Thai-Hindi 3 June 23

 
prinwut
วันที่  3 มิ.ย. 2566
หมายเลข  46045
อ่าน  696

Thai-Hindi 3 June 23


- (คุณมานิชถามว่า คราวที่แล้วพูดถึงฆ่าสัตว์แม้ตัวเล็กตัวน้อยก็ต้องได้รับผล ถ้าเขาอยู่ในห้องมืดแล้วฆ่าสัตว์ตายโดยไม่ได้มีเจตนาจะต้องได้รับผลไหม) นี่เป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนต่อไปให้ละเอียดขึ้น ไม่ใช่พูดเฉยๆ ว่า “ฆ่าสัตว์” ไม่ใช่พูดถึงเรื่องกรรมให้ผล แต่จะต้องรู้ให้ชัดเจนว่า ขณะนี้มีอะไร เดี๋ยวนี้มีฆ่าสัตว์หรือเปล่า อะไรฆ่า ไม่ใช่ว่าเราเรียนเรื่องสิ่งที่ยังไม่มีเดี๋ยวนี้แต่ให้เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ชัดเจนขึ้น

- ทุกคนอยู่ในโลกนี้มานาน มีเรื่องมีเหตุการณ์ต่างๆ ไปรับประทานอาหาร ไปสนุก ไปร้องเพลง ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ ไม่รู้เลยว่าคืออะไร รู้แต่เรื่อง

- ได้ยินคำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติที่นั่น ตรัสรู้ที่นี่ ทรงแสดงธรรมทั่วประเทศชมพูทวีปและปรินิพพานเท่านั้นเอง รู้เท่านั้นแต่รู้ไหมว่า พระองค์ทรงให้เห็นความลึกซึ้งของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ นี่เป็นความต่างกันจากการคิดว่า อยู่มาแล้วก็อยู่ไป เป็นเรื่องเป็นราวต่าวๆ มีกรรม ฯลฯ แต่ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีสักหนึ่ง

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงพระประสงค์ให้ใครได้ยินได้ฟังเรื่องราวต่างๆ แต่ให้เข้าถึงความลึกซึ้งอย่างยิ่งของสิ่งที่มีจริงๆ ตั้งแต่เกิด

- ได้ยินคำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้สึกอย่างไร ไม่ได้รู้ถึงความ “ลึกซึ้งอย่างยิ่ง” ของคำว่า“พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เลย

- ถ้าได้ยินคำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” แต่ไม่รู้ความลึกซึ้งของพระปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทำให้ถึงความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อว่า “รู้จัก” พระพุทธเจ้าหรือเปล่า

- โอกาสที่ประเสริฐที่สุดในสังสารวัฏฏ์คือ ขณะที่ได้ยินคำว่า “พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า” ผู้ที่เริ่มรู้จักพระคุณที่ลึกซึ้งสูงสุดก็ต่อเมื่อได้เริ่ม “ฟัง” คำที่พระองค์ตรัสให้เข้าใจความจริงซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน เพราะฉะนั้น ไม่รีบร้อนที่จะไปรู้เรื่องต่างๆ มากมายที่พระองค์ทรงแสดง ๔๕ พรรษา แต่ต้องเห็นความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำที่ได้ฟังในความลึกซึ้ง

- เพราะฉะนั้น เห็นความต่างกันไหม รู้เรื่องนั้นเรื่องนี้แต่ไม่รู้ว่า เดี๋ยวนี้มีอะไรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์แจ้ง ประโยชน์คือ จากไม่รู้เลยในสิ่งที่มีจริงๆ ก็ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจจนประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่เป็นเรื่องราวที่ให้จำชื่อจำเรื่องเท่านั้น

- เพราะฉะนั้น เพื่อทบทวนความเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้ลึกซึ้ง ขอเริ่มด้วยคำถามว่า“เดี๋ยวนี้มีอะไร” ถ้าไม่ถามอย่างนี้ก็ลืมทั้งหมดที่ได้ฟังใช่ไหม ไม่คิดถึงเลย

- เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เมื่อได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและรู้ว่า พระองค์ทรงแสดงให้เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ เริ่มคิดถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้เพื่อเข้าใจขึ้นใช่ไหม

- ความลึกซึ้งก็คือ เมื่อถามว่าเดี๋ยวนี้มีอะไร ไม่ใช่เพียงคิดคำตอบแต่ต้องเป็นคำตอบที่แสดงว่า เดี๋ยวนี้กำลังมี “สิ่งนั้น” ที่ได้ตอบ เพราะฉะนั้น “เดี๋ยวนี้มีอะไร” ไม่ใช่คิดถึงชื่อและคำตอบแต่คิดถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ที่เข้าใจแล้วว่าเป็นอะไร

- พิสูจน์เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้มีอะไร คิดถึงคำที่จะตอบหรือกำลังรู้ว่า เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ (คุณมานิชตอบว่ามีสิ่งที่มีจริง เข้าใจและตอบตามนั้นจริงๆ )

- นี่เป็นเรื่องราวยาวมาก แต่การที่จะ “เข้าใจตรง” ลักษณะตอบ จะได้รู้ว่าเขาเข้าใจแค่ไหนเขาต้องคิดถึงคำที่เราถาม แม้ว่าเป็นคำสั้นๆ แต่ความหมายลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เรื่องคิดยาวแต่ว่า เข้าใจสิ่งที่มีซึ่งสั้นมาก

- คำตอบของคุณมานิชเป็นคำตอบเรื่องยาวแต่ถามว่า เดี๋ยวนี้มีอะไร (มีเห็น) รู้จักเห็นหรือยัง (ยัง) เห็นไหมแล้วเราก็ไปคิดเรื่องอื่นมากมายแต่ต้องไม่ลืมว่า ทุกอย่างลึกซึ้งแม้ปรากฏเราก็ไปคิดถึงเรื่องอื่น

- เห็นมีจริงๆ ไหม (มีจริงๆ ) ถ้าเห็นไม่เกิดมีเห็นไหม (ไม่) ไม่ให้เห็นเกิดได้ไหม (ไม่ได้) เห็นเกิดแล้วดับหรือเปล่า (ดับ) กว่าจะรู้ความจริงอย่างนี้อีกนานไหม (นานมาก) จะรู้ได้ไหม อีกนานไหมกว่าจะรู้ อีกนานไหมกว่าจะรู้ได้ (อีกนาน) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางที่จะให้รู้ไหม (ทรงแสดง) แต่ทุกคนฟังแล้วก็ลืม ฟังแล้วก็ลืมเพราะลืมมานานมากที่จะรู้ความจริง

- สิ่งที่มีจริงลึกซึ้งมาก ฟังเรื่องแต่ว่ายังไม่รู้ความจริงจนกว่าจะเข้าใจขึ้นๆ ความเข้าใจขึ้นทีละน้อยขณะนี้เองเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ถึงการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ ได้

- ถ้าไม่ค่อยๆ เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้แต่ละขณะจะไม่มีทางที่จะรู้ความจริงตามที่ได้ฟังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย

- นี่เป็นสิ่งที่เราจะไม่พูดถึงสิ่งที่ยังไม่มียังไม่ได้ปรากฏแต่พูดถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เพื่อจะได้ไม่ลืมความจริงทุกขณะแต่ว่าลืมเสมอที่จะรู้

- เดี๋ยวนี้มีเห็น เมื่อวานนี้ก็มี ชาติก่อนๆ ก็มี และต่อไปเห็นก็มีอีกแต่ไม่รู้จักเห็นเลยแม้ขณะเดียวเพราะความเข้าใจยังไม่มั่นคงว่า สิ่งนี้แหละที่จะต้องรู้ไม่ใช่สิ่งอื่น ไม่ใช่ไปคิดเรื่องอื่นเยอะแยะ

- ถ้ามั่นคงว่า เห็นเดี๋ยวนี้มีจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดงหนทางให้ถึงการรู้ความจริงด้วยไม่เปลี่ยนแปลง มั่นคงอย่างนี้ก็เป็น “สัจจบารมี”

