นี่เป็นการที่จะค่อยๆ เข้าใจความจริงที่มีจริงในชีวิตประจำวัน_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  8 ก.ค. 2566
หมายเลข  46189
อ่าน  360

- อเหตุกจิตหมายถึงอะไร? (เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ) ดีมากที่ตอบตรงคำถาม แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไรจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย? (เกิดได้เพราะมีกรรมในอดีตที่เป็นปัจจัยทำให้เกิด) เก่งมาก ตอบตรงคำถาม.

- เพราะฉะนั้น ขณะแรกที่กรรมให้ผลคืออะไร? (ปฏิสนธิ) กี่ขณะ? (๑ ขณะ) เก่งมาก พอไหมที่จะเป็นผลของกรรม เพียงแค่ ๑ ขณะ? (๑ ขณะ ไม่พอ) ถูกต้อง ต้องตอบให้ตรงทุกคำถามเพื่อจะได้เข้าใจละเอียดขึ้นๆ ไม่เช่นนั้น เราก็ไปเรื่องอื่น ไม่สามารถจะเข้าใจความละเอียดได้.

- เพราะฉะนั้น กรรมมีกี่อย่าง ประเภทใหญ่ๆ ? (มี ๒ กุศลกรรม และอกุศลกรรม) ดีมาก เพราะฉะนั้น ผลของกรรมมีกี่ประเภท? (มี ๒ ประเภทเป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก) อะไรให้ผลมากกว่ากันระหว่างอกุศล กับกุศล? (กุศลให้ผลมากกว่า) ดีมาก.

- เพราะฉะนั้น ผลของกุศลกรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับเหตุ มีไหม? (มี) เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า เรากำลังพูดเฉพาะผลของกุศลกรรมที่ทำให้เกิดกุศลวิบากที่ไม่เกิดร่วมกับ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะเท่านั้น แต่ยังมีผลของกุศลมากกว่านี้อีกที่ประกอบด้วยเหตุด้วย.

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้ เรากำลังพูดเฉพาะอเหตุกจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรม อกุศลกรรมทั้งหมดให้ผลเป็นอกุศลวิบากเท่าไหร่? (๗) ๗ มากกว่านั้นได้ไหม? (ไม่ได้) นี่เป็นผลของกรรมที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น จะต้องมีความเข้าใจจริงๆ .

- ในเทวโลก สวรรค์ มีผลของอกุศลกรรมไหม? (ในเทวภูมิก็มีบ้าง ก็คงจะมีผลของอกุศลบ้าง) มากกว่า ๗ มีไหม? (ไม่ได้) มั่นคงดีนะ เพราะฉะนั้น นี่เป็นธรรมที่เปลี่ยนไม่ได้ ธรรมต้องเป็นธรรม.

- เพราะฉะนั้น วันนี้ไม่มีข้อสงสัยเรื่องอเหตุกะที่เป็นวิบากใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น การเกิดที่เป็นผลของกรรมที่เป็นอกุศลวิบาก แล้วก็ขณะที่ปฏิสนธิรู้อะไร มีอารมณ์อะไร? (เป็นอารมณ์เดียวที่กรรมในชาติก่อนนั้นเกิดก่อนจุติ) ดีมากที่ไม่ลืม.

- คุณอาช่าปฏิสนธิด้วยอกุศลวิบากหรือเปล่า? (ไม่ครับ ไม่ได้เป็นผลของอกุศล) เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตของนกเป็นจิตอะไร? (เป็นอกุศลวิบาก) พอปฏิสนธิจิตดับแล้วเป็นจิตอะไรเกิดต่อ? (ภวังค์) ภวังคจิตรู้อารมณ์อะไร? (เป็นอารมณ์เดียวกันที่เป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต) .

- เพราะฉะนั้น คนเกิดจากผลของกุศลที่เป็นอเหตุกะได้ไหม? (เป็นไปได้ครับ) ต่างกับคนที่ไม่ได้เกิดเพราะผลของกุศลที่เป็นอเหตุกะอย่างไร? (เป็นผลของกุศลที่อ่อนมาก) เพราะฉะนั้น ผลของกุศลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ กับผลของอกุศลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุต่างกันตรงไหน? (อันหนึ่งเป็นผลของกุศล อีกอันเป็นผลของอกุศลครับ) อเหตุกกุศลวิบาก กับอเหตุกอกุศลวิบากมีจำนวนเท่ากันไหม? (ไม่เท่ากัน) เพราะอะไรที่เป็นกุศลวิบากที่มากกว่าอกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกะ? (ต่างกันตรงที่อารมณ์ของสันตีรณจิตที่เป็นเหตุที่เป็นอารมณ์ที่ดีมากประกอบด้วยสุขเวทนา หรือเป็นอุเบกขาเวทนา) เพราะฉะนั้น อกุศลวิบากมีโอกาสที่จะรู้อารมณ์ที่ดีที่กุศลสันตีรณรู้ได้ไหม? (ไม่ได้ครับ) เพราะเป็นผลของกรรม นี่คือความต่างกันแม้เพียงเล็กน้อย.

