ศึกษาเพื่อเข้าใจขึ้นๆ เพื่อละ ไม่ใช่อยากรู้มากๆ _สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๖
- (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ คราวที่แล้วเราเริ่มศึกษาเรื่องความเข้าใจธรรม) เราพูดถึงจิตที่กำลังมีทุกขณะ แต่ว่ามีจิตหลายอย่างมากมาย เราต้องพูดถึงเป็นประเภทๆ เพราะฉะนั้น เราพูดถึงจิตประเภทที่ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีไหม? (เท่าที่สนทนากันเข้าใจว่าเป็นปัญจวิญญาณ เช่น เห็น ได้ยิน ลิ้มรส เป็นจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) คุณอาช่าตอบตรงคำถามหรือเปล่า? (เขาตอบว่า ไม่ตรง ตอนนี้ตอบว่า มี) เห็นไหม เรากำลังจะสนทนาถึงความลึกซึ้ง เราไม่ใช่สนทนาเรื่องราวมีแต่ชื่อแต่ไม่มีความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นความมั่นคงจริงๆ ทุกคำถาม เพราะสามารถที่จะตอบตรงเพราะแสดงเข้าใจว่า มีความลึกซึ้งที่เราจะต้องพูดถึงอีก.
- จิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีไหม? (มี) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ให้เราฟังเพื่อตอบพระองค์ แต่ให้เข้าใจความจริง เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) เดี๋ยวนี้มีจิตประเภทไหน พูดถึงเดี๋ยวนี้? (มีจิตที่ไม่มีเหตุ) เท่านั้นหรือ? (มีทั้งอเหตุกจิต และจิตที่มีเหตุ) เราไม่ใช่พาเขาไปเรื่อยๆ แต่เขาไม่รู้จิตเดี๋ยวนี้ แต่ต้องฟังทุกคำให้มีความมั่นคงว่า เพราะเข้าใจอย่างนี้จึงไม่ใช่เรา.
- เดี๋ยวนี้ คำตอบของเขาตอบว่า มีทั้งจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย และมีทั้งจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะอะไร? (อาช่า: มีจิตที่ไม่มีเหตุเพราะว่า มีการเห็น มีการได้ยิน ... .) ไม่ถามอย่างนั้นนะคุณสุคิน ให้คุณสุคินแปล ขณะนี้ ตามคำตอบของเขา เราไม่ได้ไปไกลเลย ไปที่คำตอบของเขาว่า เขาตอบว่า มีจิตที่ไม่มีเหตุ และมีจิตที่มีเหตุใช่ไหม เพราะอะไร? (อาช่า: เพราะว่า มีเห็น และตามที่เคยฟังมา ... ) ตอบไม่ตรง (มานิช: เพราะว่า มีจิตอยู่ตลอดเวลา และต้องมีจิตทุกประเภทเกิดอยู่) ถูกต้อง เพราะเหตุว่า มีจิตมากทั้งที่มีเหตุ และไม่มีเหตุใช่ไหม? (ใช่) เดี๋ยวนี้รู้ไหมว่าเป็นจิตที่มีเหตุหรือไม่มีเหตุ? (ไม่ทราบ) ถูกต้อง ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง มีใครรู้ไหม? (ไม่มีใครทราบ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า มีจิตที่มีทั้งเหตุและไม่มีเหตุ ถ้าพระองค์ไม่ทรงแสดงมากกว่านี้ต่อไปยิ่งขึ้น เขาจะรู้ไหมว่า ขณะไหนเป็นจิตที่มีเหตุ และขณะไหนเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ? (ถ้าไม่ฟังต่อก็ไม่เข้าใจ) เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสามารถรู้สภาพที่มีจริงเดี๋ยวนี้ได้ไหม? (ไม่ได้) .
- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) รู้หรือยังว่าเป็นจิต? (ไม่ครับ) ถูกต้อง ได้ยินแต่เรื่องของจิต รู้ว่ามีจิต แต่ยังไม่รู้จักจิตใช่ไหม? (ใช่) .
