายชื่อสำหรับจิต จิตเห็น สันตีรณะ จิตได้ยิน จิตคิด ทำไมมีหลายชื่อ (เพราะแต่ละจิตมีกิจที่ไม่เหมือนกัน) เป็นสภาพรู้จริง แต่หลากหลายมากไม่ใช่เป็นเพียงเป็นธาตุรู้อย่างเดียว แต่จะมีการรู้อะไรๆ อีกมาก.

- จิตที่เกิดกับโลภะ มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่ใช่จิตขณะที่มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตที่เกิดกับสภาพธรรมที่ไม่สามารถรู้ความจริงได้ กับจิตที่เกิดในขณะที่มีสภาพเข้าใจในสิ่งนั้นได้ต่างกัน เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีจิตหลากหลายมาก แต่ละหนึ่งขณะ จิตมีมากมายจนกระทั่งต้องแบ่งเป็นประเภทๆ ให้รู้ความหลากหลายของจิต.

- ทุกครั้งที่ธาตุรู้คือจิตซึ่งรู้สิ่งที่ปรากฏคืออารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง แต่หลากหลายเพราะมีสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยต่างๆ กัน.

-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ทั้งหมดไม่ว่าเป็นจิตประเภทใด เกิดเมื่อไหร่แสนโกฏิกัปป์หรือจะเกิดต่อไปข้างหน้าต่างกันมาก แต่ประมวลมาได้เป็นจิต ๘๙ ประเภท เป็นจิตประเภทใหญ่ ๘๙ แต่โดยละเอียดมากกว่านั้นมาก.

- ขณะนี้มีจิต ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้รู้ว่า จิตขณะนี้เป็นจิตประเภทไหนใน ๘๙ ประเภท.

- จิตเกิดขึ้นไม่รู้อารมณ์ได้ไหม? (ไม่ได้) จิตเกิดขึ้นไม่มีสภาพธรรมอื่นที่เกิดด้วยกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ปรุงแต่งอาศัยกันและกัน จึงเกิดได้ใช่ไหม? (ใช่) .

- เพราะฉะนั้น ค่อยๆ เข้าใจแต่ละคำทีละเล็กทีละน้อย สภาพธรรมที่เกิดกับจิต และรู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมกับจิต สภาพธรรมนั้นคือ เจตสิก จิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยไดไหม? (ไม่ได้) แล้วจิตเป็นเจตสิกหรือเปล่า? (ไม่เป็น) เจตสิกเป็นจิตหรือเปล่า? (ไม่เป็น) .

- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) เดี๋ยวนี้มีเจตสิกไหม? (มี) เดี๋ยวนี้ จิตและเจตสิก ปรากฏหรือเปล่า? (ปรากฏ) ผิด คิดดีๆ จิตไม่ใช่เจตสิก เจตสิกไม่ใช่จิต เดี๋ยวนี้จิตปรากฏ เจตสิกปรากฏหรือเปล่า? (เข้าใจว่าถ้าจิตปรากฏ เจตสิกไม่ปรากฏ) ไม่ใช่ถามอย่างนั้นเลย ฟังคำถามดีๆ ไม่ต้องตอบยาว ไม่ต้องบอก ให้เขาคิดเอง (ครับ) ต้องเป็นความคิดของเขาที่จะรู้ความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรม ที่จะเริ่มต้นเห็นความลึกซึ้ง มิเช่นนั้น จะเรียนด้วยความประมาท ได้แต่จำชื่อ (ท่านอาจารย์ถามใหม่ได้ไหมครับ) ฟังดีๆ นะ ลืม หมายความว่าไม่ได้ฟังดีๆ ถามว่า เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) มีเจตสิกไหม? (มี) จิตปรากฏหรือเปล่า? (ปรากฏ) ผิด ปรากฏหรือไม่ปรากฏ? (เวลานี้เหมือนเห็นปรากฏ) ฟังดีๆ ๆ ขณะนี้มีจิตไหม? (มี) มีเจตสิกไหม? (มี) จิตปรากฏหรือเปล่า? (ปรากฏ) จิตเป็นอย่างไร บอกว่าปรากฏต้องรู้ว่าเป็นอย่างไร? (ก็ยังยืนยันว่า เห็นปรากฏ ได้ยินปรากฏ) เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) มีเจตสิกไหม? (มี) จิตปรากฏหรือเปล่า? (ปรากฏ) ผิด ปรากฏหรือไม่ปรากฏ? ขณะนี้ที่กำลังเห็น อะไรปรากฏ? (สีปรากฏ) เพราะฉะนั้น จิตปรากฏหรือเปล่า เดี๋ยวนี้เห็นอะไร? (เห็นสี) เวลาสีปรากฏ เห็นปรากฏหรือเปล่า? (ไม่ปรากฏ) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 4 เม.ย. 2566

