Thai-Hindi 08 April 2023
Thai-Hindi 08 April 2023
- วันนี้เราจะต่อเรื่องความเข้าใจพระธรรม เดี๋ยวนี้มีธรรมซึ่งไม่มีใครรู้เลยถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้และทรงแสดง
- มีใครรู้บ้างไหม เดี๋ยวนี้กำลังมีสิ่งที่กำลังมีแต่ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีได้ (อาช่าตอบว่า ถ้าแม้คิดว่าเวลานี้มีความจริงแต่ไม่รู้ก็ไม่คิดเลยถ้าไม่ได้ฟังธรรม)
- เพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดมีสิ่งที่มีจริงทุกขณะ ไม่รู้เลยนานแสนนานมาแล้วแต่ขณะนี้สามารถที่จะเริ่มรู้ความจริง เพราะฉะนั้น “คุณ” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทำให้เริ่มรู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นอะไรมีมากแค่ไหน
- (กำลังหาคำแปลของคำว่า “พระคุณ”) “ความดี” มีไหม ให้เขาเข้าใจก่อน เขาไปหาคำโดยไม่เข้าใจเขาจะไม่สามารถรู้ว่าคำไหน เพราะฉะนั้นเขาต้องเข้าใจก่อนว่า “ความดี” มีไหม (มี)
- อะไรเป็นความดีบ้าง (ให้ทาน ช่วยเหลือคนอื่น) ขณะนั้นเป็นอะไรรู้ไหมที่กำลังให้ทาน (ตอนนี้เข้าใจว่าเป็นกุศลจิตและเจตสิก)
- ขอโทษ พูดอะไรกันไม่รู้ เราไม่พูดถึงอะไรเลย เรากำลังจะหาคำแปล คำที่เหมาะสม แต่ถ้าเราไม่มีความเข้าใจแล้วเราไปคิดถึงจิตเจตสิกแล้วมีประโยชน์อะไร (รบกวนท่านอาจารย์ถามใหม่)
- ถามว่า รู้จักความดีไหม ความดีมีหรือเปล่า อะไรดีบ้าง (ยกตัวอย่างตอนที่ให้ทาน) แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรใช่ไหม กำลังให้ทานก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรใช่ไหม (ไม่รู้)
- เพราะฉะนั้นถ้าสามารถจะรู้ได้ ดีกว่าให้แล้วไม่รู้ไหม (ถ้ารู้ก็ยิ่งดี) เพราะฉะนั้นไม่ใช่เราคิดเอง ฟังทุกคำ ไตร่ตรองให้ละเอียดให้ลึกซึ้ง ไม่สามารถจะเข้าใจได้เพราะถ้าไม่ละเอียดไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่รู้จัก “พระคุณ” แน่นอน
- ไม่ใช่ให้ตอบจิตเจตสิกแต่ให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่ต้องใช้คำ “จิตเจตสิก” ได้ เมื่อเข้าใจแล้วจึงจะรู้แต่ละคำที่เข้าใจภาษาบาลีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสใช้คำอะไรเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่ไปตามคำแต่ต้องเข้าใจ
- ต้องไม่ลืมทุกคำเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ทุกขณะ ไม่ใช่ให้ไปจำเป็นชื่อจิตเจตสิก
- พ่อแม่มีคุณไหม (มี) นอกจากพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงคนอื่นมีคุณต่อเราได้ไหมหรือเปล่า (ไม่ได้) ไม่มีใครมีคุณกับคุณอาช่าเลยนอกจากพ่อแม่หรือ (เข้าใจแต่ลังเลถ้าเป็นคุณระดับพ่อแม่หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะใช้คำอะไรที่สมควร)