- เริ่มมีความปีติ ได้ฟังคำซึ่งกล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ แต่ไม่เคยรู้สิ่งนั้นจริงๆ เลย (รู้ว่าไม่รู้ แต่อยากจะรู้) แต่เดี๋ยวนี้กำลังเริ่มรู้ใช่ไหม? (มีความสุขที่เริ่มได้ยินความจริง) ยินดีไหมที่มีโอกาสได้ฟังความจริง? (มีความยินดีมากเห็นว่าถ้าไม่ได้ฟังความจริงชีวิตนี้คงไม่มีความหมาย) .
- จะรีบร้อนฟังชื่อเยอะ หรือจะเริ่มรู้ว่า กว่าจะรู้สิ่งที่ได้พูดไปแล้ว ไม่ง่าย? (ไม่รีบจะจำชื่อ และอุปนิสัยตัวเองก็ไม่ชอบจำอยู่แล้ว แต่อยากจะเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน) เพราะฉะนั้น ความปีติไม่ใช่ง่ายที่จะเกิดขึ้น เพราะต้องเกิดเพราะความเข้าใจจริงๆ เท่านั้น ถ้าเข้าใจชื่อจำชื่อ จะปีติหรือ? (ไม่) เมื่อรู้ว่า สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ยากที่จะรู้ได้ แต่เริ่มที่จะได้ยินได้ฟังจึงสามารถที่จะเกิดปีติแม้ไม่มาก แต่ก็เป็นความยินดีที่ได้มีโอกาสได้ยินได้ฟังธรรมที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้จะไม่รู้ว่าถ้าไม่เห็นคุณค่าของพระธรรม จะไม่มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และกราบยินดีในความดีคุณสุคิน ด้วยค่ะ
- เพราะฉะนั้น ไตร่ตรองคำทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีประโยชน์อย่างไร? (ท่านอาจารย์ถามใหม่อีกทีครับ) ถ้าไม่เห็นความจริงที่ได้รับความเข้าใจจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเกิดยินดีไหมที่สามารถค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังมีซึ่งลึกซึ้งที่สุด? (ถ้าไม่เข้าใจก็จะไม่ยินดี) เพราะฉะนั้น จะฟังพระธรรมต่อไปไหม? (ต้องฟังต่อไป) เพราะฉะนั้น เมื่อฟังแล้วมีความเข้าใจถูกในคำของพระองค์และก็รู้ความจริง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ประโยชน์อยู่ตรงไหน อะไรเป็นประโยชน์? (ประโยชน์อยู่ตรงที่ว่า ได้เข้าใจความจริงสิ่งที่ปรากฏ) ประโยชน์ของการรู้ความจริงคืออะไร? (อยู่ที่มีความเข้าใจเอง) เข้าใจแล้ว ประโยชน์อะไร? (มาธุ: ลดความติดข้อง) เพราะฉะนั้น ประโยชน์สูงสุดคือ รู้ความจริง อะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว ปัญญาเท่านั้นที่สามารถที่จะเห็นโทษของสิ่งที่ผิด และเป็นโทษ แล้วก็ละได้.
- ความไม่ดีที่เกิดเพราะความไม่รู้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ มีอะไรบ้างที่ไม่ดี? (ความติดข้อง ความโกรธ อิจฉา ซุบซิบนินทา) ทีละหนึ่งนะ ความติดข้องมีโทษอย่างไร? (อาช่า: ปัญหาคือความเป็นตัวตนเกิดจากความติดข้อง โทษของความติดข้องอยู่ตรงนั้น) ทุจริตทั้งหมดความไม่ดีทั้งหมดทางกาย ทางวาจา ทางใจ เกิดเพราะโลภะใช่ไหม? (ใช่) แต่ทุกคนก็ยังมีโลภะใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น เห็นโทษของโลภะระดับไหน? (เห็นโทษขั้นฟังแล้วเห็นในชีวิตประจำวันนิดๆ หน่อยๆ) ระดับไหน? (ขั้นฟังขั้นปริยัติ) ระดับไหนที่เห็นโทษ? (ระดับที่เข้าใจก็คือตอนที่ปรากฏออกมาทางกาย ทางวาจา) เพราะฉะนั้น เห็นโทษระดับไหน? (ขั้นฟัง) .