- (อาช่าขออนุญาติอธิบายพูดภาษาของเขาให้ราจิฝฟังทีหลังซึ่งเขาอาจไม่เข้าใจคำถาม) ดีมาก เพราะเหตุว่า การศึกษาธรรมที่จะดำรงคำสอนของพระศาสนาต้องเข้าใจความลึกซึ้ง มิเช่นนั้น จะไม่ได้ประโยชน์เลย ทุกคนเปิดตำราจำชื่อหมดแต่ไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่ใช่การดำรงรักษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเขาไม่สามารถจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้.

- (คุณสุคิน: มานิชเข้าใจตอบว่าขณะเห็น เห็นอะไรสักอย่าง แต่ตัวเห็นไม่ปรากฏ) นี่เป็นความลึกซึ้งที่ต้องเริ่มตั้งแต่ต้นว่า ต้องละเอียด ต้องไตร่ตรอง ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่แค่จำ.

- ตั้งแต่เกิดจนตาย มีขณะไหนบ้างไหมที่ไม่มีจิต (ไม่มี) แต่ไม่มีใครรู้ว่า มีจิต ใช่ไหม? (ไม่มีใครรู้) เพราะฉะนั้น จึงเข้าใจว่า เป็นเราทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะฉะนั้น เพราะมีจิต แต่ไม่รู้ว่ามีจิต ลึกซึ้งไหม?.

- เห็นความลึกซึ้งไหม มีจิต แต่ไม่รู้ตลอดชีวิตทุกชาติว่าเป็นจิต แต่เป็นเราทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีจิตเกิดขึ้นเลย จะไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น.

- ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายเป็นเรา หรือเป็นจิต (เป็นจิต) เพราะฉะนั้น คิดว่าเราเกิด และเป็นเราตลอดจนตาย ผิดหรือถูก? (ผิด) นั่นคือ ความเห็นผิด มีจริงๆ ไหม? (มีจริง) .

- ความเห็นผิดมีจริงๆ ใช่ไหม? (มีจริงๆ ) ความเห็นผิดเป็นอะไร? กำลังเห็นผิดแน่นอน (เป็นเจตสิก) นี่เป็นประโยชน์ที่เราจะเป็นคนที่ละเอียด จึงจะรู้จักธรรมที่ละเอียดว่าจิตไม่ใช่เจตสิก และเจตสิกก็ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกัน อาศัยกันและกันเกิดขึ้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 4 เม.ย. 2566

- จิต เห็นผิด ได้ไหม? (ไม่ได้) จิตต้องเป็นจิต จิตเป็นเจตสิกไม่ได้เลย เพื่อจะให้เข้าใจถูกต้อง จึงมีอีกคำสำหรับจิต คือ บัณฑระ หมายความว่า จิตเท่านั้นเป็นสภาพที่สะอาด ผ่องใส ไม่ได้เห็นผิด ไม่ได้อะไรเลย แต่เป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้ ต้องรู้ ทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏอย่างเดียวเท่านั้น.

- บัณฑระ เป็นชื่อของจิต ไม่ใช่ชื่อของธรรมอื่นเลย กำลังเห็นเดี๋ยวนี้อะไรทำหน้าที่เห็น (จิต) เป็นเจตสิกได้ไหม? (ไม่ได้) เจตสิกรู้อารมณ์นั้นไหม? (รู้อารมณ์เดียวกัน) เจตสิกแต่ละเจตสิกต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์ แต่ไม่ได้เป็นใหญ่คือไม่ได้รู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏจึงไม่ได้ทำหน้าที่เห็นไม่ได้ทำทัสสนกิจ.

- ถ้ามีความเข้าใจชัดเจน ไม่ว่าจะได้ยินคำว่า เจตสิก หรือได้ยินคำว่า จิต หลายๆ ประเภทต่างๆ กันไป ก็รู้ลักษณะที่ต่างกันของจิตและเจตสิก จึงจะค่อยๆ เข้าใจว่าไม่มีเรา.

- จิตเป็นของใคร? (ไม่เป็นของใคร) ใครทำให้จิตเกิด? (ไม่มีใคร) เริ่มเข้าใจความหมายของธรรมะเป็นธรรมะ ไม่ใช่ใครเลยที่จะทำอะไรได้เลย.

