Thai-Hindi 8 Jul 2023

 
prinwut
วันที่  8 ก.ค. 2566
หมายเลข  46258
อ่าน  784

Thai-Hindi 8 Jul 2023


- อเหตุกจิตคืออะไร (เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ) ดีมากที่ตอบตรงคำถาม แล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร เขจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (เพราะกรรมในอดีตเป็นปัจจัย) เก่งมากคือตอบตรงคำถาม

- เพราะฉะนั้นขณะแรกที่กรรมให้ผลคืออะไร (ปฏิสนธิ) เก่งมาก กี่ขณะ (๑ขณะ) พอมั้ยที่จะเป็นผลของกรรมแค่ ๑ ขณะ (๑ขณะไม่พอ) ถูกต้อง ต้องตอบให้ตรงทุกคำถามเพื่อจะเข้าใจละเอียดขึ้นๆ ไม่งั้นก็ไปเรื่องอื่น ไม่สามารถจะเข้าใจละเอียดได้

- เพราะฉะนั้นกรรมมีกี่อย่าง ประเภทใหญ่ๆ (มี ๒) ดีมาก เพราะฉะนั้น ผลของกรรมมีกี่ประเภท (มี ๒ เป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบาก) ดีมาก อะไรให้ผลมากกว่ากันระหว่างอกุศลกับกุศล (กุศล) ดีมาก

- เพราะฉะนั้นผลของกุศลกรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับเหตุมีไหม (มี) เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า เรากำลังพูดเฉพาะผลของกุศลกรรมที่ทำให้เกิดกุศลวิบากที่ไม่เกิดร่วมกับโลภะ โทสะ โมหะอโลภะ อโทสะ อโมหะ เท่านั้นแต่ยังมีผลของกุศลมากกว่านี้อีกที่ประกอบด้วยเหตุด้วย

- เพราะฉะนั้นขณะนี้เรากำลังพูดเฉพาะ “อเหตุกจิต” ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นผลของกุศลกรรมและอกุศลกรรม อกุศลกรรมทั้งหมดให้ผลเป็นอกุศลวิบากเท่าไหร่ (๗) มากกว่านั้นมีได้ไหม (ไม่ได้) นี่เป็นผลของกรรมที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นต้องมีความเข้าใจจริงๆ ในเทวโลก สวรรค์มีผลของอกุศลกรรมไหม (ก็คงจะมีผลอกุศลบ้าง) มากกว่า ๗ มีไหม (ไม่ได้) มั่นคงดี นี่เป็นธรรมซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ ธรรมต้องเป็นธรรม

- เพราะฉะนั้นวันนี้ไม่มีข้อสงสัยเรื่อง “อเหตุกะ” ที่เป็นวิบากใช่ไหม เพราะฉะนั้นการเกิดที่เป็นผลของกรรมที่เป็นอกุศลวิบาก ขณะที่เป็น “ปฏิสนธิ” รู้อารมณ์อะไร มีอารมณ์อะไร (เป็นอารมณ์เดียวกันที่กรรมในชาติก่อนเกิดก่อนจุติ) เก่งมากที่ไม่ลืม

- เพราะฉะนั้นคุณอาช่าปฏิสนธิด้วยอกุศลวิบากหรือเปล่า (ไม่ใช่) เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตของนกเป็นจิตอะไร (อกุศลวิบาก) พอปฏิสนธิจิตดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (ภวังค์) ภวังคจิตรู้อารมณ์อะไร (อารมณ์เดียวกันกับปฏิสนธิจิต)

- เพราะฉะนั้นคนเกิดจากผลของกุศลที่เป็นอเหตุกะได้ไหม (เป็นไปได้) ต่างกับคนที่ไม่ได้เกิดเพราะผลของกุศลที่เป็นอเหตุกอย่างไร (เป็นผลของกุศลที่อ่อนมาก)

- เพราะฉะนั้นผลของกุศลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุกับผลของอกุศลที่ไม่ประกอบด้วยเหตุต่างกันตรงไหน (ตามที่เข้าใจแค่ว่า อันนึงเป็นผลของกุศลอีกอันเป็นผลของอกุศล)

