ต่อไปนี้ต้องฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อตอบถูก_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  17 มิ.ย. 2566
หมายเลข  46079
อ่าน  304

- เรากำลังพูดเรื่องจิตประเภทต่างๆ ซึ่งมีแน่นอน เพราะว่ากำลังมี เป็นสิ่งที่ควรรู้อย่างยิ่งเพราะกำลังมี และไม่สามารถจะไม่มีได้เลยเพราะมีเหตุที่จะให้เกิดขึ้น ทุกอย่างที่เกิดต้องมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุเกิดไม่ได้เลย.

- สิ่งที่เกิดแล้วมีเหตุให้ต้องเกิด จิตเกิดแล้วเรายังไม่สามารถที่จะรู้เหตุทุกเหตุที่จะทำให้สภาพธรรมเป็นไปได้ แต่เริ่มเข้าใจความจริงทีละเล็กทีละน้อยได้.

- ขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าความละเอียดความวิจิตรของแต่ละหนึ่งซึ่งสั้นมาก เกิดแล้วดับ จะเป็นอะไรประเภทไหน.

- เพราะฉะนั้น เราต้องเริ่มศึกษาธรรมทีละหนึ่ง เพื่อเข้าใจในความเป็นธรรมนั้นๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น.

- จิตมีแล้ว และทุกคนก็ได้ฟังคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสจากการตรัสรู้ว่า จิตเกิดแล้วดับสืบต่อกันตลอดเวลา.

- จิตไม่มีรูปร่างให้เห็น ไม่สามารถจะกระทบสัมผัสได้ แต่จิตเกิดขึ้นรู้แล้วดับทันทีเร็วสุดที่จะประมาณได้.

- การที่จะรู้ว่าจิตมีจริง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็ต่อเมื่อได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ฟังคำของพระองค์รู้ละเอียดขึ้นว่าพระองค์ตรัสรู้สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้.

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้จิตทุกประเภท จึงทรงแสดงความต่างกันของจิตอย่างละเอียดยื่ง มีจิตขณะนี้เกิดขึ้นและดับ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดของจิตต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ ตามที่ทรงแสดงไว้โดยนัยต่างๆ อย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ พระองค์ตรัสรู้ว่า จิตต่างกันเป็น ๒ ประเภท คือประเภท ๑ ไม่มีเหตุ คือไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีอโลภะ ไม่มีอโทสะ ไม่มีอโมหะเกิดร่วมด้วยเลย.

- เหตุเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีน้อยกว่าจิตที่ประกอบด้วยเหตุ.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และกราบยินดีในกุศลจิตของคุณสุคิน ด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2566

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีทั้งหมด ๑๘ ดวง จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเกิดจากเหตุ เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นผลของเหตุ คือผลของกรรมเกิดแล้วมีแล้วทุกขณะในชีวิตประจำวัน ถ้าจิตเหล่านั้นไม่มีในชีวิตประจำวัน เราก็ไม่สามารถที่จะรู้จักจิตได้.

- เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรมมี ๗ ประเภท และจิตที่เป็นผลของกุศลกรรมมี ๘ ประเภท ทั้ง ๑๕ ดวงนี้ไม่ประกอบด้วยเหตุ ฟังอย่างนี้คิดอย่างไรหมายความว่าอย่างไร ผลของกรรมที่เป็นอกุศลมี ๗ และผลของกรรมที่เป็นผลของกุศลกรรมมี ๘ ทั้งสองที่ไม่ประกอบด้วยเหตุรวมเป็นอเหตุกวิบาก ๑๕ ดวง ฟังอย่างนี้ยังไม่เห็นความลึกซึ้งของความต่างกัน.

- ผลของกุศลกรรมที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นอเหตุกกุศลวิบาก ๘ นี่เป็นผลของกุศลกรรมเท่านั้น หรือว่ามีผลของกุศลกรรมมากกว่านี้? (มีแค่นี้) เดี๋ยวนะ ฟังใหม่ กุศลกรรมให้ผลเป็นกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๘ เท่านั้นหรือ? (แกบอกมีแค่ ๘) ไม่มีอย่างอื่นหรือที่เป็นผลของกรรมที่เป็นกุศลที่ประกอบด้วยเหตุ เป็นกุศลกรรมให้ผลมาก หรือว่าให้ผลน้อย เพราะยากที่จะเป็นกุศลกรรม? (คุณสุคิน: คุณอาช่าถามว่าถ้าถามหมายถึงอเหตุกจิตแล้วก็มีแค่ ๘ ครับ) ค่ะ แต่ก็ยังแสดงให้เห็นว่า แม้เป็นอเหตุกจิตผลของกุศลยังมากกว่าผลของอกุศลใช่ไหม? (ครับ) .

