Thai-Hindi 13 May 2023
Thai-Hindi 13 May 2023
- (คราวที่แล้วพูดถึงจิตที่อารมณ์ปรากฏและจิตที่อารมณ์ไม่ปรากฏ) ถามคุณอาช่า เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) ขณะไหนไม่มีจิตบ้าง (ไม่มี)
- เพราะฉะนั้นยกตัวอย่างจิตที่มีเดี๋ยวนี้ (มีเห็น หลังจากเห็นดับมีได้ยิน) ขณะนี้มีแข็งไหม (มี) จิตอยู่ไหนขณะที่แข็งปรากฏ (จิตอยู่ตรงที่กระทบแข็ง) จิตอยู่ตรงที่แข็งใช่ไหมเพราะจิตกำลังรู้แข็ง
- เพราะฉะนั้นเราจะไม่พูดยาวแต่พูดสั้น ให้เขาคิดของเขาเองสั้นๆ จนกระทั่งชัดขึ้น จะไม่บอกอะไรเลยทั้งสิ้นเพราะฉะนั้นทุกคำที่ถามให้เขาคิดสั้นๆ เดี๋ยวนี้ที่เห็น จิตอยู่ไหน (อยู่ที่ตา) ไม่ใช่อยู่ที่สิ่งที่ปรากฏหรือ (หมายถึงตาปรากฏหรือ) จิตอยู่ไหน ไม่ได้ถามถึงเรื่องตา กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ จิตอยู่ไหน (ตอบว่าอยู่ที่ตา)
- จิตอยู่ที่ตาแล้วรู้อะไร (รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา) รู้สิ่งที่กำลังปรากฏที่เราบอกว่า เห็น ใช่ไหม ถ้าจำว่าจิตอยู่ที่ตา จะรู้ลักษณะของจิตไหม (ไม่) แต่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้จิตนั่นเองที่รู้สิ่งที่ปรากฏตรงนั้นตรงที่ปรากฏ
- เพราะฉะนั้น ขณะ ๑ ที่ได้ยิน จิตไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย จิตได้ยินเสียงรู้เสียงและขณะนั้นเสียงปรากฏถ้าได้ยินไม่มี เสียงปรากฏไม่ได้
- ไม่คุ้นเคยเลยกับลักษณะของจิตซึ่งรู้ทุกอย่างที่ปรากฏตรงนั้น ไม่ได้อยู่ตรงอื่นอยู่ตรงที่สิ่งนั้นปรากฏ เพราะฉะนั้น ต้องไตร่ตรองให้เข้าใจความลึกซึ้ง มีจิตตลอดเวลา เกิดตายก็เป็นจิตทั้งหมด เกิดเป็นจิต ยังไม่ตายก็เป็นจิต ตายก็เป็นจิต เกิดก็เป็นจิตไม่เคยขาดจิตเลย
- เพราะฉะนั้น ไม่คุ้นเคยกับจิต ได้ยินแต่ว่า จิตรู้ จิตได้ยิน จิตจำ จิตคิด แต่ว่า เดี๋ยวนี้ๆ เราสามารถรู้จิตได้เมื่อมีสิ่งใดปรากฏ เพราะจิตตรงนั้นเกิดขึ้นรู้ตรงนั้น
- เพราะฉะนั้น จึงจำว่า จิตเกิดที่ตา จำได้แต่การที่จะกล่าวให้เข้าใจจิตจริงๆ ต้องกล่าวหลายนัยจึงสามารถที่จะเข้าใจความลึกซึ้งของจิตได้ ถ้าไม่เข้าใจความลึกซึ้งของจิตจริงๆ ไม่สามารถจะรู้จักจิตได้เลย ได้ยินแต่ชื่อ
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความลึกซึ้งของจิตโดยนัยต่างๆ
- ฟังดีๆ คิดดีๆ ไตร่ตรองดีๆ ขณะที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏเดี๋ยวนี้ จิตอยู่ไหน เพราะฉะนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจิตและที่เกิดของจิตต่างๆ แต่ต้องรู้ว่า ลักษณะของจิตเป็นสภาพรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตรู้ตรงนั้นอยู่ตรงนั้น เช่น เห็นสิ่งที่ปรากฎ ๑ ขณะมีจิตกับสิ่งที่ปรากฏ นี่คือเริ่มเข้าใจว่า ขณะนั้นจิตอยู่ตรงจักขุปสาทซึ่งขณะนั้นถ้าไม่มีจักขุปสาทรูปจะกระทบและจิตจะรู้ไม่ได้
- ใครจะรู้ ๑ ขณะจิตอย่างละเอียด ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องจะเข้าใจความหมายของคำว่า“อายตนะ” ใน ๑ ขณะ เราได้ฟังเผินๆ ว่า จิตเป็นสภาพรู้เกิดขึ้น ๑ ขณะเท่านั้นจริงๆ ใครจะรู้ว่าต่างกับขณะอื่นๆ
