Thai-Hindi 24 June 2023

 
prinwut
วันที่  24 มิ.ย. 2566
หมายเลข  46090
อ่าน  688

Thai-Hindi 24 June 2023


- (คราวนี้จะกลับกันให้ท่านอาจารย์เป็นคนตอบ ขอเริ่มจากคำถามว่า วิถีจิตทางตา มีไหมที่ไม่ครบวาระ)

- หมายความว่าอย่างไร เราไม่ไปถามเขา ไม่เพ่งเล็งที่จะตรวจแต่ต้องการให้เขารู้ความเป็นไป ตั้งแต่เกิดมาอารมณ์ไม่ได้ปรากฏแต่เดี๋ยวนี้อารมณ์ปรากฏ ให้เขามีความเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมดา

- การที่จะรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่ง่ายๆ เพียงรู้วิถีจิตแต่ต้องมีความเข้าใจมั่นคงลึกซึ้งตามลำดับ

- ถ้าคุณอาช่าเริ่มใช้คำว่า “วิถีจิต” ดิฉันจะถามคุณอาช่าว่า วิถีจิตคืออะไร ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่พูดโดยไม่เข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง (เมื่อกี้ไม่ได้ใช้คำว่าวิถีจิตจากคำถามแรก แต่สงสัยว่าบางครั้งได้ยินเสียงบ้าง บางครั้งคนอื่นได้ยินแต่อาช่าไม่ได้ยินบ้างตรงนั้นเป็นเพราะอะไร)

- เราไม่ต้องการให้เขารู้ว่า มีคนนั้นได้ยินเราไม่ได้ยิน ฯลฯ เราต้องการให้เขารู้ความจริงว่า ความจริงทุกๆ ขณะคืออะไรแต่ละ ๑ ขณะ

- ตราบใดที่ยังไม่ใช่ความรู้ของเขาในแต่ละคำที่มีจริงๆ ทุกขณะ ตราบนั้นไร้ประโยชน์ที่จะไปบอกเขาเพราะอะไร เพราะฉะนั้น จะมีการทบทวนบ่อยๆ เรื่อยๆ พูดแล้วพูดอีกเพื่อให้เป็นความเข้าใจที่มั่นคงว่า ไม่ใช่เรา

- ถ้าไม่มีธาตรู้ ไม่มีจิตเกิดขึ้นเลย จะมีคน จะมีสัตว์ จะมีเรื่องราวต่างๆ ได้ไหม เห็นความสำคัญของธาตุรู้ไหม

- ไม่ให้ธาตุรู้เกิดได้ไหม (ไม่ได้) ธาตุรู้เกิดแล้วไม่รู้ว่าเป็นธาตุรู้ใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นประโยชน์ที่สุดคือ เมื่อมีธาตุรู้ต้องรู้จักธาตุรู้ ไม่ใช่ “เราได้ยิน เขาไม่ได้ยิน” ฯลฯ

- เมื่อเป็นธาตุรู้แล้วต้องทำหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใดใช่ไหมเมื่อเป็นธาตุรู้ (ใช่) ธาตุรู้ขณะแรกเกิดขึ้นทำหน้าที่อะไร (ทำหน้าที่ปฏิสนธิ) ปฏิสนธิคืออะไร (คือเกิด)

- เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า จิตแรกที่เกิด ธาตุรู้แรกที่เกิดทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน จิตอื่นๆ ทำกิจนี้ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น จิตที่ทำกิจนี้เป็นชาติอะไร (วิบาก) วิบากคืออะไร (เป็นผลของกรรมในอดีต) พอใจไหมที่จะรู้เพียงเท่านี้ (ไม่พอ) แสดงว่า เริ่มเห็นความต่างกันของสิ่งที่มีชีวิตตั้งแต่เกิด

- เริ่มเข้าใจว่า ผลของกรรมที่ได้กระทำแล้วทำให้เกิดต่างๆ กันไป ทั้งรูปร่างหน้าตา พ่อแม่พี่น้องเกียรติยศ ชื่อเสียง สิ่งแวดล้อมทั้งหมด ไม่ให้เป็นอย่างนี้ได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น คุณอาช่าก็ทำกรรมดีไว้หลายอย่าง ตายแล้วจะเลือกให้กรรมดีนั้นให้ผลได้ไหม (ไม่ได้) ไม่ได้ เพราะฉะนั้น งูเกิดขึ้นด้วยจิตอะไรที่ทำให้เกิดเป็นงู (เป็นผลของอกุศลกรรม) ต้องมีจิตประเภท๑ เท่านั้นที่ทำกิจนี้ที่ทำให้เกิดเป็นงู เกิดในนรก จิตนั้นคือจิตอะไร (รู้แค่ว่าเป็นผลของอกุศลกรรม)