- อเหตุกกุศลวิบากกับอเหตุกอกุศลวิบากมีจำนวนเท่ากันไหม (ไม่เท่ากัน) อะไรที่เป็นกุศลวิบากที่มากกว่าอกุศลวิบากที่เป็นอเหตุกะ (ต่างกันที่อารมณ์ของสันตีรณะจิตที่เป็นเหตุคือเป็นอารมณ์ที่ดีมากประกอบด้วยโสมนัสเวทนา)

- เพราะฉะนั้นอกุศลวิบากมีโอกาสที่จะรู้อารมณ์ที่ดีที่กุศลวิบากสันตีรณะรู้ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะเป็นผลของกรรมนี่คือ ความต่างกันแม้เพียงเล็กน้อย

- คุณอาช่ามีสันตีรณอกุศลวิบากไหม (มี) คุณอาช่ามีอเหตุกสันตีรณกุศลวิบากไหม (มี) คุณอาช่ามีอเหตุกสันตีรณที่เป็นโสมนัสไหม (มี) อันนี้ก็ชัดเจน เราไม่ต้องคิดมากกมายแต่ให้ชัดเจนว่า“ไม่มีเรา” แต่เป็นจิตประเภทต่างๆ ที่ละเอียด

- เพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดจนตายกรรมให้ผลเป็น “อเหตุกกุศลวิบาก” บ้าง “อเหตุกอกุศลวิบาก” บ้างตลอดเวลาตามเหตุตามปัจจัยใช่ไหม นกมีอเหตุกกุศลวิบากได้ไหม (ได้) เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องจิต ไม่ใช่เรื่องคน เรื่องสัตว์ เป็น “ธรรม” ทั้งหมด

- เพราะฉะนั้นมนุษย์มีโอกาสที่จะเป็นอเหตุกกุศลวิบากอกุศลวิบากแล้วก็ยังมีผลของกรรมที่ประกอบด้วยเหตุด้วย แต่เรายังไม่พูดถึง เราจะให้มีความเข้าใจมั่นคงเรื่อง “อเหตุกจิต” ที่มีในชีวิตประจำวันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทพ

- ไม่มีอะไรสงสัยเรื่องอเหตุกะอีกแล้วนะคะเราจะได้พูดถึง “กิริยาจิต” อเหตุกกิริยาจิตมีทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๓) ๑ คืออะไร (ปัญจทวาราวัชชนะ) เกิดเมื่อไหร่ (ก่อนที่จะวิบากจิตเกิด) ก่อนที่อะไรเกิด (วิบากจิต) เดี๋ยวนะคะ ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดเมื่อไหร่ (เกิดหลังจากภวังคุปเฉท)

- เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตมีอารมณ์ต่างกับภวังคจิตอย่างไร (ต่างกันที่อารมณ์ของภวังค์ซึ่งเป็นอารมณ์เดียวกับปฏิสนธิซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมในชาติก่อน ส่วนอารมณ์ของปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นอารมณ์ของวิบากที่จะเกิด ณ ตอนนั้น)

- เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไร (ทำกิจรู้อารมณ์โดยเปิดทางให้จิตที่จะเกิดต่อได้รับ) ดีมากเพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตได้ไหม (ไม่ได้) เพราะอะไร (คุณมธุตอบว่า เพราะต้องทำกิจอาวัชชนะ)

- เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นผลของกรรมต้องรู้สิ่งที่ไม่ดีถ้าเป็นอกุศลกรรมให้ผลเป็นอกุศลวิบาก แต่ปัญจทวาราวัชชนะสามารถรู้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่ใช่ผลของกรรม เพราะฉะนั้นผลของกรรมสิ้นสุดหลังจากที่เกิดวิถีจิตต่างๆ ไม่มีมากกว่านั้น เพราะฉะนั้นหลังจากนั้นแล้วไม่ใช่ผลของกรรมอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ปัญจทวาราวัชชนะไม่ใช่ผลของกรรมทำให้เกิด ถ้าเป็นผลของกรรมต้องรู้อารมณ์ที่ดีหรือไม่ดีตามประเภทของกรรม แต่ปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ทั้งหมดที่กระทบตา หูจมูก ลิ้น กาย ๕ ทางจึงชื่อว่า “ปัญจทวาราวัชชนะ”