- ถ้าไม่ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจะไม่สามารถละความเข้าใจว่า “เราเห็น” สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้เลย เพราะฉะนั้น แม้จะฟังธรรมมากเท่าไหร่กี่ชาติแต่ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ไม่สามารถที่จะรู้จักสภาพธรรม เช่น จิต หรือสิ่งที่กำลังปรากฏได้เลย ด้วยความไม่ประมาทจึงฟังสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ค่อยๆ ละเอียดขึ้น
- เพราะฉะนั้น พิจารณา ๑ ขณะเท่านั้นว่า มีอะไรบ้าง เห็น ๑ ขณะต้องมีธาตุรู้เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่มีขณะนั้นตรงนั้น ไม่ใช่ขณะอื่น เพราะกำลังรู้สิ่งนั้นตรงนั้น เพราะฉะนั้นจิตจะไปรู้อย่างอื่นไม่ได้ ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ๑ ขณะที่เห็นมีอะไรบ้าง
- ขณะนั้นมีสิ่งซึ่งต้องมีขาดไม่ได้เลย มิฉะนั้น จะไม่มีจิตเห็นและสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ๑ ขณะที่เห็นจริงๆ ต้องมีจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ ๑ ต้องมีสิ่งที่จิตรู้แน่นอน เพราะจิตเป็นธาตุรู้
- จิตเป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังรู้ เพราะฉะนั้น จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ขณะเห็น ๑ ขณะมีอะไรที่ขาดไม่ได้เลยต้องมีอยู่ที่นั่น สิ่งที่ต้องมีขณะนั้นขาดไม่ได้เป็นอายตนะ
- เพราะฉะนั้น จิตเป็นจักขุวิญญาณ เป็นธาตุรู้ เป็นอายตนะ เพราะฉะนั้น รูปที่ปรากฏเป็น “รูปายตนะ” ต้องอยู่ด้วยกัน ต้องมีที่นั่นขาดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมีรูปซึ่งจิตเห็นเป็นรูปายตนะ มีจิตเห็นซึ่งเป็นธาตุรู้เป็น “มนายตนะ” และจิตจะเกิดในภูมิที่มีรูป จิตจะเกิดที่อื่นไม่ได้ต้องเกิดที่รูปหนึ่งรูปใด เพราะฉะนั้น ขณะนั้นต้องมีรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมีรูปซึ่งเป็นอารมณ์เป็นสิ่งที่จิตรู้และมีจิต และต้องมีจักขุปสาท ถ้าไม่มีจักขุปสาทจิตเห็นเกิดไม่ได้ เป็นรูปที่เป็น “จักขายตนะ” เป็นอายตนะ ๑ ที่ต้องมีขณะนั้น และจิตจะเกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะเห็นก็ต้องมีเจตสิกเกิดที่นั่นด้วย
- เพราะฉะนั้น จะได้ยินคำว่า “อนัตตา” ถ้าปราศจากสิ่งที่อาศัยกันเกิดอยู่ที่นั่นจะไม่มีธาตุรู้ที่กำลังเห็นเลย
- เพราะฉะนั้น เข้าใจความหมายของคำว่า ๑ ขณะจิตต้องมีอะไรที่ขาดไม่ได้ทั้งหมดตรงนั้นเป็น“อายตนะ”
- เพราะฉะนั้น ขณะเห็น ๑ ขณะเท่านั้น จะต้องมีจิตเป็น “มนายตนะ” มีสิ่งที่ปรากฏเป็นอารมณ์เป็น“รูปายตนะ” และต้องมีเจตสิกเกิดกับจิตเป็น “ธัมมายตนะ” และต้องมีที่เกิดของจิตคือ จักขุปสาทเป็นอายตนะ เพราะฉะนั้นพอได้ยินคำว่า “จักขายตนะ” เข้าใจได้ไหมเมื่อเราได้พูดถึงแล้ว
- เพราะฉะนั้น จะถามว่า “จักขายตนะ” คืออะไร ถ้าฟังดีๆ ค่อยๆ เข้าใจจะคิดออก (จักขายตนะคือรูปที่จิตเห็นอาศัยเกิด) ถูกต้องแต่ต้องรู้ว่า รูปที่เป็นที่เกิดของจิตได้แก่ “จักขุปสาทรูป” เท่านั้น
- เดี๋ยวนี้มีจักขุปสาทรูปไหม (มี) ถ้าจิตไม่เกิดที่นั่น จิตไม่เกิดขึ้นเห็นจักขุปสาทรูปเป็นจักขายตนะหรือเปล่า (ถ้าไม่เห็นตอนนั้นไม่ได้เป็นจักขายตนะ) ถูกต้องเป็นจักขุปสาทรูปซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัยทุกขณะของจิตที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