- คุณอาช่ามีสันตีรณอกุศลวิบากไหม? (มี) คุณอาช่ามีอเหตุกกุศลวิบากสันตีรณะหรือเปล่า? (มี) คุณอาช่ามีอเหตุสันตีรณะที่เป็นโสมนัสไหม? (มี) นี่ก็ชัดเจน ให้ทราบว่า ไม่มีเรา แล้วก็เป็นจิตประเภทต่างๆ ที่ละเอียด.

- เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย กรรมให้ผลเป็นอเหตุกกุศลวิบากบ้าง อเหตุกอกุศลวิบากบ้างตลอดเวลาตามเหตุตามปัจจัยใช่ไหม? (ใช่) นกมีอเหตุกกุศลวิบากได้ไหม? (ได้) เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องจิต ไม่ใช่เรื่องคนเรื่องสัตว์ แต่เป็นธรรมทั้งหมด.

- เพราะฉะนั้น สำหรับมนุษย์มีโอกาสที่จะเป็นอเหตุกกุศลวิบาก อกุศลวิบาก แล้วก็ยังมีผลของกรรมที่ประกอบด้วยเหตุด้วย แต่เรายังไม่พูดึถึงนะ เราจะให้มีความเข้าใจมั่นคงเรื่องอเหตุกจิตที่มีในชีวิตประจำวันทั้งหมดไม่ว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทพ.

- ไม่มีอะไรสงสัยเรื่องอเหตุกจิตแล้วใช่ไหม จะได้พูดถึงกิริยาจิต (ครับ) .

- อเหตุกกิริยาจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๓) ๑ คืออะไร? (ปัญจทวาราวัชชนจิต) เกิดเมื่อไหร่? (เกิดก่อนวิบากจิตเกิด) ก่อนที่อะไรเกิด? (วิบากจิต) เดี๋ยวนะ ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดเมื่อไหร่? (เกิดหลังจากภวังคุปเฉทะ) เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตมีอารมณ์ต่างกับภวังค์จิตอย่างไร? (ต่างกันตรงที่อารมณ์ของภวังค์เป็นอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมในชาติก่อน ส่วนปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นอารมณ์ที่เป็นของวิบากที่จะเกิด ณ ตอนนั้น) เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไร? (ทำกิจที่รู้อารมณ์ เปิดทางให้จิตที่จะเกิดต่อ) ดีมาก.

- เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะอะไร? (มาธุ ตอบว่า เป็นหน้าที่ กิจของมันทำอาวัชชนะ เพราะต้องทำหน้าที่นี้) เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นผลของกรรมต้องรู้สิ่งที่ไม่ดีถ้าเป็นอกุศลกรรมให้ผลเป็นอกุศลวิบาก แต่ปัญจทวาราวัชชนะสามารถรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง จึงไม่ใช่ผลของกรรม เพราะฉะนั้น ผลของกรรมสิ้นสุดหลังจากที่เกิดวิถีจิตต่างๆ ไม่มีมากกว่านั้น เพราะฉะนั้น หลังจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่วิถีจิต ไม่ใช่ผลของกรรมอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ ปัญจทวาราวัชชนะไม่ใช่ผลของกรรมทำให้เกิด ถ้าผลของกรรมทำให้เกิดต้องรู้อารมณ์ที่ดี หรือไม่ดีตามประเภทของกรรม แต่ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ได้ทั้งหมดที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ ทาง จึงชื่อว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 8 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น กิริยาทั้งหมดไม่ใช่วิบาก วิบากต้องรู้เฉพาะอารมณ์ของกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ที่กระทบทั้งหมด ไม่ว่าอารมณ์นั้นเป็นอะไรทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.

- อกุศลวิบากรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม? (ไม่ได้) ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่ไม่ดีได้ไหม? (ได้) ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม? (ได้) เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่วิบากจิต.

- ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้วจิตอะไรเกิด? (วิบาก) วิบากอะไร? (เป็นปัญจวิญญาณใดปัญจวิญญาณหนึ่ง) เพราะฉะนั้น ถ้าปัญจทวาราวัชชนจิตไม่เกิดเปิดทางให้กรรมให้ผลที่ต้องเห็นสิ่งนั้น การรับผลของกรรมที่เป็นผลของอกุศลกรรม และกุศลกรรมจะเกิดได้ไหม หลังจากที่ปัญจทวาราวัชชนจิตถ้าไม่เกิดขึ้น? (ไม่ได้) .

- เพราะฉะนั้น กรรมให้ผลเพียงเกิดและเป็นภวังค์ไม่พอ กรรมให้ผลทางตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยต้องมีกิริยาจิตเกิดก่อนซึ่งทำกิจเปิดทางให้จิตเห็น และวิถีจิตที่ไม่ใช่การรู้อารมณ์ที่เป็นภวังค์ที่เป็นอารมณ์ของภวังค์อีกต่อไป.

- ปัญจวิญญาณดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (สัมปฏิจฉันนะ) แสดงให้เห็นว่า ผลของกรรมทั้งหลายที่ได้ทำม่ทำให้เกิดจิตเห็นเพียง ๑ ขณะไม่พอ เพราะเพียงแค่เห็น เพียงแค่ได้ยิน กรรมทำให้ผลของกรรมเกิดรู้อารมณ์ต่อจากเห็น ได้ยิน เป็นต้น เพราะเพียงแค่เห็นขณะเดียวไม่พอที่จะเป็นผลของกรรม.

- สัมปฏิจฉันนะรู้อารมณ์อะไร? (รู้อารมณ์เดียวกันกับปัญจวิญญาณรู้) แล้วเมื่อสัมปฏิจฉันนะดับแล้ว พอไหมที่จะเป็นผลของกรรมเพียงเท่านั้น? (ไม่พอ) เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงเรื่องกิจของจิต สัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไร? (ทำกิจสัมปฏิจฉันนะ คือรับอารมณ์ต่อ) และเมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับแล้ว พอไหมผลของกรรม? (ไม่พอ) เพราะฉะนั้น กรรมให้ผลต่อไปอีก ๑ ขณะ ทำกิจอะไร? (สันตีรณะ) เห็นไหมว่า จบหน้าที่ของกรรมที่ทำให้วิบากจิตเกิดที่สันตีรณะ นี่เป็นเพียงครึ่งทางของการรู้อารมณ์นะ เท่าที่เรากล่าวถึงเท่านั้นนะ ต่อไปยังมีอีกซึ่งเราจะค่อยพูดถึง.

- เพราะกรรมทำให้มีการรู้อารมณ์ทางตา และอารมณ์นั้นยังไม่ได้ดับ เพราะอารมณ์มีอายุมากกว่าจิต จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะอารมณ์จึงดับไป เพราะฉะนั้น อารมณ์เกิดพร้อมภวังคจิตที่กระทบกับอารมณ์เป็นอตีตภวังค์ ๑ ขณะ แล้วต่อจากนั้น อารมณ์ยังไม่ดับ แต่จิตเกิดดับรู้อารมณ์นั้นกี่ขณะแล้ว? (ถึงสันตีรณะอายุของรูป ๗ ขณะครับ) ยังไม่ดับใช่ไหม? (ยังไม่ดับ) เพราะฉะนั้น รูปที่กระทบตาเป็นเหตุให้จิตรู้อารมณ์นั้นต่อไปอีก แต่ ไม่ใช่วิบาก ดังนั้น จิตจะต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางนั้นที่ยังไม่ดับแต่ไม่ใช่วิบากจิต เห็นความละเอียดไหมวิบากจิตเท่านั้นเองแค่รู้อารมณ์ที่กระทบ จิตเห็นเกิดขึ้น สัมปฏิจฉันนะรับต่อ สันตีรณะรู้ต่อ หมดหน้าที่ของวิบาก.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 8 ก.ค. 2566

- จิตเห็นเกิดขึ้น สัมปฏิจฉันนะรับต่อ สันตีรณะรู้ต่อ หมดหน้าที่ของวิบากแล้ว แต่ว่า อกุศล และกุศลที่สะสมมามากมายในจิตพร้อมที่จะเกิด จะเกิดทันทีต่อจากนั้นไม่ได้ ต้องมีกิริยาจิตหนึ่งทำโวฏฐัพพนกิจเปิดทางให้กุศล หรืออกุศลที่สะสมไว้อย่างหนึ่งอย่างใดพร้อมที่จะเกิดในขณะนั้น จิตนี้สำคัญไหม เปิดทางให้กุศล และอกุศลที่สะสมมาเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น? (สำคัญ) เพราะฉะนั้น จิตที่เปิดทางให้กุศลจิต หรืออกุศลจิตเกิด ถึงเวลา ทางปัญจทวารทำหน้าที่โวฏฐัพพนะ เป็นวิบากได้ไหม? (ไม่ได้) เป็นกุศล อกุศลได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เป็นอะไร? (กิริยา) เป็นกิริยาจิต เพราะฉะนั้น ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล เป็นจิตที่เปิดทางให้กุศล และอกุศลเกิดสำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์.