- จิตเกิดขึ้นทำหน้าที่ของจิต เจตสิกเกิดขึ้นทำหน้าที่ของเจตสิก ถ้าไม่มีจิต เจตสิก จะมีอะไรที่ปรากฏว่ามีไม่ได้เลย.

- ได้ยินคำว่า อเหตุกจิต คือจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ไม่มีใครรู้ว่าอะไรเป็นเหตุที่จะให้จิตเกิดและก็ดับเกิดแล้วก็ดับไม่หยุดเลย แต่เหตุที่จะทำให้จิตเกิดดับไม่หยุดคืออะไร? (อนันตรปัจจัย) เราไม่ได้พูดถึงอะไรเลยอนันตรปัจจัย วิบากปัจจัย เราไม่ได้พูด เรากำลังพูดถึงเหตุที่จะทำให้จิตเกิดตลอดเวลาไม่หยุดเลยนั่นคืออะไรเป็นเหตุ? (แต่ละจิตมีเหตุต่างกัน) เหตุคืออะไร? (แค่รู้ว่ามีเหตุแต่ไม่รู้ว่าเหตุอะไร) แต่ ธรรมมีอะไรบ้าง? (มี ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน) เพราะฉะนั้น เหตุคืออะไร ธรรมอะไร? (จิตอื่นที่เป็นเหตุ) ธรรมมีอะไรบ้าง? (มี ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน) เหตุเป็นธรรมอะไร? (ไม่เข้าใจเลยไม่ไม่ทราบคำตอบ) ต้องไตร่ตรอง ไม่มีประโยชน์เลยเราอ่านตำรา เราเก่งมาก เราตอบได้ เราเข้าใจ แต่ไม่รู้จักความจริงซึ่งมีจริงๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งว่า ลึกซึ้งเกินกว่าที่เราจะเพียงจำชื่อ ต้องเป็นคนตรงต่อความจริง และรู้ได้ว่า ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง ไม่มีใครรู้.

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เหตุให้เกิดจิตซึ่งเป็นธาตุรู้คือเจตสิก เจตสิกมีมากตามที่เราได้ทราบมี ๕๒ ประเภท แต่เจตสิกอะไรเป็นเหตุ และเจตสิกอะไรไม่ใช่เหตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า จิตที่ไม่เกิดร่วมกับเหตุ (เจตสิกที่เป็นเหตุ) มี และจิตที่เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุก็มี นี่คือความต่างกันที่เราไม่รู้เลย เราศึกษาธรรมเผินมาก เพียงฟังแล้วจำ ไม่ไตร่ตรอง.

- ทุกคนฟัง จิตที่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่ รู้ใช่ไหม แต่เวลาฟังคำถามอีกอย่างหนึ่งตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าใจจริงๆ จำว่าจิตไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่? แต่ไม่รู้ว่าเหตุคืออะไร ต้องละเอียดมาก เจตสิกที่เป็นเหตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า มี ๖ เจตสิกเท่านั้น เราเรียนแล้วใช่ไหม เจตสิกที่เป็นเหตุ (จำได้เคร่าว่ามีอกุศลเหตุ โลภะ โทสะ โมหะ) และเหตุที่ดีมีไหม? (ต้องมี) เขารู้แต่อกุศลเหตุเท่านั้นหรือ หรือรู้จักกุศลเหตุด้วย (แกเข้าใจว่าต้องมีเหตุ แต่นึกไม่ออกว่าอะไรบ้าง) เห็นไหม จำเท่าไหร่ อ่านเท่าไหร่ ถ้าพูดถึงความเข้าใจนึกไม่ออก แต่ถ้าเข้าใจแล้วนึกออกแน่ๆ เพราะเข้าใจ ด้วยเหตุนี้ อกุศลเหตุมีเท่าไหร่? (มี ๓) เวลาที่จิตเกิดกับเจตสิก ๓ ดวงนี้เป็นจิตที่ดีงามได้ไหม? (ไม่ได้) แล้วกุศลจิตเกิดบ้างไหม? (เกิด) มีเหตุเกิดร่วมด้วยไหมขณะที่เป็นกุศล? (ต้องมีเหตุด้วย) เพราะฉะนั้น อะไรเป็นเหตุให้เกิดกุศล? (อโลภะ อโทสะ อโหมะ) เป็นธรรมอะไร? (เป็นเจตสิก) เห็นไหม เขาจำจำนวนได้ จำชื่ออาจจำได้หมด แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า.