- ใครทำให้จักขุปสาทรูปเกิดได้บ้าง (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น มีความมั่นคงว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตาทั้งหมดทุกอย่าง
- รูปที่ไม่ได้กระทบตาที่จิตไม่ได้เห็นเป็นรูปายตนะหรือเปล่า (ไม่เป็น) ถูกต้อง เป็นความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ให้ทราบความละเอียดความลึกซึ้งของ ๑ ขณะจิตว่า ขณะนั้นมีอะไรบ้างที่นั่นทั้งหมดเป็น “อายตนะ” ขาดอย่างหนึ่งขาดอย่างใดไม่ได้เลยเพื่อค่อยๆ เข้าใจธรรม
- มีอะไรสงสัยไหม พอได้ยินคำว่า “อายตนะ” ไม่สงสัยแล้วใช่ไหม กำลังได้ยิน ขณะที่ได้ยินเท่านั้นมีอะไรเป็นอายตนะ (มีหู มีเสียง…) ขอโทษ ถามว่ามีอายตนะอะไรบ้างเพื่อเขาจะได้ชินหูจะได้ไม่ลืม ในเมื่อได้ยินคำว่าอายตนะแล้วจะได้ใช้คำนี้เพื่อมั่นคงว่าเป็นอายตนะเมื่อไหร่ (มีโสตายตนะ ธัมมายตนะ มนายตนะและรูปายตนะ)
- รูปายตนะใช้สำหรับทางตาเท่านั้น สำหรับทางหูใช้คำว่า “สทฺท” “สัททายตนะ” สัททะแปลว่าเสียง
- เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดธรรมดาเราไม่ใช้คำว่า อายตนะ แต่เวลาที่เราศึกษาธรรมเพื่อให้เราคุ้นเคยกับการที่จะเข้าใจความหมาย ไม่ใช่พอเราพูด “รูปายตนะ” แล้วเราไม่เข้าใจ แต่ขณะนั้นเราเข้าใจทันทีว่า หมายเฉพาะรูปซึ่งต้องมีในขณะที่จิตกำลังรู้สิ่งนั้น เตือนให้เขาเข้าใจขึ้นๆ ในความไม่ใช่ตัวตน
- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจคือ “รอบรู้” ในความเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดยิ่ง
- เพราะฉะนั้น เห็นความลึกซึ้งทีละน้อยๆ แต่ค่อยๆ เข้าใจให้มั่นคงขึ้นทีละน้อยๆ ทุกคำที่ได้ยิน
- กำลังนอนหลับ มีสัททายตนะไหม (อาช่าตอบว่าไม่ แต่คนใหม่ตอบว่ามี) เพราะฉะนั้น คนที่ตอบว่า ไม่ ช่วยอธิบายให้คนใหม่ฟังด้วย (คนใหม่เข้าใจแล้ว) ดีมาก นี่เป็นการฝึกหัดด้วยการที่จะให้ความรู้ความเข้าใจคนอื่นตัวคนให้ต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้น เมื่อมีความรู้ความเข้าใจแล้วถ้าไม่พูดให้คนอื่นได้ฟังจะรู้ไหมว่า ความเข้าใจของเขาเริ่มคิดถึงธรรมละเอียดขึ้นๆ ที่จะให้คนอื่นได้เข้าใจด้วย เพราะฉะนั้น นี่เป็นสิ่งที่ดีมากที่จะให้เขาเริ่มอธิบายด้วยตัวของเขาเอง
- เพราะฉะนั้น ถามว่า ขณะกำลังนอนหลับแล้วฝัน มีรูปายตนะไหม (คนใหม่ตอบว่าไม่มี) ก็เข้าใจดี ไม่ช้าด้วย ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ค่อยๆ เข้าใจตามลำดับไม่ใช่รีบร้อนไปเข้าใจทั้งหมด เพราะยังมีความละเอียดที่เราจะกล่าวถึงแม้จิต ๑ ขณะให้เห็นความลึกซึ้งว่า มีจิตที่รู้รูปารมณ์แต่ความต่างกันของจิตที่รู้ไม่ใช่จิตประเภทเดียวกัน
- เพราะฉะนั้น จิตเป็นธาตุรู้แต่หลากหลายมากตามเหตุตามปัจจัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมละเอียดขึ้นๆ ลึกซึ้งขึ้นๆ เพื่อให้รู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรมนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่อะไรทั้งสิ้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป็นลักษณะของธรรมจึงเข้าใจว่า ธรรมคืออะไร
- เพราะฉะนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณาแสดงธรรม ๔๕ พรรษาโดยละเอียดยิ่งเพื่อให้เริ่มเข้าใจถูก ถ้าเพียงแต่บอกว่า “ไม่ใช่เรา” แต่ไม่รู้ความจริงลึกซึ้งขึ้นละเอียดขึ้นก็ไม่สามารถที่จะละความเป็นเรา ซึ่งเป็นเราตั้งแต่เช้าจนถึงเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่เกิดจนถึงเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่ชาติก่อนๆ แสนโกฏิกัปป์จนถึงเดี๋ยวนี้
- ไม่ใช่รีบร้อนอยากรู้อยากหมดความเป็นเรา แต่เริ่มเห็นความลึกซึ้งว่า ชีวิตทั้งหมดทุกขณะถ้าไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สามารถที่จะรู้ความจริงที่จะละความยึดถือว่าเป็นตัวตนได้
- เดี๋ยวนี้สามารถที่จะรู้ถึงความเป็นอายตนะได้ไหม (ไม่ได้) ถูกต้อง เพราะฉะนั้นฟังเพื่อเข้าใจแต่ไม่ใช่เพื่อฟังแล้วอยากประจักษ์รู้แจ้ง
- เดี๋ยวนี้เริ่มรู้ความลึกซึ้งของธรรม ไม่ใช่เพียง ๑ ขณะเลยที่ปรากฏ แต่ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจเลยจะไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เราเป็นอายตนะ
- เวลาที่มีความเข้าใจมั่นคงถ้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดปรากฏไม่ต้องใช้คำว่า “อายตนะ” เลย แต่เมื่อมีความเข้าใจในความเป็นสิ่งนั้นเพราะได้ฟังเรื่องอายตนะและเรื่องอื่นๆ ก็ทำให้สามารถที่จะรู้ในความเป็นจริงว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งอื่นไม่ได้ เช่น ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นไม่ใช่วัตถุสิ่งใดๆ เลยทั้งสิ้นเมื่อมีความเข้าใจอายตนะ ขณะนี้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏถ้าไม่เคยฟังมาก่อนเลยจะไม่รู้เลยว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่ง ๑ เป็นอายตนะ เพราะฉะนั้น ขณะนี้อายตนะทั้งหมดใช่ไหมที่ปรากฏ แต่เมื่อมีปัญญารู้ขึ้นๆ เหมือนเดี๋ยวนี้เลย ปรกติธรรมเป็นอย่างนี้แต่รู้ว่า เป็นอายตนะ
- เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ให้เริ่มไปคิดถึงอายตนะแต่ให้รู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏต้องมีสิ่งที่รู้ ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็เป็นสิ่งของ เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นโลกที่ปรากฏเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นเริ่มปลูกฝังความเข้าใจความเป็นธรรมค่อยๆ มั่นคงขึ้น
- ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏเพียง ๑ ขณะที่ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นและนี่คือ “อริยสัจจะที่๑” ใครจะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้จริงๆ เพียงปรากฏ ๑ ขณะแล้วดับไป ถ้าไม่รู้อย่างนี้จะไม่เห็นความห่างความต่างแสนไกลระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับคนที่ไม่เคยรู้ความจริงเลย
- เห็นพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงใดที่ทำให้เราสามารถมีความเห็นตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีซึ่งมีตลอดในสังสารวัฏฏ์แต่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
- ให้ทุกคนมีเงินมีทองมาก มีเกียรติยศ มีทรัพย์สินแต่ไม่รู้ความจริงนี้จะเอาไหม (ยังไงก็เห็นค่าของความเข้าใจมากกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง) นี่เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดคือความเข้าใจถูกที่เห็นคุณค่าของความเข้าใจถูกคือ “ปัญญา” ว่าสามารถที่จะมีได้ในขั้นฟังและยังสามารถถึงการประจักษ์แจ้งได้เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น
