ตั้งแต่เกิดอยู่ในโลกของนิมิตทั้งหมด_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๖
- (คุณสุคิน: คราวที่แล้วเราพูดถึงเรื่องผลของอกุศลกรรม ผลของกุศลกรรมว่า ผลของอกุศลกรรมมี ๗ และผลของกุศลกรรมมี ๘ ซึ่งมีมากกว่าผลของอกุศลกรรม ๑) ถามเขาหรือเขาบอก? (คุณสุคิน: ไม่ครับ ผมถามเขาว่าเราคุยกันเรื่องอะไรครับ) แล้วนี่เป็นคำตอบของเขาใช่ไหม? (ว่า เราสนทนาถึงเรื่องนี้อยู่ เขาตอบสั้นๆ ว่าเราคุยกันเรื่องผลของอกุศลกับผลของกุศล) ถ้าเขาตอบเราสั้นๆ เราก็ให้เขาเป็นคนบอก (ครับ ยังไม่ได้บอกเรื่องจำนวนหรืออะไร ยังไม่ได้พูด) เราก็ถามเขาว่า ผลของอกุศลกรรมมีเท่าไหร่เขาตอบแล้วใช่ไหม หรือคุณสุคินบอกเขา? (เขาพูดเองว่า ผลของอกุศลกรรมมี ๗ สำหรับผลของกุศลกรรมมี ๘ ครับ) ) แล้วขณะนี้มีกุศลวิบากเท่าไหร่ที่ไม่มีเหตุ? (น่าจะเป็น ๙) ฟังคำถามหน่อยนะ เดี๋ยวนี้ คุณอาช่ามีอกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่? (ถ้ามีก็คือ ๑ ใน ๗ แต่ว่า ถ้าพูดถึงขณะ ๑ ก็เป็นอย่างเช่น เห็น ก็ทีละ ๑) ถามว่าอะไร่? (ท่านอาจารย์ถามว่า ขณะนี้สำหรับอาช่ามีผลที่เป็นอกุศลวิบากกี่ดวง เขาตอบว่า ๗ ถ้าทีละขณะเช่นเดี๋ยวนี้ เห็น ก็เป็น ๑ ใน ๗ ครับ) แล้วคุณอาช่ามีกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่ ฟังคำถามแล้วตอบให้ตรง? (๘ ครับ) รวมทั้งหมดเขามีวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่? (มี ๑๕) จะมีเกินกว่านี้ได้ไหม? (ไม่ได้) นกจะมีเกินกว่านี้ได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นธรรม ใครก็เปลี่ยนไม่ได้.
- ต่อไปนี้เราจะพูดเรื่องกิจของจิตที่เป็นอเหตุกะที่เป็นวิบาก อกุศลวิบากจิตที่ ๑ หรือดวงไหนก็ได้ทำกิจอะไร ทีละหนึ่งๆ ? (ครับ) ดิฉันให้เขาพูดถึงอกุศลวิบากจิตทีละหนึ่งดวงว่า จิตนั้นทำกิจอะไร ทีละหนึ่ง ไม่ใช่ทีเดียวทั้งหมด ทีละหนึ่ง? (เห็น ที่เป็นผลของกุศลกรรมครับ) ที่เป็นผลของอกุศลกรรมใช่ไหม? (ผลของกุศลครับ เขาพูดถึงกุศลก่อนครับ) จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรมใช่ไหม เห็นใช่ไหม? (ครับ เขาพูดถึงเห็น) ทำกิจอะไร? (ทำกิจเห็น) เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ เห็นเกิด ไม่ใช่อาช่า ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะนั้นมีธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็นเป็นผลของกุศลจึงเห็นสิ่งที่น่าพอใจ.
- เดี๋ยวนี้มีคุณอาช่าเห็นไหม? (ไม่มี) จนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพที่เป็นธาตุรู้ขณะนี้ เดี๋ยวนี้เองที่เห็น.