- เพราะฉะนั้น จึงมีคำว่า ไม่ว่าจะเป็นอกุศลกรรมใดๆ ทั้งสิ้นสามารถให้ผลของอกุศลกรรมนั้นเกิดเป็นอกุศลวิบากอเหตุกะเท่านั้น ๗ ดวง ไม่มากกว่านี้เลย.

- เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องละเอียดจริงๆ ที่จะไตร่ตรอง ทวนอีกครั้งนะ อเหตุกจิตจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่? (มี ๑๘) เป็นวิบากเท่าไหร่? (๑๕) ยังมีอเหตุกจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุอีกเท่าไหร่? (๓ ครับ) เป็นวิบากหรือเปล่า? (ไม่ครับ) เป็นกุศลหรือเปล่า? (ไม่ครับ) เป็นอกุศลหรือเปล่า? (ไม่ครับ) เพราะฉะนั้น เป็นอะไร? เพราะ ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก จิตนั้นเป็นอะไร? (กิริยา) เก่งมากที่ไม่ลืม.

- เพราะฉะนั้น กิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมีเท่าไหร่? (มี ๓ ครับ) นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องคิดว่า จิตมีมากกว่านี้ แต่นี่เรากำลังพูดถึงเฉพาะจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่านั้น เพราะฉะนั้น กิริยาจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุมี ๓ แต่กิริยาจิตที่ประกอบด้วยเหตุก็ต้องมีนะ.

- เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะเริ่มสนทนาให้เข้าใจกิริยาที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลย กำลังนอนหลับเป็นจิตอะไร? (ภวังค์) ภวังค์เป็นจิตอะไร? (วิบาก) เพราะฉะนั้น เกิดแล้วกรรมให้ผลไม่ใช่ขณะเดียวที่เกิด ยังให้ผลต่อไปที่จะต้องสืบต่อจากขณะแรกเป็นผลของกรรมไปเรื่อยๆ จนกว่าขณะนั้นจะมีการรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์.

- กำลังนอนหลับรู้อะไรหรือเปล่า? (ไม่รู้) มีจิตไหม? (มีจิต) จิตนั้นมีอารมณ์อะไร? (มีอารมณ์เช่นเดียวกับภวังค์) จิตนั้นรู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิต เป็นคุณอาช่าหรือเปล่ากำลังนอนหลับ? (ไม่ใช่) แมวหลับเป็นจิตอะไร? (ภวังคจิต) เด็กเล็กๆ นอนหลับเป็นจิตอะไร? (ภวังคจิต) แล้วตื่นไหม? (ตื่น) เป็นชีวิตปกติทุกวันๆ ใช่ไหม? (ใช่) หลับแล้วไม่ตื่นได้ไหม? (เป็นไปไม่ได้) เพราะฉะนั้น ขณะตื่นรู้อะไร? (แล้วแต่ จะเป็นเสียงก็ได้ จะเป็นอะไรก็ได้ครับ) เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะได้ยินเสียง กำลังเป็นภวังค์ทำกิจดำรงภพชาติ ไม่ได้ทำกิจเห็น ไม่ได้ทำกิจได้ยิน ถ้าไม่มีเสียงกระทบหู ไม่มีกลิ่นกระทบจมูก จะมีการได้ยิน การได้กลิ่นไหม? (ไม่ได้ครับ) เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็นภวังคจิตใครทำอะไรไม่ได้เลยต้องทำหน้าที่ภวังค์ เกิดเป็นภวังค์ดำรงภพชาติจนกว่าจะมีปัจจัยที่จะทำให้ไม่ดำรงภพชาติ แต่รู้อารมณ์อื่น.

