Thai-Hindi 29 April 2023

 
prinwut
วันที่  29 เม.ย. 2566
หมายเลข  45825
อ่าน  657

Thai-Hindi 29 April 2023


- (คราวที่แล้วพูดถึงเรื่องผลของอกุศลกรรมมี ๗ และผลของกุศลกรรมมี ๘)

- ขณะนี้มีกุศลวิบากเท่าไหร่ที่ไม่มีเหตุ? ฟังคำถาม เดี๋ยวนี้คุณอาช่ามีอกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่ (มี ๗ ทีละ ๑ ใน ๗)

- คุณอาช่ามีกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่ ฟังคำถามแล้วตอบให้ตรง (๘) รวมทั้งหมดมีวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่ (๑๕) จะมีเกินกว่านี้ได้ไหม (ไม่ได้) นกมีเกินกว่านี้ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นธรรมใครก็เปลี่ยนไม่ได้

- ต่อไปนี้เราพูดเรื่องกิจของจิตที่เป็นอเหตุกที่เป็นวิบาก ดิฉันให้เขาพูดว่า อกุศลวิบากจิตที่ ๑ ดวงไหนก็ได้ทำกิจอะไรทีละหนึ่งสั้นๆ ช้าๆ (เห็นที่เป็นผลของกุศลกรรม)

- เห็นทำกิจอะไร (ทำกิจเห็น) เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เห็นเกิดไม่ใช่อาช่า ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะนั้นมีธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็นเป็นผลของกุศลจึงเห็นสิ่งที่น่าพอใจ

- เดี๋ยวนี้มีอาช่าเห็นไหม (ไม่มี) จนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพที่เป็น “ธาตุรู้” ขณะนี้เดี๋ยวนี้เองที่ “เห็น” เพราะฉะนั้น เข้าใจเดี๋ยวนี้ว่า “เห็น” เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ไม่ใช่อาช่า เป็นความความเข้าใจระดับปริยัติปฏิบัติ หรือปฏิเวธ (ปริยัติ) จะเป็นปฏิปัตติได้ไหม (เป็นได้เมื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นพอ) เพราะฉะนั้น เข้าใจถูกต้อง ดีมาก ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่ใช่อาช่าแต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นทำแต่ละกิจกี่กิจแล้ว (๕ กิจ)

- เพราะฉะนั้น มีจิตเท่าไหร่แล้วที่ทำ ๕ กิจ (๑๐) ถามว่า มีกิจ ๕ กิจและอเหตุกจิตที่ทำ ๕ กิจทั้งหมดกี่ดวง (ตอบว่า ๑๐) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ยังเหลือจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เป็นวิบากอีกกี่ดวงที่เราจะกล่าวถึง (เหลือ ๕)

- กล่าวทีละ ๑ อะไรที่เหลือ (สัมปฏิจฉันนะที่เป็นผลของกุศลกับอกุศล) สัมปฏิจฉันนะ ทำกิจเห็นได้ไหม (ไม่ได้) สัมปฏิจฉันนะรู้อารมณ์อะไร (รู้อารมณ์เดียวกันกับจิตที่เกิดก่อนสัมปฏิจฉันนะ เช่น รู้สีเหมือนจิตเห็น) สัมปฏิจฉันนะรู้สี รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส แต่ไม่เห็น ไม่ได้ยินใช่ไหม (ใช่ตามนั้น) แล้วสัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไร (รับรู้อารมณ์ต่อจากเห็น)

- เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่าจิตเห็น จิตได้ยินใช่ไหม (ต้องเป็นอย่างนั้น)

- เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า สัมปฏิจฉันนจิตมี “วิตักกเจตสิก” เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นวิตักกะเป็นเจตสิกที่ “จรดในอารมณ์”

- วิตักกเจตสิกไม่เกิดเมื่อไหร่ (เช่น ตอนเห็นไม่มีวิตักกะ) เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า วิตักกเจตสิกไม่เกิดกับจิต ๑๐ ดวง

- เห็นความต่างกันของขณะจิตซึ่งไม่มีใครทำแต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยว่า ธรรมเป็นอย่างนี้จึงเป็นธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แม้จิตเห็นดับก็มีจิตที่เกิดต่างกับจิตเห็นเพราะมีเจตสิกที่เป็นวิตักกเจตสิกเกิดร่วมด้วย

