ความจริงในชีวิตตั้งแต่เกิด_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  2 ก.ค. 2566
หมายเลข  46111
อ่าน  307

- (คุณสุคิน: อาช่าอยากสนทนาเรื่องสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ แล้วก็อีกจุดหนึ่งพูดถึงโวฏฐัพพนะเราก็คุยต่อเรื่องนั้นได้ครับ) ดีมากเลยนะ เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะพูดถึงความจริงในชีวิตตั้งแต่เกิด เมื่อคืนนี้นอนหลับสนิทเหมือนตอนเกิดไหม? (ไม่เหมือนกัน) ไม่เหมือนอย่างไร? (ต่างกันว่า เป็นจิตคนละขณะกัน แต่ว่าประเภทเดียวกันตรงที่ทั้งสองเป็นวิบากแล้วมีอารมณ์เดียวกัน) ถูกต้องนะ เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ตอนตื่นเหมือนกับตอนที่เกิดแล้วใช่ไหมจึงมีการตื่น? (เป็นแบบเดียวกัน) .

- เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เข้าใจความจริงตั้งแต่เกิด จนถึงตอนที่หลับสนิทว่ายังไม่มีอารมณ์ของโลกนี้ปรากฏเลย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ยังไม่ได้คิดนึกอะไร เพราะฉะนั้น การตื่นเป็นการที่ไม่เหมือนหลับเพราะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง.

- วันนี้คุณอาช่าตื่น รู้อารมณ์ทางไหน? (เห็น) ตื่นแล้วเห็น แล้ววันอื่นละ? (วันอื่นอาจได้ยินเสียง) แล้ววันอื่นอีกล่ะ? (เป็นอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งใน ๖ ทวารก็ได้) ดีมาก เพราะฉะนั้น ก่อนจะรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๖ ทวาร จิตแรกที่เกิดหลังจากภวังค์คืออะไร? (อาวัชชนะ) มีกี่ดวง ทางไหนบ้าง? (มี ๒ ประเภท ๑) เป็นทาง ๕ ทวาร ปัญจทวาร และ ๒) ทางใจ ทางมโนทวาร) ถ้าไม่มีจิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้น โลกนี้จะปรากฏไหม? (ไม่ปรากฏ) เก่งมาก ต้องเข้าใจชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้ว่า ถ้าไม่มีจิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้น จะไม่มีอะไรปรากฏเลยทั้งสิ้นตั้งแต่เกิด และหลับทุกขณะ.

- เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ความต่างของจิต ๒ ดวงนี้ ขณะนี้กำลังเห็น จิตอะไรเกิดก่อนเห็น? (เป็นจักขุทวาราวัชชนะ) แล้วก่อนคิด จิตอะไรเกิด? (มโนทวาราวัชชนะ) เพราะฉะนั้น จิต ๒ ดวงต่างกันตรงไหน? (ต่างกันตรงทางที่รู้อารมณ์) .

- มโนทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนจักขุวิญญาณได้ไหม? (ไม่ได้) .

- ปัญจทวาราวัชชนจิต หรือจักขุทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนคิดได้ไหม? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น ก็เริ่มเข้าใจว่า ไม่มีคุณอาช่า ไม่มีอะไร แต่มีจิตที่เกิดสืบต่อหยุดไม่ได้เลยโดยปัจจัยที่เป็นอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ๒ ปัจจัยนี้ยังสงสัยไหม? (คุณสุคิน: แกตอบว่า อนันตรปัจจัย หมายถึงจิตหนึ่งดับเป็นปัจจัยให้จิตหนึ่งเกิดต่อ ส่วนสมนันตรปัจจัย หมายถึงว่าจิตหนึ่งดับต้องมีจิตหนึ่งเฉพาะเกิดต่อ เช่น จักขุทวาราวัชชนจิตดับต้องมีจักขุวิญญาณเกิดต่อ ผมเลนถามว่า มีคำถามอะไรเกี่ยวกับ ๒ ปัจจัยนี้ไหม แกบอกว่าไม่ได้มีคำถามแต่ถ้าได้ฟังเพิ่มก็จะเป็นประโยชน์) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น ทำไมเราพูดถึงจิตเห็น และก็ปัญจทวาราวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะทุกครั้ง เพราะเหตุว่า เพื่อให้เข้าถึงความไม่ใช่เรา ไม่ลืมจิตขณะนี้ว่า เดี๋ยวนี้มีจักขุทวาราวัชชนจิตไหม? ถ้าไม่พูดถึงเลยจะไม่นึกถึงเลย ธรรม ก็คือพูดให้รู้ขณะนี้ เดี๋ยวนี้.

- ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดทางมโนทวารไม่ได้ มโนทวาราวัชชนจิตเรายังไม่พูดถึงนะ แต่ว่าทำอาวัชชนกิจทางปัญจทวารไม่ได้ เพราะฉะนั้น เพราะเหตุที่จิตนี้ต้องเกิดก่อนทางมโนทวารจึงชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิต เพราะทำอาวัชชนกิจ.

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้รู้ไหมว่ามีปัญจทวาราวัชชนจิต รู้ไหมว่ามีมโนทวาราวัชชนจิต ขณะนี้นะที่เห็น ที่คิด? (ได้ยิน และรู้ว่าเป็นอย่างนั้น แต่ว่ายังไม่ปรากฏให้รู้) ถูกต้องที่สุด แสดงว่า เริ่มเข้าใจความละเอียดความลึกซึ้งของสิ่งที่เกิดดับ เร็วมากจนปรากฏเพียงนิมิตของธาตุรู้.

- ถ้าไม่มีการเข้าใจอย่างนี้ สามารถจะเข้าใจไม่ว่าอะไรปรากฏเป็นนิมิตทั้งหมด เพราะการเกิดดับสืบต่อเร็วมาก ถ้าไม่มีการเกิดดับสืบต่อจะไม่ปรากฏให้รู้ว่ามีเพราะแต่ละหนึ่งดับไปเร็วมาก แต่ก็มีการเกิดให้รู้ว่าเป็นสิ่งนั้นที่เกิดอีก.

- ยังสงสัยคำว่า นิมิตตะไหม? (เริ่มเข้าใจ ไม่มีคำถามแต่อยากจะฟังเพิ่ม) ลองคิด เพื่อจะได้หัดคิด อะไรไม่มีนิมิต? (คุณสุคิน: เมื่อกี๊ที่พูดถึงนิมิต ผมอธิบายว่า การที่จิตเกิดดับเร็วมาก ไม่สามารถจะรู้ได้ เช่น เห็นเกิดดับหลายขณะถึงรู้ได้โดยนิมิต แกก็เลยคิดว่า ถ้าเกิดแค่ขณะเดียวคงไม่มีนิมิต แกก็เลยบอกว่า ปฏิสนธิไม่มีนิมิต หรือว่า อาวัชชนะไม่มีนิมิตครับ) แต่ความจริงนิมิตของธาตุรู้ต่อกันเร็วมากใช่ไหม ไม่รู้เป็นจิตเกิด หรือภวังคจิตนี้ไม่ใช่ภวังคจิตที่เกิดต่อ.

- เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดไม่สามารถที่จะปรากฏเพียงหนึ่งแน่นอน เพราะฉะนั้น จึงปรากฏเป็นนิมิตทั้งหมด.

- เพราะฉะนั้น มีอะไรไหมที่ไม่เกิด? (ไม่มีอะไรที่ไม่เกิด) เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ทุกอย่างเกิดเมื่อมีเหตุ เมื่อไม่มีเหตุแล้วเกิดไม่ได้.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ค. 2566

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ทุกอย่างเกิดเมื่อมีเหตุ เมื่อไม่มีเหตุแล้วเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าดับเหตุให้เกิดสิ่งนั้นแล้ว สิ่งนั้นก็เกิดไม่ได้ เมื่อสิ่งนั้นไม่เกิดแล้วจึงเป็นนิพพาน ถ้าไม่มีอะไรเกิดเลย ก็ไม่มีอะไรนิพพาน แต่เมื่อมีสิ่งที่เกิดเพราะเหตุใด และดับเหตุนั้นแล้ว สิ่งนั้นเกิดไม่ได้ สิ่งนั้นจึงนิพพานไม่เกิดอีกเลย.

- เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเบื้องต้นลึกซึ้งในอริยสัจจะทั้ง ๔ ถ้าไม่มีความเข้าใจเลยเพียงแต่พูดว่า อริยสัจจ์ ๔ แต่ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ถึงได้ จะเป็นประโยชน์ไหม? (ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่สามารถดับกิเลสได้) .

- เพราะฉะนั้น จึงรู้ว่า กำลังอยู่ในโลกของนิมิตไม่ใช่โลกที่เป็นจริงตามที่เป็นแต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้น ทุกคนเดี๋ยวนี้กำลังอยู่ในโลกของนิมิตใช่ไหม เพราะแต่ละหนึ่งไม่ได้ปรากฏเป็นอริยสัจจ์ที่เกิดดับ? (ครับ) .