- ผลของอกุศลกรรมมีเท่าไหร่ (๗) เพราะฉะนั้นขณะเกิดเป็นงู จิตอะไรเกิด (สันตีรณะ) เห็นไหมว่า เราต้องรู้ว่าคำถามถามอะไร ทั้งหมดเพื่อให้รู้ว่าเมื่อเขาเห็นงู เห็นนก เห็นคน เขาสามารถที่จะรู้ได้ว่าไม่ใช่อะไรเลยนอกจากจิตประเภทต่างๆ มิฉะนั้นแล้วเมื่อไหร่จะหมดความคิดว่า เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นเรา เป็นคนนั้นคนนี้ มิฉะนั้นก็สงสัยเรื่องนั้น เรื่องนี้ เรากำลังได้ยิน คนอื่นจะได้ยินไหมแต่ไม่รู้ว่า “ไม่มีเรา”

- ปฏิสนธิจิตที่เป็นคุณอาช่าเป็นจิตอะไร (กุศล) เขาพูดแค่กุศล (เป็นกุศลวิบาก) ต้องพูดให้ครบต้องพูดให้เต็มเพราะต่างกัน

- อเหตุกกุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิได้ไหม (ได้) จิตอะไรที่เป็นอเหตุกกุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิ (สันตีรณะ) เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตของคุณอาช่าเป็นสันตีรณกุศลวิบากหรือเปล่า (เป็น) คุณอาช่าตาบอดหรือเปล่า หูหนวกหรือเปล่า บ้าใบ้บอดหนวกหรือเปล่า พิการตั้งแต่กำเนิดหรือเปล่า (ไม่) เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตของคนเป็นมนุษย์แตกต่างกันตั้งแต่เกิดมีไหม (มี) เพราะฉะนั้น จิตปฏิสนธิของคนที่พิการตั้งแต่กำเนิดต่างกันหรือเหมือนกันกับจิตของคนที่ไม่พิการตั้งแต่กำเนิด (แตกต่างกัน)

- เพราะฉะนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ด้วยจิตที่เป็นสันตีรณกุศลวิบากต้องต่างกับการเกิดเป็นมนุษย์ที่ไม่พิการตั้งแต่กำเนิด เพราะเหตุว่า เป็นผลของกุศลกรรม “อ่อน” จึงทำให้เกิดเป็นอย่างนั้น

- กุศลกรรมต่างกันไหมแต่ละครั้งที่เกิด (ต่างกัน) กุศลที่อ่อนมากในวันหนึ่งๆ มีไหม (มี) ที่คุณอาช่ากำลังฟังธรรมเป็นกุศลหรือเปล่า ถ้าฟังธรรมเพราะอยากจะเก่งกว่าคนอื่นเป็นกุศลหรือเปล่า (ไม่เป็นกุศล) เพราะฉะนั้น ถ้าฟังธรรมด้วยความสนใจ “นิดหน่อย” เพราะอยากรู้เท่านั้นกับการฟังธรรมเพราะรู้ว่า “ไม่รู้” สิ่งที่กำลังมีซึ่งสามารถจะรู้ได้เมื่อฟังแล้วหรือเปล่า

- เพราะฉะนั้น คนที่เกิดเป็นมนุษย์หลากหลายมากเพราะกุศลต่างกัน เพราะต้องไม่ลืมว่า การเกิดเป็นมนุษย์ไม่พิการ ไม่บ้าใบ้แต่กำเนิดเป็นเพราะเป็นผลของกรรมที่มีกำลังกว่ากรรมเล็กๆ น้อยๆ กุศลกรรมเล็กๆ น้อยๆ ของคุณอาช่ามีไหม (มี) อกุศลกรรมที่มีกำลังมีไหม (มี) ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมที่เล็กน้อยที่มีอกุศลกรรมที่มีกำลังมากมายก็ทำให้เกิดเป็นคนที่พิการแต่กำเนิดเพราะเป็นผลของกุศลกรรมที่ทำให้ “สันตีรณกุศลวิบาก” เกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เลือกที่จะเกิดได้ไหม (ไม่ได้)

- ยังมีข้อสงสัยที่เป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกะไหม (อาช่ากล่าวว่า ตอนแรกไม่ทราบว่า สันตีรณะที่เป็นกุศลเกิดมาแล้วจะเป็นคนพิการแต่กำเนิด ตอนนี้ทราบว่าถ้าไม่ได้พิการไม่ใช่สันตีรณกุศลวิบาก) อันนี้เป็นเหตุที่เราต้องทบทวนจนกระทั่งให้คนที่เริ่มเข้าใจธรรมรู้ประโยชน์จริงๆ ว่า ฟังธรรมเพื่อเข้าใจความเป็นธรรมไม่ใช่เรา

