พระพุทธ​ตรัสเรื่อง จิตเจตสิก ไว้ที่พระสูตรใหนครับ

 
Windy2533
วันที่  16 เม.ย. 2566
หมายเลข  45794
อ่าน  416

ไม่รีบครับ ขอบคุณ​ครับ​


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 17 เม.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญคือความเข้าใจว่า จิต คืออะไร? เจตสิกคืออะไร?

จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ทุกขณะไม่เคยขาดจิตเลย เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย เป็นต้น เป็นจิต

เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และ สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต ด้วย ตัวอย่างเจตสิก เช่น โลภะ (ความโลภ,ความติดข้องต้องการ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความไม่รู้) ศรัทธา (ความเลื่อมใส,ความผ่องใสแห่งจิต) สติ (ความระลึกเป็นไปในกุศลธรรม) ปัญญา (ความเข้าใจถูกเห็นถูก) วิริยะ (ความเพียร) อโลภะ (ความไม่โลภ) อโทสะ (ความไม่โกรธ) สัญญา (ความจำ) เวทนา (ความรู้สึก) เป็นต้น เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย กระทำกิจหน้าที่ของตนๆ แล้วก็ดับไปไม่เที่ยง ไม่ยังยืน

ตัวอย่างพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องจิต และ เจตสิก เช่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๑

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ ฉะนั้น

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น


ในอรรถกถาได้แสดงชัดเจนว่า ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้คือ เจตสิก ส่วนสภาพที่เป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้น ก็ได้แก่ จิต ครับ

... ยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านครับ ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