การปฏิบัติ อสุภะ จำเป็นหรือไม่

 
CHING
วันที่  18 ส.ค. 2550
หมายเลข  4582
อ่าน  6,094

การปฏิบัติ อสุภะกรรมฐาน จำเป็นต่อการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น มากน้อยแค่ไหน อย่างไร

อนุโมทนาสาธุค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 ส.ค. 2550

อสุภะกรรมฐาน เป็นอารมณ์ของสมถภาวนา การเจริญสมถภาวนาไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากวัฏฏะได้ ในอรรถกถากล่าวถึงการเจริญอสุภะกรรมฐานของพระภิกษุบางรูปซึ่งท่านมีปกติเจริญสติปัฏฐานอยู่แล้ว แต่ในบางแห่งแสดงการเจริญกายคตาสติ คำนี้หมายถึงกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง ดังข้อความในพระไตรปิฎกดังนี้

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปุถุชนคนหนึ่ง
วันที่ 19 ส.ค. 2550

อสุภกรรมฐานและนวสีวถิกาบรรพในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีความคล้ายคลึงกันมากแต่ต่างกันที่จุดประสงค์ และปัญญาใช่หรือไม่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 ส.ค. 2550

อสุภกรรมฐาน เป็นอารมณ์ของสมถภาวนา แต่นวสีวถิกาบรรพ หมายถึง ป่าช้า ๙ พิจารณาคนที่ตายแล้ว ๑ วันบ้าง ๒ วันบ้าง จนกระทั่งเป็นผุยผง เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน คนที่พิจารณาอสุภะ ในสิ่งที่ไม่งาม เป็นปฏิกูล ก็จะทำให้ละคลายในการติดรูปสวยๆ ต้องมีปัญญาจึงจะเป็นกุศล ที่เห็นว่าไม่งาม ไม่ใช่เห็นไม่งามแล้วเกิดโทสะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 19 ส.ค. 2550

สิ่งที่เห็นเป็นเพียงสี หรือรูปารมณ์เท่านั้น การเห็นสุภหรืออสุภย่อมไม่ต่างกัน สิ่งที่ต่างกันคือสภาพจิตหลังจากที่เห็นแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ปัญญาจะต้องรู้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่ปรากฎทางทวารทั้ง ๖ เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ส.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อสุภกรรมฐาน ที่เป็นไปในสมถภาวนา ไม่สามารถดับกิเลสได้ และก็แล้วแต่การสะสมมาว่า บุคคลนั้นสะสมมาที่สามารถอบรมอสุภกรรมฐานได้ไหมครับ เพราะบางบุคคลก็ไม่เหมาะกับอสุภกรรมฐาน แต่บางบุคคลเหมาะ ดังนั้นจึงไม่มีใครเลือกได้ที่จะอบรม ส่วนการอบรมอสุภที่เป็นไปในป่าช้าเก้า หรือเป็นไปในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น อบรมต่างกันกับนัยของอสุภกรรมฐาน ที่เป็นไปในสมถภาวนา ต่างกันคือ ถ้าเป็นไปในอสุภกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ขณะนั้นไม่ได้รู้ความจริงว่าเป็นธรรม แต่เห็นเพียงความปฏิกูลของสภาพธัมมะนั้น ไม่ได้ระลึกตรงลักษณะที่เป็นปรมัตถ ก็ยังเป็นเราที่เห็นความปฏิกูล ก็ไม่ได้ละความยึดถือว่าเป็นเรา แต่กายานุปัสสนาที่เป็น นวสีหรือปฏิฏูลบรรพ นั้น เห็นถึงลักษณะของสภาพธัมมะจริงๆ ว่า เป็นเพียงธรรมไม่ใช่เรา ผม เล็บ มีลักษณะอย่างไร จับดูก็ อ่อน แข็งเท่านั้น ไม่มีผมของเรา แต่เป็นเพียงลักษณะของธรรมที่ปรากฏในขณะนั้นว่า อ่อน แข็ง เป็นต้น ศพ จับดู มีลักษณะอย่างไร อ่อน แข็ง เป็นแต่เพียงธรรมเท่านั้น ดังนั้น สติปัฏฐานที่เป็นไปในกายานุปัสสนาหรือกายคตาสติ เป็นต้นนั้น สามารถละกิเลสได้ครับ ส่วนอสุภกรรมฐานที่เป็นสมถภาวนา ดับกิเลสไม่ได้ ส่วนใครจะอบรมได้แล้วแต่อัธยาศัยที่สะสมมา ดังข้อความในพระไตรปิฎก

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ส.ค. 2550

เรื่อง การอบรมอสุภกรรมฐาน ขึ้นอยู่กับว่าได้สะสมมาหรือไม่ จึงจะอบรมได้

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย (คาถาธรรมบท)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 19 ส.ค. 2550

ขณะที่เห็นอสุภ สงบมั้ย?

ขณะที่เห็นอสุภ เข้าใจอะไร?

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 20 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 8 ก.ย. 2550
เลือกไม่ได้
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 8 ส.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