- เรากำลังพูดถึงชีวิตความเป็นไปของธรรมแต่ละ ๑ ขณะตั้งแต่เกิด ปฏิสนธิเกิดแล้วต้องดับใช่ไหม (ใช่) แล้วต้องมีจิตเกิดต่อไหม (ต้องเกิด) บังคับไม่ให้จิตเกิดต่อได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิมีอะไรเป็นปัจจัยให้เกิด (กรรมเดียวกันที่ทำให้เกิดปฏิสนธิ) เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผลของกรรมเดียวกันจึงมีกรรมนั้นแหละเป็น “กัมมปัจจัย” ทำให้จิตนั้นเกิดต่อต้องเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น

- นอกจากกัมมปัจจัยแล้วจิตทุกขณะที่ไม่ใช่จุติจิตของพระอรหันต์มี/เป็น “อนันตรปัจจัย” ทันทีที่จิตนั้นดับเป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดขึ้นไม่มีใครยับยั้งได้ และทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับจิตที่เกิดต่อเป็นอะไร (เป็นภวังค์) จะเป็นจิตเห็นทันทีได้ไหมที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต (ไม่ได้) เพราะจิตที่เกิดต่อต้องเกิดต่อโดย “สมนันตรปัจจัย” กำกับไว้ว่า จิตประเภทนี้เกิดแล้วจิตอื่นจะเกิดต่อจากจิตที่เกิดต่อไม่ได้

- เพราะฉะนั้น ทันทีที่ภวังคจิตดับและจิตอื่นที่ไม่ใช่ภวังค์จะเกิดต้องเป็นจิตอะไร (ต้องเป็นจิตคิดที่เกิดที่หทยวัตถุ) เดี๋ยวก่อนคิดเสียยาวถูกไหม (ตอบว่าเป็นจิตคิด) ดิฉันถามเขาว่า คิดเสียยาวเรื่องนั้นเรื่องนี้ เป็นอย่างที่ตอบหรือเปล่าถ้าเป็นเรื่องเป็นราวอย่างนั้น เพราะถามอะไรก็ตอบเป็นเรื่องหมด แต่ดิฉันไม่ต้องการให้เขาตอบเป็นเรื่อง เพราะฉะนั้นถามใหม่ ทันทีที่ภวังคจิตไม่ได้เกิดขึ้นทำภวังคกิจ จะรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ จิตอะไรต้องเกิดต่อจากภวังค์ (อาวัชชนะ)

- เห็นไหมถ้าถามจริงๆ ให้เขาคิดทวนความจำจะได้ไม่ลืมเพราะชื่อเยอะต่อไปจะมีชื่ออีก จะลืมไม่ได้เลยในเหตุผลเพราะฉะนั้นทวนคำถามให้สั้นๆ ชัดๆ ต่อจากภวังคจิตเป็นจิตอะไร ทวนอีกครั้ง (อาวัชชนะ)

- อาวัชชนะคืออะไร (เป็นทวาร) ทวารคืออะไร (ทวารคือรู้ว่าอารมณ์อะไรเกิดจากทางไหน) ขอโทษนะคะ ต้องฟังคำถามละเอียด ทวารคืออะไร (แปลตรงๆ หมายถึงทาง) เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม (เป็นนาม) มีทวารอะไรบ้าง (มีปัญจทวารกับมโนทวาร) เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม (เป็นรูป) กี่ทวาร (ตอนนี้จำได้เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑) เห็นไหม “จำ” ไม่พอใช่ไหม

- นี่คือความคิดของคน เขาไม่รู้จักธรรมว่า เปลี่ยนแปลงไม่ได้ การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงแล้วไม่ต้องไปคิดเอง ให้ไตร่ตรองตามที่ได้ฟังเท่านั้น เพราะฉะนั้นจำเท่านั้นไม่พอใช่ไหม (แค่จำไม่มีประโยชน์)

- เพราะฉะนั้น จักขุทวารเป็นอาวัชชนะหรือเปล่า (ไม่เป็น) เพราะฉะนั้น จักขุเป็นทวารหรือจักขุเป็นอาวัชชนะ (เป็นทวาร) อะไรเป็นอาวัชชนะ (เป็นจิต) เป็นจิตอะไร (อาวัชชนจิต) อาวัชชนจิตเป็นจิตอะไร (กิริยา) เห็นไหมว่า ถามอะไรต้องตอบอย่างนั้น จะไปพูดอะไรที่ไม่ใช่คำตอบ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจตรงนี้ต้องไม่ปนกันระหว่าง จักขุทวารกับอาวัชชนะ