- เพราะฉะนั้น สภาพธรรมอะไรเป็นเหตุ? (เจตสิก) มีเท่าไหร่? (มี ๖) มากกว่านั้นได้ไหม? (ไม่ได้) นี่คือเท่าที่เราฟังตอนต้น แต่ละเอียดกว่านี้ เจตสิก ๖ เป็น ๙ ก็ได้ เคยได้ยินไหม? (ไม่เคยได้ยิน) จะพูดตอนนี้เท่านั้นนะ แต่ต้องให้เข้าใจความละเอียดว่า ธรรมละเอียดมาก เผินไม่ได้ ต้องเข้าใจจนถึงที่สุด.

- อกุศลเหตุเกิดเมื่อไหร่ ทำให้จิตขณะนั้นเป็นอกุศลด้วย.

- (คุณสุคิน: ผมอธิบายให้มานิชฟังก่อนเพราะเขาไม่เข้าใจคำว่า โทสะ) โทสะหรือ ไม่รู้? (ตอนนี้รู้แล้ว) เขาไม่รู้เลยหรือเรื่องโทสะ? (จากการสนทนาธรรมยังไม่เคยได้ยินคำว่าโทสะ) เขาได้ยินคำว่าอะไรบ้าง? (มานิชเขาเคยได้ยินคำว่า โทสะ ในคอนเท็กซ์อื่นที่เคยได้ยินมาว่ามีอกุศล ๔ คือ โลภะ โมหะ และใช้คำว่า โทสกับ ... พอดีคำว่า โกรสตรงกับโทสะ แต่คำว่า โดส มีอีกความหมายหนึ่งหมายถึง อกุศลอื่นๆ) จะเห็นว่าต้องละเอียดใช่ไหม? เดิมเขาเข้าใจคำว่า โดส คืออะไร? (โดส หมายถึงอกุศลต่างๆ รวมกัน) คืออะไร ต่างๆ นั้นคืออะไร? (เป็นอุปนิสัยที่เป็นอกุศลต่างๆ ) อกุศลต่างๆ อยากทราบว่า ต่างๆ คืออะไร? (คนที่มีความไม่รู้เยอะ หรือว่าคนที่ขี้โมโห อะไรก็แล้วแต่อุปนิสัย) ถ้าความไม่รู้ก็ขี้โมโหเป็นโมหะหรือเปล่า อกุศลอื่นๆ ต้องไม่ใช่โมหะใช่ไหม? (ใช่ครับ) คุณสุคินอธิบายให้เขาฟังหรือให้เขาตอบ ถามว่า โดสคือ อกุศลอื่นๆ ใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น อกุศลอื่นๆ ที่พูดถึงต้องไม่ใช่โมหะใช่ไหม? ให้เขาคิด (ครับ เข้าใจครับ) เพราะฉะนั้น อกุศลอื่นๆ ต้องไม่ใช่โลภะใช่ไหม? (ครับ) วันนี้เขามีอกุศลไหม? (มีตลอดเลย) มีโมหะไหม? (มานิชบอกว่ามี ยกตัวอย่างได้ด้วย แต่ไม่ใช่มี โดส ยังมี โมคอีก ภาษาบาลีเรียกว่าโมหะ) เดี๋ยวก่อนนะ ให้เขาไตร่ตรองสิ่งที่เขาอ่าน สิ่งที่เขาฟัง สิ่งที่เขาคิด เขารู้จักโมหะใช่ไหมเมื่อกี๊นี้ (ไม่ครับกลายเป็นว่า โมหะ คนละความหมายไปแล้ว) เพราะฉะนั้น ฟังแล้วต้องเข้าใจว่าเขาพูดอะไร ต่อให้เราพูดเท่าไหร่ เขาก็คิดอย่างเดิมที่ฟังมา ก็ไม่สามารถจะเข้าใจได้ ความละเอียดของธรรมต้องตรง บอกเขาค่ะ ช้าไม่เป็นไร ลึกซึ้งต้องรู้ เพราะเหตุว่าถ้าเข้าใจจริงๆ ไม่สงสัยในคำอื่นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 4 เม.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น เหตุเป็นธรรมอะไร? (ก็คือแกแปลเป็นฮินดี ก็คือ ความหมายคือ เหตุเดียวกัน) แล้วฮินดี บอกว่าเหตุคืออะไร? (เพราะมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนั้น) เพราะมีจิต จึงต้องมีเจตสิกใช่ไหม? (ใช่) แล้วเจตสิกมีเท่าไหร่? (มี ๕๒) เกิดพร้อมกันทีเดียวทั้ง ๕๒ หรือเปล่า? (ไม่พร้อม) เวลาที่อกุศลเจตสิกเกิด กุศลเจตสิกเกิดได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เป็นเหตุ ไม่พูดถึงเจตสิก ๕๒ ทั้งหมด แต่เฉพาะเจตสิกที่เป็นเหตุเท่านั้นมีเท่าไหร่? (มี ๖) อะไรบ้าง? (โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) .