- กำลังเกิดดับเป็นผลของกรรมทำหน้าที่ของภวังค์ใครก็เปลี่ยนไม่ได้ แต่เมื่อมีเสียงกระทบหู จะต้องมีจิตที่รู้ว่าเสียงกระทบหูไม่ใช่ภวังค์ ถ้าไม่มีอารมณ์อื่นกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตต้องเป็นภวังค์ต่อไป แต่ชีวิตไม่ได้เป็นอย่างนั้น ชีวิตเป็นอย่างนี้ คือบางขณะเป็นภวังค์ บางขณะรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ จิตกำลังเป็นภวังค์จะให้เห็นไม่ได้เลย จะให้ได้ยินไม่ได้เลย แต่เมื่อมีเสียงกระทบหู ขณะนั้นเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นไม่ได้ทำกิจภวังค์ ถ้าเป็นภวังค์จะไม่รู้เลยว่ามีอารมณ์อะไรกระทบ ต้องไม่ลืมนะ ถ้าเป็นภวังค์จะไม่รู้เลยว่า มีอะไรกระทบ แต่เมื่อมีเสียงกระทบหู จิตที่เกิดขึ้นรู้ว่ามีสิ่งที่กระทบหูเป็นจิตที่ไม่ใช่ภวังค์ จิตนั้นเกิดขึ้นรู้ว่ามีเสียงกระทบหู จิตเป็นสภาพรู้เมื่อเสียงกระทบหูเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้ว่ามีเสียงกระทบหู จิตขณะนั้นไม่ได้ทำกิจภวังค์ จิตนั้นเกิดขึ้นยังไม่เห็นแต่รู้ว่ามีสีกระทบตา หรือว่าถ้าได้ยินก็เสียงกระทบหู.

- เสียงที่ไม่น่าพอใจกระทบหูได้ไหม กลิ่นที่น่าพอใจกระทบหูได้ไหม รสที่ไม่น่าพอใจกระทบลิ้นได้ไหม จิตที่เกิดต่อจากภวังคจิตเมื่อมีสิ่งที่กระทบยังไม่ได้รู้สิ่งนั้น ยังไม่ได้เห็น ยังไม่ได้ยิน เพียงแต่รู้ว่ามีสิ่งนั้นกระทบทางนั้น จิตขณะนั้นไม่ได้ทำภวังคกิจ แต่จิตนั้นทำอาวัชชนกิจหมายความว่ารู้ว่าอารมณ์กระทบทางไหน ขณะนั้นจิตไม่ได้รู้อย่างที่รู้คำเดี๋ยวนี้แต่เป็นจิตที่เป็นภาวะที่เกิดรู้สิ่งที่กระทบ จิตที่รู้อารมณ์ที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๕ ทางจึงชื่อว่า ปัญจทวารวัชชนจิต ทำอาวัชชนกิจทางหนึ่งในห้าทาง.

- จิตที่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดในห้าทางที่ไม่ได้ทำภวังคกิจ ทำอาวัชชนกิจ ไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต เป็นกิริยาจิต.

- เพราะฉะนั้น อเหตุกจิตทั้งหมดมีกี่ดวง? (ทั้งหมดมี ๑๘) ขณะนี้เป็นวิบากจิต ๑๕ ดวง แล้วก็เป็นกิริยาจิตที่เป็นอาวัชชนะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ๑ ดวง เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต และที่รู้อารมณ์ที่กระทบใจไม่ใช่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย เลยอีก ๑ เป็นมโนทวารวัชชนจิต.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2566

- เพราะฉะนั้น เป็นชีวิตประจำวันที่ทำให้เริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรมทั้งหมด เป็นกิจการงานของจิตทั้งหมด ไม่มีเรา วันหนึ่งๆ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกเอง คิดนึกเกิดขึ้นได้ไหม? (เป็นได้ครับ) จิตที่เกิดก่อนที่จะรู้อารมณ์ที่คิดเป็นจิตอะไร? (เป็นอาวัชชนะ) อาวัชชนมี ๒ เป็นอาวัชชนะอะไร? (มโนทวาราวัชชนจิต) ทำกิจอะไร? (รู้อารมณ์ที่กำลังกระทบใจ) ไม่ใช่อย่างนั้น หมายความว่าเป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางใจที่กระทบใจ.