- เพราะฉะนั้น ยากมากที่จะเห็นโทษที่ระดับที่เห็นว่า ตราบใดที่โลภะที่เขารู้ว่าเขามีทุกวัน มานะ ความสำคัญตน ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีทุกวัน ไม่สามารถที่จะละคลายดับได้ ถ้าไม่เข้าใจความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เข้าใจถูกต้องว่า ไม่ใช่เขา ไม่ใช่อะไรเลย แต่เป็นธรรม (ตามที่เข้าใจระดับนี้กับความจริงที่จะรู้ถึงระดับนั้นไกลมาก และก็ยากมาก) .
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ถ้าไม่เห็นคุณค่าที่ว่าเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ค่อยๆ ละคลายความไม่ดี จนกระทั่ง สามารถที่จะละทุกอย่างที่ไม่ดีได้หมด ก็เพราะ มีความเข้าใจเท่านั้น จึงศึกษาเพื่อเข้าใจขึ้น เพื่อละ ไม่ใช่เพียงอยากจะรู้มากๆ .
- เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ฟังแต่ละคำ เห็นประโยชน์ว่า เพราะไม่เข้าใจอย่างนี้จึงไม่สามารถที่จะละสิ่งที่ไม่ดี ความเลวทั้งหลายได้.
- แม้แต่ขณะที่เข้าใจก็ไม่ใช่ฉันเข้าใจ เราเข้าใจ แต่ว่าเป็นธรรมถ้าไม่รู้ก็ไม่ได้ละอะไร เพราะฉะนั้น ด้วยการสำนึกอย่างนี้ จึงฟังทุกคำเพื่อเห็นความลึกซึ้งว่า แม้คำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสก็ยังไม่สามารถที่จะได้ยินได้ฟังแล้วละความไม่ดีทั้งหลายได้ แต่ต้องมีความเข้าใจจริงๆ .
- แต่ละคนเกิดมาไม่ว่าแสนโกฏิกัปป์จนถึงเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกันเลย มีผู้ที่รู้ความจริงอย่างละเอียดยิ่งถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับคนที่ไม่รู้อะไรเลยก็มี.
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมลึกซึ้ง มิเช่นนั้นไม่สามารถที่จะละความติดข้อง และความไม่รู้ที่มีทุกวันนานแสนนานมาแล้วได้.
- เพราะฉะนั้น เราจะฟังคำไหนก็ตามต้องไตร่ตรอง เห็นประโยชน์จริงๆ ว่า เพื่อรู้ว่าเป็นสิ่งนั้น ไม่ได้เป็นอะไร ไม่ใช่เรา และไม่ใช่อะไรเลยทั้งสิ้น.
- พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงใน ๔๕ พรรษามากมายมหาศาล แต่ว่า ต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ เข้าใจขึ้นแต่ละคำ.
- ตั้งแต่เกิดมาก็มีเห็น ไม่เคยรู้เลยว่า เห็นเกิด แล้วเห็นก็ดับ เพราะฉะนั้น เมื่อไม่รู้ว่า เห็นเกิดดับ ก็เข้าใจว่าเห็นเป็นเราเห็น เราคิด เราจำ ซึ่งเป็นความไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อให้เข้าใจถูกต้องในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้.
- คำว่า ธรรม หมายถึง สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏให้รู้ได้ จึงเหมือนเข้าใจอย่างนี้ถูกต้อง ง่าย แต่ความจริงยังมีสิ่งที่ไม่ปรากฏแต่จริงด้วย เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ได้ยินคำไหนเข้าใจว่า เป็นสิ่งที่มีจริง ที่ถ้าไม่มีคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่รู้ความจริงของสิ่งนั้นเลย.
- เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ให้รู้ว่า ทุกคำ มีจริงๆ และเรายังไม่รู้จักคำนั้นตามความเป็นจริง จึงต้องฟังเพื่อเข้าใจความจริง เพราะฉะนั้น ที่เคยฟังแล้วฟังเรื่องจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ หมายความว่า มีจิตที่ประกอบด้วยเหตุแต่เรายังไม่พูดถึง เราจะพูดถึงเฉพาะจิตที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย.