- เพราะไม่รู้ จึงติดข้องในสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้ารู้จริงๆ อยู่ในโลกของสิ่งที่ปรากฏชั่วคราวแสนสั้นแล้วก็ดับไม่เกิดอีกเลย ก็จะสามารถทำให้ถึงการดับเหตุที่สิ่งนั้นจะเกิดต่อไปไม่ได้.

- เป็นความหมายของพระธรรมที่เป็นอริยสัจจะความจริงถึงที่สุด เพราะฉะนั้น ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงความลึกซึ้งของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ แต่เมื่อไม่เข้าใจก็เป็นเพราะความไม่รู้นั้นเองที่ทำให้ติดข้องในทุกอย่างในทุกชาติไม่จบสิ้น.

- ทุกคนกำลังเริ่มเข้าใจความจริงซึ่งเป็นปริยัติ ต้องเข้าใจอย่างมั่นคงว่า เป็นธรรมแต่ละหนึ่งที่เกิดดับ ค่อยๆ ละคลายความเป็นเราทุกอย่างที่ปรากฏ มีความอดทนที่จะเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งทีละเล็กทีละน้อย เป็นผู้ตรงจึงรู้ว่า อีกนานไหมกว่าจะรู้ความจริงแต่ละหนึ่งได้.

- เดี๋ยวนี้มีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม? (มี) เดี๋ยวนี้มีมโนทวาราวัชชนจิตไหม? (มี) ถ้าไม่ฟังไม่รู้ไม่เข้าใจก็เป็นคุณอาช่า และไม่รู้ความจริง.

- เพราะฉะนั้น ที่เกิดมาชาตินี้อะไรมีค่าที่สุด? (เข้าใจธรรม) เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงเป็นอธิษฐานบารมี.

-ทุกอย่างที่ได้ฟังเป็นความจริงที่จะต้องประจักษ์แจ้งอย่างนี้ อีกนานไหมกว่าจะประจักษ์ความจริงนี้? (อีกนาน) นานเท่าไหร่? (ไม่สามารถจะรู้ได้จนถึงเวลา) เพราะฉะนั้น เริ่มมั่นคงในขันติบารมีใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น การฟังทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเริ่มเข้าใจขึ้นนั่นเป็นบารมี.

- เพราะฉะนั้น เพียงคำเดียว วิถีจิตคืออะไร? (วิถีจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง) ถ้ายังไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้ม กาย ใจ เป็นวิถีจิตได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น บอกอีกครั้ง อะไรเป็นวิถีจิต ทีละหนึ่ง? (หลังจากอาวัชชนะเป็นเห็น..) ขอโทษ อาวัชชนะเป็นวิถีจิตหรือเปล่า ไม่ใช่หลังจากอาวัชชนะ (อาวัชชนะเป็นวิถีจิตครับ) เป็นวิถีจิตแรก (ใช่) เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของอาวัชชนะ เป็นจิตที่เปิดทางหรือกระทำทางให้จิตอื่นๆ เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กระทบทางนั้นๆ เพราะฉะนั้น จิตทุกดวงทุกขณะต้องมีจิตของจิตเฉพาะจิตนั้นๆ เพราะฉะนั้น อาวัชชนจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตกระทำทาง หรือเปิดทางให้จิตอื่นเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบเป็นวิถีจิตแรก.

- ความหมายของมนสิการที่ไม่ใช่เจตสิกก็เป็นจิต เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนะ ชื่อว่าวิถีปฏิปาทกมนสิการ เป็นจิตที่กระทำทางให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้ (ท่านอาจารย์ทวนใหม่ครับชื่อของ ... ) ปัญจทวาราวัชชนะ รู้แล้วนะ ปัญจ - ทวาระ - อาวัชชนะ รู้แล้วนะ ปัญจทวาราวัชชนะเป็นวิถีจิตแรกเพราะเป็นจิตที่กระทำทาง เปิดทางให้จิตอื่นเกิดได้ที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบทางทวารนั้นๆ ซึ่งปัญจทวาราวัชชนะเกิดก่อน เพราะฉะนั้นเมื่อกระทำทางเป็นวิถีจิตก็เป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการ.

- มนสิกการเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท แต่คำว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการไม่ได้หมายความถึงมนสิการเจตสิกทั่วๆ ไป.