- เพราะฉะนั้น แมวมีอาวัชชนจิตไหม? (มี) เป็นจิตชาติอะไร? (กิริยา) กิริยาจิต คืออะไร? (จิตที่ไม่เป็นกุศล อกุศล และวิบาก) เพราะฉะนั้น วิบากจิตทำอาวัชชนกิจได้ไหม? (ไม่ได้) ขณะนี้คนเห็น นกเห็น แมวเห็น จิตที่เกิดเป็นอาวัชชนจิตต่างกันหรือเหมือนกัน? (ก็เหมือนกันหมดเป็นกิริยาจิต) ถ้าไม่มีรูปร่างจะรู้ไหมว่าเป็นคนหรือเป็นแมวหรือเป็นนก? (ถ้าไม่มีรูปก็ไม่รู้ครับ) ต่างกันตรงไหน แมวไม่มีรูป? (ถ้าตรงเห็นแล้วก็ไม่สามารถจะแยกได้ว่าคนเห็นหรือแมวเห็น) เพราะฉะนั้น มีอะไรที่ต่างกัน? (ต่างกันตรงคิดครับ) ยังไม่ได้คิดค่ะ (ถ้าไม่คิดก็ไม่ทราบครับ) ไม่ได้คิดนะ ถามว่ามีการเกิด มีเป็นภวังค์ แล้วก็มีปัญจทวารวัชชนะ แล้วก็มีเห็นเป็นต้น ต่างกันตรงไหนระหว่างคนกับนก กับจรเข้ กับงู? (อาช่าบอกว่าต่างกันตรงภวังค์ครับว่า หนึ่ง เป็นผลของอกุศลกรรม และอีกหนึ่งเป็นผลของอกุศลกรรม คือถ้าเป็นแมวแล้วก่อนเห็นก่อนอาวัชชนะก็เป็นภวังค์ผลของอกุศลกรรม ถ้าเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นภวังค์ที่เป็นผลของอกุศลกรรม) ถูกต้องนะ แต่ต้องละเอียดกว่านี้อีก เพราะฉะนั้น กุศลมีมากไหม? (ต่างกันครับ) .

- เพราะฉะนั้น กุศลกรรมอย่างอ่อนที่สุดสามารถทำให้เกิดได้ไหม? (ได้) ทำให้จิตที่ปฏิสนธิของกุศลอย่างอ่อนที่สุดเป็นจิตที่เป็นอะไรคะที่เป็นอเหตุกะเกิดขึ้นทำปฏิสนธิ? (อาช่ายังจำไม่ได้ยังไม่เข้าใจว่าตรงที่เป็นมนุษย์ยังไงๆ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติต้องมีเหตุครับ) ต้องมีเหตุแน่นอน แต่เหตุต่างกันหรือเปล่า? (ต่างกัน) เพราะฉะนั้น เราค่อยๆ ถามให้เขาค่อยๆ คิด เขาจะคิดออกด้วยตัวของเขาเอง ไม่อย่างนั้นเราก็บอกเขาตลอดเวลา เขาก็ลืมตลอดเวลา ต้องให้เขารู้ว่าคนเราเกิดมาต่างกันไหม? (ต่างกัน) ต่างกันอย่างไรบ้างคิดออกมาให้หมด บอกว่าต่างกันๆ แล้วไม่บอกว่าต่างกันอย่างไรได้หรือ ไม่ใช่เรียนสำหรับจำ แต่เรียนเพื่อเข้าใจความจริงซึ่งเป็นความจริงที่รู้ได้ตลอดเวลา (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ เพื่อเข้าใจว่าถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นผลของกุศลกรรมแต่ก็ต่างกันตรงที่ว่า ๑. ที่เห็นก็เห็นอยู่ว่าบางคนเกิดรวย บางคนเกิดมีปัญญา บางคนเกิดไม่มีปัญญา บางคนเกิดพิการ บางคนเกิดทุกอย่างดี บางคนเกิดครอบครัวที่ต่ำ บางคนเกิดครอบครัวที่สูงเป็นพระราชา บางคนเป็นยาจกอย่างนี้ครับ) มีเหตุที่จะให้เป็นอย่างนั้นไหม? (มีเหตุครับ) เพราะฉะนั้น คนสวยกับคนไม่สวยปฏิสนธิจิตเป็นอะไรของทั้งสองคน? (เหตุต่างกันครับ) ฟังคำถามค่ะ คนสวยกับคนไม่สวยเกิดต่างกัน จิตอะไรทำให้ทั้งสองคนเกิด? (ปฏิสนธิเป็นกุศลวิบากครับ) เป็นอเหตุกสันตีรณะได้ไหม? (อาจเป็นไปได้) ธรรมไม่ใช่อาจ แต่เป็นไปตามเหตุและผล (ได้รับ) เราเรียนทำไม เราเรียนเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ไม่ใช่รีบเรียนคำเยอะๆ เรื่องมากๆ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมี.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2566