- เพราะฉะนั้น คำว่าจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ภาษาบาลีใช้คำว่า อเหตุกจิต อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (ปัญจวิญญาณ ๕ ... ) เดี๋ยวก่อน คุณสุคิน ถามเขาว่าอะไร ดิฉันถามคุณอาช่า ถามทุกคนว่าอะไร? (คุณสุคิน: ถามว่าอะไรที่เป็นอเหตุกจิตหรือครับ) ไม่ใช่ ดิฉันถามว่า อเหตุกจิตมีเท่าไหร่? (สุคิน: แกจำจำนวนไม่ได้ แกตอบไม่ได้ว่าเท่าไหร่ แต่แกพยายามนึกอยู่แล้วตอบว่า มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่ม จิตลิ้มรส จิตสัมผัสทางกาย สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ) เท่าไหร่? (๗ ครับ) อะไรคะ ๗ บอกอีกที ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ (เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสกาย สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ) แสดงว่าเขาจำ แต่เข้าใจแค่ไหน ต่างกันแล้วใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น ตั้งต้นใหม่ (ค่ะ) .
- จิตเห็นมีกี่ดวง? (มี ๒) เพราะฉะนั้น ที่เขากล่าวมาแล้วมีเท่าไหร่? (ตอนนั้นที่ตอบมาพูดถึงเห็น ... ) เอาใหม่ ไม่ต้องตอนนั้น ตอนนี้ที่เขาบอกว่า อเหตุกจิตมีเท่าไหร่ ลองนับดู (เห็น ๒ ได้ยิน ๒ ได้กลิ่น ๒ ลิ้มรส ๒ กระทบสัมผัสกาย ๒ สัมปฏิจฉันนะ ๒ สันตีรณะ ๒) ทั้งหมดเท่าไหร่? (๑๔) อะไรคะ ๑๔ ใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น เขาฟังแล้วเขาจำ แล้วเขาคิดได้ว่าเขาจำอะไรได้บ้าง แต่ยังไม่ได้เข้าใจพอ เห็นได้ว่าถ้าเพียงแต่จำชื่อกับจำนวนเขาจะลืม แต่ถ้าเขาเข้าใจแต่ละหนึ่งเพิ่มขึ้นเขาจะไม่ลืม ถูกต้องไหม? (ถูก) .
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- ความเข้าใจของเรายังไม่พอแน่นอนทุกคน และการได้ยินได้ฟังก็น้อยมากถ้าเทียบกับการได้ยินได้ฟัง แต่ถ้าเราฟัง และเรารู้จุดประสงค์ว่า เพื่อเข้าใจในเหตุผล จะทำให้เราไม่ลืม และเราเข้าใจถูกต้องในความเป็นจริงว่า เป็นแต่ละหนึ่งธรรม ไม่ใช่เร.
- เป็นธรรมดาความเข้าใจเริ่มต้นจากน้อยมาก และยังไม่มั่นคงก็ทำให้ลืมได้ แต่เข้าใจขึ้นๆ จนกว่าไม่ลืม แต่ไม่ใช่ไปท่อง ว่า มีเท่าไหร่ๆ .
- เพราะฉะนั้น เราจะปลูกฝังความเข้าใจที่มั่นคงที่จะรู้จักสิ่งที่มีที่เป็นความจริงที่จะไม่ลืม ไม่ลืมที่นี่หมายความ ว่า ไม่ลืมเพราะจำและเข้าใจ ไม่ใช่ที่ไม่ลืมเพราะไม่ได้จำ.
- เกิดมาแล้วไม่เห็นได้ไหม? (เป็นไปได้) เกิดมาแล้วไม่เห็น ได้ไหม เดี๋ยวนี้? (ไม่ได้) พูดถึงธรรมดา ไม่ใช่พูดเฉพาะแต่ละบุคคลแต่พูดถึงธรรมดา เกิดมาแล้วไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ได้ไหม? (ไม่ได้ เข้าใจครับ) .
- ทำไมทุกคนเห็นไม่เหมือนกัน บางคนเห็นสิ่งที่สวยงามน่าพอใจ บางคนเห็นสิ่งที่สกปรกน่าเกลียดมาก บางคนได้กลิ่นหอม บางคนได้กลิ่นเหม็น (เป็นเพราะผลของกรรมของแต่ละคน) เพราะฉะนั้น เห็นสิ่งที่ไม่ดีในนรก ในมนุษย์ เป็นผลของอะไร? (ผลของอกุศลกรรม) เปลี่ยนได้ไหม เลือกได้ไหม ไม่ให้เกิดได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เมื่อเหตุไม่ดีก็ทำให้เกิดเห็นไม่ดี ได้ยินไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี ลิ้มรสไม่ดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่ดี.
