ฟังสิ่งที่มีจริง ต้องกล่าวภาษาบาลีไหม?_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  8 เม.ย. 2566
หมายเลข  45775
อ่าน  418

- วันนี้เราขอเริ่มความเข้าใจพระธรรม เดี๋ยวนี้มีธรรมซึ่งไม่มีใครรู้เลยถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้ และไม่ทรงแสดง มีใครรู้บ้างไหมสิ่งที่กำลังมี เดี๋ยวนี้กำลังมี แต่ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีได้ (อาช่าตอบว่าแม้คิดว่าขณะนี้มีความจริงแต่ว่าไม่รู้ ก็ไม่คิดเลยถ้าไม่ได้ฟังธรรม) เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดมีสิ่งที่มีจริงทุกขณะ ไม่รู้เลย นานแสนนานมาแล้ว แต่ขณะนี้สามารถที่จะเริ่มรู้ความจริง เพราะฉะนั้น คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทำให้เริ่มรู้ว่า เดี๋ยวนี้ เป็นอะไรมีมากแค่ไหน?.

- (คุณสุคิน: เรากำลังหาคำแปลใช้สำหรับ พระคุณ ว่าจะใช้อะไรดี) ความดี ดีไหม? (เขาเข้าใจตรงนั้นว่า มีพระคุณ แต่กำลังหาศัพท์อยู่ ผมยกตัวอย่างพ่อแม่ ... ) ให้เขาเข้าใจก่อน เขาไปหาคำโดยไม่เข้าใจเขาจะไม่สามารถรู้ว่า คำไหน เพราะฉะนั้น เขาต้องเข้าใจก่อน ว่า ความดีมีไหม? (มี) อะไรเป็นความดีบ้าง? (ให้ทาน ช่วนเหลือคนอื่น) ขณะนั้นเป็นอะไรรู้ไหมที่กำลังให้ทาน? (กุศลจิต และกุศลเจตสิก) ขอโทษนะ พูดอะไรกันไม่รู้ เราไม่ได้พูดถึงอะไรเลยเรากำลังจะหาคำแปลที่เหมาะสม แต่ถ้าเราไม่มีความเข้าใจแล้วเราไปคิดถึงจิต เจตสิก แล้วมีประโยชน์อะไร (ต้องรบกวนท่านอาจารย์ทวนคำถามใหม่ครับ) ถามว่ารู้จักความดีไหม ความดีมีหรือเปล่า อะไรดีบ้าง? (ตอนให้ทาน) แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรใช่ไหมกำลังให้ทานก็ไม่รู้ว่าอะไรใช่ไหม? (ตอนนั้นไม่รู้) เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถจะรู้ได้ดีกว่าให้แล้วไม่รู้ไหม? (ดีกว่า) เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เราคิดเอง ฟังทุกคำ ไตร่ตรองให้ละเอียดให้ลึกซึ้ง ไม่สามารถจะเข้าใจได้เพราะถ้าไม่ละเอียดไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่รู้จักพระคุณแน่นอน ไม่ใช่ให้ตอบจิต เจตสิก แต่ให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องใช้จิตเจตสิกได้เมื่อเข้าใจ แล้วจึงจะรู้ว่าแต่ละคำที่เข้าใจ ภาษาบาลีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้ทำอะไรเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่ไปตามคำ แต่ต้องเข้าใจ.

- ต้องไม่ลืม ทุกคำเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะ ไม่ใช่ให้ไปจำชื่อเป็นจิต เจตสิก.

- พ่อแม่มีคุณไหม? (มีครับ) นอกจากพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อฝูง มีคุณต่อเราหรือเปล่า? (ไม่มี) ไม่มีใครมีคุณกับคุณอาช่าเลยหรือนอกจากพ่อแม่? (คุณสุคิน: คือว่าคำว่า คุณ ภาษาฮินดี พูดถึงคุณระดับพ่อแม่ หรือพระพุทธองค์ แกก็เลยลังเล แต่ใช่ชีวิตประจำวันมีคนที่ช่วยเราหลายคน แต่ว่าจะยกระดับใช้คำเดียวกับพ่อแม่หรือพระพุทธองค์นี่เขาเห็นว่าไม่สมควร) เปลี่ยนความดีที่คนอื่นทำซึ่งเป็นคุณความดีให้ไม่เป็นคุณความดีได้ไหม? (เปลี่ยนไม่ได้) ความดีนิดเดียวก็เป็นความดี ความดีมากขึ้นเพิ่มขึ้นก็ยังคงเป็นความดี แต่เพิ่มขึ้นใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น ความดีเป็นความดีเปลี่ยนไม่ได้ แต่ความดีสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใดหมด สามารถให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน แต่ก็ยังเป็นความดีใช่ไหม? (ใช่) .

- เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้เขาพยายามอธิบายใช้คำที่คนอื่นสามารถที่จะรู้พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องกังวลว่าจะใช้คำไหนซึ่งคิดว่าจะเข้าใจ แต่ถึงแม้จะใช้คำนั้นเขาไม่เข้าใจเพราะเขาไม่รู้คุณ ว่า คุณคืออะไร?

- ใช้คำธรรมดาให้คนเข้าใจได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีคุณ ทุกคนรู้จักความดี แต่ความดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมากที่สุดไม่มีใครประมาณได้ถ้าไม่มีความเข้าใจทุกคำที่พระองค์ตรัส.

- เพราะฉะนั้น ใช้คำธรรมดาที่คนเข้าใจได้ เมื่อเขาเข้าใจแล้วก็บอกเขาว่า ภาษาบาลีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำนี้ ที่เขาเข้าใจไม่ต้องไปคิดคำว่าจะต้องเป็นภาษาฮินดี ใช้คำอะไรอย่างนั้น นั่นคือความเข้าใจคำในภาษาฮินดี แต่นี่คือความเข้าใจความจริงในภาษาธรรมดาแล้วสามารถที่จะรู้ว่าคำนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาษาบาลีว่าอย่างไร.

- ถึงแม้เขาพยายามใช้คำในภาษาฮินดีที่คิดว่าตรงกับความหมาย แต่คนไม่เข้าใจธรรมไม่สามารถจะเข้าใจได้ แต่ถ้าเขาเข้าใจธรรมคำไหนภาษาอะไรก็เข้าใจถูกต้อง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำนี้ในภาษามคธี ไม่ต้องไปคิดถึงคำอื่นภาษาอื่น.

- เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจ ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีตามความเป็นจริงในภาษาของตนๆ ภาษาอะไรก็ได้ เมื่อเข้าใจแล้วใช้คำไหนได้หมด แต่ต้องให้เข้าใจ ว่า พระองค์ตรัสให้เข้าใจสิ่งที่มี จึงจะเป็นการศึกษาธรรม จึงจะเป็นการรู้จักธรรม จึงจะเป็นการรู้ ว่า ธรรมคืออะไร.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และกราบยินดีในกุศลจิตของคุณสุคิน ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 8 เม.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น ฟังสิ่งที่มีจริง ต้องกล่าวภาษาบาลีไหม หรือภาษาฮินดี หรือภาษาอังกฤษ หรือภาษาอะไร? ฟังเพื่อให้รู้ความจริงเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมี พอเข้าใจแล้วเรารู้ว่าเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสขึ้น เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคำว่าธรรม เราไม่เคยรู้จักคำนี้มาก่อนเลย แต่เราสามารถรู้ว่า เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ พอเข้าใจแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่มีจริงนี้เป็นธรรม.

- ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจทีละคำ เมื่อเข้าใจสิ่งที่มีทุกคำที่เป็นจริง เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาษามคธีซึ่งเป็นภาษาบาลี

- คุณอาช่าเข้าใจในภาษาของคุณอาช่า ดิฉันเข้าใจในภาษาไทย ว่า ความจริง สิ่งที่มีจริง ภาษาบาลีใช้คำว่า ธรรม กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ ตรง แต่ว่าใช้คำต่างกันเท่านั้นเอง.

- ถ้าคุณอาช่าเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงนี้แหละเป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส แต่มีคนอื่นบอกว่าไม่ใช่ธรรม คุณอาช่าเชื่อไหม? (ไม่เชื่อ) เขาเข้าใจไหม? (เข้าใจ ยกตัวอย่างว่า มีคนที่เรียกตัวเองเป็นผู้ชำนาญในธรรม มาบอกว่า ธรรมมีความหมายไม่ได้ตรงตามที่เขาคิด เขาก็บอกว่า เขาไม่เชื่อ) เพราะฉะนั้น ความเข้าใจสำคัญที่สุด แล้วก็รู้ว่าภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ คำนี้ หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้น เราเข้าใจและเรารู้ความหมายที่ตรัสตรงกับที่เข้าใจถูกต้อง ต่อไปนี้อย่าลืมนะ ไม่ต้องไปสนใจภาษาบาลี จิตตะ เจตสิกกะ แต่เข้าใจก่อน พอเข้าใจแล้วรู้ว่า นี่ภาษาบาลีใช้คำนี้ ถูกต้องไหม? (ถูก) .