- จะรู้อย่างอื่นหรือจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ (รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ) นั่นคือสัจจบารมี ต้องอดทนนานไหมกว่าจะรู้อย่างนั้นได้ (นาน) มั่นคงไหม (มั่นคง) เพราะฉะนั้นทุกคนเริ่มเข้าใจคำว่า“ปัญญา” เริ่มเข้าใจคำว่า “บารมี” เพราะฉะนั้นอดทนที่จะพูดถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้แหละจนกว่าจะเข้าใจขึ้น

- นี่เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชาติที่มีโอกาสได้ฟังได้ยินคำว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” และรู้ว่าพระองค์ทรงแสดงให้เข้าใจสิ่งที่ไม่เคยเข้าใจมาเลยซึ่งกำลังมีอยู่ ถ้าไม่มีบารมี ไม่มีความเพียรที่จะฟังจนค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะฉะนั้นขณะนี้เองเดี๋ยวนี้เองที่เข้าใจเป็นบารมี

- ฟังต่อไปไม่เบื่อ เพียรที่จะเข้าใจที่จะพิจารณาไตร่ตรองจนกระทั่งเข้าใจคำถามที่ถามว่าเดี๋ยวนี้มีเห็น มีเห็นแน่นอนแล้วเห็นเป็นอะไร (เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นจิต) จิตคืออะไร (เป็นสิ่งที่รู้) เป็นสภาพรู้ เป็นจิตอะไร (เห็นเป็นวิบาก) ไม่ได้ถามว่าเป็นวิบาก ถามว่าจิตเห็นเป็นอะไรเป็นเราหรือเปล่า ไม่ได้ถามเรื่องวิบากอะไรทั้งสิ้น ต้องตอบตรง นี่คือการฝึกหัดที่จะให้รู้ว่าเป็นคนตรงแค่ไหน (เห็นเป็นสิ่งที่มีจริง)

- เห็นมีจริง เป็นจิตและจิตเป็นอะไร เป็นสภาพรู้ เป็นสภาพรู้อะไร (รู้สิ่งที่ปรากฏ) เห็นสิ่งที่ปรากฏคืออะไร (เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นรูป) จิตเห็นทำกิจอะไร (ทำกิจเห็น) จิตอื่นทำกิจเห็นได้ไหม (ไม่ได้) จิตที่เกิดก่อนจิตเห็นเห็นหรือเปล่า (ไม่ได้) จิตเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า (มี) เจตสิกเห็นหรือเปล่า (ไม่) เจตสิกทำกิจอะไร (ทำกิจต่างกันตามสภาพของตน) เจตสิกรู้สิ่งที่จิตเห็นได้ไหม (รู้) แล้วเห็นได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เพราะเจตสิกทำกิจของตนและการเห็นเป็นกิจของจิตเห็น)

- เก่งมาก ถ้าไม่พูดถึง ก็ไม่ทราบว่าจะลืมหรือไม่คิดถึงหรือเปล่า จิตเห็นเป็นชาติอะไร (วิบาก) วิบากคืออะไร (เป็นผลของกรรม) เจตสิกเป็นวิบากหรือเปล่า (ถ้าเกิดกับจิตก็เป็นชาติเดียวกัน)

- ดีมาก แล้วจิตเห็นมีโลภะเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า (ไม่) เพราะอะไร (เพราะแค่เห็น) เพราะกรรมเป็นปัจจัยให้เห็น ๑ ขณะ

- เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เห็นปรากฏไหม (ไม่) อะไรปรากฏถ้าจิตเห็นไม่ปรากฏ (สี) เพราะฉะนั้นแสดงว่า ตลอดชีวิตเห็นเป็นธาตุเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แต่สิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งที่จิตเห็นปรากฏ

- ถ้าเห็นแล้วดับไม่เป็นสิ่งที่สามารถทำให้โลภะ โทสะ โมหะที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย เพียงเห็นเกิดขึ้นเห็น ๑ ขณะไม่เป็นปัจจัยที่จะให้โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะเกิดร่วมด้วยได้