- ถ้าจิตนี้ไม่เกิดกุศล อกุศลใดๆ ก็เกิดไม่ได้ กิริยาจิตที่ไม่ใช่อเหตุกะก็เกิดไม่ได้ นี่เป็นหน้าที่ของจิตนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากกว่านี้ใช่ไหม? (ใช่) .

- ถ้าจิตนี้ไม่เกิด กุศล อกุศลใดๆ ก็เกิดไม่ได้ กิริยาจิตที่ไม่ใช่อเหตุกะก็เกิดไม่ได้ นี่เป็นหน้าที่ของจิตนี้เท่านั้นแต่ไม่ได้มีความสำคัญมากกว่านี้ใช่ไหม? (ใช่ มีแต่หน้าที่นี้เปิดทางให้กุศล อกุศล หรือกิริยาเกิดได้) ถ้าเป็นกิจที่ทำหน้าที่เปิดทางให้กุศล และอกุศลเกิดทางปัญจทวาร ไม่ได้ทำอาวัชชนะเปิดทางให้จิตรู้อารมณ์ทางใจเกิด จิตนี้จึงทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ จิตนี้ไม่เป็นกุศลไม่ได้เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น เป็นอเหตุกจิตไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ จิตนี้ไม่เกิดได้ไหม? (ไม่ได้) ทำไมต้องเกิด เพราะอะไรจึงต้องเกิด? (เหตุผลหนึ่ง ก็คือสมนันตรปัจจัย) และอารมณ์ยังไม่ดับด้วยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย.

- จิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะจะต้องรู้อารมณ์เดียวกันกับจิตเห็น จิตได้ยิน เพราะรูปที่กระทบตายังไม่ดับ นี่เป็นธรรมที่เป็นอนัตตาเป็นวิถีจิตที่จะต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดจนกว่าอารมณ์นั้นจะดับ.

- เพราะฉะนั้น เมื่อโวฏฐัพพนจิตที่เปิดทางให้กุศล อกุศลเกิด ดับไปแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (กุศล หรืออกุศลเกิด) ถ้าเป็นพระอรหันต์ ไม่มีกุศล อกุศลล่ะ แต่ต้องมีจิตที่รู้อารมณ์นั้นต่อเป็นกิริยาจิต (ครับ) .