- ขณะที่ได้กลิ่นไม่ดีเป็นผลของอะไร? (ผลของอกุศลกรรม) กำลังได้กลิ่นที่ไม่ดี ขณะนั้นรู้ไหมว่าเป็นผลของกรรมไม่ดี? (ก่อนฟังธรรมก็ไม่รู้เรื่องเลย แต่หลังจากฟังพระธรรมก็รู้ว่าเป็นอย่างนี้ แล้วก็ถ้าตอนนี้มีกลิ่นที่ไม่ดี ก็สามารถคิดได้) คิดได้ แต่รู้ไหมว่าเป็นผลของอกุศลกรรม? (ไม่รู้) นี่ต้องเป็นคนตรงจึงสามารถที่จะเข้าใจคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ต่างระดับ มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด.
- ทบทวนแต่ไม่ใช่ให้จำให้เข้าใจอกุศลวิบาก ผลของกรรมมีเท่าไหร่? (เบื้องต้นตามที่เราบอกว่า ไม่ใช่ขอคำตอบโดยที่จำมาแล้วตอบ แต่ให้พิจารณาดูแล้วมานิชก็ตอบว่า อกุศลกรรมก็ให้ผลเป็นอกุศลวิบากมี ๑, อาช่า ตอบว่า เหตุที่เป็นอกุศลกรรมให้ผลเป็นอกุศลวิบาก, ผมเลยถามต่อว่า อกุศลวิบากใช่แล้วแล้วพูดอะไรต่อได้อีกไหม? อาช่าตอบว่า เช่น เห็นไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี ลิ้มรสไม่ดี สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะซึ่งเป็นผลของอกุศลกรรม) ตอบเลยนะ อกุศลวิบากมีจำนวนเท่าไหร่? (มี ๑๐) อะไรนะ อกุศลวิบากจิตมีเท่าไหร่? (มี ๑๐) อกุศลวิบากจิตมีอะไรบ้าง? (ปฏิสนธิ ภวังค์ ... ) ไม่ได้ถามถึงกิจของจิต ฟังคำถามดีๆ นี่เป็นเหตุที่ต้องเริ่มละเอียด มิเช่นนั้น การศึกษาทั้งหมดที่ทุกคนไม่เข้าใจยังช้ามาก เพราะเหตุว่า เขาไม่ละเอียด แต่ถ้าเขาละเอียดเขาจะไม่ลืม และเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้น ต้องฟังคำถามก่อน ถามว่าอะไร แล้วจึงตอบ ถามว่า อกุศลวิบากจิตมีเท่าไหร่ไม่ได้ถามถึงกิจเลย (ถ้านัยนั้นก็คือ ชาติของจิตก็คือ ๑ คืออกุศลวิบาก) ถามว่า ฟังดีๆ นะ อกุศลวิบากจิตมีเท่าไหร่? (ขอท่านอาจารย์ช่วยทบทวนครับ) คุณอาช่าไม่ค่อยสบาย ดิฉันทราบปัญหาและก็มีเรื่องยุ่งๆ เยอะ เพราะฉะนั้น เวลาฟังแล้วก็ไม่มีเวลาพอที่จะไตร่ตรอง แต่เวลาที่ฟังธรรมเป็นอีกเวลาหนึ่งที่จะพ้นจากการคิดเรื่องปัญหาอื่นๆ แต่ก็ยาก เพราะเหตุว่าจะทำให้การฟังไม่ละเอียด แต่อย่างไรก็ตามนะเพียงคนที่ตอบจำนวนได้ไม่ได้หมายความว่าเขาเข้าใจ เพราะฉะนั้น การที่เราอยู่ตรงนี้อยู่ตรงนี้จนกว่าจะมั่นคง คือ ชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เพียงให้เขารู้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ แต่เพื่อให้เขาเข้าถึงความจริงเดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น คุณอาช่าพูดอีกครั้งหนึ่ง อกุศลวิบาก อกุศลวิบาก