- เพราะฉะนั้นกิริยาทั้งหมดไม่ใช่วิบาก วิบากต้องรู้เฉพาะอารมณ์ของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ที่กระทบทั้งหมดไม่ว่าอารมณ์นั้นเป็นอะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

- อกุศลวิบากรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม (ไม่ได้) ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่ไม่ดีได้ไหม (ได้) ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ที่ดีได้ไหม (ได้) เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่วิบากจิต

- ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้วจิตอะไรเกิด (วิบาก) วิบากอะไร (ปัญจวิญญาณ) เพราะฉะนั้นถ้าปัญจทวาราวัชชนจิตไม่เกิด “เปิดทาง” ให้กรรมที่ทำให้ต้องเห็นสิ่งนั้น การรับผลของกรรมที่เป็นผลของกุศลกรรมอกุศลกรรมจะเกิดได้ไหมหลังจากที่ปัญจทวาราวัชชนจิตถ้าไม่เกิดขึ้น (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นกรรมให้ผลเพียงเกิดและเป็นภวังค์ไม่พอ กรรมให้ผลทางตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยต้องมีกิริยาจิตเกิดก่อนซึ่งทำกิจเปิดทางให้จิตเห็นและวิถีจิตที่ไม่ใช่การรู้อารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของภวังค์อีกต่อไป

- ปัญจวิญญาณดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (สัมปฏิจฉันนะ) แสดงให้เห็นว่า ผลของกรรมทั้งหลายที่ได้ทำมาทำให้เกิดจิตเห็นเพียง ๑ ขณะไม่พอเพราะเพียงแค่เห็น เพียงแค่ได้ยิน กรรมทำให้ผลของกรรมเกิดรู้อารมณ์ต่อจากเห็นได้ยินเป็นต้นเพราะเพียงแค่เห็นขณะเดียวไม่พอที่จะเป็นผลของกรรม

- สัมปฏิจฉันนะรู้อารมณ์อะไร (รู้อารมณ์เดียวกันกับที่ปัญจวิญญาณรู้) และเมื่อสัมปฏิจฉันนะดับแล้วพอไหมที่จะเป็นผลของกรรมเพียงเท่านั้น (ไม่ได้) ไม่พอ

- เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงเรื่องกิจของจิต สัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไร (รับอารมณ์ต่อ) และเมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับแล้ว พอไหมผลของกรรม (ไม่พอ) เพราะฉะนั้นกรรมให้ผลต่อไปอีก ๑ ขณะ ทำกิจอะไร (สันตีรณกิจ) เห็นไหมว่า จบหน้าที่ของกรรมที่ทำให้วิบากจิตเกิดที่ “สันตีรณะ” นี่เป็น “เส้นทาง” ของการรู้อารมณ์ต่างๆ กันไปเท่าที่เรากล่าวถึงเท่านั้นต่อไปยังมีอีกซึ่งเราจะค่อยๆ พูดถึง

- เพราะกรรมทำให้มีการรู้อารมณ์ทางตาและอารมณ์นั้นยังไม่ดับเพราะอารมณ์มีอายุมากกว่าจิตจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะอารมณ์นั้นจึงดับไป เพราะฉะนั้นอารมณ์เกิดพร้อมภวังคจิตที่กระทบกับอารมณ์เป็น “อตีตภวังค์” ๑ ขณะและต่อจากนั้นอารมณ์ยังไม่ดับแต่จิตเกิดดับรู้อารมณ์นั้นกี่ขณะแล้ว (ถึงสันตีรณะอายุของรูป ๗ ขณะ) รูปยังไม่ดับใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้นรูปที่กระทบตาทำให้จิตรู้อารมณ์นั้นอีกแต่ไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้นจิตจะต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบทางนั้นแต่ไม่ใช่วิบากจิต

- เห็นความละเอียดไหม วิบากจิตเท่านั้นเองแค่รู้อารมณ์ที่กระทบ จิตเห็นเกิดขึ้น สัมปฏิจฉันนะรับต่อ สันตีรณะรู้ต่อ หมดหน้าที่ของวิบากแล้ว แต่ว่าอกุศลและกุศลที่สะสมมามากมายในจิตพร้อมที่จะเกิด จะเกิดทันทีต่อจากนั้นไม่ได้ต้องมีกิริยาจิต ๑ ทำ “โวฏฐัพพนกิจ” เปิดทางให้กุศลหรืออกุศลที่ “สะสม” ไว้อย่างหนึ่งอย่างใดพร้อมที่จะเกิดในขณะนั้น