- ถ้าไม่เข้าใจคำว่า ธรรม คนหนึ่งแปลอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งแปลอีกอย่างหนึ่ง แต่คนที่เข้าใจธรรมรู้ว่า คือ สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ คนที่เข้าใจความจริงก็รู้ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 8 เม.ย. 2566

- เดี๋ยวนี้คุณอาช่ารู้จักธรรมหรือเปล่า? (เริ่มเข้าใจ) มีจริงหรือเปล่า เดี๋ยวนี้มีธรรมไหม? (มี) เดี๋ยวนี้มีธรรมอะไร? (มีเห็น) นี่แหละศึกษาธรรมใช่ไหม? (ใช่) ศึกษาให้เข้าใจเห็นใช่ไหม? (ใช่) ทุกคนไม่รู้จักเห็นซึ่งกำลังเห็นใช่ไหม? (ใช่) มีเห็น ยังไม่รู้จักเห็น ฟังธรรมเพื่อเข้าใจเห็น รู้จักคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ขณะนี้? เห็นขณะนี้ลึกซึ้งไหม? (ลึกซึ้งมาก) ทำไมว่าลึกซึ้ง? (รู้ว่ามีอยู่ ก็ไม่เข้าใจ) เพราะฉะนั้น เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม? เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ตรัสว่า เห็นมีจริง.

- ค่อยๆ คิดนะ เห็นเกิดขึ้นเห็นจึงมีสิ่งที่ถูกเห็น ถ้าเห็นไม่เกิดขึ้นจะมีพระจันทร์ มีพระอาทิตย์ มีบ้าน มีแม่น้ำ มีภูเขา มีทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏให้เห็นไหม? (ไม่มี) เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นไม่เกิดไม่มีอะไรปรากฏ เพราะเห็นเกิดจึงรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร สีต่างๆ ใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น เห็นคือการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏให้เห็นใช่ไหม? (ใช่) ขณะที่ได้ยินมีอะไร? (มีเสียง) เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีได้ยินเกิดขึ้น เสียงจะปรากฏว่ามีได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น มีการรู้สิ่งที่ปรากฏต่างๆ คือเห็น มีการรู้เสียงที่กำลังได้ยินเมื่อได้ยินเกิดใช่ไหมมีสภาพรู้ เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีภาพรู้ที่เกิดขึ้นรู้ทุกสิ่งที่ปรากฏใช่ไหม? (ใช่) อะไรเป็นธรรม? (คุณสุคิน: เพื่อความแน่ใจ ท่านอาจารย์ถามหมายถึงว่าเราพูดถึงทุกอย่างที่ปรากฏตอนนี้เป็นเพราะมีธาตุรู้ เพราะฉะนั้น คำถามมีว่า เวลานี้มีอะไร แกตอบว่า มีจิตครับ) ดิฉันไม่ได้ใช้คำว่า จิต ใช่ไหม ทำไมไปพูดถึงเรื่องจิต กำลังพูดถึงเรื่องอะไร? (ก็คือ ตามที่เข้าใจ และคำที่เคยใช้จึงตอบว่า จิต) ถ้าเขาจำแต่คำว่า จิต เขาจะไม่รู้จักสภาพรู้ (เข้าใจ) เพราะฉะนั้น กำลังพูดเรื่องอะไรเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังพูดใช่ไหม? (ใช่) ถ้ามีคนบอกว่า จิตเห็น เขาจำคำว่าจิตเห็นได้ แต่เขาจะไม่เข้าใจ เห็น กับ จิตเห็น เป็นอย่างไรต่างกันหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ ธรรมละเอียดลึกซึ้ง ไม่สามารถจะเข้าใจได้ ถ้าถามคำนี้แล้วไปตอบอีกอย่างหนึ่ง.

- คำเดียวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องฟังแล้วฟังอีก ฟังแล้วฟังอีก หลายๆ นัยที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นการศึกษาธรรม คือ สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ เห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง.