อกุศลวิบากมีอะไรบ้าง? (มี ๑) อะไรค่ะ? (คือ อกุศลวิบากจิต) เห็นเป็นอกุศลวิบากหรือเปล่า? (เป็นได้ยินเป็นอกุศลวิบากหรือเปล่า? (เป็น) เท่าไหร่แล้ว? (๒) เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากจิต อกุศลวิบากจิตๆ ทั้งหมดมีเท่าไหร่? (มี ๗) มี ๗ จำไว้นะ มีมากกว่านั้นได้ไหม? (ไม่ได้) ฆ่าคน ๑๐๐ คน มีอกุศลวิบากจิตเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่? (๗) คนที่ฆ่า ๑ คน มีอกุศลวิบากจิตเท่าไหร่? (๗) ทั้ง ๒ ต่างกันอย่างไร ฆ่า ๑ คน กับฆ่า ๑๐๐ คน? (ต่างกันตรงที่ว่า คนหนึ่งจะได้รับผลเยอะกว่า แต่ทั้งคู่จะได้รับอกุศลวิบากไม่เกิน ๗) เยอะอย่างไร? (มานิช: ฆ่า ๑ คนจะได้รับผลตามกรรมนั้น ส่วนคนที่ฆ่า ๑๐๐ คนก็ต้องได้รับผลทั้งหมดที่ทำทั้ง ๑๐๐ ครั้งครับ) โดยวิธีไหน อย่างไร? (มานิช: ถ้าฆ่าใครวันหนึ่งเราก็โดนฆ่า) นั่นไม่ใช่ธรรมนะเป็นเรื่องราว พูดถึงจิตค่ะ (คุณสุคิน: เข้าใจครับ ที่มานิชตอบเป็นคิดเป็นเรื่องราว ผมเลยให้เขาคิดว่าคนที่ไม่ได้ฟังธรรมก็คิดอย่างนี้ได้ใช่ไหม? เขาก็บอกว่าใช่) .
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- เพราะฉะนั้น ตรึกตรองการศึกษาธรรมต้องได้ประโยชน์สูงสุด เห็นโทษทุกอย่างชัดเจนขึ้น ไม่เช่นนั้นเราบอกเขาว่าฆ่าแล้วมีผลนะ ตกนรกนะ หรือไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานนะ เขาไม่สามารถจะรู้ความจริงได้ แต่ถ้าเขาเข้าใจละเอียดขึ้นถึงแต่ละ หนึ่งขณะ ในชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปจริงๆ นั่นเป็นเหตุที่เขาจะได้รู้ความจริงที่ทำให้มั่นคงขึ้นในการเห็นโทษของธรรม เพราะฉะนั้น เราพูดเรื่องนี้ เพราะเป็นชีวิตจริง ถ้าสามารถจะเข้าใจได้เป็นประโยชน์ที่จะเข้าใจอย่างอื่น นี่เป็นพื้นฐานของความเป็นไปในชีวิตซึ่งจะต้องเข้าใจก่อน คือ เรื่องอเหตุกจิต แต่ว่าเราไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อ แต่เราพูดถึงเห็น ได้ยินพวกนี้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่รู้จักเลยถึงความละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น เราไม่ได้เห็นโทษจริงๆ .
- เพราะฉะนั้น ทุกคำถามต้องคิดไตร่ตรอง ไม่ใช่รีบตอบ และเป็นการเข้าใจเดี๋ยวนี้จริงๆ ชีวิตจริงทุกขณะตั้งแต่เกิดจนตาย.
- เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืม ดิฉันถามถึงอเหตุกวิบากจิต อกุศลวิบากมีเท่าไหร่? (มี ๗) ไม่ลืมนะ เราพูดครั้งที่แล้วเราก็พูดถึงอกุศลวิบาก ๗ ๗ ๗ เท่านั้นไม่มีมากกว่านี้.