- นี่ก็คือ ต่อไปจะได้ฟังคำอื่นเยอะๆ แต่ว่าเราจะเริ่มเข้าใจแต่ละคำที่สามารถจะเข้าใจเดี๋ยวนี้เป็นพื้นฐาน.

- จักขุวิญญาณเป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการหรือเปล่า? (ไม่) ต้องเข้าใจ เห็นไหม ธรรมละเอียดมากไม่ใช่เราเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ว่าเราสะสมความไม่รู้มานานเท่าไหร่ ความเป็นเราเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดนานเท่าไหร่ ถ้าไม่อาศัยคำของพระองค์จนกระทั่งไม่ลืมจนกระทั่งเข้าใจขึ้น ไม่มีทางที่จะพ้นจากความไม่รู้ความจริง.

- ถ้าได้ยินคำนี้เข้าใจแล้ว เวลาคุณอาช่าได้ยินเขาพูดว่า วิถีปฏิปากมนสิการ ก็เข้าใจได้ว่าหมายความถึงอะไร.

- สัมปฏิจฉันนะเป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการหรือเปล่า? (ไม่ใช่) แล้วสัมปฏิจฉันนะเป็นวิถีจิตหรือเปล่า? (เป็นวิถีจิต) ต้องไม่ลืมเลย วิถีจิตหมายความถึงจิตที่ไม่ใช่ ภวังคจิต ปฏิสนธิจิต จุติจิต เพราะฉะนั้น จิตอื่นทั้งหมดเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร หรือทางปัญจทวาร ทั้งหมดมี ๖ ทวาร.

- สันตีรณจิตเป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการจิตหรือเปล่า? (ไม่) แล้วเป็นวิถีจิตหรือเปล่า? (เป็นวิถีจิต) ทำกิจอะไร? (ทำกิจสันตีรณะ) แล้วทำกิจอะไรอีกหรือเปล่า? (ทั้งหมดมี ๕ กิจ แต่แกจำได้แค่ ๔ กิจ คือสันตีรณะ ปฏิสนธิ ภวังค์ แล้วก็จุติ) เพราะฉะนั้น ดีนะ ที่เรายังไม่พูดถึงแม้เขาได้ยินชื่อ ๕ แต่เราพูดแค่ ๔ ก็ต้องเข้าใจให้ละเอียดแค่ ๔ จนกว่าจะถึง ๕ มิเช่นนั้น ก็ได้ยินแต่ชื่อจบ ไม่มีความหมายอะไรไม่เข้าใจอะไรเลยเลย.

- ใน ๔ กิจ สันตีรณะทำทีละกิจใช่ไหม? (สันตีรณะเกิดตอนไหน ขณะนั้นก็ทำกิจเดียว) เพราะฉะนั้น ทำกิจสันตีรณะเมื่อไหร่ ทางไหน? (ทำกิจสันตรีรณะตรงปัญจทวาร และทางมโนวาร ทั้ง ๖ ทวาร) เท่าที่เขารู้กี่กิจ ทำกิจอะไร ทางไหน เท่าที่เรากล่าวถึงแล้ว? (ทำกิจเดียวครับ ไม่ว่าเป็นทางไหนก็กิจเดียว) แต่เขารู้ ๔ กิจแล้วใช่ไหมว่าทำกิจไหน ทางไหน ๑ ๒ ๓ ๔? (เท่าที่อาช่าจำได้และเข้าใจ คือว่าเรารู้ว่าถ้าจิตไหนเกิดก็เกิดทางใดทางหนึ่งไม่เป็นปัญทวาร ก็มโนทวาร เพราะฉะนั้น คำตอบแก ก็คือว่านอกจากกิจสันตีรณะที่ทาง ๖ ทางนี้ และตอนทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ นั่นคือทางใจ) คุณสุคิน ๖ ทางได้หรือ ทำกิจสันตีรณะ ๖ ทางได้หรือ? เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรีบ ฟังดีๆ คิดช้าๆ จะได้ไม่ลืม จะได้ไม่คลาดเคลื่อน จะได้ไม่ผิด.