- จิตนี้สำคัญไหม “เปิดทาง” ให้กุศลและอกุศลที่สะสมมาเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น (สำคัญ) เพราะฉะนั้นจิตที่ “เปิดทาง” ให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิด ถึงเวลาทางปัญจทวารทำหน้าที่โวฏฐัพพนะเป็นวิบากได้ไหม (ไม่ได้) เป็นกุศลอกุศลได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นเป็นอะไร (เป็นกิริยา) เป็นกิริยาจิตเพราะฉะนั้นไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล เป็นจิตที่ “เปิดทาง” ให้กุศลและอกุศลเกิดสำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ถ้าจิตนี้ไม่เกิด กุศลอกุศลใดๆ ก็เกิดไม่ได้ กิริยาจิตที่ไม่ใช่อเหตุกะก็เกิดไม่ได้ นี่เป็น “หน้าที่” ของจิตนี้เท่านั้นแต่ไม่ได้มีอะไรสำคัญมากกกว่านี้ใช่ไหม (ใช่)

- ถ้าเป็นจิตที่ทำหน้าที่เปิดทางให้กุศลและอกุศลเกิดทางปัญจทวารไม่ได้ทำ “อาวัชชนะ” เปิดทางให้จิตรู้อารมณ์ทางใจเกิด จิตนี้จึงทำ “โวฏฐัพพนกิจ”

- จิตนี้ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นจิตนี้เป็น “อเหตุกจิต” ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ จิตนี้ไม่เกิดได้ไหม (ไม่ได้) ทำไมต้องเกิดเพราะอะไรจึงต้องเกิด (เพราะสมนันตรปัจจัย) และอารมณ์ยังไม่ดับด้วยทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะจะต้องรู้อารมณ์เดียวกันกับจิตเห็นจิตได้ยินเพราะรู้สิ่งที่กระทบตากระทบหูยังไม่ดับ นี่เป็นธรรมที่เป็นอนัตตาเป็น “วิถีจิต” ที่จะต้องเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดจนกว่าอารมณ์นั้นจะดับ

- เพราะฉะนั้นเมื่อโวฏฐัพพนจิตที่เปิดทางให้กุศลหรืออกุศลเกิด ดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ (กุศลหรืออกุศลเกิดหลังจากโวฏฐัพพนะดับไปแล้ว) ถ้าเป็นพระอรหันต์ไม่มีกุศลหรืออกุศลเกิดแต่ต้องมีจิตที่รู้อารมณ์นั้นต่อเป็นกิริยาจิต

- พระอรหันต์ “เห็น” ไหม (เห็น) สันตีรณะดับแล้วโวฏฐัพพนะของพระอรหันต์มีไหม (ต้องเกิด) และโวฏฐัพพนะของพระอรหันต์ดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (เป็นกิริยา) กิริยาจิตของพระอรหันต์ที่เกิดต่อจากโวฏฐัพพนะและโวฏฐัพพนะก็เป็นกิริยา ต่างกันอย่างไร (ไม่ทราบ)

- โวฏฐัพพนะทำกิจอะไร (ทำอาวัชชนะ) เดี๋ยวค่ะ “โวฏฐัพพนะ” ไม่ใช่อาวัชชนกิจแต่เป็นโวฏฐัพพนกิจ ต่างกันอย่างไร (เข้าใจแล้วว่า โวฏฐัพพนจิตทำกิจโวฏฐัพพนะ) ต่างกันอย่างไร (ต่างกันตรงกิจ แต่ยังสับสนกับทางมโนทวาร)

- เพราะฉะนั้นอารมณ์ทางปัญจทวารดับแล้วหรือยัง (ยัง) เพราะฉะนั้นจิตจะรู้อารมณ์อะไร (รู้อารมณ์เดียวกัน) เพราะฉะนั้นอารมณ์นั้นยังไม่ดับ จิตจะต้องเกิดต่อรู้อารมณ์เดียวกับอารมณ์นั้นที่ยังไม่ดับที่จักขุวิญญาณเห็น โสตวิญญาณได้ยินทีละ ๑ ทวาร