- ถามใหม่ คิดให้ละเอียด เดี๋ยวนี้มีอะไร? (มีสิ่งที่เห็น) มีสิ่งที่ถูกเห็นหรือเห็น? (คุณสุคิน: อาช่าตอบว่าเกิดพร้อมกัน ผมก็บอกว่าแต่ก็รู้อย่างเดียวใช่ไหมผมก็ย้อนกลับไป แกก็ตอบว่าเป็นสิ่งที่เห็น ถูกเห็น แกก็ยังคิดว่า บางทีรู้เห็น บางทีรู้สิ่งที่ถูกเห็น) นั่นคือคิด (คิดค่ะ) เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้กำลังเห็น ไม่ต้องคิดถึงอะไรเลย มีเห็นใช่ไหม? (มี) การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจเห็นที่กำลังเห็น ว่า เห็นคืออะไร มิเช่นนั้นแล้วไม่ใช่การศึกษาธรรมไม่มีธรรมให้ศึกษา แต่เดี๋ยวนี้มี เห็น การศึกษาธรรมเพื่อรู้ความจริง ว่า เห็นคืออะไร เพราะฉะนั้น เห็นคืออะไร? (เป็นสิ่งที่มีจริง) นั่นซิคะแล้วเป็นอะไร สิ่งที่มีจริง จริงหมดเลย แล้วเห็นเป็นอะไร? (เป็นสิ่งที่รู้กำลังรู้) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ใช่ไหม? (ใช่) กำลังได้ยิน มีธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้เสียงที่ได้ยินใช่ไหม? (ใช่) วันหนึ่งๆ เขาคิดหรือเปล่า? (มีโอกาสคิดก็คิดบ้าง) คิดตลอดเวลาหรือเปล่า หรือบางขณะเกิดขึ้นเท่านั้นเอง? (เป็นบางครั้ง) วันหนึ่งๆ อะไรมาก? (มากก็คือ ไม่เคยคิดเรื่องนี้) เดี๋ยวก่อน ไม่เคยคิด กำลังคิดใช่ไหม ว่า ไม่เคยคิด (คุณสุคิน: เมื่อกี๊ ผมเข้าใจคำถามท่านอาจารย์ว่า วันๆ เคยคิดไหมว่าเช่น ได้ยินเกิดขึ้นรู้เสียง ผมก็ถามตรงนี้ไป แกก็บอกว่ามีคิดบ้าง) ถามว่า วันหนึ่งๆ มีอะไรมาก? (ความไม่รู้) ถามอีกอย่างตอบอีกอย่างนะ เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ เห็น มาก หรือ คิด มาก? (มีคิดมาก คิดเกิดเยอะมากกว่า) เพราะฉะนั้น ทั้งวันมีอะไรมาก ทั้งวันมีอะไร? (มีคิด) คิดถึงอะไร? (คิดเรื่องสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน) เพราะฉะนั้น ทั้งวันมีอะไร? (ทั้งวันมีคิด) เท่านั้นหรือ มีคิดทั้งวัน (เมื่อกี๊แกก็ตอบว่า มีคิด มีได้ยิน มี.. ผมเลยบอกว่าใช้คำเดียว แกเลยบอกว่าคิด) ถามอีกที ทั้งวันมีอะไร? (ความคิดมีทั้งวันว่าอะไรเกิด แล้วก็ดับตลอดเวลา แต่ไม่ได้เจาะจงว่าอะไร) ไม่เจาะจง แต่ถามสั้นมาก และเป็นความจริงที่สุด ทั้งวันมีอะไร? (ทั้งวันมีจิต) เห็นไหม ใช้คำว่า จิต อีกแล้ว เปลี่ยนได้ไหม? (มีการรู้) เพราะฉะนั้น แทนที่จะใช้คำว่า จิต โดยไม่รู้จักจิต เมื่อไม่ใช้คำว่าจิตแต่เข้าใจว่าจิตคืออะไร (เข้าใจ) ตอบใหม่ (ท่านอาจารย์ถามใหม่) ถามว่าทั้งวันมีอะไร ทั้งวันเลย ทั้งวันเลยมีอะไร? (มีสิ่งที่มีจริง รู้อะไรตลอดเวลา) เพราะฉะนั้น ถ้าเขาเข้าใจจริงๆ เขาจะตอบตรง ไม่ใช้เพียงคำ แต่เป็นความเข้าใจว่า ทั้งวันมีธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ ไม่เคยขาดเลย.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 8 เม.ย. 2566