- ถ้าไม่มีวิตักกเจตสิกไม่มีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น จะไม่มีอะไรเลยนอกจากเห็นได้ยินเท่านั้น แต่นี่มีคิดมีทุกอย่างหลังจากที่เห็นแล้วเพราะมี “วิตักกะ” แม้ไม่ได้เกิดกับสัมปฏิจฉันนะ ไม่เห็นแต่มีวิตักกะที่จรดในอารมณ์ เพราะฉะนั้นจิตต่อๆ ไปไม่เห็นอะไรเลยแต่ก็มีวิตักกะที่จรดในอารมณ์ที่เห็นแล้ว

- เพราะฉะนั้น ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงว่า “วิตักกะเป็นเท้าของโลก” ก้าวไปๆ ไม่หยุดยั้งจนถึงนิพพานก็ได้ เป็น “สัมมาสังกัปปะ”

เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้สัมปฏิจฉันนะปรากฏไหม (ไม่ปรากฏ) สันตีรณจิตที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะรู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็นกำลังปรากฏให้รู้ได้หรือเปล่า (ไม่ปรากฏ)

- นี่เป็นเหตุที่สภาพธรรมทั้งหมดไม่ว่าอะไรที่เกิดดับเร็วมากไม่สามารถจะปรากฏทีละ ๑ แต่ปรากฏเป็น “นิมิตฺต” ขณะที่เห็นเดี๋ยวนี้

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เหมือนมีแต่เห็นอย่างเดียวแต่ความจริงมีจิตที่เกิดดับสืบต่อเร็วมากแต่ที่ปรากฏๆ เป็นเห็น เป็น “นิมิตของเห็น” เท่านั้นเพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดอยู่ในโลกของ “นิมิตฺต” ทั้งหมด

- ขณะนี้มี “นิมิตของธาตุรู้” ทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนี้มีนิมิตของธาตุรู้ปรากฏ เป็นความรู้ระดับไหน (ปริยัติ) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น อยู่ในโลกของนิมิตที่มีคุณอาช่า คุณอาคิ่ล หรือคุณสุคิน มีโลก มีนก มีทะเล มีทุกอย่างเป็น “นิมิต” ทั้งหมด

- ไม่มีอะไรนอกจากธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับใช่ไหม (ใช่) ชาติก่อนๆ ก็เป็นอย่างนี้ ชาตินี้ก็เป็นอย่างนี้ ต่อไปก็ต้องเป็นเหมือนอย่างนี้ใช่ไหม (ใช่)

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะคิดว่า มีคุณอาช่าจริงๆ มีคุณอาคิ่ลจริงๆ มีคุณสุคินจริงๆ มีทุกอย่างจริงๆ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงว่า ไม่มีอะไรเลยนอกจาก “นิมิตของธรรม”

- อะไรคือความเห็นถูก อะไรเป็นความเห็นผิด (ความจริงก็คือมีแต่ธรรม) เห็นพระคุณสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม ถ้าไม่มีพระองค์จะสามารถรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ต่อไปเพิ่มขึ้นจนประจักษ์แจ้งได้ไหม

- ศึกษาธรรมด้วยการ “ตรงต่อความจริง” ถ้าเข้าใจผิดไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีปัญจทวารวัชชนะ มีสัมปฏิจฉันนะแต่ไม่ได้ปรากฏ ปรากฏแต่เพียงสิ่งที่กระทบตา หูจมูก ลิ้น กายและใจเท่านั้นเป็นนิมิตของทุกอย่างต้องไม่ลืม ทุกอย่างกำลังปรากฏแต่ไม่ได้ปรากฏตามความเป็นจริง

- สัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไรได้บ้าง (ทำได้กิจเดียวรับรู้อารมณ์ต่อจาก เห็น ได้ยิน ฯลฯ ) สัมปฏิจฉันนะดับไปจิตอะไรต้องเกิด จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้นอกจากจิตนั้นเท่านั้น (สันตีรณะ)