- เพราะฉะนั้นพอถึงจิตที่เปิดทางให้จิตต่อไปเป็นกุศลหรืออกุศล ต้องรู้อารมณ์เดียวกับที่จิตเห็นสัมปฏิจฉันนะรับไว้ สันตีรณะรู้ต่อเพราะเป็นอารมณ์เดียวกันนั่นเอง เป็นอารมณ์อื่นไม่ได้

- (ขออาจารย์ทวนใหม่) ถ้าเป็นรูปที่กระทบทวารมีอายุ ๑๗ ขณะจิต จิตเกิดรู้อารมณ์นั้นจนถึงโวฏฐัพพนะ อารมณ์นั้นยังไม่ได้ดับไป เพราะฉะนั้นจิตอื่นที่เกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์นั้นเท่านั้นเพราะอารมณ์นั้นยังไม่ดับจึงเป็น “จักขุทวารวิถี” จิตที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่เกิดทางตารู้ต้องเป็นวิถีนั้น เข้าใจหรือยัง (เข้าใจแล้ว)

- เพราะฉะนั้นโวฏฐัพพนะที่เกิดต่อจากสันตีรณะเป็นจิตประเภทอะไร (เป็นกิริยา) เป็นมโนทวาราวัชชนจิตได้ไหม (ไม่ได้) ต้องไม่ลืมจิตเป็นวิถีที่รู้อารมณ์เดียวที่ยังไม่ดับ เมื่ออารมณ์นั้นทางหนึ่งทางใดดับ จิตจะรู้อารมณ์นั้นไม่ได้ จบแล้วหมดแล้ว

- เพราะฉะนั้นถ้าเป็นทางตา รูปที่กระทบยังไม่ดับเมื่อสันตีรณะดับแล้วรูปยังไม่ดับจึงต้องมีจิตที่เกิดต่อแต่ไม่ได้ทำสันตีรณกิจ จบหน้าที่ของวิบากเพราะจิตนี้สามารถรู้อารมณ์ได้ทั้งอารมณ์ที่ดีและอารมณ์ที่ไม่ดี

- โวฏฐัพพนจิตดับแล้วจิตอะไรต้องเกิดต่อเป็นจิตอื่นไม่ได้ (ต้องเป็นกุศลอกุศลหรือกิริยาของพระอรหันต์) เพราะฉะนั้นกุศลจิตเกิดต่อจากจักขุวิญญาณได้ไหม (ไม่ได้) กุศลจิตเกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะได้ไหม (ไม่ได้) กุศลจิตเกิดต่อจากสันตีรณจิตได้ไหม (ไม่ได้) กิริยาจิตของพระอรหันต์เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะได้ไห ม (ไม่ได้) ต่อเกิดต่อจากจิตอะไร (โวฏฐัพพนะ) ทางไหน (ปัญจทวาร) ถูกต้อง เพราะฉะนั้นนี่เป็นการต่างกันแยกกันระหว่างปัญจทวารและมโนทวาร

- กุศลจิตที่เกิดต่อจากโวฏฐัพพนะทางปัญจทวารไม่เกิดได้ไหม ทางปัญจทวารกุศลจิตไม่เกิดต่อจากโวฏฐัพพนะได้ไหม (ไม่ได้)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 8 ก.ค. 2566

- เพราะฉะนั้นนี่เป็นเบื้องต้น ต่อไปจะรู้ว่า ถ้าโวฏฐัพพนะดับแล้วแม้อารมณ์นั้นเกิดก่อนหรืออารมณ์ยังเหลือเล็กน้อย กุศลหรืออกุศลก็เกิดไม่ได้ นี่เป็นชีวิตจริงๆ บางครั้งก็รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีจิตอะไรเกิดขึ้นโดยไม่มีใครรู้ละเอียดจนกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงความจริงที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้

- ตามปกติในชีวิตธรรมดาจริงๆ เวลาที่คุณอาช่าเห็นดอกไม้สวย ชอบไหม (ชอบ) ถ้ายังไม่เป็นดอกกุหลาบเลยแต่เป็นสีสวยๆ ชอบไหม (ชอบ) นี่ใครจะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาแม้เพียง ๑ ขณะที่กระทบตาแล้วยังไม่ดับ ยังไม่เป็นดอกกุหลาบแต่ความชอบที่สะสมมาเกิดพอใจในสิ่งนั้นเป็น “โลภมูลจิต” ต่อจากโวฏฐัพพนะจิต