- เพราะฉะนั้น สภาพธรรมเดี๋ยวนี้ที่เป็นเห็นที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เกิดแล้วเพียง ๑ ปรากฏว่า เป็นเห็นและเป็นสิ่งที่ปรากฏเพียงสิ่งที่เห็นได้ไหม เข้าใจไหม หมายความว่า เดี๋ยวนี้เหมือนมีเห็นตลอดเวลาแต่ความจริงเป็นเห็นที่เกิดขึ้นและรู้ว่าเห็นและมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นใช่ไหม

- เห็นแล้วชอบไหม (ชอบ) ขณะที่ชอบเป็นเห็นหรือเปล่า (ไม่) นี่แสดงให้เห็นว่า การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ถ้าไม่ฟังจนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจถูกต้อง

- ก่อนเห็นมีจิตไหม (มี) จิตอะไร (เป็นอาวัชชนะ) ดีมากที่ไม่ลืม เป็นชาติอะไร (กิริยา) ก็เก่งกิริยาคืออะไร (ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก) เก่งมาก แล้วก่อนอาวัชชนจิตมีจิตอะไร (เป็นภวังค์) ก็เก่งอีก แสดงว่า เริ่มเข้าใจชีวิตที่ละเอียดมากเพราะภวังค์ไม่ได้ปรากฏ ปัญจทวาราวัชชนะไม่ได้ปรากฏแต่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เท่านั้นที่รู้ว่า มีเห็น

- ธรรมที่ไม่ปรากฏสามารถที่จะรู้ได้ไหม เราสามารถที่จะเข้าใจและรู้ว่ามีได้ไหม (ถ้าไม่ปรากฏรู้ไม่ได้) ดีมาก เดี๋ยวนี้มีภวังค์ไหม (มี) มีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม (มี) มีจักขุวิญญาณไหม (มี) สามารถที่จะรู้อะไรที่เดี๋ยวนี้มีให้รู้ (รู้จักขุวิญญาณได้) เพราะฉะน้้นจักขุวิญญาณเดี๋ยวนี้กี่ขณะ (หลายขณะ) แสดงว่า ทุกอย่างที่ปรากฏในชีวิตเป็น “นิมิตฺต” ของสิ่งที่เกิดดับเร็วที่สุด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏในชีวิตทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเป็น “นิมิตฺต” ทั้งหมด

- สิ่งที่ปรากฏที่กำลังมีเดี๋ยวนี้เกิดดับหรือเปล่า (เกิดดับ) เพราะฉะนั้นแม้แต่การเกิดดับที่มีให้รู้ก็เป็นนิมิตเพราะไม่สามารถจะรู้เพียง ๑ ที่เกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้

- เริ่มรู้ว่า อยู่ในโลกของนิมิตในสังสารวัฏฏ์โดยไม่รู้ความจริงว่า สิ่งที่เกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกเลยเป็นสุญญตา

- เริ่มรู้ว่า อยู่ในโลกของนิมิต ไม่มีเรา เริ่มเข้าใจถูกต้องว่า เป็นธรรมแต่ละ ๑ เท่านั้นที่เกิดดับ

- มั่นคงหรือยังว่า ไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่เกิดดับ (มั่นคง) เพราะฉะนั้น จึงสามารถที่จะเข้าใจเวลาที่เราพูดถึงอะไรก็ตามว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่มีจริงเกิดแล้วก็หมด

- ทุกอย่างที่ปรากฏในชีวิตเหมือนเที่ยง ยั่งยืน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ความจริงเป็นธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งละเอียดอย่างยิ่งที่เกิดดับสืบต่อกันจนปรากฏเป็นนิมิต


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 3 มิ.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น คำถามแรกที่ว่าฆ่าสัตว์เป็นต้น ความจริงเป็นอะไร (คุณมานิชตอบว่า การฆ่าเป็นผลของกรรมเป็นวิบาก) เห็นไหมว่า เลยไปถึงโน่น เรากำลังพูดถึงสิ่งที่จะเข้าใจความจริงได้เดี๋ยวนี้ เพราะฉะน้้นคำถามว่าที่เขาพูดถึงฆ่าสัตว์เป็นอะไร ความจริงเป็นอะไร (ไม่ทราบ) เป็นธรรมทั้งหมดแต่ละ ๑