- นี่แสดงให้เห็นว่า สภาพธรรมต้องอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเป็นไปเปลี่ยนไม่ได้ต้องเป็นไปตามปัจจัย เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจปัจจัยด้วย ถ้าไม่มีปัจจัยธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้นไม่ได้

- จิตเกิดขึ้นไม่รู้อารมณ์ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น สิ่งที่จิตรู้เป็น “อารมณ์” ให้จิตเกิดขึ้นจึงเป็น “อารัมณปัจจัย” เพราะต้องเป็นอารมณ์ของจิตที่กำลังรู้

- เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ สัมปฏิจฉันนะต้องรู้อารมณ์ไหม (ต้องรู้) มีจิตอะไรที่ไม่รู้อารมณ์ (ไม่มี) เมื่อเป็นจิตต้องรู้อารมณ์ใช่ไหมเพราะฉะนั้นอารมณ์ต้องเป็นปัจจัย ๑ ที่ทำให้เกิดจิต เพราะฉะนั้นอารมณ์เป็น “อารัมณปัจจัย” แก่จิต

- จิตทุกดวงเกิดแล้วดับไป จิตที่ดับไปเป็นปัจจัยให้จิตที่เกิดเกิดต่อ ตราบใดที่จิตนั้นยังเป็นเหตุให้จิตต่อไปเกิดหลังจากที่จิตนั้นดับ จิตนั้นเป็น “อนันตรปัจจัย” ทำให้จิตเกิดต่อ

- มีจิตอะไรที่เมื่อดับแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกเกิดต่อ (เท่าที่เข้าใจไม่มีจิตที่ดับแล้วไม่เป็นปัจจัยทำให้จิตต่อไปเกิดขึ้น) เก่งนะคะ แต่ยังต้องเข้าใจอีกว่า มีจิตอะไรที่ดับแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกเกิดอีกเลย (ไม่รู้)

- ไม่รู้ใช่ไหม (ไม่รู้) จุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้นที่ดับแล้วไม่เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกเกิดอีกได้เลย เพราะฉะนั้น จิตทุกขณะจะต้องเกิดดับไปจนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ จุติจิตดับไม่เป็นปัจจัยให้จิตเกิดอีกเลย

- เพราะฉะนั้นคำว่า “ปรินิพพาน” หมายความว่า “ดับโดยรอบ” ทั้งหมดไม่เหลือที่จะเป็นปัจจัยให้มีการเกิดอีก

- เพราะฉะนั้นคำว่า “นิพพาน” มีหลายความหมายเพราะเหตุว่า สภาพธรรมที่เป็นนิพพานเป็น “นิพพานปรมัตถ์” สภาพธรรมของจิตที่เกิดเป็นจุติจิตเป็น “ปรินิพพาน” ไม่มีการเกิดเลยแต่ยังมีคำว่า กิเลสนิพพาน “สอุปาทิเสสนิพพาน” หมายความว่า จิตต่อไปที่เกิดไม่มีกิเลสแต่ยังต้องเกิด

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดับกิเลส ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีกิเลสเหลือเลย แต่มีปัจจัย “อนันตรปัจจัย” ที่จะทำให้จิตเกิดต่อเพราะเป็นผลของกรรมที่ยังไม่ทำให้ถึงความเป็น“ปรินิพพาน”

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับกิเลสหมดแต่ยังไม่ปรินิพพานมีสัมปฏิจฉันนะเกิดไหม (มี) ถูกต้องเป็นสัมปฏิจฉันนะที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก ทุกคนเหมือนกันใช่ไหม เพราะอะไร (เพราะกรรมในอดีตที่ทำแล้วต้องให้ผล)

- ขณะที่จิตเห็นดับแล้วสันตีรณะเกิดต่อได้ไหม (ไม่ได้) ถูกต้อง เพราะอะไร (ตอบได้แค่ต้องมีอะไรเกิดก่อน) เพราะธรรมเกิดเองไม่ได้ต้องอาศัยปัจจัยให้สิ่งนั้นเกิด แต่ปัจจัยมีมากหลายอย่างเรากำลังเริ่มเรียนรู้บางปัจจัยให้มั่นคงว่า ไม่ใช่เราเป็นธรรมทุกอย่าง