- เพราะฉะนั้นตามปรกติ อย่าลืมคำว่า “ตามปรกติ” หมายความว่าต้องมี “พิเศษ” กว่านี้ที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงความละเอียด แต่ตามปรกติเมื่อโวฏฐัพพนจิตดับแล้ว อกุศลที่เป็นความพอใจในรูป เสียงกลิ่น รส ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเกิดดับติดต่อกัน ๗ ขณะ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตเพราะเพียง ๑ ขณะเช่น สัมปฏิจฉันนะใครรู้ จักขุวิญญาณ ๑ ขณะใครรู้ แต่เวลาที่ “ชอบ” เกิดขึ้นปรากฏว่าชอบ ขณะนั้นโลภมูลจิตเกิดดับสืบต่อในอารมณ์ที่ยังไม่ดับนั้น ๗ ขณะ เข้าใจไหม (เข้าใจ)

- เพราะฉะนั้นลองนับดูตั้งแต่อารมณ์กระทบอตีตภวังค์ รูปดับหรือยังเมื่อชวนจิตที่เกิด ๗ ขณะดับแล้ว (ยังไม่ดับ) เพราะฉะนั้นคนที่พอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ทำกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นปัจจัยให้ผลของกรรมเกิดขึ้นเป็นวิบากจิต “รับรู้อารมณ์” นั้นต่อจากชวนเมื่อชวน ๗ ขณะดับไปแล้ว ขอโทษที่บอกว่า “ชวน” หมายความถึง “กิจ” ที่เป็นกุศลและอกุศลของคนธรรมดาและกิริยาจิตของพระอรหันต์ที่เกิดดับซ้ำกันถึง ๗ ขณะ จึงใช้คำว่า “ชวน” ไม่ใช่ขณะเดียว

- เพราะฉะนั้นเป็นเหตุให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นต่อโดย “สันตีรณจิต” ทำ “ตทาลัมพนกิจ” ต แปลว่า “นั้น” ลัมพนะหรือรัมมณะหมายความถึง “อารมณ์” จิตที่เกิดขึ้นรู้ “อารมณ์นั้น” ที่ยังไม่ดับต่อจากชวน ๒ ขณะ

- ถ้าอารมณ์กระทบภวังค์แต่ปัญจทวาราวัชชนจิตยังไม่เกิดหลายๆ ขณะ เพราะฉะนั้นเวลาที่ชวนจิตดับแล้วอารมณ์ดับ ตทาลัมพนจิตเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจตทาลัมพนะที่เป็นอเหตุกะได้แก่ สันตีรณจิตเท่านั้น

- นี่เป็นการที่จะค่อยๆ เข้าใจความจริงที่มีจริงในชีวิตประจำวัน เกิดมาแล้วก็มีเห็น ได้ยิน คิดนึกที่ชอบที่ไม่ชอบแต่ความละเอียดอย่างยิ่งแต่ละ ๑ ซึ่งไม่ใช่เราเกิดเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะคิดว่า “ทำไมไม่ใช่เรา?”

- เพราะฉะนั้นต่อไปนี้จะทบทวน “อเหตุกจิต ๑๘” แต่ไม่ใช่ชื่อ ทบทวนความเข้าใจที่ละเอียด เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ว่าขณะที่พูดนั้นสิ่งนั้นมีจริงๆ และเป็นอย่างที่พูดจริงๆ ต้องไม่ลืม “เฉพาะอเหตุกจิต” เท่านั้น เพราะทุกอย่างต้องละเอียด ต้องเข้าใจ ต้องมั่นคง

- การเกิดมีไหม (มี) อะไรเกิด (จิตประเภท ๑) แล้วจิตขณะนั้นไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ได้ไหม (ได้) คิดดูเกิดขณะแรกจะมีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ได้อย่างไรเพราะฉะนั้นการเกิดไม่ว่าเกิดที่ไหน ต้องเป็นจิตที่เป็นผลของกรรม