- เปลี่ยนความดีซึ่งคนอื่นทำซึ่งเป็นคุณความดีให้ไม่เป็นคุณความดีได้ไหม ความดีนิดเดียวก็เป็นความดี ความดีเพิ่มขึ้นมากขึ้นก็ยังคงเป็นความดีแต่เพิ่มขึ้นใช่ไหม
- เพราะฉะนั้นความดีเป็นความดีเปลี่ยนไม่ได้ แต่ความดีสูงสุดเหนือสิ่งใดหมดก็คือ สามารถให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน แต่ก็ยังเป็นความดีใช่ไหม
- เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ เขาพยายามอธิบายใช้คำที่คนอื่นสามารถที่จะรู้พระคุณสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องกังวลว่าจะใช้คำไหนซึ่งคิดว่าควรจะเข้าใจ แต่ถึงแม้จะใช้คำนั้นเขาไม่เข้าใจเพราะเขาไม่รู้คุณว่า “คุณ” คืออะไร
- ใช้คำธรรมดาให้คนเข้าใจได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีคุณ ทุกคนรู้จัก “ความดี” แต่“ความดีที่ยิ่งใหญ่” สูงที่สุด มากที่สุด ไม่มีใครประมาณได้ถ้าได้มีความเข้าใจทุกคำที่พระองค์ตรัส
- เพราะฉะนั้นใช่คำธรรมดาที่คนเข้าใจได้ เมื่อเขาเข้าใจแล้วก็บอกเขาว่า ภาษาบาลีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำนี้ที่เขาเข้าใจ ไม่ต้องไปคิดคำที่จะต้องเป็นภาษาฮินดีใช้คำอะไรอย่างนั้น นั่นคือความเข้าใจคำในภาษาอินดีแต่นี่คือ “ความเข้าใจความจริง” ในภาษาธรรมดาและสามารถที่จะรู้ว่า คำนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาษาบาลีว่าอย่างไร
- ถึงแม้เขาพยายามใช้คำในภาษาอินดีที่คิดว่าตรงกับความหมาย แต่คนไม่เข้าใจธรรมไม่สามารถจะเข้าใจได้ แต่ถ้าเขาเข้าใจธรรม คำไหน ภาษาอะไร ก็เข้าใจถูกต้องแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำนี้ในภาษามคธีไม่ต้องไปคิดคำมาอีกภาษาอื่น
- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีตามความเป็นจริงในภาษาของตนๆ ภาษาอะไรก็ได้ เมื่อเข้าใจแล้วจะใช้คำไหนได้หมดแต่ต้องให้เข้าใจว่า พระองค์ตรัสให้เข้าใจสิ่งที่มีจึงจะเป็นการ “ศึกษาธรรม” การรู้จักธรรมจึงจะเป็นการรู้ว่าธรรมคืออะไร
- เพราะฉะนั้น “ฟังสิ่งที่มีจริง” เห็นไหมใช้คำนี้ จะต้องกล่าวภาษาบาลีไหม หรือภาษาฮินดีหรือภาษาอังกฤษ ฯลฯ ฟังเพื่อให้รู้ความจริง เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมี
- เพราะฉะนั้นพอเข้าใจแล้วเรารู้ว่า เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส เช่น เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคำว่า “ธรรม” เราไม่เคยรู้คำนี้มาก่อนเลย แต่เราสามารถรู้ว่า เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ พอเข้าใจแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งที่มีจริงๆ นี้แหละเป็นธรรม เรียนคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจทีละคำ เมื่อเข้าใจสิ่งที่มีทุกคำที่เป็นจริงเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาษามคธีซึ่งเป็นภาษาบาลี