- ไม่ใช่รีบเรียนคำเยอะๆ เรื่องมากๆ แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีตั้งแต่เกิดจนตาย คนที่หวังดีต้องการให้คนอื่นได้เข้าใจเป็นความเข้าใจของเขาเอง แม้ว่าจะยาก ละเอียด ลึกซึ้ง แต่เป็นความเข้าใจของเขาได้เมื่อเขาไตร่ตรอง.

- เกิดเป็นผู้ชาย เกิดเป็นผู้หญิง จิตอะไรเกิด? (เป็นผลของสันตีรณะ) เกิดเป็นผู้หญิงเกิดเป็นผู้ชายเป็นผลของสันตีรณะหรือ ปฏิสนธิเป็นอุเบกขาสันตีรณะหรือ? (ครับ) คุณอาช่าเกิดเป็นผู้หญิงปฏิสนธิจิตเป็นอะไร? (สันตีรณะ) คุณอาช่าพิการหรือเปล่า ตาบอดหรือเปล่า? (ไม่) หูหนวกหรือเปล่า? (ไม่ครับ) แขนขาดขาขาดพิการแต่กำเนิดหรือเปล่า? (ไม่) เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตของคุณอาช่าเป็นอะไร? (อุเบกขาสันตีรณวิบากจิต) ทุกคนเกิดมาเป็นอุเบกขาสันตีรณวิบากเป็นปฏิสนธิจิตหรือ? (ทุกคนครับ รวมทั้งท่านอาจารย์ มาธุ คุณสุคิน) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะคะ? (ของพระพุทธองค์ด้วยครับ) กุศลกรรมให้ผลเป็นอุเบกขาสันตีรณปฏิสนธิเท่านั้นหรือ? (อาจเป็นโสมนัส) คิดเองหมด ไม่ได้เข้าใจฟังเรื่องอเหตุกจิต จิตที่ไม่ได้ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ หรืออโลภะ อโทสะ และปัญญา.

- ทวบทวนตั้งแต่ต้นนะ อเหตุกจิตคือจิตอะไร? (จิตที่ไม่มีเหตุ) เป็นกุศลได้ไหม? เป็นอกุศลได้ไหม ถ้าทุกคนเกิดด้วยสันตีรณกุศลวิบากจะต่างกันไหม ทุกคนเหมือนกันเพราะเกิดด้วยปฏิสนธิที่เป็นอเหตุกกุศลวิบากทุกคนจะต่างกันไหมหรือเหมือนกัน? คุณสุคินทำไมพูดยาวให้เขาไม่มีโอกาสคิด ได้แต่ฟัง แต่ถ้าเราถามเขาสั้นๆ ให้เขาคิดเองเขาจะคิดออกไหม (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ถามใหม่ครับ) ถามว่า ถ้าทุกคนเกิดด้วยจิตที่เป็นอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากจะต่างกันไหม เพราะปฏิสนธิจิตเหมือนกันเลย (ยังเป็นไปได้ ถ้าทุกคนปฏิสนธิเป็นสันตีรณอเหตุกกุศลวิบากก็ยังต่างกันได้) เดี๋ยวค่ะ อะไรต่างกัน? (อย่างเช่นเกิดมาเข้าใจ ไม่เข้าใจ) ต่างกันไหม? (คือต่างกัน แต่..) เพราะฉะนั้น ต้องให้เขาคิด เขาจะได้รู้ว่า เขาคิดผิดหรือว่าคิดถูก (ต่างกัน) ถ้าไม่มีเหตุต่าง ผลจะต่างไหม? (เพราะเหตุต่างกันผลจึงต่างกันครับ) เพราะฉะนั้น กุศลที่น้อยมากมีอกุศลเยอะเยะ กับกุศลที่มีกำลังมาก ผลจะต่างกันไหม? (ต่างกัน) เพราะฉะนั้น ต้องฟังธรรมละเอียดทุกคำ เข้าใจเหตุผลถึงความต่างกันของจิตที่ประกอบด้วยเหตุเป็นอย่างไร และจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นอย่างไร.