- จักขุทวาราวัชชนจิตเป็นอะไร (เป็นกิริยาจิต) ทำไมไม่เป็นวิบากจิต ทำไมไม่เป็นกุศลจิต ทำไมไม่เป็นอกุศลจิต (เพราะไม่ได้เป็นผลของกรรม ไม่ได้เป็นเหตุ ไม่เป็นกุศลและอกุศล) และไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖

- ปัญจทวาราวัชชนะกับมโนทวาราวัชชนะต่างกันอย่างไร (ปัญจทวาราวัชชนะเกิดทางตา ทางหู ฯลฯ มโนทวาราวัชชนะเกิดทางใจ) ปัญจทวาราวัชชนจิตจะรู้อารมณ์ทางใจได้ไหม (ไม่ได้)

- มโนทวาราวัชชนะจิตรู้อารมณ์ที่เป็นการรู้อารมณ์ทางตาได้ไหม (ได้) อันนั้นยังไม่พร้อมด้วยเหตุผลแต่ก็ฟังไปก่อนเพราะมีความละเอียดอีกมาก เพียงแต่ให้เข้าใจว่า ธรรมละเอียดกว่านี้ ลึกซึ้งกว่านี้เพียงแต่ให้เข้าใจตามลำดับ

- เพราะฉะนั้น ต้องมีความเข้าใจที่มั่นคงละเอียด จักขุทวารไม่ใช่จักขุทวาราวัชชนจิต ถูกต้องไหม ลืมหรือยัง เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนะมีกี่ดวง (๕) ฟังนะคะปัญจทวาราวัชชนจิตมีกี่ดวง (๑) แต่รู้อารมณ์ได้ ๕ ทางใช่ไหม (ใช่)

- มโนทวาราวัชชนจิตมีกี่ดวง (๑) แต่ข้อพิเศษคือ รู้อารมณ์ได้ทุกอารมณ์ แสดงให้เห็นว่า เราคิดเองไม่ได้ต้องเข้าใจความจริงซึ่งเป็นเหตุเป็นผลโดยละเอียดอย่างยิ่งแต่ที่เข้าใจแล้วต้องไม่ลืม

- อเหตุกทั้งหมดมีกี่ดวง (๑๘) มีอะไรบ้าง (มีกุศล ๘ อกุศล ๗ และกิริยา ๓) กุศลได้หรือ อเหตุกจะเป็นกุศลได้หรือ (อกุศลวิบาก ๗ กุศลวิบาก ๘ กิริยา ๓)

- ตอนนี้เรารู้จักหรือพูดถึงกี่ดวงแล้ว (พูดถึงอกุศลวิบาก ๗ กุศลวิบาก ๘ และกิริยา ๒ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิตและมโนทวาราวัชชนจิต อีก ๑ ดวงยังไม่ได้พูดถึง)

- อเหตุกะดวงสุดท้ายเป็นกิริยาจิตชื่อว่า “หสิตุปปาทจิต” เป็นกิริยาจิตเฉพาะของพระอรหันต์ เป็นเหตุให้เกิดการแย้มของพระอรหันต์ในอารมณ์ที่คนอื่นรู้ไม่ได้ หมายความว่า หสิตุปปาทจิตเป็นจิตที่ทำให้พระอรหันต์ยิ้มในอารมณ์ที่คนอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ว่า อารมณ์นั้นคืออะไรที่ทำให้พระอรหันต์ยิ้มเพราะธรรมดาทุกคนยิ้มเมื่อมีเหตุที่พอจะรู้ได้

- คนธรรมดายิ้มด้วยกุศลจิตก็ได้ ยิ้มด้วยอกุศลจิตก็ได้ พระอรหันต์ก็ยิ้มด้วยกิริยาจิตที่เป็นมหากิริยาอะไรก็ได้ที่มีโสมนัสเกิดร่วมด้วย แต่เมื่อเป็นหสิตุปปาทเป็น “การแย้ม” ของพระอรหันต์ซึ่งเป็นไปในอารมณ์ซึ่งคนอื่นรู้ไม่ได้ เช่น การรู้ชาติก่อนๆ ที่เกิดขึ้นกับคนนั้นคนนี้เป็นต้น

- เพราะฉะนั้น พระโสดาบันมีอเหตุกจิตกี่ดวง (๑๗) พระอนาคามีมีอเหตุกจิตกี่ดวง (๑๗) ใครมีอเหตุกจิต ๑๘ ดวง (พระอรหันต์)

เวลาที่คุณอาช่ายิ้มคุณสุคินรู้ไหมว่า จิตอะไร (พอทราบ) ถามดูว่า เวลาที่คุณสุคินยิ้มคุณอาช่ารู้ไหมว่า จิตอะไรที่ทำให้คุณสุคินยิ้ม (เป็นกุศลหรืออกุศล)

- เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราเข้าใจอเหตุกะ ๑๘ แล้วใช่ไหม อเหตุกจิตเป็นกุศล เป็นอกุศลได้ไหม (ไม่ได้) แต่ทั้งวันไม่ได้มีแต่เห็น ได้ยิน แต่มีกุศลบ้าง อกุศลบ้างใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงจิตที่เป็น “สเหตุกจิต” ต่อไปนี้ ขณะที่ทุกคนหลับสนิท ไม่มีกุศลจิตอกุศลจิตแน่นอนเพราะขณะนั้นเป็นผลของกรรมที่ทำให้หลับสนิท แต่กุศลจิตอกุศลจิตเพราะเห็นได้ยินเข้าใจธรรมตลอดวันหนึ่งๆ นอกจากเป็นอเหตุกะก็ยังเป็น “สเหตุกะ” คือจิตนั้นประกอบด้วย โลภะ โทสะโมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะซึ่งเป็นเหตุ

- รูปมีอายุยาวมากกว่าจิต จิตเกิดดับ ๑๗ ​ขณะ รูปๆ หนึ่งดับ เพราะฉะนั้น เมื่อรูปเกิดกระทบภวังค์ ๑ ขณะ การกระทบของรูป (การกระทบที่ไม่ใช่ผัสสะจะพูดว่าอย่างไร) เราพูดถึงการกระทบ เรายังไม่ได้พูดถึงสภาพรู้ เมื่อมีสิ่งนั้นที่กระทบกันเช่น มีสิ่งที่กระทบตา เสียงที่กระทบหู การกระทบกันของรูปมีได้ไหม เพราะฉะนั้นเราก็พูดถึงการกระทบกันของรูป เสียงกระทบหู กระทบภวังค์ (คุณอาช่าสัญญานหลุดไปขอเริ่มไหม่)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 24 มิ.ย. 2566

- เรากำลังจะตั้งต้นพูดถึงจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ภวังคจิตที่ประกอบด้วยเหตุก็มี ไม่ประกอบด้วยเหตุก็มี เป็นเหตุฝ่ายที่เป็นโสภณ อันนี้เรายังไม่ต้องพูดถึงเลยก็ได้ ข้ามไปก่อนหมายความว่า เรากำลังจะพูดถึงว่า เมื่ออเหตุกะเกิดแล้วต่อจากนั้นจะเป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุ

- เพราะฉะนั้น ทุกคนเห็นและมีความเป็นจิตหลากหลายต่างกันมาก บางคนเป็นกุศล บางคนเป็นอกุศลแม้ดับไปแล้วสิ่งต่างๆ ที่ผ่านไปก็เก็บสะสมอยู่ในจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้นกุศลอกุศลที่ผ่านมาแล้วในแสนโกฏิกัปป์สะสมอยู่ในจิตไม่หายไปไหนเลยพร้อมที่จะเกิดเมื่อถึงเวลา

- เพราะฉะนั้น เมื่อเสียงกระทบหู กระทบภวังค์ ๑ ขณะ เสียงที่เกิดกระทบ ภวังคจิตถูกกระทบด้วย ๑ขณะ เสียงดับหรือยัง (ไม่ดับ) ภวังค์ดับหรือเปล่า (ภวังค์ดับ) เพราะฉะนั้น เสียงยังกระทบอยู่ภวังค์ที่ถูกกระทบดับทำให้ภวังค์ที่เกิดต่อ “ไหว” ที่จะทิ้งอารมณ์เก่า รูปดับหรือยัง (ยัง) เพราะฉะนั้นภวังค์ที่ไหวทำให้เกิดภวังค์สุดท้ายที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์

- เพราะฉะนั้น ทันทีที่รูปเกิดกระทบภวังค์ทำให้เกิดภวังค์ที่ถูกกระทบเป็น “อตีตภวังค์” ดับ และภวังค์ที่เกิดต่อก็ไหวที่จะทิ้งอารมณ์เพราะการกระทบของอารมณ์ใหม่เป็น “ภวังคจลนะ” และอีกขณะ ๑ คือเมื่อกระทบแล้วไหวแล้วก็สิ้นสุดไม่รู้อารมณ์ของภวังค์แต่เริ่มรู้อารมณ์ที่กระทบ

- จิตตั้งแต่ “อตีตภวังค์” “ภวังคจลนะ” “ภวังคุปัจเฉทะ” ซึ่งเป็นภวังค์ดวงสุดท้ายไม่ใช่ “วิถีจิต” เพราะมีอารมณ์ของภวังค์ เพราะฉะนั้น “ภวังคจิต” หมายถึงขณะใดๆ ก็ตามที่จิตยังไม่รู้อารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิเพราะฉะนั้น “วิถีจิต” หมายความถึงจิตที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ เพราะฉะน้้น วิถีจิตทั้งหมดคือ จิตทุกขณะที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์

