การคิด เป็นสังขารขันธ์ หรือ วิญญานขันธ์
การคิด เป็นสังขารขันธ์หรือวิญญานขันธ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การคิด เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมได้แก่จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ที่เป็นไปทางใจ เพราะตามปกติแล้ว จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทาง ๕ ทวาร ทวารหนึ่งทวารใด แล้วต่อด้วยวิถีจิตทางใจ โดยมีภวังคจิตคั่น นี้คือความเป็นจริงของธรรม หรือแม้ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้ถูกต้องกระทบสัมผัส ก็คิดนึกได้ คิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเห็นเคยได้ยิน เป็นต้น สภาพธรรมที่คิด มีจริง เรื่องที่คิดไม่มีจริง ไม่มีใครที่จะไปบังคับบัญชา ไม่ให้สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดเกิดขึ้นเป็นไปได้เลย เพราะธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย
ดังนั้น ในขณะที่คิด อะไรที่มีจริง? ขณะที่คิด ก็ต้องเป็น จิต (วิญญาณขันธ์) และเมื่อจิตเกิดขึ้น ก็ต้องมีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต คือ เจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) ด้วย
ประโยชน์ที่ควรพิจารณา คือ เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ที่สำคัญต้องมีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปเรื่อยๆ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ
... ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ ...
จากคำถามที่ผมถามจะสรุปได้ว่า
คิดเป็นทั้งวิญญานขันธ์และสังขารขันธ์ใช่หรือไม่ครับ
เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ
ขณะที่คิด นั้น ประมวลแล้ว ก็คือ นามขันธ์ ๔ (สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์) เพราะเหตุว่า จิตและเจตสิก เกิดพร้อมกัน ครับ
เรียน ความคิดเห็นที่1และ4 โดย khampan.a
ท่านสรุปว่าความคิดและขณะที่คิด ประมวลแล้วคือ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์) เพราะเหตุว่า จิตและเจตสิก เกิดพร้อมกัน
คำถาม
แสดงว่าทุกครั้งที่คิดเกิดต้องประกอบด้วยเจตนาหรือครับ
1. แล้วความคิดของคนบ้าแล้วลงมือทำร้ายผู้อื่น นั้นประกอบด้วยเจตนาใช่ไหม แต่ทางโลกนิตินัยไม่ถือว่าเจตนาจึงไม่ผิดแต่ต้องรักษาใช่ไหม
2. การคิดอาศัยเจตนา แต่อาศัยเพียง สัญญาและวิญญาณ เท่านั้น มีไหมครับ
ขอบพระคุณครับ
การคิด เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ จิต (วิญญาณ) และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน
เจตนาเจตสิก เป็นสัพพจิตตสาธารณะเจตสิก คือเกิดกับจิตทุกดวง
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวง (รวมทั้งจิตคิด) ได้แก่
๑. ผัสสเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์
๒. เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก หรือ เสวยอารมณ์
๓. สัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จดจำอารมณ์
๔. เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งใจ จงใจ ให้ทำกิจของตนๆ
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์
๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นสภาพที่รักษาสัมปยุตธรรมให้มีชีวิตอยู่ได้
๗. มนสิการเจตสิก เป็นสภาพที่สนใจ ใส่ใจในอารมณ์