- จิตที่ไม่เกิดกับเหตุ ๖ เลยมีไหม? (มี) เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ภาษาบาลีใช้คำว่า อเหตุกจิต จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีทั้งหมดเท่าไหร่? (ไม่ทราบ จำไม่ได้) จำไม่ได้ไม่เป็นไร แต่มีจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้ง ๖ เลย ถ้าเพียงจำไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเข้าใจจะค่อยๆ รู้ว่า อะไรบ้าง และไม่ลืม เพราะฉะนั้น ต้องฟังและเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ขณะนี้ คือ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ต้องไม่ลืมเลยถามเมื่อไหร่ ขณะเดียว ที่จิตเห็นเกิดขึ้นเป็นเห็น ขณะนั้นไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุทั้งหมดมี ๑๘ แต่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่ดีเป็นผลของกุศล เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ว่า ๑๘ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นชาติอะไร พูดเท่านี้นะเขาจะได้ไม่ลืมเขาจะต้องคิดเอง จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เป็นวิบากจิตมีเท่าไหร่? (มี ๑๐) วิบากจิตที่เห็น ๒ ได้ยิน๒ ได้กลิ่น ๒ ลิ้มรส๒ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๒ จะต้องมีกรรมที่ทำให้วิบากจิตรู้อารมณ์นั้นต่อจากที่เห็นที่ดับไปแล้ว มิเช่นนั้น อะไรก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่จิต ๑๐ ดวงนี้ดับแล้ว สัมปฏิจฉันนจิตไม่ใช่จักขุวิญญาณ ไม่ใช่โสตวิญญาณ แต่ใช้คำว่า สัมปฏิจฉันนจิตเพราะทำสัมปฏิจฉันนกิจ เพราะฉะนั้น ตอนนี้จำได้ใช่ไหมว่า วิบากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเท่าที่เราพูดมีเท่าไหร่? (๑๑) อะไรบ้าง? (๕ เป็นกุศลวิบาก, ๕ เป็นอกุศลวิบาก, ๑ เป็นสัมปฏิจฉันนะ) สัมปฏิจฉันนะเป็นผลของกรรมหรือเปล่า? (เป็น) เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมี ๑ เป็นผลของกรรมอะไร? (เป็นผลของกิจเห็น ได้ยิน ... ) ฟังคำถาม คำถามว่า สัมปฏิจฉันนะ ๑ ที่เขาบอกว่า ๑ เป็นผลของกรรมอะไร? (เป็นผลของกุศล หรืออกุศล) ได้หรือ? เกิดขึ้นเป็นผลของกุศล หรืออกุศลได้หรือ ต้องเป็น ๑ มิใช่หรือ? ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมต้องเป็นกุศลวิบาก ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมต้องเป็นอกุศลวิบาก ๒ จิตนี้ไม่ใช่จิตเดียวกัน แต่เป็นจิตประเภทเดียวกัน (คุณสุคิน: คำตอบแกว่า ถ้าเป็น ๑ ใน ๒ จะเป็นอันไหนก็ได้) แล้วมีเท่าไหร่ สัมปฏิจฉันนะ? (มี ๑) จักขุวิญญาณมีเท่าไหร่? (เห็นมี ๒) ได้ยินมีเท่าไหร่? (มี ๒) ได้กลิ่นทีเท่าไหร่? (มี ๒) ลิ้มรสมีเท่าไหร่? (มี ๒) กระทบสัมผัสมีเท่าไหร่? (มี ๒) สัมปฏิจฉันนะมีเท่าไหร่? (มี ๑) ได้หรือ ทำไมจักขุวิญญาณมี ๒ แล้วทำไมสัมปฏิจฉันนะมี ๑? (เพราะกิจของเขาทำแค่สัมปฏิจฉันนะ) แล้วจักขุวิญญาณทำกี่กิจ? (จักขุวิญญาณทำกิจเดียว