- เมื่อกี้นี้เรากล่าวเพื่อที่จะให้มีความเข้าใจที่มั่นคงว่า ทั้งหมดเป็นธรรมโดยที่จิตเป็น “ธาตุรู้” เกิดขึ้นต้องรู้สิ่งที่ถูกรู้เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นอารมณ์เป็นปัจจัย ๑ เป็น “อารัมมณปัจจัย” ให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ๑ ปัจจัย

- ตั้งแต่เกิดจนตายขณะไหนไม่มีอารัมณปัจจัย (ไม่มี) เพราะฉะนั้น “จักขุวิญญาณ” จิตเห็นดับเป็นปัจจัยให้อะไรเกิด (๒ ปัจจัย อารัมมณปัจจัย อนันตรปัจจัย) ถามว่าอย่างนี้หรือเปล่า (ได้ยินคำถามว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เห็นเกิด)

- ดิฉันถามว่า เห็นดับแล้วอะไรเกิดขึ้นต่อจากเห็น (สัมปฏิจฉันนะ) จิตเห็นดับแล้วสันตีรณะเกิดต่อได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เพราะอารมณ์ที่เกิดทางตาไม่ได้ถูก”รับต่อ” จากเห็นก่อนสันตีรณะ)

- เพราะฉะนั้นมีปัจจัยเพิ่มอีกปัจจัยหนึ่งคือ ทันทีที่เห็นดับเป็นปัจจัยให้จิตเกิดต่อโดย “อนันตรปัจจัย” จะไม่มีจิตเกิดต่อไม่ได้ ต้องมี เพราะจิตที่ไม่มีอะไรเกิดต่อต้องจุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้น

- เพราะฉะนั้นจิตอื่นทั้งหมดที่ไม่ใช่จุติจิตของพระอรหันต์ดับแล้วเป็นปัจจัยเป็น “อนันตรปัจจัย” ให้จิตต่อไปเกิดขึ้นไม่มีระหว่างขั้นเลยติดกันทันที

- ทันทีที่จิตเห็นดับต้องเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นทำกิจต่างๆ เพราะฉะนั้นหลังจากจิตเห็น จิตอื่นจะทำกิจอื่นไม่ได้นอกจากรับรู้อารมณ์นั้นต่อเพราะฉะนั้นจึงเป็นสัมปฏิจฉันนจิตโดยเป็นอนันตรปัจจัยจากจักขุวิญญาณทำให้สัมปฏิจฉันนจิตเกิดขึ้น เป็นสันตีรณจิตไม่ได้ เพราะโดย “สมนันตรปัจจัย” เป็นอีกชื่อ ๑ อีกปัจจัย ๑ แม้จิตจะเกิดดับสืบต่อกันก็จริงแต่ต้องเป็นไปตามลำดับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 29 เม.ย. 2566

- จักขุวิญญาณเกิด ดับไป อกุศลจิตเกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม (ไม่แน่ใจ) เพราะฉะนั้น อนันตรปัจจัยคืออะไร (คือ ปัจจัยที่ทำให้จิตต่อไปเกิด) สมนันตรปัจจัยคืออะไร (หมายถึงจิตใดดับไปแล้วต้องมีจิตเฉพาะเกิดต่อตามปัจจัยนั้น)

- หมายความว่า ทันทีที่จักขุวิญญาณดับจิตอะไรต้องเกิดต่อ (สัมปฏิจฉันนะต้องเกิดต่อ) ทำไมเป็นสันตีรณะไม่ได้ (เพราะสมนันตรปัจจัย)

- หมายความว่า อนันตรปัจจัยเป็นจิตที่เกิดต่อจากจิตที่ดับไปแล้ว สมนันตรปัจจัยหมายความว่า จิตที่เกิดต่อต้องเป็นไปตามลำดับเปลี่ยนแปลงไม่ได้

- “จักขุทวารวัชชนะ” จิตที่เกิดก่อนเห็นดับไปแล้ว จิตอะไรต้องเกิดต่อ (เห็น) โดยปัจจัยอะไร (อนันตรปัจจัยกับสมนันตรปัจจัย) เพราะฉะนั้น เข้าใจแล้วใช่ไหมว่า ไม่มีเราเลย แต่เป็นธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยหลายอย่าง