- เงินทองซื้อไม่ได้ นอกจากวิริยะ ความเพียร ความอดทน ความตรงต่อความลึกซึ้งของธรรมที่รู้ว่าถ้าได้ฟังและสนใจที่จะเข้าใจก็สามารถค่อยๆ เข้าใจขึ้น
- เงินทองไม่ใช่บารมีแต่การที่จะมีปัญญารู้ประโยชน์ของการเข้าใจธรรมและทำความดีทุกอย่าง เพราะว่า ขณะใดที่เป็นอกุศลขณะนั้นไม่สามารถจะเข้าใจธรรมได้
- ทุกคนจะจากโลกนี้ไปเมื่อไหร่ก็ได้ วันนี้ก็ได้ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกเลยต่อไปก็จะไม่สามารถที่จะเข้าใจถ้าไม่มีการฟังและเห็นประโยชน์จริงๆ ทุกคนจะตายเดี๋ยวนี้ก็ได้เย็นนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น มีชีวิตอยู่ที่ยังเป็นอยู่ก็เพื่อที่จะเข้าใจพระธรรมและเพื่อให้คนอื่นได้เข้าใจด้วย
- เพราะฉะนั้น คุณความดีเท่านั้นที่จะเป็นเหตุที่จะทำให้สิ่งที่ดีเกิดขึ้นและปัญญาที่เข้าใจถูกต้องค่อยๆ สะสมไปก็จะทำให้สามารถรู้ความจริงซึ่งประเสริฐกว่าทุกสิ่งในโลก นี่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า “จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” แม้ในการฟัง
- เดี๋ยวนี้มีอกุศลจิตไหม (มี) เดี๋ยวนี้มีวิบากจิตไหม (มี) เดี๋ยวนี้มีกุศลจิตไหม (เป็นไปได้) เป็นไปได้หรือขณะที่เข้าใจเป็นกุศลหรืออกุศล
- เดี๋ยวนี้มีจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ มี “อเหตุกจิต” ไหม (มี) และเดี๋ยวนี้มี “สเหตุกจิต” ไหม ถ้ารู้จัก “อเหตุกะ” จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็รู้ว่า จิตอื่นนอกจากนี้ประกอบด้วยเหตุจึงใช้คำว่า “สเหตุกะ” (มี) เดี๋ยวนี้มีกิริยาจิตไหม (มี) มีกิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุไหม (มี) มีกิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่าไหร่ กี่ดวง (มี๓) มี ๓ อะไรบ้าง (จำตัวเลขได้ ปัญจทวาราวัชชนะ) ปัญจทวาราวัชชนะคืออะไร (เป็นจิตที่เกิดก่อนเห็น ได้ยิน ลิ้มรสที่เป็นวิบากจิต) มีเท่าไหร่ (มี ๕) ดีมากอะไรบ้าง (จักขุทวาราวัชชนะ โสตทวาราวัชชนะ ฆานทวาราวัชชนะ ชิวหาทวาราวัชชนะ กายทวาราวัชชนะ )
- เพราะฉะนั้น เขารู้จักปัญจทวาราวัชชนะเป็นจิต ๑ ที่สามารถจะเกิดได้ทาง ๕ ทวารๆ หนึ่งทวารใดก็ได้เป็นปัญจทวาราวัชชนะ นี่คือกิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๑ จิตใช่ไหม พอจะนึกออกไหมว่ามีอะไรอีก (มโนทวาราวัชชนะ) คืออะไร (จำไม่ได้ไม่ทราบชื่อ) ไม่ใช่ไม่ทราบชื่อ “อาวัชชนะ” ปัญจทวาร ๕ มโน ๑ แล้วไม่รู้จักชื่อได้อย่างไร (รู้ว่ามโนแต่ไม่รู้ว่าจิตไหนที่เป็นมโนทวาราวัชชนะ)
- มีจิต ๑ ที่วิบากจิตหมดหน้าที่เห็น รับอารมณ์ต่อ รู้อารมณ์ต่อจบเป็นหน้าที่ของวิบากเท่านั้นแต่สิ่งที่สะสมอยู่ในจิตแน่นมากเยอะมากพร้อมที่จะไหลออกไปเมื่อมีการเห็นและวิบากทั้งหลายจบแล้ว จิตนั้นเป็น “กิริยาจิต” ที่เกิดก่อนกุศลอกุศลและกิริยาจิตของพระอรหันต์
- เพราะฉะนั้น เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ลิ้มรสแล้ว รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้ว จบหน้าที่ของวิบากทั้งสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะเกิดแล้วดับแล้ว กิเลสทั้งหลายกุศลทั้งหลายที่สะสมมามากในจิตพร้อมที่จะเกิดได้แต่จะเกิดทันทีต่อจากวิบากจิตไม่ได้ จะมีจิต ๑ ซึ่งเป็นกิริยาจิตที่เกิดก่อนกุศลอกุศล
- จิตธรรมดายังไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีจิตไหม (มี) ทำกิจอะไร (ทำกิจอาวัชชนะ) ฟังคำถามดีๆ เกิดแล้วไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก จิตที่เกิดทำกิจอะไร (ภวังค์) ภวังคจิตคืออะไร (เป็นวิบากที่ทำหน้าที่ดำรงชีวิตต่อ)
- ถูกต้อง จนกว่าจะสิ้นสุดกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลนี้จะเป็นบุคคลนี้ต่ออีกไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่สิ้นสุดปฏิสนธิจิตเกิด ๑ ขณะเป็นผลของกรรมดับแล้วเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นโดยกรรมเดียวกันทำให้จิตนั้นเกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกันกับอารมณ์ของปฏิสนธิที่ไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ เพราะฉะนั้นทำ“ภวังคกิจ” อารมณ์ต่างๆ ของโลกนี้ไม่ได้ปรากฏ ถ้าปรากฏต้องเป็นทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทวาร
- เพราะฉะนั้น ก่อนเห็น ก่อนได้ยิน ก่อนได้กลิ่น ก่อนลิ้มรส ก่อนรู้สิ่งที่กระทบกาย ก่อนคิดนึก จิตมีไหมทีละตอนทีละสั้นๆ ถ้ามีมีจิตอะไร (ภวังค์) เพราะฉะนั้น เวลาที่นอนหลับไม่ฝันเป็นจิตอะไร (เป็นภวังค์) แล้วฝันไหม ถ้าฝันเกิดขึ้นฝันเป็นอะไร (ตอนนั้นคิด)
- จิตกำลังเป็นภวังค์ ไม่รู้อารมณ์ทางตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ขณะที่จะรู้อารมณ์ทางตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย หรือใจ ต้องมีจิต ๑ ที่เกิดก่อนที่ไม่ใช่ภวังค์จิต เป็นวิถีจิตแรกแล้วแต่ว่าจะเป็นวิถีจิตทางตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย เป็นปัญจะ ๕ ทางและถ้ารู้ทางใจไม่ได้อาศัยตา ไม่ได้เห็น ไม่ได้ได้ยินอะไรเลยแต่คิดไหม เพราะฉะนั้นฝันคือ คิด แต่ก่อนฝันเป็นภวังค์และจะเป็นคิดทันทีไม่ได้เลย (อาคิ่ลตอบว่า อาวัชชนะ)
- ความจริงยังไม่ต้องพูดถึงชื่อก็ได้ แต่ให้ค่อยๆ รู้ความจริงว่า เกิดขณะนั้นไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูกลิ้น กาย อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้นขณะนั้นจิตรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้แต่เป็นอารมณ์ที่รับมาใกล้จะตายรู้อะไร เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตก็มีอารมณ์นั้น เมื่อปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นผลของกรรมนั้นทำให้มีอารมณ์นั้นดับไปแล้ว จิตที่เกิดต่อไปก็ทำหน้าที่ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น ยังไม่มีอารมณ์ของโลกนี้ปรากฏเลย
- เพราะฉะนั้น ก่อนที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดจะปรากฏต้องมีจิต ๑ ซึ่งไม่ใช่ผลของกรรม เพราะเหตุว่าสามารถที่จะรู้อารมณ์ที่เป็นอารมณ์ที่เป็นผลของกุศลหรืออกุศลก็ได้หรือเรื่องราวต่างๆ ก็ได้ ด้วยเหตุนี้จิตนั้นเป็น “วิถีจิตแรก” เพราะฉะนั้นเริ่มเห็นความต่างกันของจิต ๒ ประเภท จิตที่ “พ้นวิถี” ไม่ต้องอาศัยวิถีก็เกิดปฏิสนธิดำรงภพชาติจนกว่าอารมณ์ของโลกนี้จะปรากฏ ขณะที่อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏจึงไม่ใช่วิถีจิตเป็น “วิถีมุตตจิต”