- เพราะฉะนั้น เข้าใจเดี๋ยวนี้ว่า เห็นเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ไม่ใช่อาช่าเป็นความเข้าใจระดับปริยัติ ปฏิบัติ หรือปฏิเวธะ? (เป็นปริยัติ) จะเป็นปฏิปัตติได้ไหม? (เป็นได้ เมื่อความเข้าใจเพิ่มพอ) เพราะฉะนั้น เข้าใจถูกต้องนะดีมาก ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ใช่อาช่า แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นทำแต่ละกิจ กี่กิจแล้ว? (๕ กิจ) เพราะฉะนั้น มีจิตเท่าไหร่แล้วที่ทำ ๕ กิจ? (มี๑๐) ถามว่า มีกิจ ๕ กิจ และอเหตุกจิตที่ทำ ๕ กิจทั้งหมดมีกี่ดวง? (มี๑๐ ดวง) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เป็นวิบากมีอีกกี่ดวงที่เราจะกล่าวถึง? (เหลือ ๕ ครับ) กล่าวทีละ ๑ คืออะไรที่เหลือ? (สัมปฏิจฉันนะที่เป็นผลของกุศล ๑ และอกุศล ๑ รวมเป็น ๒) สัมปฏิจฉันนะทำกิจเห็นได้ไหม? (ไม่ได้) สัมปฏิจฉันนะรู้อารมณ์อะไร? (รู้อารมณ์เดียวกันกับจิตเห็น) สัมปฏิจฉันนะรู้สี รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส แต่ไม่เห็น ไม่ได้ยินใช่ไหม? (ใช่) แล้วสัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไร? (รับรู้อารมณ์ต่อจากเห็น ได้ยิน..) เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่าจิตเห็น จิตได้ยินใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า สัมปฏิจฉันนะมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น วิตกเป็นเจตสิกที่จรดในอารมณ์.
- วิตกเจตสิกไม่เกิดเมื่อไหร่? (ตอนเห็นไม่มีวิตก) เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า วิตกเจตสิกไม่เกิดกับจิต ๑๐ ดวง เห็นความต่างกันของขณะจิตที่ไม่มีใครทำ แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ จึงเป็นธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แม้จิตเห็นดับก็มีจิตที่เกิดต่างกับเห็นเพราะมีเจตสิกที่เป็นวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย.
- ถ้าไม่มีวิตกเจตสิกไม่มีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น จะไม่มีอะไรเลยนอกจากเห็น ได้ยินเท่านั้น แต่นี่มีคิดมีทุกอย่างหลังจากที่เห็นแล้วเพราะมีวิตก แม้สัมปฏิจฉันนะไม่เห็น แต่มีวิตกที่จรดในอารมณ์ เพราะฉะนั้น จิตต่อต่อไปไม่เห็นอะไรเลย แต่ก็มีวิตกที่จรดในอารมณ์ที่เห็นแล้ว.
- เพราะฉะนั้น ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงว่า วิตกเป็นเท้าของโลก ก้าวไปๆ ๆ ๆ ไม่หยุดยั้ง จนถึงนิพพานก็ได้ เป็นสัมมาสังกัปปะ.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และกราบนินดีในกุศลจิตของคุณสุคิน ด้วยค่ะ
- เดี๋ยวนี้สัมปฏิจฉันนจิตปรากฏไหม? (ไม่ปรากฏ) สันตีรณจิตที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนจิตรู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็นกำลังปรากฏให้รู้ได้หรือเปล่า? (ไม่ปรากฏ) นี่เป็นเหตุที่สภาพธรรมทั้งหมด ไม่ว่าอะไรที่เกิดดับเร็วมากไม่สามารถจะปรากฏทีละหนึ่ง แต่ปรากฏรวมเป็นนิมิตของขณะที่เห็นเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เหมือนมีแต่เห็นอย่างเดียว แต่ความจริงมีจิตที่เกิดดับสืบต่อเร็วมาก แต่ที่ปรากฏปรากฏเป็นเห็นเป็นนิมิตของเห็นเท่านั้น.
- เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดอยู่ในโลกของนิมิตทั้งหมด ขณะนี้มีนิมิตของธาตุรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และใจ.