- งูมีภวังคจิตไหม (มี) เทวดามีวิถีจิตไหม (มี) ก่อนวิถีจิตเป็นอะไร (เป็นภวังค์) เพราะฉะนั้น ก่อนวิถีจิตเป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตพ้นจากการเป็นวิถีจิตที่จะรู้อารมณ์อื่นจึงมีชื่อว่า “วิถีวิมุตติ” ภาษาบาลีจะใช้คำว่า “วิถีวิมุตฺต” เพราะเหตุว่า เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจะต้องเป็นอารมณ์ของภวังค์ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

- เพราะฉะนั้น ขณะไหนบ้างที่ไม่ใช่วิถีจิต (ตอนที่เป็นภวังค์) และอะไรอีกที่ไม่ใช่วิถีจิต (ปฏิสนธิกับจุติ) เพราะฉะนั้นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตเป็นปฏิสนธิจิต เป็นภวังคจิต เป็นจุติจิต เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้อารมณ์อื่นนอกจากอารมณ์ของปฏิสนธิ ขณะนั้นเป็นวิถีมุตตจิตคือ ไม่ใช่วิถีจิต

- เดี๋ยวนี้มีจิตที่ไม่ใช่วิถีไหม (มี) มีเมื่อไหร่​ (ตอนแรกคุณอาช่าตอบว่าภวังค์ แต่ภายหลังตอบว่า ตอนที่นอน ตอนที่สิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันไม่ได้ปรากฏ ตอนนั้นเป็นวิมุตตจิต) เป็นสิ่งที่ละเอียดที่จะต้องฟังจนมีความเข้าใจละเอียดขึ้นแต่ให้ทราบว่า ขณะใดก็ตามจิตนั้นไม่ได้รู้อารมณ์ที่เป็นอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ จิตนั้นเป็นวิถีจิต แต่ถ้าขณะใดที่รู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิภวังค์ ขณะนั้นก็ไม่ใช่วิถีจิต จึงต้องเข้าใจคำว่า “วิถีจิต” หมายความถึงอะไร

- เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้จะเห็นว่าวิถีจิตมีมากมายหลายประเภท สำหรับกิจของจิตเราก็จะกล่าวถึงให้เข้าใจด้วยเช่น ทางตามีกิจอะไรบ้าง ต่อไปนี้เราจะพูดถึงเรื่องวิถีจิต ต่อไปนี้เราจะพูดถึงกุศลจิตอกุศลจิต

- กุศลจิตอกุศลจิตขณะนอนหลับสนิทมีไหม (ไม่มี) และขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้มีกุศลจิตอกุศลจิตไหม (ไม่มี) เห็นแล้วไม่เป็นกุศลอกุศลหรือแล้วกุศลอกุศลมีเมื่อไหร่ (เห็นแล้วก็เกิดกุศลหรืออกุศล) ซึ่งไม่ใช่อเหตุกะ ถามอีกนิดอเหตุกเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (เป็น)

- เพราะฉะนั้น วิถีจิตเริ่มเมื่อเสียงกระทบหูและกระทบภวังค์ด้วย ภวังค์เป็นวิถีจิตหรือเปล่า (ไม่) แต่ภวังค์ที่ถูกกระทบมีอารมณ์เดียวกับภวังค์ตามปกติชื่อว่า “อตีตภวังค์” แสดงว่าอารมณ์เดียวกันแต่เป็นขณะจิตที่ภวังค์ถูกกระทบด้วย

- อตีตภวังค์เป็นขณะที่รูปกระทบทวารดับแล้วขณะต่อไปเป็นอะไร (ภวังคจลนะ) ภวังคจลนะเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (ไม่) ยังไม่รู้อารมณ์ที่กระทบแต่เพียงรู้ว่าอารมณ์กระทบและภวังค์ไหวเพราะถูกกระทบภวังคจลนะดับแล้วอะไรเกิดต่อ (ภวังคุปัจเฉทะ) มีอารมณ์อะไร (อารมณ์เดียวกับอตีตภวังค์และภวังคจลนะ) ภวังคุปัจเฉทะเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (ไม่) ถูกต้องไม่ลืมเพราะได้ยินคำนี้มาก่อนก็สนใจด้วยแต่ยังไม่พูดถึงวาระที่จะเกิดขึ้นตามลำดับ