- พระอรหันต์เห็นไหม? (เห็นครับ) สันตีรณะดับแล้วโวฏฐัพพนะของพระอรหันต์มีไหม? (ต้องเกิดครับ) และโวฏฐัพพนะของพระอรหันต์ดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (กิริยา) กิริยาจิตของพระอรหันต์ที่เกิดต่อจากโวฏฐัพพนะ และโวฏฐัพพนะก็เป็นกิริยาต่างกันอย่างไร? (ไม่ทราบครับ) โวฏฐัพพนะทำกิจอะไร? (ทำกิจอาวัชชนะครับ) เดี๋ยวค่ะ โวฏฐัพพนะไม่ใช่อาวัชชนกิจแต่เป็นโวฏฐัพพนกิจต่างกัน (ครับ แกเข้าใจแล้วว่าโวฏฐัพพนะทำกิจโวฏฐัพพน) แล้วต่างกันอย่างไร? (ต่างกันตรงกิจ อันโซฏฐัพพนะทำกิจโวฏฐัพพนะครับ ... ท่านอาจารย์ครับพอดีตรงนี้อาช่ายังไม่เข้าใจแคือว่าแกบอกหลังจากโวฏฐัพพนะที่เกิดทางปัญจทวารตรงนี้ก็เป็นปัญจทวารอยู่ แกสับสนคิดว่าเป็นทางมโนทวารแกยังคิดว่าทำกิจอาวัชชนะครับ) เพราะฉะนั้น อารมณ์ทางปัญจทวารดับแล้วหรือยัง? (ยัง) เพราะฉะนั้น จิตจะรู้อารมณ์อะไร? (จะรู้อารมณ์เดียวกับที่กระทบปสาทรูป) เพราะฉะนั้น อารมณ์นั้นยังไม่ดับ จิตนั้นต้องเกิดต่อรู้อารมณ์เดียวกับอารมณ์นั้นที่ยังไม่ดับใช่ไหม ที่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ นั้นเห็น ได้ยินทางปัญจทวาร? (ครับ) เพราะฉะนั้น พอถึงจิตที่เปิดทางให้จิตต่อไปเป็นกุศลหรืออกุศล ต้องรู้อารมณ์เดียวกับที่จิตเห็น สัมปฏิจฉันนะ และสันตีรณะ เพราะอารมณ์ยังไม่ดับอารมณ์เดียวกันนั้นเองเป็นอารมณ์อื่นไม่ได้ (ท่านอาจารย์ทวนใหม่ครับ) ถ้าเป็นรูปที่กระทบทวารมีอายุ ๑๗ ขณะจิต จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นจนถึงโวฏฐัพพนะอารมณ์นั้นยังไม่ได้ดับไป เพราะฉะนั้น จิตอื่นที่จะเกิดต่อจากโวฏฐัพพนะต้องรู้อารมณ์นั้นเท่านั้นเพราะอารมณ์นั้นยังไม่ดับจึงเป็นจักขุทวารวิถีทุกจิตที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ทางตารู้ต้องเป็นวิถีนั้น เข้าใจหรือยัง? (เข้าใจแล้ว) เพราะฉะนั้น โวฏฐัพพนะที่เกิดต่อจากสันตีรณะเป็นจิตประเภทอะไร? (เป็นกิริยา) เป็นมโนทวาราวัชชนะกิจได้ไหม? (ไม่ได้) ต้องไม่ลืมนะ จิตเป็นวิถีที่รู้อารมณ์เดียวที่ยังไม่ดับ เมื่ออารมณ์นั้นทางหนึ่งทางใดดับ จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางนั้นไม่ได้ จบแล้ว หมดแล้ว.

- เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นทางตา รูปที่กระทบตายังไม่ดับเมื่อสันตีรณะดับแล้ว รูปยังไม่ดับ จึงต้องมีจิตที่เกิดต่อแต่ไม่ได้ทำสันตีรณกิจ จบหน้าที่ของวิบากเพราะจิตนี้สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ทั้งอารมณ์ที่ดี และที่ไม่ดี.

- โวฏฐัพพนจิตดับแล้ว จิตอะไรต้องเกิดต่อเป็นจิตอื่นไม่ได้? (หลังจากโวฏฐัพพนะดับแล้วต้องเป็นกุศล อกุศล หรือเป็นกิริยาจิตในกรณีของพระอรหันต์) .

- เพราะฉะนั้น กุศลจิตเกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม? (ไม่ได้) กุศลจิตเกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะได้ไหม? (ไม่ได้) กุศลจิตเกิดต่อจากสันตีรณจิตได้ไหม? (ไม่ได้) กิริยาจิตของพระอรหันต์เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะได้ไหม? (ไม่ได้) ต้องเกิดต่อจากอะไร? (โวฏฐัพพนะครับ) โวฏฐัพพนะทางไหน? (ปัญจทวาร) ถูกต้อง เพราะนี่เป็นการต่างกัน แยกกัน ทางปัญจทวารกับมโนทวาร.

- กุศลจิตที่เกิดต่อจากโวฏฐัพพนะทางปัญจทวารไม่เกิดได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น นี่เป็นเบื้องต้นนะ ต่อไปจะรู้ว่าถ้าอารมณ์นั้นดับแล้วแม่โวฏฐัพพนะเกิด แต่อารมณ์ดับไปก่อน หรืออารมณ์ยังเหลือนิดหน่อย กุศล และอกุศลก็เกิดไม่ได้.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 8 ก.ค. 2566

- นี่เป็นชีวิตจริงๆ บางครั้งก็รู้อารมณ์ทางตา บางครั้งก็รู้อารมณ์ทางหู บางครั้งก็รู้อารมณ์ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีจิตอะไรเกิดขึ้นโดยไม่มีใครรู้ละเอียดจนกว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงความจริงที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้.

- ตามปกติในชีวิตธรรมดาจริงๆ นะ เวลาที่คุณอาช่าเห็นดอกไม้สวยชอบไหม? (ชอบ) ถ้ายังไม่เป็นดอกกุหลาบเลย แต่เป็นสีสวยๆ ชอบไหม? (ชอบ) นี่ใครจะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา แม้เพียง ๑ ขณะที่กระทบตาแล้วยังไม่ดับยังไม่เป็นดอกกุหลาบแต่ความชอบที่สะสมมาก็เกิดพอใจในสิ่งนั้นเป็นโลภมูลจิตต่อจากโวฏฐัพพนจิต.