- ขณะนี้มีนิมิตของธาตุรู้ปรากฏเป็นความรู้ระดับไหน? (ปริยัติ) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น อยู่ในโลกของนิมิตที่มีคุณอาช่า มีคุณอาคิ่ล มีคุณสุคิน มีโลก มีนก มีทะเล มีทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นนิมิตทั้งหมด.
- ไม่มีอะไรนอกจากธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับใช่ไหม? (ใช่) ชาติก่อนๆ ก็เป็นอย่างนี้ ชาตินี้ก็เป็นอย่างนี้ ชาติต่อๆ ไปก็ต้องเป็นเหมือนอย่างนี้ใช่ไหม? (ใช่) อะไรเป็นความเห็นถูก อะไรเป็นความเห็นผิด? (ความจริงก็คือ มีแต่ธรรมครับ) เห็นพระคุณสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ถ้าไม่มีพระองค์ จะสามารถรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ และต่อไปเพิ่มขึ้นจนประจักษ์แจ้งได้? (ครับ) .
- ศึกษาธรรมด้วยการตรงต่อความจริง ถ้าเข้าใจผิดไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน.
- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีปัญจทวาราวัชชนะ มีสัมปฏิจฉันนะ แต่ไม่ได้ปรากฏ ปรากฏแต่เพียงสิ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจเท่านั้น เป็นนิมิตของทุกอย่าง ต้องไม่ลืมนะ ทุกอย่างกำลังปรากฏ แต่ไม่ได้ปรากฏตามความเป็นจริง.
- สัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไรได้บ้าง? (ทำกิจเดียว คือรับรู้อารมณ์ต่อจากเห็น ได้ยินเป็นต้น) สัมปฏิจฉันนะเกิดแล้วดับไป จิตอะไรต้องเกิดต่อ จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้นอกจากจิตนั้นเท่านั้น? (สันตีรณจิตครับ) นี่แสดงให้เห็นว่า สภาพธรรมต้องอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเป็นไปเปลี่ยนไม่ได้ ต้องเป็นไปตามปัจจัย.
- เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจปัจจัยด้วย ถ้าไม่มีปัจจัย ธรรมทั้งหลายก็เกิดไม่ได้ จิตเกิดขึ้นไม่รู้อารมณ์ได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น สิ่งที่จิตรู้เป็นอารมณ์ให้จิตเกิดขึ้นจึงเป็นอารัมมณปัจจัยเพราะต้องเป็นอารมณ์ของจิตที่กำลังรู้เท่านั้น.
- เพราะฉะนั้น จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ สัมปฏิจฉันนะต้องรู้อารมณ์ไหม? (ต้องรู้อารมณ์) มีจิตอะไรที่ไม่รู้อารมณ์? (ไม่มี) เมื่อเป็นจิตต้องรู้อารมณ์ใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น อารมณ์ต้องเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดจิต เพราะฉะนั้น อารมณ์เป็นอารัมมณปัจจัยแก่จิต.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- จิตทุกดวงเกิดแล้วดับไป จิตที่ดับไปเป็นปัจจัยให้จิตที่เกิดเกิดต่อ ตราบใดที่จิตนั้นยังเป็นเหตุให้จิตต่อไปเกิด หลังจากที่จิตนั้นดับ จิตนั้นเป็นอนันตรปัจจัยทำให้จิตเกิดต่อ.
- มีจิตอะไรที่เมื่อดับแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิตเกิดต่อ? (ไม่มีจิตที่เกิดแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดครับ) เก่งนะ แต่ยังต้องเข้าใจอีกว่า มีจิตอะไรที่ดับแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิก เกิดอีกเลย? (ไม่ทราบ) จุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้นที่ดับแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิกเกิดอีกได้เลย เพราะฉะนั้น จิตทุกขณะจะต้องเกิดดับไปจนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ จุติจิตดับไม่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดอีกเลย.