- คำว่า “ภวังคุปัจเฉทะ” หมายความว่าอะไร (แปลว่าภวังค์ที่ใกล้จะจุติก่อนที่วิถีจิตจะเกิด) เป็นภวังค์ที่สิ้นสุดความเป็นภวังค์จะเป็นภวังค์ต่อไปอีกไม่ได้ มีอตีตภวังค์หลายครั้งก็ได้ มีภวังคจลนะหลายครั้งก็ได้ แต่เมื่อภวังคุปัจเฉทะเกิดแล้วก็ดับต้องเป็นวิถีจิตจะเป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้

- เพราะฉะนั้น วิถีจิตแรกต่อจากภวังคุปัจเฉทะเป็นจิตอะไร (อาวัชชนะ) เป็นกุศลหรืออกุศล (ไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบาก) ไม่ลืม เก่งมาก เพราะฉะนั้นเป็นวิถีจิตแรกใช่ไหม (ใช่)

- ปัญจทวาราวัชชนะหรือจะเป็นทางตา “จักขุทวาราวัชชนะ” ทางหูเป็น “ โสตทวาราว้ชชนะ” ดับแล้วจิตต่อไปเป็นอะไรเกิดขึ้น (เป็นวิบากจิต) ทำกิจอะไร (เป็นปัญจวิญญาณ) ทีละ ๑ หรือทั้ง ๕ (ทีละ ๑)

- วิบากจิตเป็นวิถีจิตได้ไหม (ได้) นี่แสดงให้เห็นว่า ผลของกรรมทำให้กุศลวิบากที่เป็นจักขุวิญญาณหรืออกุศลวิบากที่เป็นจักขุวิญญาณเกิดขึ้น เลือกไม่ได้เพราะถ้าเป็นอารมณ์ที่ดี จิตที่ดีเป็นกุศลวิบากเห็นสิ่งนั้น ถ้าเป็นสิ่งที่ปรากฏไม่น่าพอใจก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรมที่ทำให้จิตเห็นขณะนั้นเป็นอกุศลวิบาก

- หมายความว่าวิบากจิตเป็นวิถีจิตได้เพราะเหตุว่า เวลาที่จักขุวิญญาณจิตเห็นเกิดขึ้น ถ้าเห็นสิ่งที่น่าพอใจเป็นวิบากคือ เป็นผลของกุศลกรรมถ้าเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจเป็นอกุศลวิบากเป็นผลของอกุศลกรรมที่ทำให้ต้องเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ

- จักขุวิญญาณชอบสิ่งที่น่าพอใจที่กำลังเห็นได้ไหม (ไม่ได้) เก่งมากเพราะเพียงเห็นเป็นผลของกรรมจักขุวิญญาณเห็นแล้วดับรูปที่กระทบตาดับหรือยัง (ยัง) เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อก็รู้อารมณ์ที่กระทบตาที่ยังไม่ดับแล้วทำกิจอะไรต่อจากจิตเห็น (สัมปฏิจฉันนะ) รูปดับหรือยัง (ยัง) เพราะฉะนั้น กรรมทำให้จิตอะไรเกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ (สันตีรณะ)

- เพราะฉะนั้น กรรมทำให้สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อรับอารมณ์นั้นไว้เท่านั้น และเมื่อสัมปฏิจฉันนะดับแล้วกรรมก็ทำให้จิตที่เกิดต่อรู้อารมณ์ที่รับไว้เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ผลของกรรมให้ผลเพียงแค่เห็นและสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ หมดหน้าที่ของกรรมที่จะต้องให้รู้อารมณ์นั้นเท่านั้น

- ต่อไปนี้ก็เป็นจิตซึ่งไม่ใช่วิบากแต่กุศลและอกุศลที่สะสมมาในจิตทุกขณะพร้อมที่จะเกิดที่จะชอบหรือไม่ชอบอารมณ์ที่ปรากฏ แต่วิบากที่เห็นทั้งหมดดับแล้วกุศลและอกุศลที่เก็บสะสมมาพร้อมที่จะเกิดในสิ่งที่ปรากฏแต่จะเกิดทันทีไม่ได้

- เพราะฉะนั้นมีจิต ๑ ที่เราเรียนแล้ว “กิริยาจิต” ที่เกิดก่อนกุศลและอกุศล เกิดต่อจากวิบากเพื่อที่ว่ากุศลและอกุศลที่สะสมมาจะเกิดได้ จิตนั้นทำหน้าที่ ”เปิดทาง” ให้กุศลและอกุศลเกิด ถ้าเป็นทางปัญจทวารจิตนั้นทำ “โวฏฐัพพนกิจ” ไม่ใช่อาวัชชนกิจ จิตนั้นคือจิตที่มีกิจมากกว่าจิตอื่นคือ “มโนทวาราวัชชนจิต” ทำกิจอาวัชชนะทางมโนทวารแต่ทำ “โวฏฐัพพนกิจ” ทางปัญจทวาร จิตนี้เกิดก่อนกุศลและอกุศลหรือกิริยาจิตของพระอรหันต์