- สัมปฏิจฉันนะ จะเกิดโดยไม่มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเกิดก่อนได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เพราะสมนันตรปัจจัย) เพราะอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย

- เพราะฉะนั้นได้ยินคำว่า “ไม่มีเรา” เท่านั้น ไม่สามารถที่จะละความเป็นเราได้จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจละเอียดขึ้นว่า ชีวิตคืออะไร ปฏิสนธิคืออะไร ตั้งแต่เกิดจนตายคืออะไร และไม่มีอะไรนอกจาก “ธรรม”

- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้รู้จักปัจจัยอะไรบ้าง (อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อารัมมณปัจจัย) มีวิปากปัจจัยไหม (มี) อะไรเป็นวิปากปัจจัย (เช่น เห็น ได้ยิน ลิ้มรส) เห็นได้ยิน เป็นวิบาก แต่อะไรเป็นวิปากปัจจัย (เข้าใจว่าอะไรที่ทำให้วิบากเกิดเป็นวิปากปัจจัย)

- ไม่ได้ค่ะ อะไรที่ทำให้วิบากเกิด อะไรนั้นจะเป็นวิปากปัจจัยหรือ ในเมื่ออะไรที่ทำให้วิบากเกิดสิ่งนั้นจะเป็นวิบากหรือ เพราะฉะนั้นเขาคิดถูกบ้างไม่ถูกบ้าง เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า “อะไร” หมายถึงอะไร (เข้าใจว่าที่ทำให้วิบากเกิด ตัวเองเป็นวิบากไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น วิบากจิตทำให้วิบากเจตสิกเกิดด้วยกันใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นมีปัจจัย ๑ คือ “วิปากปัจจัย” แม้เป็นวิบากก็ทำให้วิบากเกิดพร้อมกัน วิบากจิตเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากเจตสิก วิบากเจตสิกก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิต

- เพราะฉะนั้น ทุกคำให้เพิ่มความเข้าใจให้มั่นคงทีละน้อย เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจความหมายของปัจจัย “ปจฺจย” เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะเกื้อกูลทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นจึงต้องมีผล “ปัจจยุบบันธรรม” สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น

- เปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราไม่ใช่ศึกษาโดยจำคำจำจำนวนแต่ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงทุกขณะตั้งแต่เกิดจนตายแม้เดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นไม่มีประโยชน์

- ธรรมละเอียดลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงแสดงธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง เราค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อยผลของการฟังก็คือเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ แต่ธรรมที่มีเดี๋ยวนี้ละเอียดลึกซึ้งยากที่จะรู้ได้จึงค่อยๆ ฟังความละเอียดขึ้นๆ

- ธรรมทั้งหมดเพียงฟัง ไม่คิด ไม่ไตร่ตรอง ไม่ละเอียด ไม่รอบคอบ จะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย คำตอบหรือคำที่ดิฉันพูดไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นเพียงคำที่เขาฟังเขาคิดตาม แต่ถ้าเป็นคำถามเขาคิดเองไตร่ตรองเองจนเป็นความมั่นคงขึ้นว่า อะไรถูก อะไรผิด อะไรจริง ฟังแล้วฟังอีก คิดแล้วคิดอีกจนเข้าใจขึ้นอย่างมั่นคง

- เริ่มคิดอีกครั้งหนึ่งเพื่อจะเข้าใจขึ้นมั่นคงขึ้น ปจฺจย หรือ ปัจจัย คืออะไร (คือ เหตุที่ทำให้ธรรมต่างๆ เกิด) มีปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัย (มีหลายปัจจัย) เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัจจัยแล้วต้องมีอะไร (ต้องมีอะไรที่ปัจจัยนั้นทำให้เกิด)

- ถูกต้อง เพราะฉะนั้น “ปจฺจย” เป็นปัจจัยให้เกิด “ปัจจยุบบันธรรม” มาจากคำว่า “อุปฺปนฺน” เกิดขึ้นเพราะปัจจัยรวม ปจฺจย กับ อุปฺปนฺน เป็น ปัจจยุบบันธรรม สิ่งนั้นเป็นผลของปัจจัย

- ปจฺจย กับ อุปฺปนฺน อุปฺปนฺน แปลว่า ผุดขึ้น เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ปจฺจย กับ อุปฺปนฺน เป็น ปัจจยุบบันธรรม