- คุณอาช่าเข้าใจในภาษาของคุณอาช่า ดิฉันเข้าใจในภาษาไทยว่า ความจริงสิ่งที่มีจริงภาษาบาลีใช้คำว่า “ธรรม” กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ ตรงแต่ว่าใช้คำต่างกันเท่านั้นเอง
- ถ้าคุณอาช่าเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงนี้แหละเป็นสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส แต่คนอื่นบอกว่าไม่ใช่ “ธรรม” คุณอาช่าเชื่อไหม (ไม่เชื่อ)
- เพราะฉะนั้นความเข้าใจสำคัญที่สุดและรู้ว่าภาษาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำนี้หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นเราเข้าใจและเรารู้ว่าความหมายที่ตรัสตรงกับที่เข้าใจถูกต้อง ต่อไปนี้อย่าลืม ไม่ต้องไปสนใจภาษาบาลี จิต เจตสิก ปัจจย แต่เข้าใจก่อนพอเข้าใจแล้วรู้ว่านี่ภาษาบาลีใช้คำนี้ ถูกต้องไหม
- ถ้าไม่เข้าใจคำว่า “ธรรม” คนหนึ่งแปลอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งแปลอย่างหนึ่งแต่ถ้าคนที่เข้าใจธรรมรู้ว่า คือสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ คนที่เข้าใจความจริงก็รู้ว่า สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม
- เดี๋ยวนี้คุณอาช่ารู้จักธรรมหรือยัง (เริ่มเข้าใจ) มีจริงหรือเปล่า (มีจริง) เดี๋ยวนี้มีธรรมไหม (มี) เดี๋ยวนี้มีธรรมอะไร (มีเห็น) นี่แหละศึกษาธรรมใช่ไหม ศึกษาให้เข้าใจ “เห็น” ใช่ไหมถามว่า ทุกคนไม่รู้จัก “เห็น” ซึ่งกำลังเห็นใช่ไหม
- มีเห็น ยังไม่รู้จักเห็น ฟังธรรมเพื่อเข้าใจเห็น รู้จักคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหมขณะนี้
- เห็นขณะนี้ลึกซึ้งไหม (ลึกซึ้งมาก) ทำไมว่าลึกซึ้ง (เพราะรู้ว่ามีอยู่ตลอดแต่ไม่เข้าใจ) ถูกต้องเพราะฉะนั้นเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ตรัสว่า “เห็นมีจริง”
- ค่อยๆ คิด เห็นเกิดขึ้นเห็นจึงมีสิ่งที่ถูกเห็น ถ้าเห็นไม่เกิดขึ้นจะมีพระจันทร์ มีพระอาทิตย์ มีบ้าน มีแม่น้ำ มีภูเขา มีทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏให้เห็นไหม (ไม่มี)
เพราะฉะนั้นถ้าเห็นไม่เกิดไม่มีอะไรปรากฏ เพราะเห็นเกิดรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร สีต่างๆ ใช่ไหม
- เพราะฉะนั้นเห็นคือ “การรู้” สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ “ปรากฏ” ให้เห็นใช่ไหม