- เพราะฉะนั้น ตามปกติ อย่าลืมคำว่า ตามปกติ หมายความว่า มีพิเศษมากกว่านี้ที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงความละเอียด แต่ตามปกติเมื่อโวฏฐัพพนจิตดับแล้วนะกุศลที่เป็นความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเกิดดับติดต่อกัน ๗ ขณะไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต เพราะเพียง ๑ ขณะอย่างสัมปฏิจฉันนะ ใครรู้ ๑ ขณะของจักขุวิญญาณ ใครรู้? แต่เวลาที่ชอบเกิดขึ้นปรากฏว่าชอบ ขณะนั้น โลภมูลจิตเกิดดับสืบต่อในอารมณ์ที่ยังไม่ดับนั้น ๗ ขณะ.

- เข้าใจไหม? (เข้าใจ) เพราะฉะนั้น ลองนับดูตั้งแต่อารมณ์กระทบกับอตีตภวังค์ รูปดับหรือยัง ที่เป็นชวนะ ๗ ขณะ? (ยังไม่ดับ) เพราะฉะนั้น คนที่พอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ทำกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีปัจจัยให้ผลของกรรมเกิดขึ้นเป็นวิบากจิต รับรู้อารมณ์ต่อจากชวนะเมื่อชวนะ ๗ ขณะดับไปแล้ว ขอโทษที่บอกชวนะ หมายถึงจิตที่เป็นกุศล อกุศลสำหรับคนธรรมดา และกิริยาจิตของพระอรหันต์ที่เกิดดับซ้ำกันถึง ๗ ขณะจึงใช้คำว่า ชวนะ ไม่ใช่ขณะที่เดียว เพราะฉะนั้น เป็นเหตุให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นต่อโดยสันตีรณจิตทำตทาลัมพนกิจ ตะ แปลว่า นั้น ลัมพนะหรืออาลัมพนะ หมายถึงอารมณ์ จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นที่ยังไม่ดับต่อจากชวนะ ๒ ขณะ.

- ถ้าอารมณ์กระทบภวังค์แต่ปัญจทวาราวัชชนจิตยังไม่เกิด หลายๆ ขณะ เพราะฉะนั้น เวลาที่ชวนจิตดับแล้วอารมณ์ดับ ตทาลัมพนจิตเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิตที่ทำกิจตทาลัมพนะที่เป็นอเหตุกะได้แก่สันตีรณจิตเท่านั้น.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 8 ก.ค. 2566

- นี่เป็นการที่จะค่อยๆ เข้าใจความจริงที่มีจริงในชีวิตประจำวัน เกิดมาแล้วก็มีเห็น มีได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส คิดนึก ชอบ ไม่ชอบที่ปรากฏ แต่ความละเอียดอย่างยิ่งแต่ละหนึ่งซึ่งไม่ใช่เรา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะคิดว่า ทำไมไม่ใช่เรา.

- เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้จะทวบทวนอเหตุกจิต ๑๘ แต่ไม่ใช่ชื่อ ทวบทวนความเข้าใจที่ละเอียด เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ว่าขณะที่พูดนั้นสิ่งนั้นมีจริงๆ และเป็นอย่างที่เราพูดจริงๆ เฉพาะอเหตุกจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเท่านั้นนะ ๑๘ ดวง ต้องไม่ลืมเฉพาะอเหตุกจิตเท่านั้น เพราะทุกอย่างต้องละเอียดต้องเข้าใจต้องมั่นคง.

- การเกิดมีไหม? (มี) อะไรเกิด? (เป็นจิตประเภทหนึ่ง) จิตขณะนั้นไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะได้ไหม? (เป็นไปได้) คิดดูนะ เกิดขณะแรก ขณะแรก จะมีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ได้อย่างไร?.

- เพราะฉะนั้น การเกิดไม่ว่าเกิดที่ไหน ต้องเป็นจิตที่เป็นผลของกรรม กรรม คือขณะที่มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ นั่นเป็นตัวเหตุ.

- เกิดแล้วก็ต้องตายแน่นอนจะช้า หรือจะเร็ว จะมีอายุสั้น หรืออายุยาว แล้วแต่กรรมเป็นปัจจัย.