- เพราะฉะนั้น คำว่า ปรินิพพาน หมายความว่า ดับโดยรอบทั้งหมดไม่เหลือที่จะเป็นปัจจัยให้มีการเกิดอีก เพราะฉะนั้น คำว่า นิพพาน มีหลายความหมาย เพราะเหตุว่า สภาพธรรมที่เป็นนิพพานเป็นนิพพานปรมัตถ์ สภาพธรรมของจิตที่เกิดเป็นจุติจิตเป็นปรินิพพานไม่มีการเกิดเลย แต่ยังมีกิเลสนิพพาน อุปาทิเสสนิพพานหมายความว่า จิตต่อไปที่เกิดไม่มีกิเลสแต่ยังต้องเกิด.
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับกิเลสตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีกิเลสเหลือเลย แต่มีปัจจัย อนันตรปัจจัยที่จะทำให้จิตเกิดต่อเพราะเป็นผลของกรรมที่ยังไม่ทำให้ถึงความเป็นปรินิพพาน.
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับกิเลสหมด แต่ยังไม่ปรินิพพานมีสัมปฏิจฉันนะเกิดไหม? (มี) ถูกต้อง เป็นสัมปฏิจฉันนะที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก? (มีทั้งกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก) ถูกต้อง แล้วแต่กัมมปัจจัย แล้วแต่กรรมเป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นผลของกรรมเกิดขึ้น เป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมทำให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นสัมปฏิจฉันนกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ทุกคนเหมือนกันใช่ไหม? (ใช่) เพราะอะไร? (เพราะกรรมในอดีตที่ได้ทำไว้แล้วก็ต้องให้ผลครับ) .
- ขณะที่จิตเห็น เห็น ดับแล้ว สันตีรณเกิดต่อได้ไหม? (ไม่ได้) ถูกต้อง เพราะอะไร? (อาคิ่ลตอบได้แค่นี้) เพราะธรรมเกิดเองไม่ได้ต้องอาศัยปัจจัยที่ทำให้สิ่งนั้นเกิด แต่ปัจจัยมีมากหลายอย่าง เรากำลังเริ่มที่จะเรียนรู้บางปัจจัยให้มั่นคงว่า ไม่ใช่เรา เป็นธรรมทุกอย่าง.
- เมื่อกี๊นี้เรากล่าวเพื่อที่จะให้มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า ทั้งหมดเป็นธรรม โดยที่จิตเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นต้องรู้ สิ่งที่ถูกรู้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยหนึ่งเป็นอารัมมณปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ๑ ปัจจัย.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- ตั้งแต่เกิดจนตายขณะไหนไม่มีอารัมมณปัจจัย? (ไม่มี) เพราะฉะนั้นจักขุวิญญาณ จิตเห็นดับเป็นปัจจัยให้อะไรเกิด? (มี ๒ ปัจจัยคือ อารัมมณปัจจัย กับอนันตรปัจจัย) ถามว่าอย่างนี้หรือเปล่า? (ผมอาจจะฟังผิด ได้ยินท่านอาจารย์ถามว่า สำหรับจิตเห็นนี้ อะไรเป็นปัจจัยให้เห็นเกิด) ไม่ค่ะ ดิฉันถามว่า เห็นดับแล้ว อะไรเกิดขึ้นต่อจากเห็น? (สัมปฏิจฉันนะ) จิตเห็นดับแล้วสันตีรณะเกิดต่อได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะอะไร? (เพราะถ้าอารมณ์นั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่ได้ถูกรับต่อจากเห็น สันตีรณะก็เกิดไม่ได้ครับ) .