ขณะที่ได้ยินมีอะไร (มีเสียง) เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีได้ยินเกิดขึ้นเสียงจะ “ปรากฏ” ว่ามีได้ไหมเพราะฉะนั้นมี “การรู้” สิ่งที่ปรากฏทางตาคือ “เห็น” มี “การรู้” เสียงที่กำลัง “ได้ยิน” เมื่อได้ยินเกิดมี “สภาพรู้” เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีสภาพรู้ที่เกิดขึ้น “รู้” ทุกสิ่งที่ปรากฏใช่ไหม
- อะไรเป็นธรรม (อาช่าตอบว่ามีจิต) ดิฉันไม่ได้ใช่คำว่า “จิต” ใช่ไหม ทำไมไปคิดถึงคำว่า“จิต” กำลังพูดถึงเรื่องอะไร (ตามที่เข้าใจและคำที่เคยใช้จึงตอบว่า จิต) ถ้าเขา “จำ” แต่คำว่า จิต เขาจะไม่รู้จักสภาพรู้
- เพราะฉะนั้นกำลังพูดเรื่องอะไรเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังพูดใช่ไหม ถ้ามีคนบอกว่า “จิตเห็น” เขาจำคำว่าจิตเห็นได้ แต่เขาจะไม่เข้าใจ “เห็น” กับ “จิตเห็น” ต่างกันหรือเปล่า
- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ ธรรมละเอียดลึกซึ้ง ไม่สามารถจะเข้าใจได้ถ้าถามคำนี้แล้วไปตอบอีกอย่างหนึ่ง
- คำเดียวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องฟังแล้วฟังอีกๆ หลายๆ นัยที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นการศึกษาธรรมที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง
- ถามใหม่ คิดให้ละเอียด เดี๋ยวนี้มีอะไร (มีสิ่งที่เห็น) มีสิ่งที่ถูกเห็นหรือเห็น (อาช่าตอบว่าเกิดพร้อมกัน บางทีอาจจะรู้เห็น บางทีอาจจะรู้สิ่งที่ถูกเห็น) นั่นคือคิด
เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้กำลังเห็น ไม่ต้องคิดถึงอะไรเลย มีเห็นใช่ไหม
- การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นว่า เห็นคืออะไร มิฉะนั้นแล้วไม่ใช่การศึกษาธรรมไม่มีธรรมที่จะศึกษาแต่เดี๋ยวนี้มีเห็น การศึกษาธรรมเพื่อรู้ความจริงว่า เห็นคืออะไร
- เพราะฉะนั้นเห็นคืออะไร (เป็นสิ่งที่มีจริง) นั่นสิแล้วเป็นอะไร สิ่งที่มีจริงจริงหมดเลยแล้วเห็นเป็นอะไร (เป็นที่รู้ กำลังรู้) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ใช่ไหม
- กำลังได้ยินมีธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้เสียงที่ได้ยินใช่ไหม เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ เขาคิดหรือเปล่า (บางทีมีโอกาสคิดบ้าง) คิดตลอดเวลาหรือเปล่า หรือบางขณะเกิดขึ้นเท่านั้นเอง (เป็นบางครั้งบางคราว) วันหนึ่งๆ มีอะไรมาก
- วันหนึ่งๆ เห็นมากหรือคิดมาก (คิดมาก) เพราะฉะนั้นทั้งวันมีอะไร (มีคิด) คิดเป็นอะไร (คิดแต่เรื่องที่เห็นที่ได้ยิน) เพราะฉะนั้นทั้งวันมีอะไร (มีคิด) เท่านั้นหรือ คิดทั้งวันหรือ
- ถามอีกที ทั้งวันมีอะไร (มีอะไรเกิดดับตลอดเวลาแต่ไม่ได้เจาะจงว่าอะไร) ไม่เจาะจงแต่ถามสั้นมากและเป็นความจริงถึงที่สุด ทั้งวันมีอะไร (ทั้งวันมีจิต)
- เห็นไหม ใช้คำว่าจิตอีกแล้ว เปลี่ยนได้ไหม (มีการรู้) เพราะฉะนั้นแทนที่จะใช้คำว่าจิตโดยไม่รู้จักจิต จะเริ่มรู้จักจิตไม่ใช่คำว่าจิตแต่เข้าใจว่า จิตคืออะไร
