ตทาลัมพนะวิถี ๒ ขณะ

 
vikrom
วันที่  21 ส.ค. 2550
หมายเลข  4600
อ่าน  6,203

ช่วยยกตัวอย่างเรื่องราวของการเกิดตทาลัมพนะวิถีในชีวิตประจำวันด้วยครับ

เป็นวิบากจิตที่เกิดสืบต่อจากชวนะวิถีในวาระเดียวกันเท่านั้นใช่ไหมครับ

แล้วทำไมบางครั้งไม่เกิด บางครั้งก็เกิด

ขอบคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 ส.ค. 2550

ตทาลัมพนกิจ เป็นกิจของจิต ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓ มหาวิบาก ๘ ที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากชวนจิต ทั้งทางปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี ส่วนอารมณ์นั้นทั้งอนิฏฐารมณ์ อิฏฐารมณ์ อติอิฏฐารมณ์ และตทาลัมพนะ จะเกิดกับสัตว์ประเภทกามบุคคล อารมณ์ที่เป็นกามอารมณ์และกามชวนะเท่านั้น วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์ที่เกิดทางมโนทวารวิถี และอติมหันตารมณ์ทางปัญจทวารวิถี ดังนั้น ที่ว่าบางครั้งไม่เกิดเพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น อารมณ์ หรือเพราะความวิปลาสของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น แต่ในชีวิตจริงๆ เราคงไม่รู้ว่าขณะไหนมีตทาลัมพนะ หรือขณะไหนไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
vikrom
วันที่ 21 ส.ค. 2550

เท่าที่อ่านมา คือ เป็นผลของอดีตกรรมที่ได้กระทำแล้ว ได้แก่ มหากุศล ... ... ... ... .

อารมณ์ของตทาลัมพนวาระทางมโนทวารเป็น วิภูตารมณ์ เพราะเป็นอารมณ์ที่ชัดกว่าชวนวาระ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 21 ส.ค. 2550

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค

ตทาลัมพนะ หรือ ตทารัมมณะ มีความหมายอย่างเดียวกันมาจากคำว่า ตํ (นั้น) + อารมฺมณ (อารมณ์) = อารมณ์นั้น ตามคาถาสังคหะที่ ๗ คงได้ความว่า ตทาลัมพนะจะเกิดได้ต่อเมื่อครบองค์ ดังนี้คือ

๑. ชวนะ ต้องเป็น กามชวนะ

๒. สัตว์ ต้องเป็น กามบุคคล

๓. อารมณ์ ต้องเป็น กามอารมณ์

๔. วิถี ต้องเป็น วิภูตารมณ์ หรือ อติมหันตารมณ์วิถี

ในข้อ ๑. ที่ว่า ชวนะต้องเป็นกามชวนะนั้น จะเป็นทางปัญจทวารวิถี หรือ มโนทวารวิถีก็ได้ แต่ถ้าเป็นอัปปนาชวนะ คือ มหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะ แล้ว ตทาลัมพนะย่อมไม่เกิด

ในข้อ ๒. ที่ว่า สัตว์ต้องเป็นกามบุคคลนั้น หมายถึงบุคคลในกามภูมิ แต่ถ้าบุคคลนั้นเป็นพรหมในรูปภูมิก็ดี ในอรูปภูมิก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด

ในข้อ ๓ ที่ว่า อารมณ์ต้องเป็นกามอารมณ์นั้น หมายเฉพาะกามอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์เท่านั้น แต่ถ้ากามอารมณ์นั้นเป็นบัญญัติอารมณ์ก็ดี หรือว่าเป็นมหัคคตอารมณ์หรือเป็นโลกุตตรอารมณ์ก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด

ในข้อ ๔ ที่ว่า วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์วิถี หรืออติมหันตารมณ์วิถีนั้น ความชัดอยู่แล้วว่าวิถีนอกจากนี้ คือ อวิภูตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี อติปริตตารมณ์วิถีนั้น ตทาลัมพนะเกิดไม่ได้อยู่แล้ว

เมื่อครบองค์ดังกล่าว ตทาลัมพนะจึงจะเกิดได้ ตทาลัมพนะที่เกิดนี้จะเป็น กุศลวิบากหรือ อกุศลวิบาก และจะเป็นโสมนัส หรืออุเบกขา ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ อารมณ์ ที่มาประสบนั้นเป็นสำคัญโดยมีข้อจำกัดว่า

ก. อารมณ์นั้นเป็น อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมาก ตทาลัมพนะที่เกิดย่อมเป็นกุศลวิบากและเป็นโสมนัสด้วย