- กำลังพูดถึงสันตีรณจิต เพราะฉะนั้น เขาทำกี่กิจ และตอนไหน ทางทวารไหน? (ปัญจทวาร และมโนทวารครับ) มโนทวารทำกิจอะไร? (มโนทวารทำทางให้เกิดอาวัชชนจิต) เรากำลังพูดถึงจิตอะไร? (มโนทวาร) สันตีรณจิตดวงเดียวแล้วไปพูดถึงมโนทวารอะไร เห็นไหมต้องฟังดีๆ ที่คุณอาช่าพูดมาทั้งหมด ดิฉันพูดอย่างนั้นหรือเปล่า (คุณสุคิน: คิดว่าต้องเริ่มต้นใหม่ครับ) บอกเขาเลย เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ฟังแล้วคิดเอง เขาว่า ๕ ก็ ๕ เขาว่าอันโน้นอันนี้แล้วก็ปนกันหมด แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นธรรมที่เป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย เปลี่ยนไม่ได้ต้องเป็นอย่างนี้คืออย่างไร ตามลำดับขั้น ทีละหนึ่ง.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น ฟังดีๆ แล้วตอบให้ตรงคำถาม สันตีรณจิตทางปัญจทวาร (ปัญจ แปลว่า ๕) ทำกิจอะไร? (ทำสันตีรณกิจ) ทำสันตีรณกิจทางทวารอื่นได้ไหม? (ถ้าเป็นสันตีรณะที่เกิดทางปัญจทวารจะทำกิจทางอื่นไม่ได้) ต้องมั่นคงนะ เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตทำปฏิสนธิทางปัญจทวารได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจได้กี่ทวาร? (๒ ทวาร ปัญจทวาร และมโนทวาร) ฟังดีๆ สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจได้กี่ทวาร? (ทาง ๕ ทวาร ทางปัญจทวาร) แล้วทำปฏิสนธิกิจทางทวารไหน? (ปฏิสนธิจิตเป็นทวารวิมุตติ ไม่ได้ทำกิจทางไหน) เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจว่า ทำปฏิสนธิกิจทางทวารหนึ่งทวารใดไม่ได้เลยเพราะจิตที่ทำปฏิสนธิไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใดเลย.

- เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตเกิดทำกิจสันตีรณะทางทวารไหน? (ทางปัญจทวาร) ทำสันตีรณกิจทางมโนทวารได้ไหม? (ไม่ได้) ต้องไม่ลืม ต้องไม่ปะปนกันเรื่องกิจ ทำกิจอะไร ทางทวารไหนแม้ว่าจะเป็นจิตประเภทเดียว เพราะฉะนั้น ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะแล้ว จิตต่อไปคืออะไรทางปัญจทวารก่อน? (โวฏฐัพพนะครับ) โวฏฐัพพนะเป็นชาติอะไร? (แกไม่แน่ใจ แต่ว่าเดาว่าเป็นกิริยา) เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ผลของกรรมที่เป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น เป็นจิตที่กระทำทางให้กุศลจิต หรืออกุศลจิตที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดเมื่อไม่ใช่วิบาก ถ้าจิตดวงนี้ไม่เกิดขึ้นกุศลจิต หรืออกุศลจิต กิริยาจิตเกิดไม่ได้เลยที่เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์.

- เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืม เห็นเดี๋ยวนี้ดับแล้ว กุศลจิตเกิดได้ไหม? (ไม่ได้) สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อรู้อารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ จิตเห็น และกุศล อกุศลเกิดต่อได้ไหม? (ไม่ได้) ผลของกรรมทางทวาร ๕ ไม่ว่าเป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมสิ้นสุดเมื่อสันตีรณกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากเกิด จบเรื่องของกรรม.

- กรรมที่ทำมาแล้ว ไม่ว่าเป็นผลของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมใดๆ ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทางเท่าที่เป็นสันตีรณจิตเท่านั้นมากกว่านั้นไม่ได้ แต่กุศลจิต และอกุศลจิตที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดเมื่อมีการเห็น การได้ยิน ที่เป็นวิบากจบแล้ว.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ค. 2566

- ระหว่างที่กรรมให้ผลทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นเป็นจักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิตหมดแล้ว ต่อจากนั้นพร้อมที่กุศลจิต หรืออกุศลจิตจะเกิดขึ้นตามปัจจัย แต่เกิดทันทีไม่ได้ ต่อจากผลของกรรมไม่ได้ ต้องมีจิตหนึ่งซึ่งเป็นกิริยาจิต ทำกิจเปิดทาง กระทำทางให้กุศล และอกุศลออกมาได้ทางปัญจทวาร จิตนั้นทำโวฏฐัพพนกิจ ทันทีที่จิตนี้กระทำทางแล้วดับไป กุศล และอกุศลจึงเกิด แล้วแต่จะเป็นประเภทใด.