- เพราะฉะนั้น มีการเข้าใจเพิ่มอีกปัจจัยหนึ่ง คือทันทีที่เห็นดับเป็นปัจจัยให้จิตเกิดต่อโดยอนันตรปัจจัย จะไม่มีจิตเกิดต่อไม่ได้ ต้องมี เพราะจิตที่ไม่มีอะไรเกิดต่อคือ จุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้น เพราะฉะนั้น จิตอื่นทั้งหมดที่ไม่ใช่จุติจิตของพระอรหันต์ดับแล้วเป็นปัจจัยเป็นอนันตรปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดขึ้นไม่มีระหว่างคั่นเลย ติดกันทันที ทันทีที่จิตเห็นดับเป็นปัจจัย อนันตรปัจจัย ต้องเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อๆ ไปเกิดขึ้นทำกิจต่างๆ เพราะฉะนั้น หลังจากจิตเห็นจิตอื่นจะทำกิจอื่นไม่ได้นอกจากรับรู้อารมณ์นั้นต่อ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสัมปฏิจฉันนะกิจโดยเป็นอนันตรปัจจัยจากจักขุวิญญาณทำให้สัมปฏิจฉันนจิตเกิดขึ้นเป็นสันตีรณจิตไม่ได้เพราะโดยสมนันตรปัจจัยเป็นอีกชื่อหนึ่ง เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง แสดงว่าแม้จิตจะเกิดดับสืบต่อกันก็จริง แต่ต้องเป็นไปตามลำดับ.
- จักขุวิญญาณเกิด ดับไป อกุศลจิตเกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม? (อาช่า อาคิ่งตอบว่า ไม่แน่ใจ) เพราะฉะนั้น อนันตรปัจจัยคืออะไร? (ปัจจัยที่จิตหนึ่งเกิดแล้วดับทำให้จิตต่อไปเกิด) สมนันตรปัจจัยคืออะไร? (หมายถึงว่าจิตใดจิตหนึ่งดับไปแล้ว จิตที่เกิดต่อต้องเป็นจิตเฉพาะจิตใดจิตหนึ่งตามปัจจัยนั้น) หมายความว่า ทันทีที่จักขุวิญญาณดับ จิตอะไรต้องเกิดต่อ? (ต้องเป็นสัมปฏิจฉันนะที่เกิดต่อ) ทำไมเป็นสันตีรณไม่ได้? (เพราะสมนันตรปัจจัยครับ) หมายความว่า อนันตรปัจจัยเป็นจิตที่เกิดต่อจากจิตที่ดับไปแล้ว สมนันตรปัจจัยหมายความว่า จิตที่เกิดต่อต้องเป็นไปตามลำดับเปลี่ยนแปลงไม่ได้.
- จักขุทวาราวัชชนจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นดับไปแล้ว จิตอะไรต้องเกิดต่อ? (เห็นครับ) โดยปัจจัยอะไร? (ทั้ง ๒ โดยอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย) เพราะฉะนั้น เข้าใจแล้วใช่ไหมว่า ไม่มีเราเลยแต่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นได้เพราะปัจจัยหลายอย่าง.
- สัมปฏิจฉันนะจะเกิดโดยไม่มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเกิดก่อนได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะอะไร? (เพราะสมนันตรปัจจัย) เพราะอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย.
- เพราะฉะนั้น ได้ยินคำว่าไม่มีเราเท่านั้น ไม่สามารถที่จะละความเป็นเราได้จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจละเอียดขึ้นว่า ชีวิตคืออะไร? ปฏิสนธิคืออะไร? ตั้งแต่เกิดจนตายคืออะไร? และไม่มีอะไรนอกจากธรรม.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เขารู้จักปัจจัยอะไรบ้าง? (๓ ปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อารัมมณปัจจัย) มีวิปากปัจจัยไหม? (มีครับ) อะไรเป็นวิปากปัจจัย? (เห็น ได้ยิน ลิ้มรส เป็นต้น) เห็น ได้ยิน ลิ้มรส เป็นวิปาก แต่อะไรเป็นวิปากปัจจะ? (อาช่าเข้าใจว่า อะไรที่ทำให้วิบากเกิดเป็นวิปากปัจจัย) ไม่ได้ค่ะ อะไรที่ทำให้วิบากเกิด อะไรนั้นจะเป็นวิปากปัจจัยหรือ ในเมื่ออะไรที่ทำให้วิบากเกิดสิ่งนั้นจะเป็นวิบากหรือ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เขาคิดนะถูกบ้างไม่ถูกบ้าง เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้มากกว่านั้น ต้องให้ชัดเจนว่า อะไรหมายความว่าอะไร? (เข้าใจครับว่า ที่ทำให้วิบากเกิด ตัวเองเป็นวิบากไม่ได้ครับ) เดี๋ยวก่อนนะ เพราะฉะนั้น วิบากจิตทำให้เกิดวิบากเจตสิกเกิดด้วยกันใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น มีปัจจัยหนึ่งคือ วิปากปัจจัย แม้เป็นวิบากก็ทำให้เกิดวิบากเกิดพร้อมกัน วิบากจิตเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากเจตสิก วิบากเจตสิกก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิต.