- เกิดแล้วตายทันทีได้ไหม? (เป็นไปไม่ได้) แน่นอน เพราะว่าสิ่งที่เกิดเป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้วจะเป็นปัจจัยให้เกิดเพียงขณะเดียวที่เป็นผลได้อย่างไร ธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเป็นผลของกรรมเกิดแล้ว ดับไหม? (ดับ) .

- การเกิดหลากหลายต่างกันมากใช่ไหม? (ต่างกัน) เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉันเกิดเป็นมนุษย์ก็ต่างกัน จะเกิดเป็นคนแต่ละคนก็ต่างกันตามเหตุ คือกรรมหนึ่งที่ได้ทำแล้ว.

- เพราะฉะนั้น กรรมที่ทำให้เกิดต่ำที่สุดต้องเป็นผลของอกุศลกรรม.

- กุศลกรรมทำให้เกิดต่างๆ กัน เมื่อกุศลกรรมดับแล้ว คนที่เกิดต่างๆ กันนี่เป็นผลของกรรมอะไรสำหรับคนเท่านั้น เกิดเป็นคนต่างๆ กันเพราะกรรมอะไร และปฏิสนธิจิตต่างกันเพราะอะไร? (เพราะกำลังของกุศลกรรมต่างกัน) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เรากำลังพูดถึงธรรม ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น และเห็นเหตุกับผลต่างๆ กัน.

- เมื่อกรรมให้ผลทำให้เกิดจิตขณะแรก คือปฏิสนธิดับไปแล้ว กรรมยังให้ผลต่อไปไหม กรรมเดียวนั้นแหละที่ทำให้เกิดยังให้ผลต่อไปไหม? (ต้องให้ผลต่อ) เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิดับแล้วกรรมก็ทำให้ผลของกรรมเกิดต่อ คือจิตอะไรประเภทไหนทำกิจอะไร เฉพาะอเหตุกะ? (ภวังค์เกิดหลังจากปฏิสนธิ) กี่ขณะ? (เกิดต่อจนกว่าจะมีอาวัชชนะ ปัญจทวาราวัชชนจิต) พูดถึงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก่อนนะ ปัญจทวาราวัชชนะเป็นกุศลหรืออกุศล เป็นวิบากหรือกิริยา? (กิริยา) ค่ะ เป็นกุศลได้ไหม? (ไม่ได้) เป็นอกุศลได้ไหม? (ไม่ได้) เป็นวิบากได้ไหม? (ไม่ได้) ก็เข้าใจดีนะ เพราะฉะนั้น กี่กิจแล้ว? (๓ กิจ) กิจเกิดขึ้นไม่ทำกิจใดๆ เลยได้ไหม? (ไม่ได้) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 8 ก.ค. 2566

- กิจ เกิดขึ้นไม่ทำกิจใดๆ เลยได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เรากำลังเรียนว่าตลอดชีวิตเป็นธาตุที่เกิดขึ้นทำกิจแต่ละหนึ่งซึ่งไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น.