- ต่อไปนี้ต้องฟังเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อตอบถูก.

- เพราะฉะนั้น จิตต่างกันทุกขณะ หรือเหมือนกันทุกขณะ (ต่างกัน) เพราะอะไร? (เพราะกิจ) เพราะไม่ใช่ขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น ขณะโกรธต่างกับขณะไม่โกรธใช่ไหม? (ต่างกัน) ถ้าทำความดีมากๆ ผลของความดีมากๆ มีไหม? (มี) ผลของกรรมดีมากๆ กับผลของกรรมดีน้อยๆ ต่างกันไหม? (ต่างกัน) ขณะที่มีปัญญาเกิดกับขณะที่ไม่มีปัญญาเกิดต่างกันไหม? (ต่างกัน) ถ้าตลอดชีวิตไม่มีปัญญาเกิดเลยจะให้ผลทำให้เกิดได้ไหม? (ถ้าไม่เกิดก็เป็นไปไม่ได้ที่ ... ) เดี๋ยวนะ ฟังคำถาม จิตที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยเป็นจิตที่ทำกุศลเป็นจิตที่ดีงาม แต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้เกิดผลคือ เกิดปฏิสนธิได้ไหม? (ได้) .

- แล้วจิตที่ดีแล้วก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นให้ผลทำให้ปฏิสนธิเกิดได้ไหม? (ได้) จิตที่ดีงามแต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้เกิดปฏิสนธิ กับจิตที่ดีงามมีปัญญาเกิดร่วมด้วยทำให้ปฏิสนธิเกิดขึ้นต่างกันอย่างไร? (ต่างกัน) ต่างกันแสดงให้เห็นว่า ปฏิสนธิต่างๆ กันไปตามเหตุใช่ไหม? (ใช่) .

- เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิไม่ได้มีแต่อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากใช่ไหม? (เป็นอย่างนั้น) .

- ต่อไปนี้จะคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ฉลาดหรือไม่ฉลาด เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปฏิสนธิด้วยสันตีรณอุเบกขา ไม่มีความคิดแบบนี้อีกใช่ไหม? (ครับ เข้าใจแล้วครับ) นี่แสดงว่า เริ่มรู้จักธรรม เริ่มเข้าใจความละเอียดของธรรม เริ่มมั่นคงในเหตุผล.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2566

- ต้องละเอียดกว่านี้มาก ต้องเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะสามารถละความเห็นว่าเป็นเราเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ต้องตรงต่อความเป็นจริงด้วยความละเอียด ไม่คิดเอง แต่ต้องตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ นี่เป็นเหตุที่ทุกคนที่ไม่เคารพในพระธรรม เข้าใจธรรมผิด เพราะคิดเอง.

- เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิมีมากกว่าอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก และอกุศลวิบากตามเหตุใช่ไหม แต่ต้องมั่นคงว่าอะไรเป็นความต่างของอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก และกุศลวิบากที่ทำให้เกิด.

- เพราะฉะนั้น กุศลวิบากเป็นผลของกุศลแต่เป็นกุศลวิบากที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เพราะฉะนั้น จะทำให้เหมือนคนที่เป็นผลของกุศลที่มีกำลังไม่ได้.

- เพราะฉะนั้น ผลของอกุศลกรรมที่ทำให้เป็นอกุศลวิบากที่เกิดมีกี่ดวง? (๗ ดวง) ถามว่าที่ทำปฏิสนธิจิตมีกี่ดวง? (มี ๑) เพราะฉะนั้น คนปฏิสนธิจิตด้วยอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากได้ไหม? (เป็นไปไม่ได้) ปฏิสนธิของงู นก ปลา เป็นกุศลวิบากได้ไหม? (ไม่ได้) ต้องไม่ลืมนะ กุศลมีหลายระดับ อย่างอ่อนที่สุดจนถึงอย่างที่มีกำลังประกอบด้วยปัญญาสูงสุดต่างกัน.