- กรรม คือ ขณะที่มีโลภะ โทสะ โมหะ อโละ อโทสะ อโมหะ เกิดร่วมด้วย นั่นเป็นตัวเหตุ เกิดแล้วก็ต้องตายแน่นอนจะช้าหรือจะเร็ว จะมีอายุสั้นหรืออายุยาวแล้วแต่กรรมเป็นปัจจัย

- เกิดแล้วตายทันทีได้ไหม (เป็นไปไม่ได้) เป็นไปไม่ได้แน่นอนเพราะว่าสิ่งที่เกิดเป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้วจะเป็นปัจจัยให้เกิดเพียงขณะเดียวที่เป็นผลได้อย่างไร

- ธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นเป็นผลของกรรม เกิดแล้วดับไหม (ต้องดับ) การเกิดหลากหลายต่างกันมากใช่ไหม (ต่างกัน) เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเกิดเป็นมนุษย์ก็ต่างกัน เกิดเป็นคนแต่ละคนก็ต่างกันตามเหตุคือกรรมที่ได้ทำแล้ว

- เพราะฉะนั้นกรรมที่ทำให้เกิด “ต่ำที่สุด” ต้องเป็นผลของอกุศลกรรม กุศลกรรมทำให้เกิดต่างๆ กันเมื่อกุศลกรรมดับแล้ว คนที่เกิดต่างกันเป็นผลของกรรมอะไรสำหรับคนเท่านั้น เกิดเป็นคนต่างๆ กันเพราะกรรมอะไร และปฏิสนธิจิตต่างกันเพราะอะไร (เพราะกำลังของกุศลกรรมต่างกัน) ถูกต้องเพราะฉะนั้นเรากำลังพูดถึงธรรมไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้นและเห็นเหตุและผลต่างกัน

- เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นอกุศลวิบากทำให้เกิด เมื่อกรรมให้ผลทำให้เกิดจิตขณะแรก ปฏิสนธิดับไปแล้วกรรมยังให้ผลต่อไปไหม กรรมเดียวกันที่ทำให้เกิดยังให้ผลต่อไปไหม (ต้องเกิดต่อไป)

- เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตดับแล้ว กรรมยังทำให้ผลของกรรมเกิดต่อคือจิตอะไร ประเภทไหน ทำกิจอะไรเฉพาะอเหตุกะ (ภวังค์เกิดต่อจากปฏิสนธิ) กี่ขณะ (เกิดต่อจนกว่ามีปัญจทวาราวัชชนจิต)

- พูดถึงทางตา หู จมูก ลิ้น กายก่อน ปัญจทวาราวัชชนะเป็นกุศลหรืออกุศล เป็นวิบากหรือกิริยา (เป็นกิริยา) เป็นกุศลได้ไหม (ไม่ได้) เป็นอกุศลได้ไหม (ไม่ได้) เป็นวิบากได้ไหม (ไม่ได้) ก็เข้าใจดี เพราะฉะนั้นกี่กิจแล้ว (๓ กิจ)

- จิตเกิดขึ้นไม่ทำกิจใดๆ เลยได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นเรากำลังเรียนว่า ตลอดชีวิตเป็น “ธาตุ” ที่เกิดขึ้นทำกิจแต่ละ ๑ ซึ่งไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ๓ กิจแล้วใช่ไหม (ใช่)

- ทันทีที่ปัญจทวาราวัชชนจิตดับ จิตอะไรเกิดต่อ (วิบาก) ทำกิจอะไร เรากำลังพูดเรื่องกิจ (ปัญจวิญญาณ) กี่กิจปัญจวิญญาณ (๔) ปัญจแปลว่าอะไร (๕) จักขุวิญญาณทำกี่กิจ (๑) ทั้งหมดเดี๋ยวนี้กี่กิจแล้ว (๘) อะไรบ้าง (ปฏิสนธิ ภวังค์ อาวัชชนะ เห็น ได้ยิน ลิ้มรส สัมผัสทางกายและได้กลิ่น) เก่งมากไม่ลืมและทันทีที่จิตเห็นจิตได้ยินเหล่านี้ทำแต่ละกิจ ๕ กิจดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ (สัมปฏิจฉันนะ) ดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (สันตีรณะ) สันตีรณจิตทำได้กี่กิจ (สันตีรณะทำได้ ๕ กิจ) และเมื่อสันตีรณจิตทำสันตีรณกิจดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อทำกิจอะไร (โวฏฐัพพนะ) จิตอื่นทำโวฏฐัพพนกิจได้ไหม (ไม่ได้) รวมทั้งหมดกี่กิจแล้ว (๑๑) โวฏฐัพพนะดับแล้วอะไรเกิดต่อ (ชวน) ชวนเป็นอเหตุกะได้ไหม (ไม่ได้) คิดดีๆ อเหตุกจิตทำชวนจิตได้ไหม (ไม่ได้) จริงหรือ (จริง)

- อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) เป็นวิบากเท่าไหร่ (อกุศลวิบาก ๗ กุศลวิบาก ๘ กิริยา ๓) กิริยา ๓ มีอะไรบ้าง (ปัญจทวาราวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะและโวฏฐัพพนะ) โวฏฐัพพนะได้อย่างไร โวฏฐัพพนะเป็นกิจใช่ไหม เรายังไม่ได้พูดถึง “มโนทวารวิถีจิต” เลย เรากำลังพูดถึงปัญจทวารวิถี อเหตุกจิตทำชวนจิตได้ไหม อเหตุกกิริยาจิตมีกี่ดวง (๓) ๑ คืออะไร (ปัญจทวาราวัชชนจิต) ๒ คืออะไร (มโนทวาราวัชชนะ) ไม่พูดถึงมโนทวารเลย (ไม่ทราบไม่แน่ใจ) เมื่อกี้พูดถึงโวฏฐัพพนะใช่ไหม เป็นกิริยาจิตใช่ไหม ทำกิจอะไร เพราะฉะนั้นโวฏฐัพพนะกิจทำชวนกิจได้ไหม (ไม่ได้) อเหตุกจิต ๓ มี ปัญจทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจ ๑ และมีโวฏฐัพพนะกิจ ๑ ใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้นมีกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะกี่ดวง (ทั้งหมดมี ๓) อะไรบ้าง (ปัญจทวาราวัชชนะ โวฏฐัพพนะดวงที่ ๓ ไม่ทราบ) “หสิตุปปาทจิต” เฉพาะพระอรหันต์ที่ทำ “กิจยิ้ม” ทางปัญจทวารไม่พูดถึงทางมโนทวารเลย

- เพราะฉะนั้นคุณอาช่ายิ้มด้วยจิตอะไร (ด้วยจิตที่มีเหตุ) และยิ้มด้วย “หสิตุปปาทะ” ได้ไหม (ไม่ได้) ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น เพราะฉะนั้นหสิตุปปาทจิตทำกิจอะไร

- ต้องให้เขาไปทบทวนอเหตุกจิตกับกิจ ๑๔ กิจ เขารู้จัก “ชวนกิจ” ใช่ไหม เพราะฉะนั้นคราวหน้าเราจะพูดถึงอเหตุกจิต ๑๘ กับกิจของจิต ๑๔ กิจ ต้องไม่ลืมว่า การจะรู้จักจิตหมายความว่า ต้องรู้กิจของจิตเพราะว่า จิตเป็นนามธรรมเกิดขึ้นต้องมีกิจของจิตนั้นๆ

- จิตต้องเกิดขึ้นทำกิจเพราะเป็นสภาพรู้และกิจทั้งหมดมี ๑๔​ กิจ เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นต้องทำกิจหนึ่งกิจใด ไม่มีจิตที่เกิดขึ้นไม่ทำกิจอะไรเลย เป็นไปไม่ได้

- คิดว่าวันนี้ก็พอแล้วที่จะต้องคิดไตร่ตรองเพื่อที่จะเข้าใจธรรมไม่ใช่เรา สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 8 ก.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลของคุณสุคิน คุณอาช่า คุณมธุ และผู้ร่วมสนทนาชาวอินเดีย

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลของคุณอัญชิสา (คุณสา) ในความช่วยเหลือตรวจทาน

กราบขอบพระคุณและกราบยินดีในกุศลอาจารย์คำปั่นทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Junya
วันที่ 8 ก.ค. 2566

กราบยินดีในกุศลเป็นอย่างยิ่งค่ะคุณตู่ เกื้อกูลมากๆ เลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 8 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 10 ก.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