- ทั้งวันมีอะไร ทั้งวันเลยมีอะไร (มีสิ่งที่มีจริงที่รู้อะไรสักอย่างหนึ่งอยู่ตลอดเวลา) เพราะฉะนั้นถ้าเขาเข้าใจจริงๆ เขาจะตอบตรงไม่ใช้เพียงคำแต่เป็นความเข้าใจว่าทั้งวันมี “ธาตุรู้” เกิดขึ้นรู้ไม่เคยขาดเลย
- มีโกรธทั้งวันไหม (ไม่ทั้งวัน) มีเห็นทั้งวันไหม (ไม่) มีคิดทั้งวันไหม (ไม่) มีชอบทั้งวันไหม (ไม่) มีเบื่อทั้งวันไหม (ไม่) มีอะไรทั้งวัน (มีสิ่งนั้นที่รู้สักอย่าง) มี “ธาตุรู้” ที่เกิดขึ้นรู้ทั้งวัน ถูกต้องไหม
- ธาตุรู้ที่ไม่ใช่โกรธ ธาตุรู้ที่ไม่ใช่จำ ธาตุรู้ที่ไม่ใช่ชอบเพราะสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดบ้างไม่เกิดบ้าง แต่มีธาตุรู้ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งวันเป็นใหญ่เป็นประธานขาดไม่ได้เลย ถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดอะไรก็ไม่มีทั้งนั้นที่จะปรากฏ
- เริ่มเข้าใจความจริงของคำที่เราใช้ว่า “จิต” ได้ไหม เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้นและทำให้อย่างอื่นเกิดร่วมด้วยและทำให้ปรากฏสิ่งต่างๆ ถ้าไม่มีจิตอะไรก็ไม่มี เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นไปตามอำนาจของจิตตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
- ขณะเห็น อะไรเห็น (เป็นจิต) อธิบายอีกครั้ง จิตเป็นอย่างไร (จิตเป็นธาตุนั้นที่รู้ รู้อารมณ์) จิตเป็นธาตุที่รู้แต่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่รู้เท่านั้น เกิดขึ้นเพื่อ “รู้แจ้ง” สิ่งที่กำลังรู้ทุกอย่าง
- ขณะไหนไม่มีจิต (ไม่มี) ขณะเกิดครั้งแรกขณะแรกมีจิตไหม (มี) ถ้าไม่มีจิตจะเป็นการเกิดขึ้นของสิ่งที่มีชีวิตไหม ขณะเกิดมีจิตไหม (มี) จิตขณะนั้นรู้อะไรหรือเปล่า (รู้) รู้อะไร (ไม่ทราบว่าปฏิสนธิรู้อะไร) แต่มีจิตไหม (มี) จิตต้องรู้ เกิดขึ้นรู้ใช่ไหม (ใช่) นั่นแหละลักษณะจริงๆ ของจิต รู้สิ่งที่ปรากฏ
ขณะใดที่สิ่งที่จิตรู้ปรากฏขณะนั้นจิตไม่ได้ปรากฏ
- ถ้าเราตอบแต่เพียงคำว่า จิต จะมีแต่คำว่าจิตแต่ไม่รู้ว่า จิตคืออะไร ไม่มีทางที่จะรู้ธรรม ได้ยินบ่อยๆ แต่ไม่คิด
- (คุณอาช่าตอนแรกสับสนคำว่า ปรากฏ ตอนนี้เข้าใจแล้ว) เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจ “จิต” เท่านั้นไม่ใช่อย่างอื่น ต้องเข้าใจจิตซึ่งเป็น “ธาตุรู้” เท่านั้นไม่ว่าอารมณ์ปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่ขณะใดจิตเกิดต้อง “รู้” ใช่ไหม
- ก่อนเห็นมีอะไร (มีจิตอื่น) มีธาตุรู้ คำตอบที่ว่า “ก่อนเห็นมีจิตอื่นมีธาตุรู้อื่น” เพราะฉะนั้นถามว่า ก่อนเห็นมีจิตอะไรที่ไม่ใช่เห็นเพราะ “ก่อนเห็น” (เป็นภวังค์) ตอบชื่ออีกแล้วใช่ไหม