- ในนรกมีอกุศลวบากจิตเท่าไหร่? (มี ๗) พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอกุศลวิบากจิตเท่าไหร่? (มี ๗) คนตาบอดมีอกุศลวิบากจิตเท่าไหร่? (มี ๖) คนหูหนวก ตาบอดทั้ง ๒ อย่าง มีอกุศลวิบากเท่าไหร่? (มี ๕) ไม่ลืมนะ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนทั้งหมด แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง อกุศลวิบากทั้งหมด ๗ ดวงทำกิจอะไรบ้าง? เห็นไหม เราเปลี่ยนแล้วเพื่อที่จะเข้าใจว่า สภาพธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เมื่อเป็นธาตุรู้ต้องมีกิจหน้าที่ ไม่ใช่เกิดมาแล้วไม่ทำอะไรแล้วก็ดับไปแล้วก็ดับไป แต่ทุกขณะที่ธาตุรู้เกิดขึ้น มีกิจของตนๆ ที่จะต้องกระทำ (เข้าใจครับ ๗ ดวงนี้ทำกิจอะไรบ้างเขาเข้าใจครับ) ทวบทวนอีกทีซิ ตอบว่าอย่างไร? (คุณสุคิน: เขาตอบว่า ๗ ผมถามเขาว่ารู้ใช่ไหมว่า ๗ ดวงนี้ทำกิจอะไรบ้าง? เขาบอกเข้าใจครับ) ย้อนกลับไปเมื่อกี๊นี้ อกุศลวิบากมี ๗ ในมนุษย์ ในพรหมโลกก็มี ๗ เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ ๗ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ ๗ ในนรกก็ ๗ เป็นเปรตก็ ๗ ต่างกันอย่างไร คนที่ทำอกุศลกรรมฆ่าคน ๑๐๐ คน กับคนที่ฆ่าคน ๑ คน (นัยนั้นก็ไม่ต่างกัน) อ้าว ทำไมละถ้าอย่างนั้น ฆ่า ๑๐๐ กับฆ่า ๑ คนก็ไม่ต่างกันอย่างนั้นหรือ ฆ่าสัก ๑๐๐ คนดีไหมผลเหมือนกัน? (มี ๒ นัย จะเกิดอกุศลวิบากบ่อยขึ้นหรือว่ารุนแรงขึ้นครับ) ถูกต้องนะ จึงมีที่เกิดต่างกัน เป็นมนุษย์มีอกุศลวิบากเจ็บไข้ได้ป่วยแม้จะไม่รุนแรงเท่าไหร่ ก็ไม่เท่ากับนรก.
- เพราะฉะนั้น กรรมที่ทำนั้นต่างกันมาก โดยการที่กระทำต่อใคร บุคคลนั้นเป็นคนมีคุณประโยชน์หรือเปล่า เป็นพระอรหันต์หรือว่าเป็นคนธรรมดาหรือว่าเป็นโจร เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่เราจะกล่าวถึงทีหลัง แต่ต้องทราบจำนวน และประเภทของจิตก่อน.
- คราวก่อนเราก็พูดถึงเรื่องอกุศลวิบากจิต ๗ ดวง แต่ความเข้าใจยังไม่มั่นคง ก็สามารถที่จะทำให้ลืม และเข้าใจเพียงนิดหน่อย แต่วันนี้ที่เราได้ฟังอีกครั้งหนนึ่งความเข้าใจเรื่องอกุศลวิบากจิตเพิ่มขึ้นไหม? (เพิ่มขึ้น) เดี๋ยวนี้ วันนี้มีอกุศลวิบากแล้วหรือยัง? (อาช่า และมาธุ ตอบว่า มี ส่วนมานิชคิดนานกว่าจะตอบว่ามี) เพราะฉะนั้น ตอบได้ไหมว่า มีขณะไหน? (ตอบไม่ได้) เห็นไหม ความรู้มีหลายระดับ รู้แต่ว่ามี แต่ขณะที่กำลังมีจริงๆ ไม่รู้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางที่จะรู้ชัดในขณะที่กำลังมี จึงสามารถที่จะค่อยๆ ละคลายความเป็นเรา ว่า เรารู้สิ่งที่อ่อนหรือแข็ง ความรู้สึกเจ็บหรือไม่เจ็บ ทั้งหมดเป็นธรรม.
- จิตที่เกิดเป็นผลของอกุศลกรรม กับจิตที่เกิดเป็นผลของกุศลกรรม จิตไหนมีมาก ประเภทไหนมีมาก วิบากประเภทไหนมีมาก? (จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรมครับ) มีมากกว่าหรือ? (ครับ) ผิด นี่คือยังไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (คำตอบเดิมครับ) เพราะความจริงนะ อะไรเกิดง่ายกว่ากัน กุศลหรืออกุศล? (อกุศลเกิดง่ายกว่า) เพราะฉะนั้น กว่ากุศลจะเกิดยากไหม? (ยาก) ต้องอาศัยปัจจัยเจตสิกมากกว่าใช่ไหม เพราะมิฉะนั้น ก็เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น เริ่มละเอียดเริ่มไตร่ตรองเข้าใจในปัจจัยที่ทำให้เกิดกุศล แล้วก็จะรู้ว่า เพราะกุศลเกิดยากต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างกว่าจะเกิด เพราะฉะนั้น เมื่อให้ผล กุศลย่อมมีกำลังที่จะให้กุศลวิบากเกิดมากกว่าอกุศลวิบาก.