- ต้องไม่ลืมเลย ศึกษาธรรมเพื่อรู้ความจริงว่า ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีอัตตา ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่มีธรรมที่ละเอียดยิ่งแต่ละหนึ่งๆ เกิดขึ้นสืบต่อกันอย่างเร็วที่สุด

- ธรรมเป็นต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ คืออะไร (นามธรรมกับรูปธรรม) ถูกต้องเพราะฉะนั้นจิตเป็นอะไร (เป็นนาม) รูปธรรม “ฆ่า” อะไรได้ไหม (ไม่ได้) จิตเห็น “ฆ่า” อะไรได้ไหม (ไม่ได้)

- นี่เป็นความลึกซึ้งซึ่งเราไม่รู้เราคิดว่า เป็นคน เป็นฆ่า เป็นทุกสิ่งทุกอย่างแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เพื่อให้เข้าใจความจริงถึงที่สุดว่า ไม่มีเราเพราะการเข้าใจว่าเป็นเราเป็นความเห็นผิดจากความจริง

- จิตได้ยินฆ่าอะไรได้ไหม (ไม่ได้) จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งทีแข็งฆ่าได้ไหม (ไม่ได้) จิตคิดนึกถึงสิ่งที่เห็นได้ยินเป็นต้นฆ่าอะไรได้ไหม จิตคิดนึก “ฆ่า” ไม่ได้ใช่ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (เพราะคิดก็แค่คิดเป็นนาม) เพราะจิตเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น แต่ธรรมไม่ได้มีแต่เฉพาะจิตมีนามธรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่จิตเกิดขึ้นพร้อมกัน เพราะฉะนั้น ต้องรู้ความละเอียดของความต่างของธรรมแต่ละ ๑

- เขารู้เรื่องจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมากพอหรือยัง (ยังไงก็ไม่พอ) เพราะฉะนั้น เราเริ่มจากจิตที่มีทั้งวัน คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุจนกว่าจะรู้ความจริงว่า สิ่งที่เรากล่าวถึงมีจริงๆ เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ยังไม่รู้ความจริงแต่เริ่มเข้าใจถูกว่า ธรรมแต่ละ ๑ ต่างกัน

- ไม่รีบร้อนไปรู้ชื่อรู้เรื่องต่างๆ ใช่ไหม เพราะถึงจะรู้ชื่อรู้เรื่องก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความจริงแต่ละ ๑ ได้ เพราะฉะนั้น อดทนที่จะรู้ความจริงที่ละเอียดอย่างยิ่งของสิ่งที่มีจริงแต่ละ ๑

- ถ้าไม่รู้ความจริงที่ละเอียดขึ้นๆ ไม่มีทางที่จะละความไม่รู้ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นอัตตาได้

- เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็นเป็นเราเห็นหรือเปล่า (ไม่) จริงหรือ (ไม่จริง) เพราะฉะน้้นต้องมั่นคงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า เห็นเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น ทรงแสดงอย่างนี้แต่ปัญญาไม่พอที่จะรู้อย่างนี้ ทุกขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้จึงไม่พ้นจากการคิดและเข้าใจว่า “เราเห็น”

- ต้องมั่นคงในสัจจะในความจริงว่า ความเข้าใจสิ่งที่มียังไม่พอเพราะยังไม่ประจักษ์แจ้งจึงยังคงเป็นเราเห็น

- เพราะฉะนั้น เริ่มรู้ว่า ไม่ได้มีแต่จิต มีเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน ขาดกันไม่ได้เลยเพราะต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันทำให้เกิดขึ้น

- ด้วยเหตุนี้เราจะเริ่มพูดถึงธรรมอีกอย่าง ๑ ซึ่งเกิดพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต ดับพร้อมจิตคือ“เจตสิก”