- มีโกรธทั้งวันไหม? (ไม่ทั้งวัน) มีเห็นทั้งวันไหม? (ไม่) มีคิดทั้งวันไหม? (ไม่) มีชอบทั้งวันไหม? (ไม่) มีเบื่อทั้งวันไหม? (ไม่) มีอะไรทั้งวัน? (มีสิ่งนั้นที่รู้สักอย่าง) มีธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้ทั้งวันถูกต้องไหม? (ถูก) ธาตุรู้ที่ไม่ใช่โกรธ ธาตุรู้ที่ไม่ใช่จำ ธาตุรู้ที่ไม่ใช่ชอบ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดบ้างไม่เกิดบ้าง แต่มีธาตุรู้ที่เกิดขึ้นทั้งวัน เป็นใหญ่เป็นประธาน ขาดไม่ได้เลย ถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดอะไรก็ไม่มีทั้งนั้นที่จะปรากฏ เริ่มเข้าใจความจริงของ คำ ที่เราใช้ว่า จิตตะ ใช่ไหม? เพราะฉะนั้น จิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้น และทำให้อย่างอื่นเกิดร่วมด้วย และทำให้ปรากฏสิ่งต่างๆ ถ้าไม่มีจิต อะไรก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามอำนาจของจิต ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้.

- ขณะเห็น อะไรเห็น? (จิต) อธิบายอีกครั้งซิว่า จิตคืออะไร? (จิตเป็นธาตุที่รู้อารมณ์) จิตเป็นธาตุที่รู้ แต่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่รู้เท่านั้น เกิดขึ้นเพื่อรู้แจ้งสิ่งที่กำลังรู้ทุกอย่าง ขณะไหนไม่มีจิต? (ไม่มี) ขณะเกิดครั้งแรก ขณะแรก มีจิตไหม? (มี) ถ้าไม่มีจิตจะเป็นการเกิดขึ้นไหมของสิ่งที่มีชีวิต? (ไม่มี) ขณะเกิดมีจิตไหม? (มี) จิตขณะนั้นรู้อะไรหรือเปล่า? (รู้) รู้อะไร? (ไม่ทราบ) แต่มีจิตไหม? (มี) จิตต้องรู้ เกิดขึ้นต้องรู้ใช่ไหม? (ใช่) นั่นล่ะ ลักษณะจริงๆ ของจิต.

- ขณะใดที่สิ่งที่จิตรู้ปรากฏ ขณะนั้นจิตไม่ได้ปรากฏ (อาคิ่ล ตอบว่าถูกต้อง) ถ้าเราตอบแต่เพียงคำว่า จิต จะมีแต่คำว่าจิต แต่ไม่รู้ว่า จิตคืออะไร ไม่มีทางที่จะรู้ธรรมที่ได้ยินบ่อยๆ แต่ไม่คิด (ท่านอาจารย์ครับ สับสนกับความเข้าใจว่า สิ่งที่ปรากฏก็คือสิ่งที่ปรากฏที่จิตรู้ปรากฏ ตัวจิตเองไม่ปรากฏ แกยังไม่เข้าใจคำว่าปรากฏ แกคิดว่ามีอยู่ ก็เลยงงว่า จิตไม่มีหรือ แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า ยกตัวอย่างเห็น ถ้าสีปรากฏ เห็นไม่ปรากฏ) เข้าใจแล้วใช่ไหม? (เข้าใจแล้ว) .

- เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจจิตเท่านั้น ไม่ใช่อย่างอื่น ต้องเข้าใจจิตซึ่งเป็นธาตุรู้เท่านั้น ไม่ว่าอารมณ์จะปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่ขณะใดที่จิตเกิด ต้องรู้ ใช่ไหม? (ใช่) .