แต่ว่าเห็นอารมณ์ที่ดี และไม่ดีต่างกัน) เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมีกี่กิจ? (๑ กิจ) สัมปฏิจฉันนะเป็นวิบากหรือเปล่า? (เป็น) จักขุวิญญาณเป็นวิบากหรือเปล่า? (เป็น) จักขุวิญญาณเป็นวิบากมีเท่าไหร่? (มี ๒) สัมปฏิจฉันนะมีเท่าไหร่? (มี ๑) จักขุวิญญาณมีเท่าไหร่? (มี ๒) สัมปฏิจฉันนะมีเท่าไหร่? (มี ๑) ได้อย่างไร จิตที่เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมที่เป็นกุศลเป็นอย่างหนึ่ง จิตที่เกิดขึ้นเพราะกรรมที่เป็นอกุศลอย่างหนึ่ง จะเป็นอย่างเดียวไม่ได้ จักขุวิญญาญมี ๒ จิตเห็นมี ๒ จิตได้ยินมี ๒ ... แล้วสัมปฏิจฉันนะเกิดขึ้นรับรู้สิ่งที่ไม่ดีเป็น ๑, รับรู้สิ่งที่ดีเหมือนจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ (ที่แกยืนยันว่า ๑ เพราะเคยได้ยินอย่างนั้น และตามที่คิดเหตุผลก็คือว่ารับอารมณืต่อจากเห็น ได้ยิน ก็มีแค่หนึ่งตามที่เข้าใจตามที่จำได้) เคยได้ยินแล้วเชื่อหรือ? (เชื่อ เพราะสัมปฏิจฉันนะแค่รับอารมณ์ จะเป็นอารมณ์ที่ดีหรือไม่ดี) คุณสุคินต้องฟังสั้นๆ ทีละสั้นๆ แล้วจักขุวิญญาณล่ะ หน้าที่ของเขาคืออะไร? (สรุปแล้วไม่เข้าใจ ให้ท่านอาจารย์ช่วย) ทำไมจักขุวิญญาณมี ๒ ดวง? (เพราะเป็นผลของกรรมต่างกัน) ทำไมได้ยินมี ๒ ดวง? (เหตุผลเดียวกัน) ได้ยินทำกิจกี่กิจ? (ทำกิจเดียวได้ยิน) แต่มี ๒ ใช่ไหม? (มี ๒) เพราะฉะนั้น สันตีรณะเป็นผลของกรรมหรือเปล่า? (เป็นผลของกรรม) จักขุวิญญาณ ๒ ดวงทำกิจกี่กิจ? (๑ กิจ) จิตที่ทำกิจนี้มีกี่ดวง? (มีจิตที่ทำกิจนี้ ๒ ดวง) อกุศลวิบากจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะที่เป็นผลของกุศลกรรมจะรู้อารมณ์ที่ไม่ดีได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมีกี่ดวง? (ตามเหตุผลแล้ว สัมปฏิจฉันนะต้องมี ๒ ดวง) เข้าใจแล้วใช่ไหม ถามเขาว่าถ้ามีคนบอกว่า สัมปฏิจฉันนจิตมี ๑ ถูกหรือผิด (ตามเหตุผลแล้วไม่เชื่อ) ไม่เชื่อเพราะอะไร? (เหตุผลตามที่ท่านอาจารย์อธิบาย) ถ้าอย่างนั้น ใครพูดอย่างนั้นผิดหรือถูก (ผิด) .

- ต้องมั่นคงในความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกคำไม่ผิด ถ้าพิมพ์ผิด ถ้าพูดผิด ก็จะต้องพิจารณาไตร่ตรองว่า ผิดหรือถูก เพราะอะไร มิเช่นนั้น ไม่สามารถจะรู้ความจริงของธรรมได้ นี่เป็นความละเอียดอย่างยิ่งของธรรม ต้องตรงตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ตรงจะเข้าใจผิด และพูดผิดเสมอ และไม่รู้รู้ว่าผิดด้วย เห็นไหม ถ้าเราพูดเรื่องสันตีรณะ แต่เราไม่พูดเรื่องสัมปฏิจฉันนะ จะเข้าใจได้ไหมจะเข้าใจถูกได้ไหม ละเอียดพอไหม.

- เรื่องของอเหตุกจิตเป็นเรื่องที่คนยากที่จะเห็นความละเอียด เพราะฉะนั้น เขาเข้าใจผิด ด้วยเหตุนี้ ถ้ามีความเข้าใจเรื่องของชาติ เรื่องของกิจ เรื่องของอะไรทั้งหมด จะค่อยๆ รู้ความจริงละเอียดขึ้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