- (ตอนนี้อาช่าอยากให้แน่ใจว่า โวฏฐัพพนะ เป็นชาติอะไร?) เป็นผลของกรรมไม่ได้ เป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ แต่เป็นกิริยาจิต.

- (ตกลงอาช่าอยากรู้เพื่อความแน่ใจว่า โวฏฐัพพนะทำกิจอาวัชชนะใช่ไหม?) เดี๋ยวก่อนนะ เดี๋ยวก่อน โวฏฐัพพนะทำกิจโวฏฐัพพนะทางปัญจทวาร หมายความว่าเมื่อโวฏฐัพพนะกระทำทางให้กุศลจิต และอกุศลจิตที่สะสมมาเกิดต่อ.

- จบปัญจทวารหรือยัง? (เรื่องปัญจทวารไม่มีคำถามครับ) แต่ว่า ทันทีที่จิตที่กระทำทางดับไปแล้ว กุศล และอกุศลที่สะสมมาเกิด ไม่ใช่ขณะเดียว ๗ ขณะ ถ้าเป็นโลภะก็โลภะ ๗ ขณะ โทสะก็โทสะ ๗ ขณะ จะเป็นจิตอะไรประเภทไหนก็ตามที่สะสมมาสามารถเกิดได้ ๗ ขณะมากกว่าจิตอื่น.

- เพราะฉะนั้น กุศล อกุศลถึงเวลาที่จะเกิด เกิดซ้ำกัน ๗ ขณะ ซึ่งต่อไปจะรู้ว่า ๗ ขณะต่างกันตามกำลังของจิตที่เกิดขณะแรก และจิตที่เกิดขณะสุดท้าย แต่ให้รู้ว่าทั้งหมดเป็นกุศล หรืออกุศลประเภทเดียวกัน.

- รูปมีอายุมากกว่าจิต จิตเกิดดับเร็วกว่า รูปๆ หนึ่งมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เสียง ๑ เสียงเกิดมีอายุเท่าไหร่? (๑๗ ขณะ) กลิ่นละ? (๑๗ ขณะเหมือนกัน) สิ่งที่กระทบตาล่ะ? (นั่นก็ ๑๗ ขณะ) สั้นมากไหม? (สั้นมาก) ๑ รูปปรากฏให้รู้ได้ไหม? (อย่างที่เห็นเวลานี้ รู้ว่าตามจริงก็คือ จิตหนึ่งก็รู้รูปหนึ่ง แต่ที่ปรากฏแล้วไม่ใช่แค่รูปเดียว) .

- เพราะฉะนั้น ทุกอย่างปรากฏโดยนิมิต ลองนับอายุของรูปดูนะว่า รูปรูปหนึ่งจะดับเมื่อไหร่ รูปที่เกิดพร้อมกับภวังค์ที่ถูกกระทบ อตีตภวังค์ ๑ ขณะ และนับไปเรื่อยๆ ซิรูปดับหรือยัง? (ถ้าจบที่ชวนะดวงสุดท้าย ก็คือ ๑๕ ขณะของรูป) รูปดับหรือยัง? (ยัง) เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่ติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส เป็นกามบุคคลเกิดในกามภูมิ เมื่อรูปใดกำลังปรากฏให้เห็นแล้วยังไม่ดับ ทำให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นอีกแต่ต้องเป็นผลของกรรมเป็นวิบากจิต ไม่ใช่กุศล อกุศลที่เป็นชวนะ ๗ ขณะ.

- นี่เป็นเหตุที่แม้ว่าจิต ๑๕ ขณะที่รูปเกิดดับไปยังไม่หมด อายุยังเหลืออยู่ ๒ ขณะ เป็นเหตุให้กามที่ติดข้องเป็นบุคคลนี้ ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ทิ้งอารมณ์นั้นเลยเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นอีก แต่จิตอะไรจะรู้ สันตีรณจิตเกิดขึ้นทำกิจรับรู้อารมณ์นั้นต่อจากชวนะทำตทาลัมพนกิจหมายความว่า รู้อารมณ์นั้นที่ยังไม่ดับ.

- เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตที่เกิดต่อจากชวนะทำกิจรู้อารมณ์นั้น อารมณ์เดียวกับชวนะ อารมณ์เดียวกับจักขุวิญญาณ และอื่นๆ ทั้งหมด ๒ ขณะ แล้วรูปก็ดับไป.