- จิตเห็น จักขุวิญญาณ เป็น ปจฺจย หรือ ปัจจยุบบันธรรม (เป็นทั้งสอง) ถูกต้องเก่งมาก เป็น ปจฺจย ของอะไร (เป็นปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะเกิด) แล้วจิตเห็นเป็นปัจจยุบบันหรือเปล่า (เห็นเป็นปัจจยุบบันของสี) แล้วอะไรอีก (ของเจตสิกที่เกิดพร้อมกัน) โดยปัจจัยอะไร

- เพราะฉะนั้นจิตเห็น “เป็นผล” ของจิตที่เกิดก่อนซึ่งเป็นอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย ถูกต้องไหม

- ถ้าไม่มีจิตที่เกิดก่อน สัมปฏิจฉันนะเกิดไม่ได้แต่เพราะมีจิตที่เกิดก่อนเป็นอนันนตรปัจจัยให้มีจิตเกิดต่อเป็นสัมปฏิจฉันนจิตเป็นจิตอื่นไม่ได้ โดย “สมนนฺตรปจฺจย”

- ทีนี้จะต้องคิดอีกหนักๆ นอกจากปัจจัยนี้แล้ว เป็นปัจจยุบบันของปัจจัยอะไรอีก (หมายถึงจิตเห็นใช่ไหม) ถูกต้อง (เป็นปัจจยุบบันของวิปากปัจจัย) ถ้าบอกว่า จิตเป็นวิปากปัจจัยต้องบอกว่าอะไรเป็นปัจจยุบบันของวิปากปัจจัยที่เป็นจิต

- ถึงเวลาที่เขาจะฟังคำถามดีๆ สั้นๆ คิดไตร่ตรองให้ตรง เมื่อกี้นี้เขาพูดว่า จิตเห็นเป็นปัจจัยและปัจจยุบบันทั้ง ๒ อย่างต่างกัน เพราะฉะนั้น จิตเห็นเป็นปัจจัยให้เกิดอะไรและจิตเห็นเป็นผลของอะไรที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้นจึงจะเข้าใจความหมายของคำว่า ปัจจัย และ ปัจจยุบบัน

- เพราะฉะนั้น ตอนนี้ถามทีละอย่างให้เขาคิดอีกครั้ง จิตเห็นเป็นปัจจัยหรือเป็นปัจจยุบบัน เอาอย่างนี้ก็ได้ จิตเห็นเป็นปัจจัยได้ไหม (ได้) จิตเห็นเป็นปัจจยุบบันเป็นผลของปัจจัยได้ไหม (ได้)

- เพราะฉะนั้นเราจะพูดทีละอย่าง จิตเห็นเป็นปัจจัยให้เกิดอะไรซึ่งเป็นปัจจยุบบัน (…)

- ถ้าอย่างนั้นทบทวนสิ่งที่ได้ฟังแล้ว แต่เขาเก่งที่พอจะเข้าใจในขณะที่ได้ฟังแต่พอฟังจบความเข้าใจไม่มั่นคงไม่ลึกพอจึงไม่สามารถที่จะคิดถึงสิ่งที่ได้ฟังแล้ว แต่ถ้าฟังบ่อยๆ และมีความเข้าใจขึ้นจะเห็นความเป็นธรรมและจะเข้าใจว่า ไม่มีเราเพิ่มขึ้นทีละน้อยและการที่จะละความเป็นเราต้องมีความเข้าใจเท่านั้นที่จะละได้

- (เห็นเป็นปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะที่เกิดหลังและเป็นปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดพร้อมกัน) โดยปัจจัยอะไร (เห็นเป็นอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัยให้สัมปฏิจฉันนะเกิดและเป็นวิปากปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดพร้อมกัน) และมีปัจจัยอะไรอีก ( ... )

- คงคิดยากเพราะว่าเขายังไม่ได้ยินชื่อและเรื่องของปัจจัยอื่นๆ แต่ให้ทราบว่า จิตเห็นเป็น “วิปาก” เพราะฉะนั้นเป็น “ปจฺจยปฺปนฺน” ของ “กมฺมปจฺจย”