- เพราะฉะนั้น ทุกคำให้เพิ่มความเข้าใจให้มั่นคงทีละน้อย เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของปัจจัย ปัจจยะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะเกื้อกูลทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น จึงต้องมีผลคือปัจจยุปันนธรรม สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น.
- ธรรมลึกซึ้งไหม? (ลึกซึ้ง) เปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราไม่ใช่ศึกษาโดยจำคำ จำจำนวน แต่ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง ทุกขณะ ตั้งแต่เกิดจนตายแม้เดี๋ยวนี้ มิเช่นนั้น ไม่มีประโยชน์.
- ธรรมละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงแสดงธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง เราค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อย.
- ผลของการฟังก็คือ เข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ แต่ธรรมที่มีเดี๋ยวนี้ละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้ จึงค่อยๆ ฟังความละเอียดขึ้นๆ .
- ธรรมทั้งหมดเพียงฟัง ไม่คิด ไม่ไตร่ตรอง ไม่ละเอียด ไม่รอบคอบ จะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย.
- คำตอบ หรือคำที่ดิฉันพูดไม่มีประโยชน์เพราะเป็นคำพูดที่เขาฟังเขาคิดตาม แต่ถ้าเป็นคำถามเขาคิดเอง ไตร่ตรองเอง จนเป็นความมั่นคงขึ้นว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรจริง ฟังแล้วฟังอีกคิดแล้วคิดอีกจนเข้าใจขึ้น ความเข้าใจขึ้นอย่างมั่นคง.
- เริ่มคิดอีกครั้งหนึ่งนะ เพื่อที่จะเข้าใจละเอียดขึ้น มั่นคงขึ้น ปัจจยะ หรือปัจจัย คืออะไร? (ปัจจัยความหมายก็คือ เหตุที่ทำให้ธรรมต่างๆ เกิด) มีปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัย? (มีหลายปัจจัย) เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัจจัยแล้ว ต้องมีอะไร? (เมื่อมีปัจจัยแล้วก็ต้องมีอะไรที่ปัจจัยนั้นทำให้เกิดครับ) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ปัจจยะเป็นปัจจัยให้เกิดปัจจยุปันนธรรม มาจากคำว่า อุปปันนะ เกิดขึ้นเพราะปัจจัย รวมปัจจัยกับอุปปันนะ จึงเป็นปัจจยุปันนธรรม สิ่งนั้นเป็นผลที่เกิดจากปัจจัย.
- ปัจจยะ กับอุปปันนะ อุปปันนะแปลว่า เกิดขึ้น ผุดขึ้น เพราะฉะนั้น ปัจจยะกับอุปปันนะเป็นปัจจยุปันนธรรม.
- จิตเห็น จักขุวิญญาณ เป็นปัจจยะหรือเป็นปัจจยุปันนธรรม? (เป็นทั้ง ๒) ถูกต้อง เก่งมาก เป็นปัจจยะของอะไร? (เป็นปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะเกิด) แล้วเป็นปัจจยุบันของปัจจัยอะไร? (เห็นเป็นปัจจยุบันของสีครับ) แล้วอะไรอีก? (ของเจตสิกที่เกิดพร้อมกัน) โดยปัจจัยอะไร? (ไม่ได้ตอบ) .