- นี่เป็นชีวิตเดี๋ยวนี้หรือเปล่า? (เป็น) นี่เป็นชีวิตทุกวันๆ ตั้งแต่เกิดจนตายหรือเปล่า? (เป็นอย่างนี้) มีเรา หรือไม่มีเรา มีแต่ธรรมหลากหลายมากเกิดดับ แบบนั้นเลยใช่ไหม? (ครับ) เดี๋ยวนี้ความรู้ทีละน้อยอย่างนี้จะเริ่มค่อยๆ เข้าใจความจริงจนกว่าจะประจักษ์แจ้งตามลำดับขั้น จึงสามารถจะละความเป็นเราได้.

- เรากำลังพูดถึงชีวิตประจำวันซึ่งขาดไม่ได้เลยนะ มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ยังมีอย่างอื่นซึ่งเรายังไม่ได้กล่าวถึง เรากล่าวถึงเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทาง ๕ ทวารเท่านั้น.

- (คุณสุคิน: อาช่าถามเพื่อความเข้าใจเรื่องตทาลัมพนกิจ ผมเลยอธิบายว่า การที่เราเกิดมาในกามมาวจรภูมิ ไม่ใช่ว่ารูปเกิดแล้วเราจะรู้รูปนั้นกลางทางแล้วก็หายไปต้องรู้รูปนั้นทั้งหมดเป็นอุปนิสสยปัจจัย เพราะฉะนั้น จบชวนะถึง ๗ ขณะรูปยังไม่ดับ ก็ต้องมีจิตที่เกิดที่จะรู้รูปนั้นที่ยังไม่ดับต่ออีก ๒ ขณะ จิตนั้นก็เป็นสันตีรณะที่ทำกิจตทาลัมพนะ) เพราะฉะนั้น เขาสามารถที่จะรู้แล้วว่า สันตีรณะมี ๕ กิจใช่ไหม? (ครับ) ทำ ๕ กิจ และถัารูปดับไปก่อน เพราะกระทบภวังค์แต่ยังไม่ไหว กระทบภวังค์แต่ยังไม่ไหว เพราะฉะนั้น รูปดับไปตอนที่ชวนะ ๗ ขณะดับ จะมีตทาลัมพนะได้ไหม? (ถ้ารูปดับแล้วก็ไม่มีตทาลัมพนะ) .

- เพราะฉะนั้น ธรรมความลึกซึ้งไหม เราไม่สามารถจะรู้ว่าเวลานี้การเห็นแต่ละครั้งมีตทาลัมพนะหรือเปล่า? (ครับ)

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 2 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น วิถีจิตวาระหนึ่งตั้งแต่รูปเกิดจนถึงรูปดับ มีจิตชาติอะไรบ้าง? (มี ๔ ชาติ วิบาก กิริยา กุศล อกุศล) บังคับให้เกิดกุศล อกุศลได้ไหม? (ไม่ได้) บังคับจิตแต่ละขณะไม่ให้เป็นอย่างนี้ได้ไหม? (ไม่ได้) นี่คือ การปลูกฝังความเข้าใจมั่นคงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่เรา.

- จิตอะไรเกิดก่อนตทาลัมพนะ? (ชวนะ) ตทาลัมพนะเกิดก่อนชวนะได้ไหม? (ไม่ได้) อะไรเกิดก่อนชวนะ (โวฏฐัพพนะ) อะไรเกิดก่อนโวฏฐัพพนะ? (สันตีรณะ) อะไรเกิดก่อนสันตีรณะ? (สัมปฏิจฉันนะ) อะไรเกิดก่อนสัมปฏิจฉันนะ? (ปัญจวิญญาณ) อะไรเกิดก่อนปัญจวิญญาณ? (อาวัชชนะ) อะไรเกิดก่อนอาวัชชนะ? (ภวังคุปเฉทะ) อะไรเกิดก่อนภวังคุปเฉทะ? (ภวังคจลนะ) อะไรเกิดก่อนภวังคจลนะ? (อตีตภวังค์) อะไรเกิดก่อนอตีตภวังค์? (ภวังค์) เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินเสียง แล้วก็หมดแล้ว ขณะนั้นมีกิจอะไรบ้าง? (จิต ๑๗ ขณะที่เริ่มจากอตีตภวังค์จนไปถึงตทาลัมพนะเกิดแล้วดับครับ) คุณอาช่านอนหลับสนิทแล้วมีคนปลูก รู้สึกเหมือนมีคนปลูกแต่ยังไม่เห็นมีไหม? (มี) เพราะฉะนั้น แสดงว่า ภวังค์หลายขณะ เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นชวนะไม่เกิดก็ได้เพราะอารมณ์ดับแล้ว.