- ผลของกรรมที่มีปัญญารู้ความจริงสามารถทำให้ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม? (ท่านอาจารย์ทวนใหม่ครับ) กุศลกรรม คือจิตที่มีความดีขณะนั้นเกิดร่วมด้วย และมีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏถูกต้องด้วย รู้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นเจตสิก ผลของกรรมนี้จะทำให้ปฏิสนธิเป็นอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น กุศลกรรมที่ดีมากแต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย จะทำให้ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม? (ไม่ได้) ที่ประกอบด้วยปัญญาทำให้เกิดปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาได้ไหม? (ไม่ได้) อีกทีนะ ผลของกุศลกรรม คนที่ทำความดีมากๆ แต่ไม่เข้าใจธรรมเลยไม่รู้ความจริงเลยไม่สนใจที่จะเข้าใจด้วย กุศลนั้นสามารถจะทำให้ปฏิสนธิจิตของเขาเป็นผลของกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญาได้ไหม? (ไม่ได้) ตอนนี้ก็เริ่มพิจารณาไตร่ตรองด้วยความเข้าใจที่ต้องเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเข้าใจแล้วก็จะไม่ลืมเลยนะ.

ราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 17 มิ.ย. 2566

- ตอนนี้ก็เริ่มพิจารณาไตร่ตรองด้วยความเข้าใจที่ต้องเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเข้าใจแล้วจะไม่ลืมเลย เพราะฉะนั้น เราเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีจริงตามลำดับ เราไม่รู้เลยว่าทำไมเกิดเป็นนก ทำไมเกิดเป็นคน ทำไมเกิดเป็นปลา แต่เมื่อเข้าใจธรรมแล้วก็รู้ว่า มีเหตุที่จะให้เกิดเป็นอย่างนี้.

- เพราะฉะนั้น เรารู้ว่าเกิดแล้วก็กระทำกรรมต่างๆ กันซึ่งจะให้ผลต่างๆ กัน รู้ว่าขณะนี้เรากำลังฟังเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ .

- มีธาตุรู้ซึ่งเป็นจิต เจตสิกหลากหลายมากตามเหตุตามปัจจัย เราเรียนเรื่องจิตที่มีกำลังอ่อนซึ่งให้ผลตามกำลังของจิต ทั้งวันส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นอกุศลจิต และวิบากจิต จากการได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำให้รู้ว่าทุกวันที่มีชีวิตอยู่เป็นผลของกรรมส่วนหนึ่ง และเป็นกรรมที่เป็นอกุศลส่วนหนึ่ง เมื่อเหตุต่างกัน ผลก็ต้องต่างกัน การเห็นเห็นต่างกัน การได้ยินได้ยินต่างกัน ทุกคนอยากเห็น อยากได้ยินสิ่งที่น่าพอใจ แต่เลือกไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุที่ได้กระทำแล้ว.

- เหตุที่ไม่ดีเป็นอกุศลเริ่มตั้งแต่เกิดปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมไม่ดีทำให้เกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ แต่ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต ทุกคนที่มีกรรมที่ได้ทำไว้ต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น เกิดแล้ว เห็นเป็นผลของกุศลกรรมบ้าง อกุศลกรรมบ้าง.

- ไม่มีใครทำให้เห็นสิ่งที่ดีมากๆ สวยงามเกิดได้ นอกจากเป็นผลของกรรมดีที่ได้ทำแล้ว.

- ไม่มีใครอยากเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นทุกข์ แต่เหตุที่ไม่ดีได้ทำไว้แล้วจึงเป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดี ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบกายที่ไม่น่าพอใจ.

- ทุกคนเข้าใจง่ายๆ สั้นๆ ว่า เกิดมาต่างกันเพราะผลของกรรม ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญก็เป็นผลของกรรม แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนพอจะเข้าใจได้ แต่ความจริงละเอียดลึกซึ้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า ได้แก่จิตประเภทอะไร ขณะไหน.

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลยจะรู้ไหมว่า ขณะไหนเป็นผลของกรรม แต่คิดเองไม่ได้เลย เพราะธรรมละเอียดลึกซึ้งมาก.

- ถ้าถามว่า คิดเป็นผลของกรรมหรือเปล่า จะตอบว่าอย่างไร? (ไม่ใช่) ถูกต้อง วันนี้อะไรเป็นผลของกรรม? (มีเห็น มีได้ยิน มีลิ้มรส มีสัมผัสทางกาย มีได้กลิ่นที่เป็นผลของกุศลและอกุศล และก็มีภวังค์ครับ) .