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
- เพราะฉะนั้น จิตเห็นเป็นผลของจิตที่เกิดก่อนเป็นอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ถูกต้องไหม? (ถูกต้อง) ถ้าไม่มีจิตที่เกิดก่อนสัมปฏิจฉันนะเกิดไม่ได้ แต่เพราะมีจิตที่เกิดก่อนเป็นอนันตรปัจจัยให้มีจิตเกิดต่อคือ สัมปฏิจฉันนจิต และเป็นจิตอื่นไม่ได้จึงโดยสมนันตรปัจจัย ทีนี้จะต้องคิดอีกหนักๆ นะ นอกจาก?ปัจจัยนี้แล้วเป็นปัจจยุบันของปัจจัยอะไรอีก? (ท่านอาจารย์หมายถึงจิตเห็นใช่ไหม?) ถูกต้อง (คุณสุคิน: ผมบอกว่าตามที่เข้าใจท่านอาจารย์บอกว่าเราเข้าใจว่าสัมปฏิจฉันนะเกิดไม่ได้ถ้าเห็นไม่ได้เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะเกิด ตัวเห็นเองก็เป็นปัจจยุบันซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างพร้อมกันและเป็นปัจจยุบันด้วย ท่านอาจารย์ก่อนหน้านี้ถามว่า ปัจจยุบันของอะไร และเป็นเพราะปัจจัยอะไร ... ) จิตเห็นเป็นปัจจยุบันของปัจจัยอะไร? (ก่อนหน้านี้แกก็ตอบว่าเป็นของเจตสิก แต่ก็ไม่เข้าใจว่าปัจจัยอะไร แต่ตอนนี้แกตอบว่า วิปากปัจจัย) ถ้าบอกว่า จิตเป็นวิปากปัจจัยต้องบอกว่าอะไรเป็นปัจจยุบันของวิปากปัจจัยที่เป็นจิต (เข้าใจ) แล้วไม่ได้ตอบหรือ? คุณสุคินคะ ถึงเวลาที่เขาจะฟังคำถามดีๆ สั้นๆ คิดไตร่ตรองตอบสั้นๆ ให้ตรง เมื่อกี๊นี้เขาพูดว่า จิตเห็นเป็นปัจจัย และเป็นปัจจยุบัน ทั้งสองอย่างต่างกัน เพราะฉะนั้น จิตเห็นเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร และจิตเห็นเป็นผลของอะไรที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้น จึงจะเข้าใจความหมายของคำว่า ปัจจัยและปัจจยุบัน เพราะฉะนั้น ตอนนี้ถามทีละอย่างนะ ให้เขาคิดอีกครั้งหนึ่ง จิตเห็นเป็นปัจจัยหรือเป็นปัจจยุบัน สั้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย? เอาอย่างนี้ก็ได้ จิตเห็นเป็นปัจจัยได้ไหม? (เป็นได้) ฟังดีๆ นะ จิตเห็นเป็นปัจจยุบันเป็นผลของปัจจัยได้ไหม? (ได้ครับ) เพราะฉะนั้น เราจะพูดทีละอย่าง จิตเห็นเป็นปัจจัยให้เกิดอะไรซึ่งเป็นปัจจยุบัน? ( ... ) ถ้าอย่างนั้น ทบทวนสิ่งที่เขาได้ฟังแล้ว แต่เขาเก่งที่จะเข้าใจในขณะที่ฟัง แต่พอฟังจบความเข้าใจไม่มั่นคง ไม่ลึกพอจึงไม่สามารถที่จะคิดถึงสิ่งที่ได้ฟังแล้ว แต่ถ้าฟังบ่อยๆ มีความเข้าใจขึ้น เขาก็จะเห็นความเป็นธรรม และก็จะเข้าใจว่า ไม่มีเรา เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เพราะการที่จะละความเป็นเราต้องมีความเข้าใจเท่านั้นที่จะละได้ (เห็นเป็นปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อ และเป็นปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดพร้อมกัน) โดยปัจจัยอะไร? (จิตเห็นเป็นอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะเกิด และจิตเห็นเป็นวิปากปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดพร้อมกัน) แล้วอะไรอีก แล้วมีปัจจัยอะไรอีก? คงคิดยากนะเพราะเขายังไม่ได้ยินชื่อ และเรื่องของปัจจัยอื่นๆ แต่ให้ทราบว่า จิตเห็นเป็นวิปาก เพราะฉะนั้น เป็นปัจจยุบันของกัมมปัจจัย (คุณสุคิน: เมื่อกี๊แกก็เอ่ยถึงสหชาตปัจจัยซึ่งถูก แต่ผมก็บอกว่าเรายังไม่ได้คุยเรื่องนี้ เพราะฉะนั้น ... ) ขอโทษนะ ไม่เหมือนกัน ถ้ากล่าวว่า จิตเห็นเป็นวิปากปัจจัย แต่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย นี่นัยหนึ่งที่เป็นวิปากปัจจัยแก่อะไร แต่ตัวจิตเห็นเป็นวิปากปัจจัยของอีกปัจจัยด้วยเป็นกัมมปัจจัย นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราไม่ได้ฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจ เราจำได้แต่ชื่อแต่เข้าใจหรือ?