- บางครั้งเรากำลังสนใจอย่างหนึ่ง แล้วมีคนเรียกก็จะไม่ค่อยได้ยินมีไหม? (มี) เพราะฉะนั้น ความเป็นไปของธรรมเปลี่ยนไม่ได้แล้วแต่ว่าวิถีจิตจะเกิดกี่วาระถึงตทาลัมพนะก็ได้ ไม่ถึงก็ได้.

- เพราะฉะนั้น ธรรมลึกซึ้งมาก ทุกขณะไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นเท่านั้นเอง.

- โลภะเกิดขึ้นทำกิจอะไร? (ติดข้อง) ทำกิจอะไร? (ทำกิจติดในอารมณ์) นั่นเป็นลักษณะของโลภะ แต่ทำกิจอะไร กิจทั้งหมดมีเท่าไหร่? (เท่าที่เข้าใจ แค่รู้ว่าโลภะเป็นเจตสิกที่รู้อารมณ์เดียวกับจิต คือทำหน้าที่รู้อารมณ์ตามลักษณะตัวเอง) นั่นเป็นลักษณะของสภาพรู้ เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะพูดถึงกิจของธาตุรู้ทั้งหมด.

- (คุณสุคิน: อาช่าจะขอทำความเข้าใจเรื่องรูปเกิดก่อน และดับโดยไม่มีชวนะ หรือไม่มีตทาลัมพนะ แกอยากเข้าใจตรงนี้ แล้วตอนนี้ก็เข้าใจแล้ว) เพราะฉะนั้น ต้องคิด ถ้ามีอะไรสงสัยก็ถามเลย อย่าทิ้งไว้ เพราะทุกอย่างชัดเจนต้องเข้าใจเพื่อรู้แน่ๆ ว่าไม่ใช่เราเพราะอย่างนี้อย่างนั้น.

- ต่อไปนี้เราจะพูดเรื่องกิจของจิตไม่ได้พูดถึงเจตสิก เขาจะรู้ไหมว่าจิตทั้งหมดเกิดขึ้นทำกิจเดียวทีละกิจ? (ครับ) จิตมีมากมายหลายประเภท กุศลก็มี อกุศลก็มี วิบากก็มี กิริยาก็มี ทำกิจต่างๆ ตามหน้าที่ทั้งหมด ซึ่งกิจทั้งหมดมี ๑๔ กิจ.

- จิตทั้งหมดทำกิจ ๑ ใน ๑๔ กิจ ทีละ ๑ กิจ ขณะหนึ่งจิตทำ ๒ กิจ หรือ ๓ กิจได้ไหม? (ไม่ได้) .

- จิตอยู่ไหน? (จิตอยู่ที่ทวาร) อยู่ที่ทวารหรือ? (ครับ) ถามซิ (ไม่ได้อยู่ครับ มาทางทวารครับ) ไม่ได้มาทางทวารมีจิตไหม? (มีครับ เช่น ภวังค์) เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) จิตเดี๋ยวนี้ทำกิจอะไร? (เห็น) ก่อนเห็นเป็นจิตอะไร? (อาวัชชนะ) ก่อนอาวัชชนะเป็นจิตอะไร? (ภวังค์) ก่อนภวังค์เป็นจิตอะไร? (เป็นจิตใดจิตหนึ่งซึ่งไม่รู้ แต่ว่าถ้าไล่ไปๆ ถึงจิตแรก ก็คือปฏิสนธิ) เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิเป็นกิจของจิตหรือเปล่า? (เป็นกิจครับ) .

- เราจะนับจิต ๑๔ กิจในคราวต่อไปนะ เพราะฉะนั้น เวลาพูดถึงจิตต้องพูดถึงกิจด้วยว่า จิตทำอะไร.

- เดี๋ยวนี้คุณอาช่ามีปฏิสนธิกิจไหม? (ไม่มี) ถูกต้อง เพราะปฏิสนธิจิตในชาติหนึ่งทำกิจนี้เพียงขณะเดียว.

- อย่าลืมนะ ทวบทวนกิจของจิตพร้อมทั้งจิตที่ทำกิจนั้นๆ ด้วย.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 2 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่เมตตาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
siraya
วันที่ 3 ก.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