- จิตที่เกิดก่อนเห็นเป็นผลของกรรมหรือเปล่า อย่าลืมนะ จิตที่เกิดก่อนจิตเห็นเป็นผลของกรรมหรือเปล่า? (ไม่เป็น) เป็นจิตประเภทไหน? (กิริยา) ต้องไม่ลืมเลยนะ ดีมากที่นึกได้เพราะว่าได้ฟังตอนต้นก่อนที่เราจะพูดเรื่องอื่น.

- เพราะฉะนั้น สำหรับอเหตุกจิตทั้งหมดรู้จักแล้วกี่ดวง? (๑๐ ปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ ๒ และสันตีรณะ ๓) เพราะฉะนั้น ทั้งหมดมีอเหตุกะที่ได้ฟังแล้วที่ได้เข้าใจแล้วที่ได้พูดถึงแล้วเท่าไหร่? (ทั้งหมด ๑๘ ครับ) ๑๘ แล้วหรือ? (รวมกิริยา ด้วยครับ) รวมแล้วที่เราพูดแล้วกี่ดวง ที่ยังไม่ได้พูดมีไหม? (๑๗ ครับ) เพราะฉะนั้น ยังเหลืออีก ๑ นะซึ่งเป็นชาติอะไร? (กิริยา) เพราะฉะนั้น วันนี้ต้องไม่ลืมว่ามีกิริยาจิตอีก ๑ ที่เรายังไม่ได้พูดถึง เพราะว่าเราจะต้องพูดถึงด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่บอกชื่อแล้วให้จำ.

- (ท่านอาจารย์ครับ ผมขออนุญาติถามแบบนี้ แล้วถามไปแล้วว่า อยากจะให้เราพูดถึงวันนี้เลยไหมเพราะว่าเราไม่มีเวลา หรือว่าอยากจะฟังแล้วเข้าใจ ... ) ไม่ ไม่ ไม่ให้รู้วันนี้เป็นเรื่องละเอียดที่ต้องเข้าใจ (เขาก็ตอบอย่างนั้นครับว่า วันนี้ยังไม่มีเวลาก็ไม่ไปพูดถึงเพราะอยากจะเข้าใจ..)

- เพราะฉะนั้น ถามว่า คุณอาช่า คุณมาธุ คุณมานิชหรือใครก็ได้ มีสันตีรณกุศลวิบากเปล่า? (มี) แล้วก็มีสันตีรณกุศลวิบากโสมนัสหรือเปล่า? (อาช่าตอบว่า เมื่อเห็นอะไรที่สวยมากก็เป็นไปได้) ถูกต้อง แล้ววันนี้มีอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากหรือเปล่า? (มี) แล้วจิตทั้งหมดจะมี อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากไหม? (ทั้งหมดไม่ได้ครับ) ไม่มีเลยนะ ใครจะทำให้เกิดก็ไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย.

- ตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า จิตที่เป็นอเหตุกะมี ๑๘ ดวง เป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และกิริยา ไม่มีเกินกว่านี้เลย เหลือจิตดวงเดียวซึ่งต้องเข้าใจ.

- เพราะฉะนั้น คราวต่อไปเปลี่ยนกันได้ไหม ให้คุณอาช่า คุณอาคิ่ล คุณมานิช หรือใครก็ได้เป็นคนถามดิฉัน ให้ดิฉันตอบ จุดประสงค์เพื่อให้ดิฉันตอบหมายความว่า คนถามต้องเข้าใจ ก่อนที่เราจะพูดถึงอเหตุกะดวงสุดท้ายนะ ขอให้ทุกคนถามแล้วให้ดิฉันตอบถูกหรือผิดต้องบอกด้วย เพราะอะไร?.

- สำหรับวันนี้ก็ยินดีในบารมีที่เป็นวิริยบารมี ต้องมั่นคงในสัจจบารมีเป็นอธิษฐานบารมีต่อไป.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 17 มิ.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่เมตตาด้วยครับ
แต่ละข้อความที่ท่านอาจารย์กล่าวล้วนเป็นประโยชน์ทั้งหมดครับ
และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
siraya
วันที่ 20 มิ.ย. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