- เข้าใจกัมมปัจจัย กับวิปากปัจจัยแล้วยัง เห็นไหม จิตเห็นเป็นวิปากปัจจัยแก่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยโดยฐานะที่เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต้องเป็นวิบากด้วย เพราะจิตเห็นเป็นวิปากปัจจัย และเจตสิกก็เป็นวิปากปัจจัยแก่จิตเห็นด้วย เพราะว่าจิตเห็นที่เป็นปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ เป็นกิริยาไม่ได้ ต้องเป็นวิปากปัจจัยโดยวิปากปัจจัย (ตรงนี้เขาเข้าใจครับ) แต่ จิตเห็นเองเป็นปัจจยุบันของอะไร เห็นไหมคะ เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น เขาเป็นปัจจยุบันของ ไม่ใช่ปัจจัยแล้ว แต่นี่เราพูดถึงปัจจยุบันแต่เมื่อกี๊เราพูดถึงปัจจัยที่เป็นวิปากปัจจัย เกิดร่วมกัน เป็นปัจจัยด้วยกัน แต่ทั้งสองอย่างเป็นปัจจยุบันของอะไร เขาพูดแล้วใช่ไหม? (ยังไม่ได้พูดครับ) เพราะฉะนั้น ให้เห็นความต่างที่ละเอียดมาก แม้แต่คำ แม้แต่ขณะที่ต่างกัน (ครับ) .
- เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า ปริยัติ ต้องเข้าใจว่า หมายความถึงรอบรู้ ไม่ใช่เพียงเข้าใจนิดหน่อย คำสองคำ แต่รอบรู้ในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง รอบรู้ไม่ใช่เพียงฟัง เพราะฉะนั้น เพียงแค่จิตเห็น รอบรู้ว่าเป็นปัจจัยหรือว่าเป็นปัจจยุบันโดยปัจจัยอะไร จึงจะค่อยๆ รู้ว่า รู้จริงๆ ว่า จิตเห็นเกิดเพราะอะไร ดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร เพราะฉะนั้น ทั้งชาติทุกชาติก็คือว่า ได้เริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีเพิ่มขึ้นที่จะค่อยๆ ละความไม่รู้ และความเป็นเรา.
- เพราะฉะนั้น ให้เขาเห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่ง และเริ่มเข้าใจทุกอย่างที่ปรากฏแต่ละหนึ่ง.
- สำหรับวันนี้ก็คงจะมีหลายเรื่องที่ฟังแล้ว ต้องคิดต้องไตร่ตรอง เพราะคราวหน้าเราจะพูดถึงความรอบรู้ในสันตีรณจิต ซึ่งการที่จะพูดถึงสันตีรณะในคราวหน้าก็เป็นการทบทวนที่ได้เข้าใจในวันนี้นั่นเอง อย่าลืมนะ วันนี้เราเพิ่มความรู้เรื่องปัจจัยกับปัจจยุบัน สำหรับวันนี้ก็สวัสดีค่ะ หวังว่าทุกคนจะไม่ลืมเรื่องที่ได้ฟังแล้วนะ.
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