- ถ้าไม่พูดถึงพระอรหันต์จิตนี้ทำกิจที่เกิดขึ้นประกอบด้วยเหตุ คือ กุศลและอกุศลที่สะสมมาที่จะพอใจหรือไม่พอใจในอารมณ์ที่จักขุวิญญาณเห็น โสตวิญญาณได้ยิน เป็นต้น

- เพราะฉะนั้น เพื่อเข้าใจจิตนี้ต้องกล่าวไปถึงอเหตุกะ ๑๘​ ดวง จิตใดก็ตามที่ทำกิจรู้อารมณ์ถ้าทางปัญจทวารก็ทำกิจโวฏฐัพพนะ เอาอย่างนี้ อเหตุกกิริยามีเท่าไหร่ (๓) สามคืออะไรบ้าง (ปัญจทวาราวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะ หสิตุปปาทะ) เพราะฉะนั้น เราจะไม่พูดถึงหสิตุปปาทะ เราจะพูดถึงกิริยา ๒

- ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไร (ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ทางปัญจทวารทีละทวาร) เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นการรู้อารมณ์ครั้งแรกที่กระทบทาง ๕ ทวารเป็นปัญจทวาราวัชชนะ แต่เวลาที่ไม่ใช่อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายแต่ “คิดถึง” โดยไม่เห็น ไม่ได้ยินเลย จิตที่เกิดรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ขณะแรกเป็น “มโนทวาราวัชชนะ” รู้อารมณ์ทางใจที่เกิดขณะแรก

- เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงเฉพาะ “มโนทวาราวัชชนจิต” เพราะว่า มโนทวาราวัชชนจิตมี ๒ กิจ ไม่ใช่กิจเดียวอย่างปัญจทวาราวัชชนะ เพราะฉะนั้น กิจที่ ๑ ของมโนทวาราวัชชนะเป็นอาวัชชนกิจเหมือนปัญจทวาราวัชชนะ แต่ปัญจทวาราวัชชนะเกิดทาง ๕ ทวาร แต่มโนทวาราวัชนนะเกิดเฉพาะทางใจที่คิดถึงกระทบอารมณ์ที่จะทำให้คิดทางใจ

- เพราะฉะนั้นทาง ๕ ทางมีอาวัชชนจิตที่เป็นขณะแรกที่เป็นวิถีจิตรู้อารมณ์ก่อนเห็นได้ยินเป็นต้น เป็นจิตแรกที่รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตเดียวแต่รู้ได้ ๕ ทาง และจิตแรกที่รู้อารมณ์ทางใจคือ “มโนทวาราวัชชนจิต” ทำกิจแรกที่รู้อารมณ์ทางใจ แต่มโนทวาราวัชชะต่างกับปัญจทวาราวัชชนะเพราะเหตุว่า มโนทวาราวัชชนะสามารถทำได้ ๒ กิจ แต่ทางปัญจทวารรู้อารมณ์ได้ทีละ ๑ ทวารแต่รู้ได้ ๕ ทวาร

- มโนทวาราวัชชนะก็รู้อารมณ์ขณะแรกทางใจแต่ต่างกับปัญจทวาราวัชชนะเพราะสามารถรู้อารมณ์ทางใจเป็นขณะแรกทำกิจอาวัชชนะ แต่มโนทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ได้ทุกอารมณ์นี่เป็นของที่ต่างกันแต่ถ้าทำอาวัชชนกิจรู้ได้ทางทวารเดียวคือ มโนทวาร

- เพราะฉะนั้น คราวต่อไปเราจะพูดเรื่อง “มโนทวาราวัชชนจิต” ตอนนี้รู้แล้วใช่ไหมทำไมเป็นปัญจทวาราวัชชนจิต ทำไมเป็นมโนทวาราวัชชนจิตเพราะอะไร แต่สิ่งที่ได้ฟังแล้วทั้งหมดเปลี่ยนไม่ได้แต่จะเข้าใจเพิ่มขึ้น

- ธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งไหม กำลังมีเดี๋ยวนี้กว่าจะรู้ว่า ไม่ใช่เรา ต้องอาศัยความเข้าใจที่ละเอียดขึ้นๆ มั่นคงขึ้น ต้องไม่ลืมความละเอียดความลึกซึ้งจึงจะได้รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ สำหรับวันนี้คงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 24 มิ.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

กราบยินดีในกุศลคุณสุคินและผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณอัญชิสา (คุณสา) คุณจิรัชพรรณ์ (คุณซี) ที่ช่วยตรวจทาน

กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นและกราบยินดีในกุศลทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 24 มิ.ย. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
siraya
วันที่ 25 มิ.ย. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