- ก่อนเห็นมีอะไร? (มีจิตอื่น) มีธาตุรู้ (ครับ) คำตอบที่ว่า ก่อนเห็นมีจิตอื่นมีธาตุรู้อื่น เพราะฉะนั้น ถามว่า ก่อนเห็น มีจิตอะไรที่ไม่ใช่เห็น? (ภวังค์) ตอบชื่ออีกแล้วใช่ไหม? (ใช่ ตอบชื่อ) ภวังค์คืออะไร? (เป็นจิตชนิดหนึ่ง) แน่นอนเป็นจิต แต่เป็นจิตไหนที่ว่าเป็นจิตชนิดหนึ่ง? (วิบาก) เอาอีกแล้ว เดี๋ยวก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ๆ แต่ถามเรื่องจิต ถามว่าก่อนที่จะเป็นจิตเห็น มีจิตไหม? และจิตนั้นเป็นจิตอะไร? ไม่ใช่ให้ตอบว่า ภวังค์ พอตอบว่าภวังค์ ก็เป็นชื่อไปหมดแล้ว (คุณสุคิน: ผมถามผิดเองครับ ผมถามว่าเป็นจิตชนิดไหนครับ) จะไม่ถามเรื่องจิตชนิดไหนทั้งสิ้น ฟังคำถามดีๆ (เป็นธาตุรู้) จิตเกิดเมื่อไหร่เป็นธาตุรู้ทั้งนั้น แต่ถามว่า ก่อนเห็น มีธาตุรู้ใช่ไหม ธาตุรู้ขณะที่ก่อนเห็น ธาตุรู้นั้นรู้อะไร? (ไม่ทราบ) แล้วตอนเกิดมีธาตุรู้ไหม? (มี) ธาตุรู้ขณะที่เกิด รู้อะไร? (รู้ว่าต้องมีอารมณ์ แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร) เพราะฉะนั้น ตอนนั้นเป็นอย่างนี้ แลัวก่อนเห็นก็เป็นอย่างนี้หรือเปล่า? (เป็น) แต่ ขณะนี้ที่ก่อนเห็น ไม่ใช่ขณะเกิด แต่จิตประเภทเดียวกันเหมือนกันใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น มีจิตขณะไหนบ้างที่เหมือนกับ ขณะเกิด ที่อารมณ์ไม่ปรากฏ (คุณสุคิน: คำตอบคือ ภวังค์ ผมเลยถามต่อว่า พูดได้มากกว่านี้ไหมว่าเมื่อไหร่มีภวังค์ รู้ได้อย่างไร เขาบอกว่าต้องมีการดำรงชีวิตอยู่) นี่ก็เป็นเรื่อง แต่ถ้าพูดถึงธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ที่เราใช้คำว่าจิต เราได้ยินคำนี้บ่อยๆ แต่เราไม่สามารถที่จะรู้ความเป็นจิตซึ่งต่างกับธรรมอื่นทั้งหมด เพราะธรรมแต่ละหนึ่ง มีลักษณะหนึ่ง ปนกันไม่ได้เป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ ฟังเพื่อเข้าใจธรรม ต้องทีละหนึ่ง ถ้าไม่เข้าใจหนึ่งโดยละเอียดอย่างยิ่ง ก็จะปนกัน.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 8 เม.ย. 2566

- การที่จะเข้าใจธรรม ต้องทีละหนึ่ง ถ้าไม่เข้าใจหนึ่งโดยละเอียดอย่างยิ่งก็จะปนกันหมด เราไม่ใช่เพียงจำชื่อว่า จิต แต่เราต้องเริ่มรู้จักจิต และเข้าใจจิตที่กำลังมี ต้องมั่นคงในลักษณะของธรรมที่เกิดขึ้นรู้อย่างเดียว เป็นใหญ่เป็นประธานรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ไม่มีอะไรที่จะรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ นอกจากธรรมนี้อย่างเดียวเท่านั้น.

- เพราะฉะนั้น จิตเกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ใช่ไหม? (ใช่) ธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้น ขณะเกิด มีจิตเกิดไหม? (มี) ถ้าจิตไม่เกิด ธาตุรู้ไม่เกิด จะกล่าวว่า มีสิ่งที่มีชีวิตเกิดได้ไหม? (ไม่ได้) .

- ขณะเกิด จิตรู้อารมณ์หรือเปล่า? (รู้) ไม่รู้ได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น ขณะเกิด จิตรู้อารมณ์อะไร? (คุณสุคิน: รู้อารมณ์ ผมถามต่อว่ารู้อารมณ์อะไร? เขาตอบว่าเป็นอารมณ์จากชาติก่อน) เขารู้หรือ? (เขาอ่านมา) อ่านมาแล้วรู้หรือ? (ไม่รู้) เพราะฉะนั้น ต้องตรงสำคัญที่สุด สัจจบารมี ถ้าถามว่า ขณะเกิดมีจิต จิตรู้อารมณ์แน่นอน อารมณ์อะไร ตอบซิ สัจจะ ตรง (ไม่ทราบว่า จิตขณะเกิดมีอารมณ์อะไรไม่ทราบครับ) นี่ซิค่ะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ตรงไหม ไม่มีใครรู้ แต่รู้แน่นอนว่า มีจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ แต่อารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นปรากฏก็มี ไม่ปรากฏก็มี.