- เพราะฉะนั้น ๓ กิจแล้วใช่ไหม? (ใช่) ทันทีที่ปัญจทวาราวัชชนจิตดับ จิตอะไรเกิดต่อ ทำกิจอะไร เรากำลังพูดถึงกิจ? (ปัญจวิญญาณ) กี่กิจ ปัญจวิญญาณ? (๔ กิจ) ปัญจะ แปลว่าอะไร? (๕ ครับ) แล้วจักขุวิญญาณทำกี่กิจ? (๑ กิจ) ทั้งหมดเดี๋ยวนี้กี่กิจแล้วค่ะ? (๘ ครับ) อะไรบ้าง? (เริ่มจากปฏิสนธิ ๑ ภวังค์ ๒ อาวัชชนะ ๓ หลังจากนั้นก็มี เห็น ๔ ได้ยิน ๕ ได้กลิ่น ๖ ลิ้มรส ๗ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ๘) เก่งมากไม่ลืม และทันทีที่จิตเห็น จิตได้ยินเหล่านั้นทำกิจ ๕ กิจดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ? (สัมปฏิจฉันนะ) สัมปฏิจฉันนะดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (สันตีรณะ) สันตีรณะทำได้กี่กิจ? (ทำได้ ๕ กิจ) แลัวเมื่อสันตีรณะทำสันตีรณกิจดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อทำกิจอะไร? (โวฏฐัพพนะครับ) จิตอื่นทำโวฏฐัพพนกิจได้ไหม? (ไม่ได้) รวมทั้งหมดกี่กิจแล้ว? (ถึงโวฏฐัพพนะ ๑๑ กิจแล้วครับ) โวฏฐัพพนะดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (ชวนะ) ชวนะเป็นอเหตุกะได้ไหม? (ไม่ได้) คิดดีๆ อเหตุกจิตทำชวนกิจได้ไหม? (ไม่ได้) จริงหรือ? (จริงครับ) อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๘) เป็นวิบากเท่าไหร่? (๗ เป็นอกุศลวิบาก ๘ เป็นกุศลวิบาก แลัอีก ๓ เป็นกิริยา) กิริยา ๓ เป็นอะไรบ้าง? (ปัญจทวาราวัชชนจิต มโนทวาราวัชชจิต แลัโวฏฐัพพนะ) โวฏฐัพพนะได้อย่างไร แล้วเป็นกิจใช่ไหม? ( ... .) ขอโทษนะ เรายังไม่ได้พูดถึงมโนทวารวิถีจิตเลย เรากำลังพูดถึงปัญจทวารวิถี (คุณสุคิน: คือท่านอาจารย์ถามว่ากิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะมีอะไรบ้าง แกก็ตอบว่า เท่าที่รู้ ก็คือปัญจทวาร และมโนทวาร) เรายังไม่พูดถึงมโนทวารวิถี เรากำลังพูดถึงปัญจทวารวิถี (คุณสุคิน: แล้วคำถามท่านอาจารย์ คือว่า ... ) อเหตุกจิตทำชวนะได้ไหม? (คุณสุคิน: ก็แกตอบว่า ไม่ได้ แล้วท่านอาจารย์บอกว่าแน่ใจหรือ) เพราะฉะนั้น ดิฉันถามเขาว่า อเหตุกกิริยาจิตมีกี่ดวง? (๓ ครับ) ๑ คืออะไร? (๑ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต) ๒ คืออะไร? (แกตอบว่าเป็นมโนทวาราวัชชนะครับ) ไม่พูดถึงมโนทวารเลย (แกไม่ทราบ ไม่แน่ใจ) เมื่อกี๊เขาพูดถึงโวฏฐัพพนะใช่ไหม? (ใช่ครับ) เป็นกิริยาจิตใช่ไหม? (ใช่) ทำกิจอะไร? ( ... ) เพราะฉะนั้น โวฏฐัพพนจิตทำชวนกิจได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น อเหตุกจิต ๓ มีปัญจทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจ ๑ และก็มีโวฏฐัพพนจิตทำโวฏฐัพนกิจ ๑ ใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น มีกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะกี่ดวง? (ทั้งหมมดมี ๓ ครับ) อะไรบ้าง? (๑ คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๒ โวฏฐัพพนะ ๓ ไม่ทราบ) หสิตุปาทจิตค่ะ เฉพาะพระอรหันต์ที่ทำกิจยิ้มทางปัญจทวาร ไม่พูดถึงมโนทวารเลย (คุณอาช่า: ค่ะ) .

- เพราะฉะนั้น คุณอาช่ายิ้มด้วยจิตอะไร? (ยิ้มด้วยจิตที่มีเหตุ) แล้วยิ้มด้วยหสิตุปาทะได้ไหม? (ไม่ได้) ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น.

- เพราะฉะนั้น หสิตุปาทจิตทำกิจอะไร? ( ... ) ต้องให้เขาไปทวบทวนอเหตุกจิต กับกิจ ๑๔ กิจนะ (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ อาช่าเขาก็อ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ เขาเลยไม่มีหนังสือที่จะไปอ่านก็ลำบากหน่อย) ภาษาฮินดีไม่มีเลยหรือ? (ไม่มี) แต่เขารู้จักชวนกิจใช่ไหม? (ครับ) เพราะฉะนั้น ในคราวหน้าเราจะพูดถึงอเหตุกจิต ๑๘ กับกิจของจิต ๑๔ กิจ.

- ต้องไม่ลืมว่า การจะรู้จักจิต หมายความว่าต้องรู้กิจของจิต เพราะว่าจิตเป็นนามธรรมเกิดขึ้นต้องมีกิจของจิตนั้นๆ จิตเกิดขึ้นต้องทำกิจเพราะเป็นสภาพรู้ กิจทั้งหมดมี ๑๔ กิจ เพราะฉะนั้น จิตต้องเกิดขึ้นทำกิจหนึ่งกิจใด ไม่มีจิตที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ทำกิจใดเลยเป็นไปไม่ได้.

- วันนี้ก็พอแล้วนะที่จะต้องคิดไตร่ตรองเพื่อที่จะเข้าใจธรรม ไม่ใช่เรา

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Wiyada
วันที่ 10 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ

อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 11 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่เมตตาด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