- เพราะฉะนั้น ภวังค์ คืออะไร (เป็นจิตชนิดหนึ่ง) แน่นอนแต่เป็นอะไร จิตไหน (เป็นวิบาก) ไปอีกแล้วเดี๋ยวก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ๆ แต่ถามเรื่องจิต ถามว่าก่อนที่จะเป็นจิตเห็นมีจิตไหมและจิตนั้นเป็นจิตอะไร ไม่ใช่ตอบว่า ภวังค์ เพราะเป็นชื่อไปหมดแล้ว
- (เป็นธาตุที่รู้) ทุกอย่างเป็นจิตเกิดเมื่อไหร่เป็นธาตุที่รู้ทั้งนั้นแต่ถามว่า ก่อนเห็นมีธาตุใช่ไหม ธาตุรู้ขณะที่ก่อนเห็นธาตุรู้นั้นรู้อะไร (ไม่ทราบ)
- ตอนเกิดมีธาตุรู้ไหม ธาตุรู้ขณะที่เกิดรู้อะไร (รู้ว่ามีอารมณ์แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร) เพราะฉะนั้นตอนนั้นเป็นอย่างนี้แล้วก่อนเห็นเป็นอย่างนี้หรือเปล่า แต่ขณะนี้ที่ก่อนเห็นไม่ใช่ขณะเกิดแต่จิตประเภทเดียวกันเหมือนกันใช่ไหม
- เพราะฉะนั้นมีจิตขณะไหนบ้างที่เหมือนกับขณะเกิดที่อารมณ์ไม่ปรากฏ (คุณอาคิ่ลตอบว่าภวังค์เพราะรู้ว่ามีการดำรงชีวิตอยู่) นี่ก็เป็นเรื่องแต่ถ้าพูดถึงธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ที่เราใช้คำว่า จิต เราได้ยินคำนี้บ่อยๆ แต่เราไม่สามารถที่จะรู้ “ความเป็นจิต” ซึ่งต่างกับธรรมอื่นทั้งหมดเพราะธรรมแต่ละ ๑ มีลักษณะ ๑ รวมกันไม่ได้เป็น
- จิตเกิดขึ้นต้องรู้แต่ละ ๑ จริงๆ
- การที่จะเข้าใจธรรมต้องที่ละ ๑ ถ้าไม่เข้าใจ ๑ โดยละเอียดอย่างยิ่งก็จะปนกันหมด เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่เพียงจำชื่อว่าจิตแต่เราต้องเริ่มรู้จักและเข้าใจจิตที่กำลังมี
- ต้องมั่นคงในลักษณะของธรรมที่เกิดขึ้น “รู้” อย่างเดียว เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ ไม่มีอะไรที่จะ “รู้แจ้ง” สิ่งที่ปรากฏนอกจากธรรมนี้อย่างเดียวเท่านั้น
- จิตเกิดขึ้น “ต้องรู้” ไม่รู้ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นจิตเป็นธาตุรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นขณะเกิดมีจิตเกิดไหม ถ้าจิตไม่เกิดธาตุรู้ไม่เกิดจะกล่าวว่า มีสิ่งที่มีชีวิตเกิดได้ไหม
- ขณะเกิดจิตรู้อารมณ์หรือเปล่า (รู้) ไม่รู้ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นขณะเกิดจิตรู้อารมณ์อะไร (อารมณ์จากชาติก่อน) เขารู้หรือ (อ่านมา) อ่านมาแล้วรู้หรือ (ไม่รู้)
- เพราะฉะนั้นต้องตรง สำคัญที่สุด สัจจบารมี ถ้าถามว่า ขณะเกิดมีจิต จิตรู้อารมณ์แน่นอน อารมณ์อะไร (จิตตอนที่เกิดรู้อารมณ์อะไรไม่ทราบ)
- นี่เป็นคำตอบที่ถูกต้อง ตรงไหม ไม่มีใครรู้แต่รู้แน่นอนว่า มีจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์แต่อารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นปรากฏก็มีไม่ปรากฏก็มี
- ฟังดีๆ ถ้าอารมณ์ไม่ปรากฏเลยจะรู้ไหมว่า มีจิตที่อารมณ์ปรากฏและมีจิตที่อารมณ์ไม่ปรากฏ (ไม่รู้เลย)