- ถ้าอารมณ์ไม่ปรากฏเลย จะรู้ไหมว่า มีจิตที่อารมณ์ปรากฏ และมีจิตที่อารมณ์ไม่ปรากฏ? (ไม่รู้เลย) เพราะฉะนั้น ต้องตรงตามความเป็นจริง มีขณะไหนบ้างที่อารมณ์ไม่ปรากฏ (อาคิล อาช่า ตอบว่า ภวังค์, มาธุ ตอบว่า ..) ใครบ้างที่รู้ว่า อารมณ์ไม่ปรากฏ (ทั้งสามคนตอบว่า ภวังค์) ฟังดีๆ ฟังคำถาม แล้วก็คิด แล้วก็ตอบ ถามว่า มีขณะไหนบ้างในวันหนึ่งที่อารมณ์ไม่ปรากฏ ขณะไหน ไม่ได้ถามว่าชื่ออะไร แต่ถามว่า ขณะไหนบ้างที่อารมณ์ไม่ปรากฏ? (ขณะนอนหลับ) นี่ละคือ คำตอบให้รู้ความจริง ยังไม่ใช้ชื่อ ค่อยๆ เข้าใจจิต กว่าจะเข้าใจจิตได้ ก็รู้ว่าจิตต้องเป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ที่ปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่ว่า ต้องรู้ เพราะฉะนั้น ชีวิตประจำวันเป็นเครื่องให้รู้ว่า มีจิตที่ไม่ปรากฏขณะไหนเช่น ขณะนอนหลับสนิท ขณะเกิดนั้นแน่นอนใช่ไหม หนึ่งขณะ ต่อจากนั้นก็ไม่มีอะไรปรากฏ ขณะที่หลับสนิทก็ไม่มีอะไรปรากฏ แต่ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเลย จะรู้ไหมว่า มีจิต? (ถ้าไม่มีอะไรปรากฏ ก็ไม่รู้ว่ามีจิต) เพราะฉะนั้น เมื่อมีอารมณ์ปรากฏ ก็รู้ว่า มีจิตที่อารมณ์ไม่ปรากฏด้วยใช่ไหม? (ใช่) . ขณะไหนไม่มีจิต? (ไม่มีขณะไหนที่ไม่มีจิต) ขณะตายเป็นจิตหรือเปล่า? (เป็นจิต) เพราะฉะนั้น ไม่มีขณะที่ไม่มีจิตใช่ไหม? (ใช่) ขณะไหนที่มีจิต แต่ไม่รู้ว่ามีจิต? (ตอนหลับ) ถูกต้อง มั่นคงนะ เพราะฉะนั้น รู้ว่ามีจิตเมื่ออารมณ์ปรากฏใช่ไหม? (ใช่) เมื่อรู้ว่ามีจิต เมื่ออารมณ์ปรากฏ ก็รู้ว่ามีจิตปรากฏด้วยใช่ไหม? (ใช่) .

- ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย จะรู้ไหมว่ามีธาตุรู้ก่อนที่จะเห็น? (ถ้าไม่เข้าใจไม่รู้) เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม? (เห็น) เพราะฉะนั้น ต้องไตร่ตรอง ถามว่า ขณะที่อารมณ์ปรากฏ กับขณะที่อารมณ์ไม่ปรากฏ ลักษณะของจิตต่างกันไหม? (ไม่ต่างกัน) เพราะอะไร ไม่ต่างกันอย่างไร? (เป็นความจริงของจิต เป็นสภาพของจิต) เพราะว่า จิตเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ แม้ว่า อารมณ์จะปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งในอารมณ์นั้น.

- แล้วจิตที่เห็น กับจิตที่ไม่เห็นต่างกันอย่างไร มีอะไรที่ต่างกันบ้าง? มีอะไรที่ต่างกันบ้าง ไม่พูดถึงจิตนะ เพราะจิตต่างไม่ได้? (ต่างกันตรงอันหนึ่งเห็น อีกอันหนึ่งไม่เห็น) นี่เป็นสิ่งซึ่งไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความเข้าใจขึ้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