- เพราะฉะนั้น ฟังธรรมต้องละเอียดต้องไตร่ตรอง คราวต่อไปเราจะได้พูดถึงเหตุที่กุศลให้ผลเป็นกุศลวิบากมากกว่าอกุศลให้ผลเป็นอกุศลวิบาก จำนวน จิตที่ต่างกัน.
- วันนี้มีอะไรสงสัยไหม? (มาธุ: ถามว่า คำว่า อเหตุกะ เขาถามความหมายของอเหตุกะ) เหตุที่จะให้เกิดการกระทำดีชั่วมี ๖ เหตุ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่า เหตุที่จะให้เกิดการกระทำที่ไม่ดีมีเท่าไหร่? เหตุที่จะให้เกิดการกระทำที่ดีมีเท่าไหร่? ก่อนอื่นต้องทราบว่า เหตุ หรือ เห + ตุ เป็นธรรมอะไร? ตอบได้เลย (อาช่าตอบว่า เหตุ คือธรรมที่เป็นมูลให้ธรรมอื่นเกิด ผมเลยถามต่อว่ามีอะไรบ้าง? แกก็ตอบว่าเป็น โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) เห็นได้เลยนะ คำตอบเป็นเรื่องชื่อที่ได้ฟังและที่จำ แต่ยังมีความลึกซึ้งที่แสดงว่าเขาเข้าใจมากกว่านี้ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าผ่านไปๆ การศึกษาธรรมก็มีความเข้าใจตื้นๆ เพียงชื่อเท่านั้นเอง ถ้าถามอีกคำหนึ่งเขาจะรู้ได้เลย ที่เขาเข้าใจเข้าใจลึกซึ้งหรือมั่นคงแค่ไหน ถามว่า ทำไมโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ จึงเป็นเจตสิก? (อาช่า: เพราะว่าเกิดกับจิต) แค่นี้ไม่พอ ยังมีความลึกซึ้งกว่านี้ด้วย แสดงถึงความเข้าใจกว่าจะมั่นคง เป็นธรรมดาสำหรับคุณอาช่า คุณอาคิล คุณมานิช และทุกคนที่ฟังธรรมไม่นาน แม้แต่คนที่ฟังนานแต่ว่า ไม่ไตร่ตรอง ไม่มั่นคง ไม่ลึกซึ้ง ก็ไม่สามารถจะตอบได้ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจคุณอาช่า คุณอาคิล คุณมานิช ว่า ยากมากที่จะคิดได้ละเอียด เพราะว่า การฟังยังไม่เท่ากับคนที่ฟังมาแล้ว ๒๐ ปี ๓๐ ปี ซึ่งจะตอบได้ไม่ได้แล้วแต่ความละเอียดของเขา (เข้าใจ) เข้าใจว่าอย่างไร? (เข้าใจว่า ที่เขาให้คำตอบนี้ถูกแล้ว แต่ว่าจะถามอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า ทำไม ๖ เจตสิกนี้จึงเป็นเหตุ ตรงนั้นคราวหน้าเราจะพูดถึง) เหตุ ๖ ทำไมจึงเป็นเจตสิก? (หมายถึง เจตสิก ๖ นี้จึงเป็น..) เหตุ ๖ ทำไมจึงเป็นเจตสิก ไม่ได้ถามว่าเพราะอะไร (ทำไมจึงเป็นเจตสิก คำตอบแกคือ เพราะเกิดกับจิต) ยังตอบได้อีกนะ เพราะฉะนั้น คราวหน้าต้องเข้าใจว่าการฟังธรรมต้องละเอียด และต้องลึกซึ้ง เพื่ออะไร เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ทีละเล็กทีละน้อยเป็นพื้นฐาน ไม่อย่างนั้นเรียนไป ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ไม่ใช่พื้นฐานที่จะเข้าใจพระธรรม.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