ข. อารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่ดีอย่างปานกลาง อย่างสามัญทั่วๆ ไปตทาลัมพนะที่เกิดก็เป็นกุศลวิบากเหมือนกัน แต่เป็นอุเบกขา

ค. แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็น อนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีแล้วไซร้ ตทาลัมพนะที่เกิดต้องเป็นอกุศลวิบาก และเป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 21 ส.ค. 2550

ตทาลัมพนะในชีวิตประจำวันไม่ปรากฏ ขณะที่รู้ทางปัญจทวาร เช่น ขณะที่เห็น ถ้ารูปยังไม่ดับ จะมีตทาลัมพนะเกิดขี้นรู้รูปนั้นอีก 2 ขณะ (เป็นอารมณ์ที่ชัดเจนยิ่ง)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
vikrom
วันที่ 21 ส.ค. 2550

wow!!! ข้อมูลละเอียดมากๆ ครับ ดีใจมากๆ ........

ขอขอบพระคุณอย่างสูง และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 23 ส.ค. 2550

จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป หัวข้อจิตตสังเขป บทที่ ๔

โดย ท่าน อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์

วิถีจิตทางปัญจทวารมี ๗ วิถี

อายุของรูปที่เกิดตั้งแต่อตีตภวังคจิตถึงชวนจิตดวงสุดท้ายเป็น ๑๕ ขณะ รูปจึงไม่ดับ อายุของรูปยังเหลืออีก ๒ ขณะจิต วิสัยของผู้ที่เป็นกามบุคคลนั้น เมื่อชวนจิตแล่นไปในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้ว แต่รูปนั้นยังไม่ดับ การสะสมของกรรมในอดีตที่ข้องอยู่ในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ย่อมเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้นเป็นตทาลัมพนวิถีจิตรับรู้อารมณ์นั้นต่ออีก ๒ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิตที่กระทำกิจรู้อารมณ์ ต่อจากชวนะวิถีนั้นเป็นวิถีจิตสุดท้ายที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารหนึ่งๆ และต่อจากวิถีจิตสุดท้ายทางทวารหนึ่งๆ แล้ว ภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อไป จนกว่าวิถีจิตวาระต่อไปจะเกิดขึ้นรู้

อารมณ์ทางทวารใดทวารหนึ่ง

ส่วนวาระใดที่ชวนจิตเกิดดับ ๗ ครั้งแล้วอารมณ์ยังไม่ดับ จึงเป็นปัจจัยให้ตทาลัมพนวิถีเกิดขึ้น รู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับนั้นอีก ๒ ขณะ การรู้อารมณ์ของวิถีจิตวาระนั้นจึงเป็น

"ตทารัมมณวาระ หรือ ตทาลัมพนวาระ" เพราะวิถีจิตสิ้นสุดลงที่ตทาลัมพนะอารมณ์ของตทาลัมพนวาระเป็น อติมหันตารมณ์ คือ เป็นอารมณ์ที่ชัดเจนมาก เพราะแม้ชวนวิถีจิต ๗ ขณะดับไปแล้วอารมณ์ก็ยังไม่ดับ จึงเป็นปัจจัยให้ตทาลัมพนวิถีจิตเกิดได้ การรู้อารมณ์ทางมโนทวารวิถี มีเพียง ๒ วาระเท่านั้น คือ ชวนวาระ และ ตทาลัมพนวาระอารมณ์ของชวนวาระทางมโนวาร เป็น อวิภูตารมณ์ เพราะเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนน้อยกว่าตทาลัมพนวาระ อารมณ์ของตทาลัมพนวาระทางมโนทวารเป็น วิภูตารมณ์ เพราะเป็นอารมณ์ที่ชัดกว่าชวนวาระสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อกุศลชวนวิถีจิตหรืออกุศลชวนวิถีจิตดับไปแล้ว ถ้าเป็นอารมณ์ทางใจที่ปรากฏชัดเจน ตทาลัมพนวิถีจิตก็เกิดต่ออีก ๒ ขณะ ฉะนั้น วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางมโนทวาร จึงมีเพียง ๓ วิถีเท่านั้น คือ

วิถีที่ ๑ เป็นอาวัชชนวิถี ๑ ขณะ

วิถีที่ ๒ เป็นชวนวิถี ๗ ขณะ

วิถีที่ ๓ เป็นตทาลัมพนวิถี ๒ ขณะ

และขอเชิญอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ครับที่ www.dhammastudy.com

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
vikrom
วันที่ 23 ส.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 23 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 9 มิ.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