- เพราะฉะนั้นต้องตรงตามความเป็นจริง มีขณะไหนบ้างที่รู้ว่าอารมณ์ไม่ปรากฏ (ภวังค์) ไม่ถามชื่อ ฟังดีๆ ฟังคำถามและคิดแล้วตอบ ถามว่า มีขณะไหนบ้างในวันหนึ่งๆ ที่อารมณ์ไม่ปรากฏ ขณะไหนไม่ได้ถามว่าชื่ออะไรแต่ถามว่า ขณะไหนบ้างที่อารมณ์ไม่ได้ปรากฏ (ขณะหลับ)
- นี่แหละคือคำตอบให้รู้ความจริง ยังไม่ใช่ชื่อใช่ไหม ต้องค่อยๆ เข้าใจจิต กว่าจะเข้าใจจิตได้ก็รู้ว่าจิตต้องเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ อารมณ์จะปรากฏหรือไม่ปรากฏแต่ว่าต้องรู้
- เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันเป็นเครื่องให้รู้ว่า มีจิตที่อารมณ์ไม่ปรากฏขณะไหน เช่น ขณะนอนหลับสนิท ขณะเกิดนั้นแน่นอน ๑ ขณะ ต่อจากนั้นก็ไม่มีอะไรปรากฏ ขณะที่หลับสนิทก็ไม่มีอะไรปรากฏแต่ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเลยจะรู้ไหมว่ามีจิต
- เมื่อมีอารมณ์ปรากฏก็รู้ว่า มีจิตที่อารมณ์ไม่ปรากฏด้วยใช่ไหม ขณะไหนไม่มีจิต ขณะตายเป็นจิตหรือเปล่า เพราะฉะนั้นไม่มีสักขณะที่ไม่มีจิตใช่ไหม
- ขณะไหนที่มีจิตแต่ไม่รู้ว่ามีจิต (ตอนหลับ) ถูกต้อง มั่นคง เพราะฉะนั้นรู้ว่ามีจิตเมื่ออารมณืปรากฏใช่ไหม เมื่อรู้ว่ามีจิตเมื่ออารมณ์ปรากฏก็รู้ว่ามีจิตก่อนที่อารมณ์ไม่ปรากฏด้วยใช่ไหม
- ถ้าไม่มีความเข้าใจเลยจะรู้ไหมว่ามี ธาตุรู้ก่อนที่จะเห็น (ถ้าไม่เข้าใจไม่รู้) เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม
- เพราะฉะนั้นต้องไตร่ตรอง ถามว่า ขณะที่อารมณ์ปรากฏกับขณะที่อารมณ์ไม่ปรากฏ ลักษณะของจิตต่างกันไหม (ไม่มีความต่างกัน) เพราะอะไรที่ว่าไม่ต่าง ไม่ต่างกันอย่างไร (เพราะเป็นความจริงของจิตเป็นสภาพของจิต)
- เพราะว่าจิตเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเป็นใหญ่เป็นประะานในการรู้แจ้งอารมณ์ไม่ว่าอารมณ์จะปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์นั้น
- แล้วจิตที่เห็นกับจิตที่ไม่เห็นต่างกันอย่างไร มีอะไรที่ต่างกันบ้างขณะที่เห็นกับขณะที่ไม่เห็นมีอะไรที่ต่างกันบ้าง ไม่พูดถึงจิตเพราะจิตต่างกันไม่ได้ (ต่างกันตรงเห็นกับไม่เห็น)
- นี่เป็นสิ่งซึ่งไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความเข้าใจขึ้น สำหรับวันนี้หมดเวลาแล้วแต่คราวหน้าเราก็จะต่อเรื่องนี้อีกเพราะว่า มีจิตตลอดเวลาแต่การที่จะรู้จักจิตต้องค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีจึงสามารถที่จะรู้จักสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งต่างกันได้ สวัสดีค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขอบพระคุณคุณจิรัชพรรณ์ (คุณซี) ที่กรุณาตรวจคำผิด
กราบยินดีในกุศลคุณสุคิน คุณอาคิ่ล คุณอาช่า และผู้ร่วมสนทนาธรรมไทยฮินดีทุกท่านครับ