- กรรมเป็นปัจจัยให้ผลของกรรมคือ “ธาตุรู้” เกิดขึ้นรู้สิ่งที่จะต้องเป็นอย่างนั้นตามกรรม เพราะฉะนั้นกรรมทำให้จิตและเจตสิกเกิดพร้อมกันเป็นผลของกรรมเดียวกัน

- วิบากจิตเกิดขึ้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเป็น “กุศล” ได้ไหม (คุณมานิชไม่แน่ใจแต่คาดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้) นั่นเขาคิดเองใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะน้้นเขามี “ปัญญา” พอที่จะรู้ไหมหรือว่าเพียงแค่คิดเองๆ (ตัวเองเข้าใจไม่ได้แต่ก็ไม่พึ่งความคิดตัวเอง)

- นี่ถูกต้องเพราะว่า สามารถที่จะ “คิดถูก” เมื่อได้ “ฟังคำ” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไตร่ตรองคำของพระองค์แต่ถ้าพระองค์ตรัสว่าอย่างนี้แล้วเราคิดเองจะถูกไหม

- นี่คือการ “เริ่มผิด” ตั้งแต่ต้นที่จะไม่รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะพระองค์ตรัสจากการที่พระองค์ทรงประจักษ์แจ้ง ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นการคิดของเราไม่สามารถที่จะคิดอย่างพระองค์ได้เพราะพระองค์ตรัสตามที่พระองค์ทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้นเราคิดตามที่พระองค์ตรัส ไตร่ตรองที่พระองค์ตรัสแต่ไม่ใช่พอได้ยินคำของพระองค์แล้วคิดเองหมด นี่เป็นเหตุที่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลบเลือนเพราะเหตุว่า ไม่ศึกษาด้วยความเคารพ

- ไตร่ตรองทุกคำที่พระองค์ตรัสเพื่อเข้าใจตามความเป็นจริงไม่ใช่คิดเอง เพราะฉะนั้นไตร่ตรองมีจริงไหม (มีจริง) เป็นธรรมอะไร (เป็นเจตสิก) นี่แหละคือตามพระธรรมที่พระองค์ตรัสไม่ใช่เราคิดเอง คิดเองเราไม่รู้แต่พระองค์ตรัสว่า จิตเกิดเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งเท่านั้น

- เพราะฉะนั้น การไตร่ตรองและอื่นๆ ทั้งหมดไม่ใช่จิตเป็นเจตสิก เจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตได้ไหม (ไม่ได้)

- ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเป็นธรรมแต่ละ ๑

- เพราะฉะนั้น เราจะเริ่ม จิตเห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า (มี) เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราจะไม่พูดเรื่องจิตเห็นแต่เราจะพูดเรื่องเจตสิก

- จิตเกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตและเจตสิกเกิดพร้อมกันต่างอาศัยซึ่งกันและกันเกิดเพราะฉะนั้นเป็นธรรมที่เป็น “สหชาตปัจจัย” เกิดพร้อมกัน

- เจตสิกใดที่ไม่ได้เกิดพร้อมจิตจะเป็นสหชาตปัจจัยคือเกิดพร้อมกัน ไม่ได้ เข้าใจถึงปัจจัยนี้หมายความว่า เกิดพร้อมกัน ต้องศึกษาเข้าใจตามลำดับทีละเล็กทีละน้อย

- วันนี้ก็พอเพียงเท่านี้แต่อย่าลืมนะคะคราวหน้าจะพูดต่อ ทุกคนคิดถ้าได้ยินคำไหนก็ไตร่ตรองตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 3 มิ.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ยินดีในกุศลของคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณอัญชิสา (คุณสา) และคุณจิรัชพรรณ์ (คุณซี) ในความอนุเคราะห์ตรวจทาน

กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นและยินดียิ่งในกุศลทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 3 มิ.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Selaruck
วันที่ 3 มิ.ย. 2566

ขอนนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระธรรม และพระอริยสงฆ์

กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่ง

กราบขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลทุกประการของคุณตู่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 7 มิ.ย. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