- เพราะฉะนั้น เราจะเริ่มคำใหม่แต่ต้องเข้าใจไม่ใช่มีแต่ชื่อ เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นเป็นผลของกรรมขณะแรกเป็นปฏิสนธิจิตไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่วิถีจิตเป็นวิถีมุตตจิต เพราะฉะนั้นการที่จะรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดต้องอาศัยทางหนึ่งทางใด ถ้าไม่มีตาไม่เห็น ถ้าไม่มีหูไม่ได้ยินเป็นต้น
- เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของปฏิสนธิ ภวังค์ ขณะนั้นต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใด เพราะฉะนั้นถ้าอารมณ์ที่ไม่อาศัยทวารคือ อารมณ์ของปฏิสนธิ ภวังค์ ขณะนั้นเป็น “ทวารวิมุตติ” พ้นจากทวารไม่ต้องอาศัยทวารจิตก็รู้อารมณ์ได้
- อเหตุกจิตทั้งหมดมี ๑๘ ดวง อเหตุกจิตไหนที่รู้อารมณ์โดยไม่อาศัยทวาร ใครตอบได้เก่งมากเลย (อาช่าตอบว่าปัญจทวาร) ขอโทษ ปัญจทวารหมายถึงรูป ๕ รูป ปัญจทวาราวัชชนะเป็นวิถีจิตแรกแต่คำถามถามว่า อเหตุกะไหนที่รู้อารมณ์โดยไม่อาศัยทวาร (ตอบไม่ได้) สันตีรณจิตทำกิจปฏิสนธิ
- เพราะฉะนั้น ฟังธรรมความเข้าใจสำคัญที่สุด ถ้ามีความเข้าใจมั่นคงทุกคำถามเข้าใจแล้วตอบได้ แต่ลืมเพราะไม่ได้คิดถึงละเอียดในเบื้องต้น เป็นของธรรมดาของทุกคน ที่จะให้คนมีความมั่นคงจนตอบได้ต้องยากมาก เพราะว่า มีทั้งจิต มีทั้งอารมณ์ จิตที่รู้อารมณ์โดยอาศัยทวารไม่อาศัยทวาร ต้องเป็นคนที่เข้าใจจริงๆ จึงจะเห็นความไม่ใช่เราทีละน้อยในขั้นการฟัง
- ความเป็นไปของชีวิตจริงๆ ลึกซึ้งอย่างนี้ เพราะฉะนั้นการที่จะค่อยๆ รู้ความจริงต้องละเอียดมากจึงจะค่อยๆ ละความไม่รู้ได้
- เพราะฉะนั้นถาม จักขุวิญญาณทำกี่กิจ (ทำกิจเห็น) คำถามว่า ทำกิจได้กี่กิจไม่ได้ถามว่าทำกิจอะไร (กิจเดียว) ปัญจทวารเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม (เป็นรูป) ใช้คำว่า “ปัญจทวาร” หมายถึงกี่รูป (๕) จักขุทวารหมายความถึงกี่รูป (รูปเดียว)
- เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนะเป็นปัญจทวารหรือเปล่า (ไม่ ปัญจทวาราวัชชนะไม่ได้เป็นทวาร) นี่ก็เริ่มมั่นคงขึ้นต้องถามบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวก็ปะปนกัน ต้องรู้ว่า “อาวัชชนะ” หมายความจิตแรกที่รู้อารมณ์ที่กระทบเป็น “วิถีจิตแรก” ถ้าไม่มีวิถีจิตแรกเห็นไม่ได้ ได้ยินไม่ได้ อะไรไม่ได้เลย ต้องมีวิถีที่ไม่ใช่ภวังค์เพราะเริ่มรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์
- เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะมีกี่กิจ (๑) สัมปฏิจฉันนะเกิดได้กี่ทวาร (๕) สัมปฏิจฉันนะเกิดได้ ๕ ทวารทำกี่กิจ (๕) หรือ? (๑๐ ถ้าแยกเป็นผลของกุศล ผลของอกุศล) ไม่ได้ถามอย่างนั้นเลย ฟังคำถามให้ดีๆ แล้วจะรู้ว่าตอบเพราะคิดมากน้อยละเอียดแค่ไหน ยังไม่ต้องไปไหนเลย ไปพูดทำไมยาวๆ ไปเรื่อยๆ เพียงแค่ ๑ ต้องชัดเจน ถามว่า สัมปฏิจฉันนะเกิดได้ ๕ ทวารทำกี่กิจ (๑) ต้องไม่ลืม ไม่ใช่ ๕กิจเกิดได้ ๕ ทวารแต่ทำกิจเดียวทีละ ๑
- สันตีรณะมีเท่าไหร่ (สันตีรณะ มี ๓) ๓ นะคะ คืออะไรบ้าง วิบากมีเท่าไหร่ทั้งหมด ถามเขาเป็นขั้นๆ ถามว่า อเหตุกวิบากทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๕) เป็นอกุศลวิบากเท่าไหร่ (๗) เป็นกุศลวิบากเท่าไหร่ (๘) รวมเป็นเท่าไหร่ (๑๕)