- ถ้ากล่าวว่า จิตเห็นเป็นวิปากปัจจัยแก่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย นี่นัย ๑ ที่เป็นวิปากปัจจัยแก่อะไร แต่ตัวจิตเห็นเป็นวิปากปัจจัยของอีกปัจจัยหนึ่งด้วย “กัมมปัจจัย” นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราไม่ได้ฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจ เราจำแต่ชื่อ เข้าใจหรือ

- มีความเข้าใจกัมมปัจจัยกับวิปากปัจจัยหรือยัง เห็นไหม เห็น จิตเห็นเป็นวิปากปัจจัยแก่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยโดยฐานะที่เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต้องเป็นวิบากด้วย เพราะจิตเห็นเป็นวิปากปัจจัย และเจตสิกก็เป็นวิปากปัจจัยแก่จิตเห็นด้วย เพราะว่าจิตเห็นที่เป็นปัจจัยให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ เป็นกิริยาไม่ได้ต้องเป็นวิปากปัจจัยโดย “วิปากปัจจัย” (ตรงนี้เข้าใจ)

- แต่จิตเห็นเองเป็นปัจจยุบบันของอะไร เห็นไหม เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น เขาเป็นปัจจยุบบัน ไม่ใช่ปัจจัยแล้ว แต่ตอนนี้เราพูดถึงปัจจยุบบัน แต่เมื่อกี้เราพูดถึงปัจจัยที่เป็นวิปากปัจจัยเกิดร่วมกันเป็นปัจจัยด้วยกัน แต่ทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นผลที่เกิดเป็นปัจจยุบบันของปัจจัยอะไร เขาพูดแล้วใช่ไหม (ยังไม่ได้พูด) เพราะฉะนั้น ให้เห็นความต่างที่ละเอียดมากแม้แต่คำแม้แต่ขณะที่ต่างกัน

- เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่า “ปริยัติ” ต้องเข้าใจว่า หมายความถึง “รอบรู้” ไม่ใช่เพียงเข้าใจนิดหน่อยคำสองคำ แต่รอบรู้ในสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “รอบรู้” ไม่ใช่เพียงฟัง เพราะฉะนั้น เพียงแค่จิตเห็นรอบรู้ว่า เป็นปัจจัยหรือเป็นปัจจยุบบันโดยปัจจัยอะไร จึงจะค่อยๆ รู้ว่า รู้จริงๆ ว่าจิตเห็นเกิดเพราะอะไร ดับไปเป็นปัจจัยให้เกิดอะไร

- เพราะฉะนั้นทั้งชาติทุกชาติก็คือว่า ได้เริ่มเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีเพิ่มขึ้นที่จะค่อยๆ ละความไม่รู้และความเป็นเรา เพราะฉะนั้นให้เห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งและเริ่มเข้าใจทุกอย่างที่ปรากฏแต่ละ ๑

- สำหรับวันนี้คงจะมีหลายเรื่องที่ฟังแล้วต้องคิดต้องไตร่ตรองเพราะคราวหน้าเราจะพูดถึงความรอบรู้ในสันตีรณจิต ซึ่งการที่จะพูดถึงสันตีรณะคราวหน้าก็เป็นการทบทวนที่ได้เข้าใจวันนี้นั่นเอง

- อย่าลืมนะคะ วันนี้เราเพิ่มความรู้เรื่องปัจจัยกับปัจจยุบบัน สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ หวังว่าทุกคนจะไม่ลืมเรื่องที่ได้ฟังแล้วนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 29 เม.ย. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรับ

กราบเท้าบูชาคุณและกราบอนุโมทนาในกุศลท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ทุกประการ

ยินดีในกุศลของคุณสุคินและชาวอินเดียผู้ร่วมสนทนาทุกท่าน

ขอบพระคุณคุณอัญชิสา (คุณสา) คุณจิรัชพรรณ์ (คุณซี) ที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง

ยินดีในกุศลของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 29 เม.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน เป็นอย่างยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นที่สุด ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Junya
วันที่ 29 เม.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ กราบยินดีในกุศลของสหายธรรมชาวอินเดีย อาจารย์สุคิน และกราบยินดีในกุศลของคุณตู่เป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 30 เม.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