- ความต่างของกุศลวิบากที่เป็นสันตีรณะกับอกุศลวิบากที่เป็นสันตีรณะคืออะไร (เป็นผลของกุศลกับเป็นผลของอกุศล) วิบากของสันตีรณะอะไรมีมากกว่ากัน (กุศลมีมากกว่า) ทำไม? (ไม่ทราบคำตอบ) เพราะกุศลวิบากให้ผลทำให้รู้อารมณ์ที่ดีกับอารมณ์ที่ดีมากๆ เป็นพิเศษ เช่น ในภูมิเทวดาเป็นต้น หรือภูมิมนุษย์ก็ได้ที่ต่างกัน
- เพราะฉะนั้น สันตีรณะทำกี่กิจ ถามถึงกิจทุกจิตต้องมีกิจ สันตีรณะทำกี่กิจ (ยังสับสน) เพราะฉะนั้นต้องฟังละเอียดสันตีรณะทั้งหมดมีกี่ดวง อกุศลวิบากอเหตุกะมีเท่าไหร่ กุศลวิบากอเหตุกะมีเท่าไหร่ เพิ่งตอบมาเมื่อกี้นี้เองเพราะฉะนั้นสันตีรณะทั้งหมดมีกี่ดวง (๓ ดวง) อะไรบ้าง
- ธรรมมี ๒ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ แต่สันตีรณะมีกุศลวิบาก ๒ ใช่ไหมจึงได้เป็นอเหตุกกุศลวิบากเท่าไหร่ (จำได้ว่ามี ๓ แต่ไม่รู้เหตุผล) ไม่ได้ถามอย่างนั้น ถามว่ามีเท่าไหร่ (ตอบว่า ๓) ต่างกันไหม ต่างกันตรงไหน (ตรงอารมณ์ในนัยของภูมิมนุษย์กับภูมิเทวดา) อารมณ์ที่ดีเป็นอารมณ์ที่ดียิ่งประณีตมากใช่ไหม แต่อารมณ์ที่ไม่ดีเหมือนกันหมดไม่ว่าจะน้อยหรือจะมาก
- ตอนนี้ฟังดีๆ สันตีรณะกุศลวิบากมี ๒ ต่างกันตรงไหน ต่างกันที่ขณะที่อารมณ์ดีธรรมดาความรู้สึกที่เกิดกับสันตีรณะเป็นอุเบกขา ไม่สุขไม่ทุกข์ แต่ถ้าอารมณ์ประณีตมาก สันตีรณะรับรู้อารมณ์นั้นด้วยความรู้สึกเป็นสุขโสมนัส
- เราไม่สามารถที่จะรู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นจิตรับรู้อารมณ์ด้วยโสมนัสหรืออุเบกขาแต่เริ่มเข้าใจชีวิตที่ต่างขณะ บางครั้งเราเห็นสิ่งที่น่าพอใจมาก ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ดิฉันไปอินเดียที่โรงแรมมีงานแต่งงาน เจ้าสาวแต่งชุดสวยที่ไม่เคยเห็นและไม่เคยคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นได้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นรู้ได้ไหมว่าเป็นโสมนัสสันตีรณะกุศลวิบาก แต่เราไม่สามารถจะรู้อย่างนั้นได้แต่รู้ว่า ต่างกันจริงๆ ระหว่างที่เราไม่เคยเห็นชุดที่สวยงามเลอเลิศอย่างนั้นเหมือนชุดของนางฟ้าเลยกับขณะที่ธรรมดาทุกวันเราไม่ได้เห็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็แสดงความต่างจริงๆ ของผลของกุศลซึ่งทำให้เกิดโสมนัสสันตีรณะในขณะที่อารมณ์นั้นปรากฏ
- นั่นเป็นวิบากเป็นผลของกรรม สัตว์ก็เห็น คนก็เห็น นกก็เห็นขณะเดียวกัน แต่รูปที่ปรากฏให้เห็นไม่ต่างกันสำหรับเห็นในขณะนั้นแต่เห็นแล้วความรู้สึกก็ต่างกันตามการสะสม นี่เป็นความละเอียดลงไปอีก
- ธรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้แต่เริ่มเข้าใจความเป็นอนัตตาของธรรมได้
- เพราะฉะนั้น วันนี้เป็นการทบทวนเรื่องสันตีรณะ เพราะฉะนั้น คราวหน้าจะถามว่า สันตีรณะมีกี่กิจและความละเอียด เพราะฉะนั้น ทบทวนที่เคยฟังมาแล้ว สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาแล้วนะคะ สวัสดีค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลของคุณสุคินและชาวอินเดียผู้ร่วมสนทนาทุกท่าน
ขอบพระคุณคุณอัญชิสา คุณจิรัชพรรณ์ในความอนุเคราะห์ตรวจทานข้อความ
ยินดีในกุศลของทุกท่านครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